ขออภัย สินค้า ตัว นี้ ยังไม่ เป็น สาธารณะ คือ อะไร

สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ธนาคารรับรู้ถึงความเดือดร้อนและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อลูกค้าและไม่ได้นิ่งนอนใจ ธนาคารจึงได้มีการออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ดังต่อไปนี้

  1. ลูกค้าที่ไม่มีบัตรเดบิตของธนาคาร สามารถติดต่อเพื่อขอออกบัตรฯ ได้ โดยจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม สำหรับบัตรฯ ที่ออกใหม่ จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2565
  2. ลูกค้าที่ถือบัตรเดบิตของธนาคารอยู่แล้ว จะได้รับการชดเชยเงินค่าธรรมเนียมรายปี สำหรับช่วงเวลาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แอป ttb touch ขัดข้อง
  3. ลูกค้าที่ทำธุรกรรมโอนเงินรายย่อยข้ามธนาคาร (ORFT) ณ สาขาทีเอ็มบีธนชาตทั่วประเทศ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2565
  4. ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากระบบที่ขัดข้อง ทำให้การชำระค่างวดสินเชื่อล่าช้า
    • สำหรับลูกค้าสินเชื่อทีเอ็มบีธนชาตจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาที่ระบบขัดข้อง
    • สำหรับลูกค้าสินเชื่อของสถาบันการเงินอื่น ท่านสามารถแจ้งผ่านช่องทาง ttb contact us คลิก //ttbbank.com/web-contact เพื่อรับการช่วยเหลือและประสานงานกับทางสถาบันการเงินอื่น ในเรื่องค่าติดตามทวงถามหนี้

นอกจากมาตรการดูแลลูกค้าแล้ว ธนาคารยังได้มีการวางแผนปรับปรุงแอป ttb touch เพื่อให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพในระยะยาว ทั้งนี้ ลูกค้าบางท่านอาจยังประสบปัญหาเข้าใช้งานไม่ได้ หรือใช้เวลานานในการเข้าระบบหรือทำธุรกรรม อันเนื่องมาจากปริมาณธุรกรรมสะสมจำนวนมาก ธนาคารขอแนะนำให้ลูกค้าเว้นระยะและเข้าใช้งานใหม่ในภายหลัง

สุดท้ายนี้ ทีมผู้บริหาร และพนักงานทีเอ็มบีธนชาตทุกคน รู้สึกเสียใจและขออภัยเป็นอย่างสูงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขอให้ลูกค้าทุกท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารอย่างดีที่สุด ธนาคารขอน้อมรับทุกความคิดเห็นเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาแอปให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หากลูกค้าต้องการความช่วยเหลือ หรือ แจ้งปัญหาการใช้งาน สามารถแจ้งผ่านช่องทาง ttb contact us คลิก //ttbbank.com/web-contact ทีมงานจะรีบติดต่อกลับและให้ความช่วยเหลือท่านอย่างเร็วที่สุด

เมื่อไม่นานมานี้แบมได้เข้าไปดูซีรีส์สารคดีทาง Netflix ที่ชื่อว่า Explained แล้วรู้สึกชอบมาก ด้วยหัวข้อที่น่าสนใจ และวิธีการเล่าที่ทำให้เราเข้าใจง่าย ในเวลาตอนละไม่เกิน 20 นาทีเท่านั้น 

วันนี้แบมเลยถือโอกาสมาป้ายยาด้วยการหยิบเอาบางตอนมาเล่าให้ฟังด้วยการตีความแบบการตลาดวันละตอน รับรองว่าทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงอย่างแน่นอน

“Explained” สัมผัสโลกมุมใหม่ด้วยอำนาจแห่งความรู้

Explained เป็นสารคดีสั้นบน Netflix ที่นำเอาความรู้ทั้งใกล้ตัว และไกลตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับรอยสัก โหราศาสตร์ การเป็นอมตะของคน เหตุผลที่ลดน้ำหนักไม่สำเร็จสักที ความคิดของสัตว์ กีฬากับแฟชั่น หรือแม้กระทั่งการถึงจุดสุดยอดของผู้หญิง มาย่อยให้เข้าใจง่าย ดึงประเด็นที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังผ่านการสัมภาษณ์ และ Case Study บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่ายิ่งคุณมีทรัพยากรในหัวเท่าไหร่ คุณยิ่งมีอำนาจมากขึ้นเท่านั้น และที่สำคัญคือใช้เวลาไม่นานเกินไปในแต่ละเรื่อง จนทำให้เราสามารถดูจบได้โดยไม่เบื่อไปเสียก่อน 

ซึ่งตอนนี้รายการ Explained ก็มีมาถึง 3 ซีซันแล้ว และจะมีตอนใหม่มาให้ติดตามเรื่อยๆ ในทุกวันศุกร์ค่ะ

“คำขอโทษ” พูดบ่อยเกินไปทำให้ผลลัพธ์ด้อยลง

ตอนที่แบมกำลังจะเล่าให้ฟังนี้มีชื่อตอนว่า Apologies หรือ ขอโทษ นั่นเอง ในตอนนี้ตัวสารคดีพูดถึงคำขอโทษที่เรามักได้ยินบ่อยขึ้นตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากดารานักร้อง เซเลปคนดัง หรือแม้แต่จากฝั่งรัฐบาลที่มักจะพูดขอโทษอยู่เสมอ เมื่อมีเรื่องราวบางประเด็นที่ลุกลามใหญ่โตจนทำให้เสียชื่อเสียง คนส่วนมากเกินความไม่พอใจ หรือแสดงความคิดเห็นไปในทางลบ แต่น่าแปลกที่คำขอโทษนี้ยิ่งถูกพูดออกไปมากและง่ายเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ผลลัพธ์ของการขอโทษมีประสิทธิภาพลดลง 

มีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าการเจือจางบรรทัดฐาน คือยิ่งมีคนขอโทษมากเท่าไหร่ เรายิ่งคาดหวังมีการขอโทษมากขึ้นเท่านั้น แต่เราจะไม่ค่อยอยากให้อภัย เพราะเมื่อผู้คนเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น และเห็นการขอโทษในรูปแบบนี้มากขึ้น คนก็จะมีความคาดหวังกับคำขอโทษมากขึ้นไปอีก ซึ่งสิ่งที่ผู้คนต้องการจริงๆ มากกว่าคำพูด คือการแสดงให้ถึงถึงสัญญาณบางอย่างว่ามันเป็นการขอโทษที่จริงใจ

ขอโทษอย่างจริงใจ ใช้รับมือได้กับทุกวิกฤติ

การขอโทษอย่างจริงใจ หรือ Apologize Strategy นี้เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่นักการตลาดสามารถนำมาปรับใช้ได้เมื่อเกิดวิกฤติทางธุรกิจ โดยเฉพาะ Social Media Crisis ที่เราอาจจะได้เห็นกันบ่อยๆ เนื่องจากข่าวสารเดี๋ยวนี้กระจายไปเร็วมาก แถมคนยังสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ทำให้บางครั้งวิกฤติถึงขยายการรับรู้ออกไปในวงกว้าง 

ซึ่งสิ่งที่นักการตลาดจะสามารถทำเพื่อช่วยยับยั้งวิกฤตบนโลกโซเชียลมีเดียก็คือ หยุดการเคลื่อนไหว และการโต้ตอบทั้งหมดก่อน หลังจากปรึกษาหารือกับทีมเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยเข้าสู่ขั้นตอนการใช้ Apologize Strategy ออกแถลงการณ์เพื่อขอโทษรวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เพื่อแสดงถึงความจริงใจและใส่ใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น ที่สำคัญขั้นตอนนี้นักการตลาดต้องตัดสินใจและลงมือทำอย่างรวดเร็ว อย่าปล่อยทิ้งไว้จนข้ามวัน เพราะจยิ่งทำให้เราดูเหมือนไม่ใส่ใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นจนอาจทำให้สถานการณ์ที่แย่อยู่แล้วแย่ลงกว่าเดิมได้

7 องค์ประกอบในการแสดงความจริงใจผ่านการขอโทษ

การขอโทษเป็นสิ่งที่ทรงพลัง เพราะสามารถเปลี่ยนอารมณ์ของคนที่กำลังโกรธหรือไม่พอใจให้รู้สึกดีได้ในคำๆ เดียว แต่ก็มีหลายครั้งที่การขอโทษอย่างไม่จริงใจทำให้ผู้ฟังรู้สึกผิดหวัง จนสร้างความไม่พอใจมากขึ้นเป็นเท่าตัว

ซึ่งในรายการ Explained ตอน Apologies นี้ก็ได้แนะนำ 7 องค์ประกอบของคำขอโทษที่ดีไว้ดังนี้

1.การแสดงความสำนึกผิด

การขอโทษโดยที่ผู้ทำผิดรู้สึกสำนึกผิดจริงๆ นั้นทำให้คนฟังรู้สึกเห็นใจ เข้าใจ และสามารถให้อภัยได้ง่ายขึ้น โดยเราไม่จำเป็นต้องประดิษฐ์คำพูดให้ดูสวยงามเกินจริง แต่พูดด้วยความสำนึกผิดอน่างจริงใจก็พอ เช่น ทางเราต้องขอโทษลูกค้าทุกคนจริงๆ หรือ ทางแบรนด์เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้น

2.รับรู้ถึงความเสียหาย และความทรมานของผู้ถูกกระทำ

การรับรู้และเข้าใจถึงความเสียหายและความเจ็บปวดที่มีสาเหตุมาจากการกระทำของเรา มันทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าเขาเป็นฝ่ายที่ถูกต้อง และมีคนเข้าใจ

3.คุณจะต้องแสดงความรับผิดชอบด้วย

มันเป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อจิตใจของคนที่ถูกกระทำที่จะต้องได้ยินคำว่าขอโทษ และต้องเป็นคำขอโทษที่แสดงออกถึงความจริงใจด้วย

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นก้มศีรษะขอโทษประชาชน
ที่ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในช่วงโควิด-19

4.อธิบายเหตุผลว่าทำไมคุณถึงทำอย่างนั้น

ในบางครั้งก็อาจเกิดเหตุการณ์ที่เข้าใจผิดกัน จนทำให้เรื่องราวลุกลามใหญ่โต แม้จะทำผิดพลาดไปแล้วแต่การที่คุณอธิบายเหตุผลว่าเพราะอะไรคุณถึงทำแบบนั้นก็สามารถช่วยให้อีกฝ่าย เข้าใจถึงเหตุและผลของการกระทำมากขึ้น และอาจทำให้ความไม่พอใจที่กำลังคุกรุ่นเบาบางลง

5.เสนอแนวทางแก้ไข 

การเสนอแนวทางแก้ไขอย่างกระตือรือร้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้สถานการณ์ที่ตึงเครียดเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะจะทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกว่าตนเองได้รับการเยียวยา เช่น ขอโทษที่ทำให้ลูกค้าผิดหวัง เป็นความผิดของทางแบรนด์เอง และเราจะแก้ไขความผิดพลาดนี้อย่างดีที่สุดโดยการ… เป็นต้น

6.ทำให้มั่นใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

เมื่อเกิดการทำผิดพลาดขึ้นแล้วเราต้องทำให้อีกฝ่ายมั่นใจให้ได้ว่า เราจะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีซ้ำเดิมอีก

ตัวอย่างแถลงการณ์ขอโทษจาก บาร์บิคิว พลาซ่า

7.การขอให้อีกฝ่ายให้อภัย

ข้อนี้ถือเป็นสิ่งที่ยากที่สุด เพราะถึงแม้เราจะขอโทษและรู้สึกสำนึกผิดอย่างจริงใจแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าอีกฝ่ายจะยกโทษหรือให้อภัย แต่ถึงอย่างไรคุณก็ยังควรจะต้องขอร้องและแสดงความจริงใจให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณสำนึกผิดมากพอที่จะให้อภัยได้

“ขอโทษ” คำงายๆ ที่พูดยาก

นอกจากนี้ในสารคดียังบอกอีกว่า โดยทั่วไปแล้วเวลาคนเราขอโทษมักจะบอกว่าได้ใส่องค์ประกอบเหล่านี้เข้าไปประมาณ 4-5 ข้อ แต่ในความเป็นจริงมันมักจะมีเพียงแค่ 2 ข้อ คือ ข้อ 1 และ ข้อ 3 เท่านั้น เพราะมันเปรียบเสมือนว่าคุณกำลังอยู่ตรงกลางระหว่างการอยากซ่อมแซมความสัมพันธ์เพื่อให้อีกฝ่ายรู้สึกดีขึ้นแต่ก็ยังอยากปกป้องภาพลักษณ์ของตนเองให้ยังคงเป็นคนดีอยู่ ไม่ใช่แค่ดูดีในสายตาคนอื่นแต่ยังเป็นสำหรับตัวคุณเองด้วย เพราะอย่างนี้การขอโทษด้วยความจริงใจโดยใช้ทั้ง 7 องค์ประกอบจึงเป็นเรื่องยากมากทีเดียว โดยเฉพาะการขอโทษต่อหน้าสาธารณะชนที่จำเป็นต้องใช้ทักษะในการพูดและแสดงออกที่มากกว่า เพราะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้คนจำนวนมากรู้สึกพอใจนั่นเอง

สรุป

Apologize Strategy หรือการขอโทษถือเป็นหนึ่งในหลักของการ Crisis Management หรือการบริหารสถานการณ์ที่อยู่ในภาวะวิกฤต แต่การของโทษนั้นจะต้องเป็นคำขอโทษที่แสดงออกถึงความจริงใจ โดยเข้าใจว่าตนเองทำผิดอะไรและสำนึกในความผิดนั้นจริงๆ รวมถึงต้องพยายามแก้ไขและหาทางออกที่ดีที่สุดเพื่อแสดงความรับผิดชอบด้วย

การขอโทษโดยใช้องค์ประกอบข้างต้นนี้จะทำให้ลูกค้ารับรู้ถึงความจริงใจของแบรนด์จนนำไปสู่ความเข้าใจ หรือเห็นใจ ซึ่งจะช่วยให้ความไม่พอใจเบาบางลง และช่วยยับยั้งการเกิดภาวะวิกฤตได้ในที่สุด

สำหรับองค์ประกอบในการขอโทษทั้ง 7 ข้อนี้ แบมมองว่าเราสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกคน ในทุกสถานการณ์ที่เราทำผิด หรือทำให้เกิดความไม่พอใจไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดาทั่วไป คนดัง นักการตลาด แบรนด์ หรือแม้แต่รัฐบาล เพราะการขอโทษยิ่งดูจริงใจมากเท่าไหร่ ก็สามารถทำให้คนยอมรับและให้อภัยได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

ซึ่งนอกจากการขอโทษแล้วก็ยังมีวิธีอื่นๆ ที่สามารถใช้รับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกับแบรด์ สำหรับใครที่สนใจสามารถตามมาอ่านต่อได้ในบทความเมื่อเจอวิกฤต จัดการอย่างไรไม่ให้แบรนด์พัง

ในบทความหน้าแบมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะคะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita