ความสําคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ 4ข้อ

นับตั้งแต่โลกของเราได้เรียนรู้เรื่องราวของวิทยาศาสตร์นั่นทำให้ทุกคนได้เข้าใจว่าแท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญต่อโลกใบนี้อย่างมาก มีเรื่องราวต่างๆ มากมายที่เราจำเป็นต้องพึ่งพาวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าหาคำตอบ นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ทั้งหมด เพื่อพยายามสร้างสรรค์สิ่งดีที่สุดขึ้นมาให้กับมนุษย์ทุกคน ปฏิเสธไม่ได้ว่ายิ่งเวลาผ่านมายาวนานแค่ไหนหากไม่มีวิทยาศาสตร์โลกของเราเองก็คงไม่ได้พัฒนามาไกลแบบนี้ ดังนั้นความสำคัญของวิทยาศาสตร์จึงมีหลากหลายด้านทีเดียว

5 ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

  1. ช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น – ความสำคัญข้อแรกนี้ต้องยอมรับว่านับตั้งแต่โลกได้ก่อกำเนิดนักวิทยาศาสตร์คนแรกขึ้นมามันก็สร้างความสะดวกสบายให้กับมนุษย์เราแบบไม่หยุดยั้งจริงๆ สิ่งต่างๆ รอบตัวเราที่เกิดขึ้นแทบทั้งหมดล้วนมาจากวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างง่ายๆ อาทิ ไฟฟ้า หลอดไฟ เครื่องบิน รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เป็นต้น หากไม่มีสิ่งที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ก็คงไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เหล่านี้ให้เราได้ใช้งานกันอย่างแน่นอน
  2. เป็นแหล่งความรู้ในด้านข้อเท็จจริง – การศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ก็คือการศึกษาในด้านความเป็นจริงบนโลกว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เช่น การศึกษาเรื่องของแรงโน้มถ่วง การศึกษาในด้านระบบสุริยะจักรวาล เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ในอดีตมนุษย์อาจยังไม่รู้จักมาก่อนกระทั่งเมื่อมีวิทยาศาสตร์เข้ามาก็ทำให้เราได้เข้าใจกับข้อเท็จจริงของเรื่องราวมากมายบนโลกใบนี้
  3. ช่วยพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ – เมื่อวิทยาศาสตร์กลายเป็นสิ่งที่เราพบเจอได้ในชีวิตประจำวันนั่นหมายถึงการคิดค้นหลายๆ ด้านสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวไปข้างหน้าได้แบบไม่หยุดยั้ง เช่น การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อนำออกสู่ตลาดโลก การผลิตคิดค้นตัวยาต่างๆ การคิดค้นเกี่ยวกับการเกษตร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเดินหน้าได้อย่างมีเสถียรภาพ เพราะผลผลิตที่วิทยาศาสตร์มีส่วนร่วม
  4. ใช้สำหรับการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ – บนโลกใบนี้มีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมากมายทั้งปัญหาที่มีทางแก้ไขในตัวเองหรือปัญหาที่ต้องใช้เหตุผลเข้ามาเป็นตัวชี้วัด ในเมื่อวิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาด้านของเหตุและผล มีสมมุตานต่างๆ มารองรับชัดเจน ทำให้การแก้ปัญหาหลายๆ ด้านวิทยาศาสตร์สามารถตอบโจทย์ได้อย่างแม่นยำ เที่ยงตรง มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงชัดเจน เช่น เรื่องของฝนตกในอดีตเราไม่รู้เกิดจากอะไรแต่เมื่อมีวิทยาศาสตร์เข้ามาทำให้เข้าใจเหตุและผลของมัน เป็นต้น
  5. สร้างจินตนาการใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นตลอดเวลา – เมื่อคนเราอยากรู้เรื่องราวอะไรก็จะใช้วิทยาศาสตร์เป็นตัวช่วยในการค้นคว้าข้อมูลเรื่องนั้นๆ จนเกิดเป็นความเข้าใจ วิทยาศาสตร์จึงช่วยสร้างจินตนาการต่างๆ ให้กับผู้คนได้มากมาย

ความสำคัญเหล่านี้คือสิ่งที่วิทยาศาสตร์ให้กับโลกของเราตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นด้านดีๆ ที่ทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างไม่ต้องลำบากแบบคนยุคก่อน

จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายประเภท เลือกหัวข้อ วางแผน วิธีทำ นำเสนอและประโยชน์ของโครงงานได้นำความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และโครงงานไปใช้ได้

  1. วางแผนการทำโครงงานได้
  2. ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้
  3. อธิบายและบอกแนวในการนำผลงานจากโครงงานไปใช้ได้
  4. นำความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และโครงงานไปใช้ได้

ความหมายโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project)  หมายถึงการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การหาคำตอบภายใต้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะของครู อาจารย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกิจกรรมนี้อาจทำเป็นรายบุคคลหรือทำเป็นรายบุคคลหรือทำเป็นกลุ่ม  และจะทำในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้ โดยไม่ต้องจำกัดสถานที่

หลักการของโครงงานวิทยาศาสตร์

การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีหลักการสำคัญ ดังนี้

  1. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  2. เป็นกิจกรรมที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตั้งแต่การระบุปัญหาการตั้งสมมติฐาน การดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง เพื่อหาคำตอบในปัญหานั้นๆ จากแหล่งความรู้ ผู้ชำนาญหรืออื่นๆ โดยมีครู – อาจารย์ เป็นผู้แนะนำให้คำปรึกษา
  3. เป็นกิจกรรมที่เน้นแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เริ่มจากการ ระบุปัญหา เลือกหัวข้อที่ตนสนใจจะศึกษา ตั้งสมมติฐาน ขั้นสังเกต และการทดลองเพื่อรวบรวมข้อมูล และสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
  4. เป็นบกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียน คิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็นซึ่งเป็นแนวทางที่นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

จุดมุ่งหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป มีจุดมุ่งหมาย

  1. เพื่อนำมาจัดระบบ ระเบียบ และสื่อความหมายแล้วนำเสนอในรูปต่างๆ เช่นตาราง แผนภูมิ
  2. เพื่อให้ผู้เรียนเรียนใช้ความรู้และประสบการณ์เลือกทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามที่ตนใจ
  3. เพื่อให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นริเริ่มสร้างสรรค์
  4. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเห็นคุณค่าของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา
  5. เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแต่ละท้องถิ่น

ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

         1. โครงงานประเภทสำรวจเป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลจากธรรมชาติประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปแบ่งเป็น 4 ประเภทคือและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาจัดระบบระเบียบและสื่อความหมายและนำเสนอในรูปแบบอน ๆ เช่นตารางแผนภูมิกราฟคำอธิบายประกอบการทำโครงงานประเภทนี้ไม่มีการจัดหรือกำหนดตัวแปรต้นและตัวแปรตามซึ่งทำได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้

             1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลในธรรมชาติโดยไม่ต้องนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเช่นการสำรวจประชากรของพืชสัตว์ดินในบริเวณที่ต้องการศึกษาการสำรวจลักษณะระบบนิเวศในท้องถิ่นการสำรวจชนิดพืชใบเลี้ยงคู่ใบเลี้ยงเดี่ยวในบริเวณโรงเรียน

            1.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลตัวอย่างมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเช่นการสำรวจพยาธิในปูเค็มที่วางขายในตลาดที่ต้องการศึกษาการสำรวจค่าของความเป็นกรดเป็นเบสของดินหรือน้ำจากแหล่งที่ต้องการศึกษาต่างประการสำรวจหาปริมาณน้ำตาลจากอ้อยในพื้นที่ต่าง ๆ ของท้องถิ่น

           1.3 การจำลองธรรมชาติขึ้นในห้องปฏิบัติการแล้วสังเกตศึกษาเพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งการออกไปสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลในธรรมชาติไม่สะดวกเสียเวลาสิ้นเปลืองงบประมาณมากบางครั้งก็อาจจำลองธรรมชาติจำลองนั้นเช่นการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ที่นำมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการการศึกษาวงจรชีวิตของแมลงที่เลี้ยงในห้องปฏิบัติการการศึกษาพฤติกรรมของมดแดงที่นำมาเลี้ยง 1 อาณานิคมในห้องปฏิบัติการ

2. โครงงานประเภทการทดลองเป็นการศึกษาหาคำตอบของปัญหาโดยการออกแบบการเพื่อศึกษา            ผลของตัวแปรต้นตัวแปรตามและควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาโดยทั่วไปขั้นตอนการดำเนินงานของโครงงานประเภทนี้ประกอบด้วย

      2.1 การระบุปัญหา (ได้จากการสังเกต)

      2.2 การตั้งสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหา

     2.3 การออกแบบการทดลองโดยการกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาคือตัวแปรต้น (อิสระ) หมายถึงสิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาตัวแปรตามหมายถึงสิ่งที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้นตัวแปรคุมหมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่มีผลต่อตัวแปรตามจึงต้องควบคุมเพื่อมิให้มีข้อโต้แย้งในการสรุปผลการทดลอง

      2.5 การดำเนินการทดลองเพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการทดลอง

      2.6 การแปลผลและสรุปผลการทดลอง

3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์

        โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยต่าง ๆ อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่หรืออาจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหรือให้มีคุณภาพดีคงเดิม แต่ลดต้นทุนในการผลิตโครงงานประเภทนี้อาจรวมไปถึงการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายแนวคิดต่าง ๆ ตัวอย่างของโครงงานประเภทนี้เช่น

             – เครื่องปอกไข่

             – หุ่นยนต์ช่วยงานบ้าน

             – เครื่องบินเล็กขจัดพ่นยาฆ่าแมลง

4. โครงงานประเภททฤษฎี

              เป็นโครงงานที่ได้เสนอทฤษฎีหลักการหรือแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตรสมการคำอธิบายโดยผู้เสนอได้ตั้งกฎกติกาหรือข้อตกลงขึ้นมาแล้วเสนอทฤษฎีอื่นมาสนับสนุนอ้างอิงโครงงานประเภทนี้ต้องมีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ขั้นสูง

ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

      การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องและมีการดำเนินตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้       

          1. คิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงานผู้เรียนจะต้องคิดและเลือกด้วยตนเองซึ่งมักได้จากการสังเกตแล้วเกิดปัญหาคำถามหรือความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่นจากการอ่านหนังสือวารสารสิ่งพิมพ์จากการไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ เช่นพิพิธภัณฑ์โรงงานอุตสาหกรรมนิทรรศการหน่วยงานวิจัยการฟังบรรยายทางวิชาการการเรียนการสอนสนทนากับผู้มีความรู้และประสบการณ์การศึกษาโครงงานที่ผู้ทำไว้แล้วหรือการสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ รอบตัวเป็นต้นการเลือกที่จะทำโครงงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากถ้าเลือกเรื่องเหมาะสมในการทำโครงงานได้ก็เหมือนกับได้ทำโครงงานเสร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งการเลือกทำโครงงานใด ๆ มีข้อควรพิจารณาดังนี้

  • ผู้ที่มีความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์พื้นฐานในเรื่องที่ศึกษา
  • มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
  • วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสามารถจัดหาหรือจัดทำขึ้นมาเองได้
  • มีเวลาเพียงพอในการทำโครงงานเรื่องนั้น ๆ ได้
  • มีผู้เชี่ยวชาญรับเป็นที่ปรึกษามีความปลอดภัยในการทำโครงงานนั้น
  • มีงบประมาณ

2. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิและการสำรวจวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยหลังจากที่ผู้เรียนได้หัวข้อเรื่องที่กว้างที่สนใจจะศึกษาค้นคว้าแล้วขั้นต่อไปที่อาจารย์ที่ปรึกษาควรแนะนำคือแหล่งที่ผู้เรียนจะสามารถหาความรู้เพิ่มเติมหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้เรียนสามารถขอคำปรึกษาเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่เขาสนใจนั้นการศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒินี้อาจารย์ที่ปรึกษาต้องแนะนำให้ผู้เรียนรู้จักจดบันทึกไว้ในสมุดให้เป็นหลักฐานเรียบร้อยผู้ทำโครงงานทุกคนจำเป็นต้องมีสมุดบันทึกประจำวันซึ่งควรนำแสดงในการแสดงโครงงานด้วยการศึกษาที่เกี่ยวข้องนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวความคิดที่จะกำหนดขอบข่ายของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นและได้ความรู้ในเรื่องที่จะทำการศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้นจนสามารถออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ควรอนุญาตให้ผู้เรียนลงมือทำโครงงานโดยไม่ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องเหล่านั้นจากเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอเสียก่อนการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญในการใช้ห้องสมุดและแหล่งวิทยาการต่าง ๆ จึงเป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่จะต้องแนะนำเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ในการค้นเอกสารจากห้องสมุดซึ่งอาจแนะนำให้ผู้เรียนไปปรึกษากับบรรณารักษ์ห้องสมุดก็ได้นอกจากนั้นอาจารย์ที่ปรึกษาอาจต้องให้ความช่วยเหลือในการติดต่อห้องสมุดอื่น ๆ ในท้องถิ่นให้ผู้เรียนสามารถเข้าไปใช้บริการได้ด้วย

3. การจัดทำเค้าโครงงานย่อของโครงงานหลังจากที่ผู้เรียนได้หัวข้อเรื่องทำโครงงานที่เฉพาะเจาะจงและได้ศึกษาเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ อย่างเพียงพอแล้วขั้นต่อไปคือการเขียนเค้าโครงโครงงานเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการขั้นต่อไปเค้าโครงย่อโครงงานโดยทั่วไปจะเขียนขึ้นเพื่อแสดงแนวความคิดแผนงานและขั้นตอนของการทำโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

4. การลงมือทำโครงการเมื่อเค้าโครงย่อของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วต่อไปก็เป็นขั้นลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในโครงงานย่อที่เสนออาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

          1) เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมก่อนลงมือทดลองหรือศึกษาค้นคว้า

          2) มีสมุดสำหรับบันทึกกิจกรรมประจำวันว่าได้ทำอะไรไปได้ผลอย่างไรมีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร

          3) ปฏิบัติการทดลองด้วยความละเอียดรอบคอบและบันทึกข้อมูลไว้เป็นระเบียบและครบถ้วน

          4) คำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัยในการทำงาน

          5) พยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ตอนแรก แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมบ้างหลังจากได้เริ่มต้นทำงานไปแล้วถ้าคิดว่าจะทำให้ได้ผลงานดีขึ้น

         6) ควรปฏิบัติการทดลองซ้ำหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มากขึ้น

         7) ควรแบ่งงานเป็นส่วนย่อย ๆ และทำแต่ละส่วนให้สำเร็จก่อนทำส่วนอื่น ๆ ต่อไป

         8) ควรทำงานเป็นส่วนที่เป็นหลักสำคัญ ๆ ให้เสร็จก่อนแล้วจึงทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อตกแต่งโครงงาน

        9) อย่าทำงานต่อเนื่องจนเมื่อยล้าจะทำให้ขาดความระมัดระวัง

      10) ถ้าเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ควรคำนึงถึงความคงทนแข็งแรงและขนาดที่เหมาะสมของสิ่งประดิษฐ์

               ความสำคัญของโครงงานมิได้ขึ้นอยู่กับผลการทดลองที่ได้ตรงกับความคาดหวังหรือไม่แม้ผลการทดลองที่ได้จะไม่เป็นไปตามความคาดหวังก็ถือว่ามีความสำเร็จในการทำโครงงานนั้นเหมือนกันเช่นถ้าพบว่าซังข้าวโพดยังไม่สามารถใช้เพาะเห็ดนางรมได้ดีตามคาดหวังก็สามารถแนะนำให้ใช้ซังข้าวโพดเหมาะหรือไม่เหมาะต่อการนำมาเป็นวัสดุเพาะเห็ดอย่างไรก็จะทำให้งานสมบูรณ์ยิ่งขึ้นจะเห็นได้จากการทำโครงงานไม่ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ก็มีคุณค่าทั้งนั้นข้อสำคัญคือผู้เรียนจะต้องทำโครงงานจนเสร็จครบขั้นตอนตามที่ได้วางแผนไว้อย่าท้อถอยหรือเลิกกลางคัน

        5. การเขียนรายงาน

         เมื่อดำเนินการทำโครงงานจนครบขั้นตอน   ได้ข้อมูล  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมทั้งแปลผลและสรุปผลแล้วงานขั้นต่อไปคือการเขียนรายงาน

        การเขียนรายงานที่เกี่ยวกับโครงงานเป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งเพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เข้าใจถึงแนวความคิดวิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น

รูปแบบการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์จึงมีลำดับดังนี้

       1. ปกนอกมีชื่อเรื่องชื่อคณะที่ทำงานชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาชื่อโรงเรียน

       2. ปกรองจะคล้ายหรือเหมือนปกนอก

       3. คำขอบคุณเป็นการเขียนขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ให้การสนับสนุนที่ทำให้เราได้รับความสำเร็จจากการทำ

       4. บทคัดย่อเป็นการสรุปย่อ ๆ ของสิ่งที่ทำได้โดยมีข้อความประมาณ 300-500 คำที่เป็นเนื้อความและควรมีส่วนสำคัญคือความมุ่งหมายวิธีทดลองผลการทดลองและสรุปผลการทดลองอย่างย่อ ๆ (ควรฝึกเขียนให้ถูกต้องเพราะส่วนนี้สำคัญมาก)

      5. สารบัญเรื่อง

      6. สารบัญตารางผลการทดลอง

      7. สารบัญกราฟหรือรูปภาพ (ถ้ามีในผลการทดลอง)

      8. บทที่ 1 ซึ่งมี 2 ส่วนที่สำคัญคือส่วนที่ 1 ประกอบด้วยแนวคิดที่มาและความสำคัญของเรื่องและส่วนที่ 2 ซึ่งกล่าวถึงความมุ่งหมายของการทดลอง (ดำเนินการเหมือนในเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เคยเสนอ)

      9. บทที่ 2 บทเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนที่ผู้ทดลองจะต้องไปศึกษาจากเอกสารโดยเป็นส่วนที่อาจจะเป็นหลักการทฤษฎีหรือรายงานการทดลองในส่วนที่ผู้อื่นได้ทดลองคล้าย ๆ กับเรื่องที่เราศึกษา (เป็นการบอกว่าเราทำไม่ซ้ำกับของเขา) หากไปศึกษาและคัดลอกข้อความจากหนังสืออะไรจะต้องระบุชื่อหนังสือไว้ในส่วนท้ายเล่มโครงงานที่เรียกว่าหนังสืออ้างอิงบรรณานุกรมเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ที่นำมาอ้างอิง

     10. บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง (ระบุรายละเอียดเหมือนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์)

     11. บทที่ 4 ผลการทดลองโดยจะต้องกำหนดตารางบันทึกผลการทดลองหรืออาจทำเป็นกราฟหรือวาดภาพไว้แต่ละส่วนจะมีการวิเคราะห์ผลการทดลองไว้ด้วย

    12. บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง (ย่อ ๆ )

   13. ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงานนี้

   14. ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) เป็นการบอกให้รู้ว่าหากมีผู้ไปทดลองต่อจะทำอย่างไรจะแก้ไขปรับปรุงส่วนใดบ้าง

   15. บรรณานุกรม (หนังสืออ้างอิง) ต้องเขียนให้ถูกหลักการใช้ห้องสมุด (สัมพันธ์กับข้อ 9 หรือบทที่ 2)

6. การแสดงผลงาน

การแสดงผลงานนั้นจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโครงงานเรียกได้ว่าเป็นงานขั้นสุดท้ายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นการแสดงผลิตผลของงานความคิดและความพยายามทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทลงไปและเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้นมีผู้กล่าวว่าการวางแผนออกแบบเพื่อจัดแสดงผลงานนั้นมีความสำคัญเท่า ๆ กับการทำโครงงานนั่นเองผลงานที่ทำขึ้นจะดีและยอดเยี่ยมเพียงใด แต่ถ้าการจัดแสดงผลงานทำได้ไม่ดีก็เท่ากับไม่ได้แสดงความดียอดเยี่ยมของผลงานนั้นออกมาให้ผู้อื่นได้เห็น

การแสดงผลงานนั้นอาจทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ กันเช่นการแสดงในรูปนิทรรศการซึ่งมีทั้งการจัดแสดงและอธิบายด้วยคำพูดหรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไม่มีการอธิบายประกอบหรือในรูปของรายงานปากเปล่าไม่ว่าการแสดงผลงานจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามควรจะจัดให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

1. ชื่อโครงงานชื่อผู้ทำโครงงานชื่อที่ปรึกษา

2. คำอธิบายย่อ ๆ ถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงานและความสำคัญของโครงงาน

3. วิธีดำเนินการโดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่เด่นและสำคัญ

4. การสาธิตหรือแสดงผลงานที่ได้จากการทดลอง

5. ผลการสังเกตและข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการทำโครงงาน

ในการแสดงผลงานถ้าผู้นำผลงานมาแสดงจะต้องอธิบายหรือรายงานปากเปล่าหรือตอบคำถามต่าง ๆ ต่อผู้ชมหรือต่อกรรมการตัดสินโครงงานการอธิบายตอบคำถามหรือรายงานปากเปล่านั้นควรได้คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

1. ต้องทำความเข้าใจกับเรื่องที่อธิบายเป็นอย่างดี

2. คำนึงถึงความเหมาะสมของภาษาที่ใช้กับระดับผู้ฟังควรให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย

3. ควรรายงานอย่างตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม

4. พยายามหลีกเลี่ยงการอ่านรายงาน แต่อาจจดหัวข้อสำคัญ ๆ ไว้เพื่อช่วยให้การรายงานเป็นไปตามขั้นตอน

5. อย่าท่องจำรายงานเพราะทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ

6. ขณะที่รายงานควรมองตรงไปยังผู้ฟัง

7. เตรียมตัวตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ

8. ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมาไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ได้ถาม

9. หากติดขัดในการอธิบายควรยอมรับได้โดยดีอย่ากลบเกลื่อนหรือหาทางเลี่ยงเป็นอย่างอื่น

10. ควรรายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

11. หากเป็นไปได้ควรใช้สื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ประกอบการรายงานด้วยเช่นแผ่นโปร่งใสหรือสไลด์เป็นต้นการทำแผงสำหรับแสดงโครงงานแผงสำหรับแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ควรทำด้วยไม้อัดติดบานพับมีห่วงรับและขอสับทำฉากกับแผ่นตัวกลางในการเขียนรายละเอียดบนแผงโครงงานควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. ต้องประกอบด้วยชื่อโครงงานชื่อผู้ทำโครงงานชื่อที่ปรึกษาคำอธิบายย่อ ๆ ถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงานความสำคัญของโครงงานวิธีดำเนินการเลือกเฉพาะขั้นตอนที่สำคัญผลที่ได้จากการทดลองอาจแสดงเป็นตารางกราฟหรือรูปภาพก็ได้ประโยชน์ของโครงงานสรุปผลเอกสารอ้างอิง

2. จัดเนื้อที่ให้เหมาะสมไม่แน่นจนเกินไปหรือน้อยจนเกินไป

3. คำอธิบายความกะทัดรัดชัดเจนเข้าใจง่าย

4. ใช้สีสดใสเน้นจุดสำคัญเป็นการดึงดูดความสนใจ

5. อุปกรณ์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

การประเมินผลโครงงานวิทยาศาสตร์

การประเมินผลโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอีกกิจกรรมหนึ่งในกระบวนการจัดแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของผู้เรียนตามปกติครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินโครงงานเพื่อเก็บคะแนนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการเรียนวิทยาศาสตร์ตามปกติถ้าได้กำหนดให้การทำโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติหรือประเมินโดยคณะกรรมการของโรงเรียนเพื่อคัดเลือกโครงงานไปแสดงในโอกาสอื่น ๆ ต่อไปส่วนการประเมินโครงงานเพื่อตัดสินให้รางวัลในวันแสดงโครงงานส่วนใหญ่ประเมินโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกที่ได้รับเชิญการประเมินผลไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใดจะมีหลักเกณฑ์ใหญ่ ๆ ที่คล้ายกันจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดสำหรับเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการพิจารณาประเมินโครงงานในแบบประเมินดังกล่าวอาจอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้

1. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ทำการพิจารณาตัดสินให้คะแนนต้องคำนึงถึงระดับชั้นและอายุของผู้เรียนด้วยซึ่งอาจพิจารณาในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.1 ใช้ศัพท์เทคนิคได้ถูกต้องและความเข้าใจในศัพท์เทคนิคที่ใช้เพียงใด

1.2 ได้ค้นหาเอกสารอ้างอิงได้เหมาะสมและมีความเข้าใจในเรื่องที่อ้างอิงมากน้อยเพียงใด                  1.3 มีความเข้าใจในหลักการสำคัญของเรื่องที่ทำมากน้อยเพียงใด

1.4 ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากการทำโครงงานนี้นอกเหนือจากที่เรียนตามหลักสูตรปกติมากน้อยเพียงใด

2. การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทำโครงงานหรือเทคนิคที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้นถ้าเป็นโครงงานประเภททดลองหรือสำรวจรวบรวมข้อมูลการประเมินในข้อนี้ควรพิจารณาในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1.1 ปัญหาหรือสมมติฐานได้แถลงไว้ชัดเจนเพียงใด

1.2 การออกแบบการทดลองหรือการวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลทำได้รัดกุมเพียงใด

1.3 การวัดและการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ทำได้ดีเพียงใด

1.4 การจัดกระทำและการนำเสนอข้อมูลทำได้เหมาะสมเพียงใด

1.5 การแปลผลเหมาะสมและตั้งบนรากฐานของข้อมูลที่รวบรวมได้เพียงใด

1.6 การบันทึกประจำวันเกี่ยวกับการทำโครงงานทำไว้เรียบร้อยและเหมาะสมใจเพียงใด

ถ้าเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์การประเมินโครงงานในหัวข้อนี้พิจารณาดังนี้

ก. วัสดุที่ใช้มีความเหมาะสมเพียงใด

ข. การออกแบบมีความเหมาะสมกับงานที่จะใช้เพียงใดเช่นขนาดรูปร่างตำแหน่งของปุ่มควบคุมต่าง ๆ ฯลฯ

ค. มีความคงทนถาวรเพียงใด

ง. ได้คำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งานเพียงใดการออกแบบได้คำนึงถึงการซ่อมบำรุงรักษามากน้อยเพียงใดเช่นส่วนจำเป็นต้องถอดออกเปลี่ยนบ่อย ๆ หรือต้องซ่อมบำรุงบ่อย ๆ อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพียงใด

ฉ. ความประณีตเรียบร้อยสวยงามจูงใจผู้ใช้เพียงใด

ช. เทคนิควิธีการที่ใช้มีความเหมาะสมกับเทคโนโลยีปัจจุบันเพียงใดถ้าเป็นโครงงานเชิงทฤษฎีการประเมินโครงการในหัวข้อนี้อาจพิจารณาดังนี้

ซ. แนวความคิดมีความต่อเนื่องเพียงใด

ฌ. แนวความคิดมีเหตุผลและมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดๆ

ญ. กติกาหรือข้อตกลงเบื้องต้นที่ใช้มีความเหมาะสมเพียงใด

ฎ. การอธิบายหรือการสรุปแนวความคิดตั้งบนกติกาหรือข้อตกลงเบื้องต้นที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงไร

3. การเขียนรายงานการจัดแสดงโครงงานและการอธิบายปากเปล่าการประเมินโครงงานในหัวข้อนี้เป็นการประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้

3.1 รายงานที่ผู้เรียนได้เขียนขึ้นได้เหมาะสมเพียงใด

3.2 การจัดแสดงโครงงานทำได้เหมาะสมเพียงใด

3.3 การอธิบายปากเปล่าอธิบายได้ชัดเจนรัดกุมเพียงใด

4. ความคิดสร้างสรรค์การประเมินในข้อนี้ต้องคำนึงถึงระดับผู้ทำโครงงานคือเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์หรือความแปลกใหม่ในระดับผู้ทำโครงงานไม่ใช่ในระดับของผู้ประเมินโครงงานซึ่งอาจพิจารณาในหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

4.1 ปัญหาหรือเรื่องที่ทำมีความสำคัญและมีความแปลกใหม่เพียงใด

4.2 ได้มีการดัดแปลงเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมแนวความคิดที่แปลกใหม่ไปในโครงงานที่ทำมากน้อยเพียงใด

4.3 มีการคิดและใช้วิธีการที่แปลกใหม่ในการควบคุมหรือวัดตัวแปรหรือเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด

4.4 มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือที่แปลกใหม่ในการทำโครงงานมากน้อยเพียงใด

4.5 มีการออกแบบประดิษฐ์ดัดแปลงหรือใช้วัสดุอุปกรณ์ที่แปลกใหม่ในการทำโครงงานมากน้อยเพียงใด

ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผู้เรียนควรจะได้มีโอกาสประเมินผลงานด้วยตนเองการประเมินผลด้วยตนเองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้พิจารณาประเมินโครงงานของตนเองว่ามีคุณภาพในด้านต่าง ๆ มากน้อยเพียงใดเพื่อปรับปรุงแก้ไขโครงงานให้ดียิ่งขึ้นก่อนนำโครงงานออกแสดงนอกจากนั้นถ้าผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาแบบประเมินนี้ก่อนวางแผนทำโครงงานก็จะช่วยให้ผู้เรียนวางแผนทำโครงงานได้ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ที่ได้รับการพิจารณาได้รัดกุมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นประโยชน์ของโครงงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ธีระชัยปรณโชติ (2531: 3-4) ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ดังต่อไปนี้

1. ช่วยส่งเสริมจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและการเรียนวิทยาศาสตร์ให้สัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง

การสร้างความสำนึกและรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง ได้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ลึกซึ้งไปกว่าการเรียนในหลักสูตรปกติ ได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง ได้มีโอกาสแสดงความสามารถของตนเอง

การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

1. สร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง 2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสวงหาความสามารถตามศักยภาพของตนเอง 3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและเรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ลึกซึ้งไป กว่าการเรียนในหลักสูตรปกติ

จุดประสงค์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์คืออะไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ก าหนดจุดมุ่งหมายของการท าโครงงานวิทยาศาสตร์ ไว้ดังนี้ 1. เพื่อให้นักเรียนใช้ความรู้และประสบการณ์เลือกท าโครงงานวิทยาศาสตร์ตามที่ตนสนใจ 2. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง 3 เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 4 เพื่อให้ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita