ประกันสังคม ฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง

ไปเที่ยว... เกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน ประกันสังคมช่วยได้ ❗️ ใกล้ช่วงวันหยุดยาวแล้ว 🏖...

Posted by สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office on Friday, December 3, 2021

ในช่วงภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทุกคนจะได้รับ สิทธิ UCEP หรือ Universal Coverage for Emergency Patients คือสิทธิการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามนโยบายรัฐ สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นภาวะวิกฤติ หรือภายใน 72 ชั่วโมงนับจากวันที่เข้ารับการรักษา

เจ็บป่วยแค่ไหน ถึงเรียกว่า “ฉุกเฉิน”

หลายคนอาจยังสงสัยว่า แบบไหนนะ ถึงเรียกว่าเจ็บป่วยฉุกเฉินที่เข้าข่าย สิทธิ UCEP ซึ่งคำจำกัดความของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ระบุว่า
“เจ็บป่วยฉุกเฉิน” คือ การได้รับอุบัติเหตุ หรือมีอาการเจ็บป่วยกระทันหัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิต หรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต หรืออาการบาดเจ็บนั้น มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

อาการผู้ป่วยฉุกเฉินทางการแพทย์ 5 ระดับ

  • สีแดง มีภาวะคุกคามที่อาจทำให้เสียชีวิต ต้องได้รับการรักษาทันที เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้น ผู้ป่วยมีอาการชัก
  • สีชมพู มีภาวะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ควรได้รับการตรวจภายใน 10 นาที เช่น ชีพจรเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก
  • สีเหลือง ผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่ต้องได้รับการตรวจภายใน 30 นาที เช่น มีไข้สูง 40 องศา สูญเสียการมองเห็นฉับพลัน
  • สีเขียว ผู้ป่วยเจ็บเล็กน้อย ต้องได้รับการตรวจภายใน 1 ชั่วโมง คือ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเล็กน้อย แต่ไม่มีภาวะเร่งด่วนทางการแพทย์ เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะ อาเจียน มีไข้ต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • สีขาว ผู้ป่วยนอกทั่วไป หรือผู้ป่วยที่มารับยากลับบ้านซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ ควรได้รับการตรวจภายใน 2 ชั่วโมง

TIP BOX: UCEP Plus  คืออะไร?

ในช่วง สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด 19 หลายคนอาจจะเริ่มสับสนระหว่างสิทธิ UCEP กับ UCEP Plus คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร?

จำกันง่าย ๆ UCEP Plus คือ ระบบที่จัดทำขึ้นมาเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่เข้าข่ายตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ทุกแห่งได้ฟรี ส่วนสิทธิ UCEP คือสิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินทั่วไปที่สามารถรักษาฟรีใน 72 ชั่วโมง

แล้วผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าข่าย รับสิทธิ UCEP Plus แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้

  • ผู้ป่วยสีเขียว รักษาที่บ้าน (HI/CI First) มีระบบติดตามประเมินอาการอย่างสม่ำเสมอ
  • ผู้ป่วยสีเขียวที่อาการของโรคโควิดไม่ได้รุนแรง
  • ผู้ป่วยสีเหลืองปอดอักเสบ 2 ระดับ คือ ต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนแคนนูลา และต้องใช้ออกซิเจนแบบไฮโฟลว์
  • ผู้ป่วยสีแดง ที่เป็นผู้ป่วยวิกฤติในไอซียู หรือ จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

ใครบ้างได้สิทธิ ฉุกเฉินรักษาฟรี

ต้องบอกว่าใครก็ตามที่เป็นประชาชนคนไทย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม สิทธิบัตรทอง หรือ ไม่ได้มีสิทธิการรักษาอะไรเลย หากมีอาการ เจ็บป่วย ฉุกเฉิน สามารถรักษาฟรี โดยผู้ป่วยที่มีอาการฉุกเฉินต้องมี 6 อาการที่เข้าข่าย ดังนี้

เช็ค 6 อาการเข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤติ

หากไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการที่เข้าข่ายฉุกเฉินตามคำนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือไม่ ลองเช็กอาการเบื้องต้นหากพบ 6 อาการเข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤติ เข้ารับการรักษาได้ทุก รพ. ทั้งรัฐและเอกชน โดยแพทย์จะประเมินว่าเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินหรือไม่

  1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
  3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
  4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
  5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย

เจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร.1669 เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย โดยจะมีเจ้าหน้าที่แพทย์ฉุกเฉินทำหน้าที่ประสานงานรถของการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งจะเป็น รถฉุกเฉิน หรือรถพยาบาลในพื้นที่ให้มารับผู้ป่วย

ขั้นตอนการใช้สิทธิ ต้องทำอย่างไร

ก่อนจะใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถดำเนินการตามขั้นตอนได้ ดังนี้

  1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยให้แจ้ง รพ.ว่าใช้สิทธิ UCEP
  2. โรงพยาบาลประเมินอาการ และคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
  3. ระหว่างโรงพยาบาลประเมินอาการ ติดต่อ ศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หมายเลข 02-872-1669
  4. กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง หรือ พ้นวิกฤติ
  5. กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

สถานพยาบาลไม่สามารถปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินได้

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจร่วมกันว่าสิทธิ UCEP เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศบังคับใช้กับสถานพยาบาล หากมีผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ารับการรักษา ไม่มีสิทธิปฏิเสธ

ตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 36 และมาตรา 66 มีหลักดังนี้ สถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและประเภทของสถานพยาบาลนั้น ๆ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนั้น ผู้เสียหายยังเรียกค่าเสียหายได้อีก ที่โรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาคนไข้ ถือเป็นเรื่องไร้จรรยาบรรณอย่างร้ายแรงมาก และยังผิดกฎหมายด้วย

หาก สงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) โทร. 02-872-1669 หรือ E-mail ucepcenter@niems.go.th ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง

หรือ ติดต่อ 1669 / 1330 หากผู้ป่วยเข้าข่ายฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาได้ โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย

ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร หากเป็นผู้ป่วยที่เข้าข่าย อาการป่วยฉุกเฉิน ตาม 6 อาการด้านบน สามารถเข้ารับการรักษา โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ตามนโยบาย UCEP โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

เข้าห้องฉุกเฉินใช้ประกันสังคมได้ไหม

เวลาเจ็บป่วยขึ้นมาหากมีประกันสังคม จะสามารถเข้าโรงพยาบาลตามสิทธิที่คุณเลือกได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หากเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น อยู่ต่างจังหวัดแล้วประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน แล้วไม่สามารถเข้าโรงพยาบาลตามสิทธิของคุณได้ กรณีเหล่านี้ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วทำเรื่องขอเบิกเงิน ...

ประกันสังคม ฉุกเฉินเข้าที่ไหนได้บ้าง

ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการจากโรงพยาบาลทุกแห่งทั้งภาครัฐและเอกชน โดยไม่ถูกทวงถามสิทธิก่อนรักษา ไม่ต้องสำรองค่ารักษา ไม่ถูกบ่ายเบี่ยงการรักษา และได้รับการดูแลรักษาจนกว่าอาการจะทุเลา ขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจในระบบบริการทางการแพทย์ของสำนักงานประกันสังคมว่าทุกคนจะได้รับการบริการสาธารณสุขที่จำเป็นอย่างรวดเร็ว มีคุณภาพเท่าเทียม ...

1669 ช่วยอะไรบ้าง

การเจ็บป่วยฉุกเฉินหมายถึง การได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหัน ที่มีผลต่อชีวิตหรือการทำงานอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องบริการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรืออาการเจ็บป่วย บาดเจ็บรุนแรงขึ้น ลักษณะอาการฉุกเฉินที่ควรโทรแจ้ง 1669 คือ ปวดท้องรุนแรง อุจจาระร่วง หมดสติ ช็อค สะลึมสะลือ เจ็บท้องคลอด คลอด ...

ประกันสังคม ใช้กับโรงพยาบาลอื่นได้ไหม

ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมจะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 โดยการเลือกโรงพยาบาลนั้นให้เลือกตามความพอใจ ความสะดวก และต้องอยู่ภายในจังหวัดที่ตนทำงานอยู่

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita