ประกันสังคม ปล่อย สินเชื่อ ผู้ประกันตน ล่าสุด 2565

สปส.เปิดทางออกผู้ใช้แรงงาน ม.33 หลังการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน “3 ขอ” สามารถ “ขอเลือก-ขอกู้-ขอคืน” เพื่อเป็นทางเลือกสิทธิประโยชน์ได้เองตามความต้องการ มั่นใจสถานะภาพกองทุนเพียงพอในการรองรับ

น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยผ่านรายการ “เคลียร์คัด ชัดเจน” ทางช่อง NBT 2HD เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2565 ให้ข้อมูลถึงความเป็นไปได้ตามแนวทาง “3 ขอ” ใน ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ฉบับใหม่ ที่อยู่ระหว่างการแก้ไข ตามที่ผู้ใช้แรงงานได้ออกมาเรียกร้องยัง สปส. เพื่อให้ผู้ประกันตนมีโอกาสได้รับทางเลือกและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการเงินของตนเองได้

น.ส.ลัดดา กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สามารถเข้าไปตรวจสอบเงินของประกันสังคมว่ามียอดเท่าไร และทำให้เกิดเสียงข้อเรียกร้องต่างๆ จนเกิดเป็นแนวทาง “3 ขอ” ขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วย 1.ขอเลือก ตามกฎหมายประกันสังคมฉบับเดิม กำหนดว่าผู้ที่ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน และเป็นผู้ที่ลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนในอายุ 55 ปี จะได้สิทธิรับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนตลอดชีวิต ส่วนผู้ที่ลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนในอายุ 55 ปี แต่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน จะได้สิทธิชราภาพในการรับเงินบำเหน็จ

อย่างไรก็ตามในส่วนนี้ทำให้ผู้รับเงินบำนาญบางราย ซึ่งมีความต้องการที่จะรับเงินเป็นบำเหน็จตามเหตุผลส่วนตัวของแต่ละราย ทางกระทรวงแรงงานจึงได้ให้ สปส. หาทางออกให้ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน สามารถรับเป็นบำเหน็จได้ตามความต้องการ

“ตามเจตนารมณ์ของ สปส. คืออยากให้เป็นบำนาญมากกว่า เพราะจะได้มีเงินใช้ได้ตลอดทุกเดือนไม่เป็นภาระให้กับลูกหลาน แต่ด้วยความจำเป็นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราจึงจะออกกฎหมายฉบับนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนสามารถเลือกได้ตามเจตนารมณ์ของตนเอง” น.ส.ลัดดา กล่าว

2. ขอกู้ มาจากการที่ผู้ประกันตนเกิดความเดือดร้อน และมีคำถามถึงความต้องการกู้เงินของตนเองที่อยู่ในระบบประกันสังคมจะสามารถทำได้หรือไม่ แต่เนื่องจากประกันสังคมไม่มีการปล่อยกู้ ฉะนั้นในส่วนนี้จึงจะต้องทำ MOU กับธนาคารทั้งหมด ซึ่งหากมีธนาคารใดตอบรับข้อเสนอและมีข้อตกลงร่วมกันได้ ก็สามารถทำได้เลย โดยที่ธนาคารก็ต้องไม่คิดดอกเบี้ยแพง เพราะผู้ประกันตนสามารถกู้ได้โดยที่ สปส. เข้าไปสนับสนุนในเรื่องของการค้ำเงินกู้

“ตามกฎหมายลูกที่กำลังอยู่ในช่วงระหว่างการดำเนินการนี้ คาดว่าจะสามารถกู้ได้ไม่เกิน 30% ของเงินสมทบของผู้ประกันตน หรือไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งหากเกิดการผิดนัดชำระ จนธนาคารยืนยันว่าผู้ประกันตนไม่ชำระแล้ว และลาออกจากงาน ทางประกันสังคมก็จะส่งเงินให้ธนาคารตามยอดที่เหลือ ซึ่งก็จะทำให้เงินชราภาพของเขาต้องถูกหักในส่วนนี้ไปด้วย” น.ส.ลัดดา กล่าว

3. ขอคืน (บางส่วน) เป็นการขอคืนเงินบางส่วนจากเงินสมทบที่ส่งมายังประกันสังคมทุกเดือน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 60 เดือน และมีเงื่อนไขว่าต้องเกิดเหตุการณ์วิกฤตในประเทศ หรือพื้นที่นั้นๆ ออกมาประกาศชัดเจน เช่น วิกฤตทางเศรษฐกิจ วิกฤตภัยพิบัติ หรือโรคระบาด ที่ทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถออกมาทำงานได้อย่างปกติ แต่หากเป็นวิกฤติเรื่องส่วนตัวจะไม่สามารถขอคืนได้

น.ส.ลัดดา กล่าวว่า ปัจจุบันมีแรงงานที่ใช้ ม.33 ประมาณ 11 ล้านคน ซึ่งประกันสังคมจะรวมเงินไว้อยู่ในถังเดียวกัน ดังนั้นการขอคืนไปบางส่วนจะทำให้ สปส. เสียโอกาสในการนำเงินไปลงทุน ฉะนั้นหากจะต้องคืนเงิน ก็ต้องคืนค่าเสียโอกาสนั้นให้ สปส. ด้วยเช่นกัน เพราะผู้ที่ไม่ได้กู้หรือขอคืนเงินจะได้รับเงินที่นำไปลงทุนกลับมา เพื่อเป็นสิทธิประโยชน์ของพวกเขาบวกจากในส่วนนี้ไปด้วย

“การแก้กฎหมายไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนเจตนารมณ์ พ.ร.บ.ประกันสังคม แต่อย่างใด แต่เป็นการเพิ่มช่องทางเลือกให้กับผู้ประกันตน เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความจำเป็นต่างๆ หรือมีความเดือดร้อน สามารถจัดการตัวเองได้” น.ส.ลัดดา กล่าว

น.ส.ลัดดา กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ทางกระทรวงการคลังได้ให้ สปส. เข้าไปชี้แจงถึงสถานภาพทางกองทุน ว่าการออกกฎหมาย “3 ขอ” นี้จะทำให้กองทุนมีปัญหาหรือไม่ ซึ่งทาง สปส. มีกฎหมายรองที่คอยดูแลอยู่แล้วว่าจะสนับสนุนตนเองอย่างไรไม่ให้เสียศูนย์ มีข้อระเบียบและข้อบังคับจากผู้ประกันตนที่ชัดเจน จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องกองทุนอย่างแน่นอน

ประกันสังคม จัดให้ 2 แบงค์ ร่วมโครงการปล่อยสินเชื่อ เพื่อส่งเสริมการจ้างงานให้สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบโควิด-19

นางพิศมัย นิธิไพบูลย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม ในฐานะโฆษกสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาล และกระทรวงแรงงาน ได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจจากโรคโควิด-19 ให้สามารถรักษาการจ้างงานให้ผู้ประกันตนมีงานทำต่อเนื่องและอยู่ในระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมได้มีโครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน วงเงินไม่เกิน 30,000 ล้านบาท เพื่อให้สถานประกอบการกู้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการเสริมสภาพคล่อง ให้มีศักยภาพ มีการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการกู้เพื่อ Refinance ได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของวงเงินปล่อยกู้ของแต่ละธนาคารที่เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่ง ณ ขณะนี้มีธนาคารเข้าร่วมโครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานแล้ว จำนวน 2 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) วงเงินสินเชื่อ เพื่อกู้ในโครงการฯ จำนวน 2,000 ล้านบาท และล่าสุดมีธนาคารเข้าร่วมโครงการสินเชื่อฯ เพิ่มเติมได้แก่ ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมอีก 2,000 ล้านบาท ทั้งนี้ มีระยะเวลาการยื่นคำขอกู้ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึง 31 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าวงเงินโครงการจะหมด โดยวงเงินสินเชื่อได้มีการจัดสรร ดังนี้

          1. วงเงิน 18,000 ล้านบาท สำหรับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างไม่เกิน 50 คน วงเงินกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท ต่อราย
          2. วงเงิน 9,000 ล้านบาท สำหรับสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 51 - 200 คน วงเงินกู้ไม่เกิน 10 ล้านบาท ต่อราย
          3. วงเงิน 3,000 ล้านบาท สำหรับสถานประกอบที่มีลูกจ้างเกิน 200 คน วงเงินกู้ไม่เกิน 15 ล้านบาท ต่อราย

ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้น สถานประกอบการที่สนใจกู้และมีหลักทรัพย์ค้ำประกันอัตราดอกเบี้ย จะอยู่ที่ร้อยละ 3 ต่อปี และคงที่ 3 ปี และในกรณีสถานประกอบการที่สนใจกู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือใช้บุคคลค้ำประกัน อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ 5 ต่อปี และคงที่ 3 ปี สำหรับข้อกำหนดของสถานประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน และหลังจากที่ได้รับสินเชื่อไปแล้ว ต้องรักษาจำนวนผู้ประกันตนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้ประกันตน ณ วันที่ได้รับสินเชื่อตลอดอายุโครงการ 3 ปี ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบให้มีการ เลิกจ้างลูกจ้างในสถานประกอบการ โดยสำนักงานประกันสังคมจะมีการตรวจสอบข้อมูลทุก 1 ปีผู้ประกอบการที่สนใจสามารถขอหนังสือรับรองสถานะสถานประกอบการ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทุกแห่ง เพื่อนำไปติดต่อขอยื่นกู้กับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการฯโครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานเป็นโครงการฯ ที่ดำเนินงานตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคมว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ.2559 ที่สามารถนำเม็ดเงิน ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินกองทุนประกันสังคมมาลงทุนทางสังคม เพื่อประโยชน์ทางอ้อมแก่นายจ้าง และผู้ประกันตนได้ นอกจากจะช่วยเป็นทุนหมุนเวียนและเสริมสร้างสภาพคล่องในสถานประกอบการรักษาสภาพการจ้างงานแล้ว ยังทำให้เกิดทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ และพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย

--------------------

ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

11 พฤษภาคม 2563

ผู้ชม 969 ครั้ง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita