การตั้งถิ่นฐานใน ดิน แดน ไทย ภาคเหนือ

การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย 
      มีความเข้าใจมาช้านานแล้วว่าในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เคยมีชื่อเรียกว่า "สุวรรณภูมิ" ตามความเข้าใจของชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้า
ขายแถบนี้ แต่ปัญหาที่มักเป็นคำถามอยู่เสมอในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยก็คือ ดินแดนสุวรรณภูมิเป็นของชนชาติใด ชนชาติไทยมาจากไหนมาจากตอนใต้ของจีน หรือมีพัฒนาการมาจากดินแดนในประเทศไทยในปัจจุบัน ปัญหาเหล่านี้มักจะเป็นข้อสงสัยในประวัติศาสตร์ไทยอยู่ตลอดเวลา
      ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์นั้น ในปัจจุบันนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้แบ่งช่วงสมัยของประวัติศาสตร์ ออกอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 สมัย ลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์คือช่วงระยะเวลาตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาและดำรง ชีพโดยยึดถือหลักฐานที่เป็นตามธรรมชาติเช่นเดียวกับ สัตว์โลกอื่นๆต่อมามนุษย์บางกลุ่มสามารถปรับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นโดย การนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไฟ น้ำ หิน โลหะ ไม้ เป็นต้น มาใช้ประโยชน์ สร้างสมความเจริญและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง จนสามารถพัฒนาเป็นสังคมเมือง การเรียนรู้เรื่องราวในยุคนี้ได้จากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ และภาพศิลปะถ้ำต่าง ๆ สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึง สมัยที่มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้บันทึกบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร ์ในช่วงยุคสมัยนี้ชัดเจนมากขึ้นโดยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีสนับสนุน ช่วงสมัยนี้สามารถแบ่งย่อยได้ เช่น การตั้งเมืองหลวง การเปลี่ยนราชวงศ์ เป็นต้น

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาเรื่องราวของชนชาติไทย
      การศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทยนั้น เราศึกษาได้จาก...
- หลักฐานที่เป็นลายลักษณอักษรเป็น ห์ลักฐานที่ปรากฏเป็นตัวอักษรบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับคนไทยในสมัยโบราณไว้ อาจจะปรากฏอยู่ตามฐานเจดีย์ กำแพงโบสถ ผนังถ้ำ แผ่นไม้ ใบลาน สมุดข่อย เช่น จารึกสุโขทัย จารึกมอญ เป็นต้น
- หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น โครงกระดูกมนุษย์ พระพุทธรูป ร่องรอย

การตั้งถิ่นฐานของชุมชนเป็นต้น นอกจากนี้การศึกษาประวัติศาสตร์อาจแบ่งหลักฐานได้อีก 2 ประเภท ดังนี้
- หลักฐานชั้นต้นหรือปฐมภูมิ หมายถึง บันทึกหรือคำบอกเล่าของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ หรือผู้ร่วมสมัยกับเหตุการณ์ เช่น
บันทึก จดหมายเหตุ เป็นต้น
- หลักฐานชั้นรองหรือทุติยภูมิ หมายถึง ผลงานการค้นคว้าที่เขียนขึ้นหรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้น แล้ว โดยอาศัยหลักฐานชั้นต้นและเพิ่มเติมด้วย
ความคิดเห็น คำวินิจฉัย ตลอดจนเหตุผลอื่น ๆ ประกอบ เช่น พงศาวดาร ตำนาน คำให้การ เป็นต้น
      สำหรับการศึกษาเรื่องราวของชนชาติไทยนั้น นอกจากจะใช้หลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังจะต้องอาศัยหลักฐาน การวิเคราะห์ ประเมินคุณค่า การตีความ จากนักวิชาการในหลายสาขาวิชาด้วยกัน เช่น นักมานุษยวิทยา นักโบราณคดี นักภาษาศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ นักสังคมวิทยา นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้นเพื่อให้ข้อมูล ตรงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด

แนวความคิดเกี่ยวกับคนไทยมาจากไหน
      การศึกษาเกี่ยวกับที่มาของชนชาติไทยยังคงเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่และหาข้อยุติแน่นอนไม่ได้ แต่ข้อสันนิษฐานหรือแนวคิดต่าง ๆ ที่มีหลักฐานน่าเชื่อถือมีผล ให้การศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติไทยมีความชัดเจนมากขึ้น สรุปได้เป็น 5 แนวทาง ดังนี้
     1. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยอยู่บริเวณเอเชียกลาง
     แนวคิดนี้เกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา โดยนักประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นต่างมีความเชื่อกันว่าแหล่งกำเนิดอารยธรรมของ โลกมีจุดกำเนิดอยู่ทางแถบ เอเชียกลางใกล้ทะเลแคสเปียน ก่อนที่กระจายไปยังทิศทางต่าง ๆ ดร.วิลเลียม คลิฟตัน ดอดหมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้นำความเชื่อนี้ไปกล่าวไว้ในงานเขียน เกี่ยวกับชนชาติไทยของเขาว่าพวกมุงซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบรรพบุรุษของคนไทยได้ อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากถิ่นกำเนิดของตนในเอเชียกลางมายังชายแดนด้าน ตะวันตกของจีน
      ขุนวิจิตรมาตรา ( สง่า กาญจนาคพันธ์ ) ได้แสดงความคิดเห็นไว้ในหนังสือหลักไท ( พ.ศ. 2471 ) เชื่อว่าแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขา ิอัลไตของเอเชียกลาง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพวกมองโกลด้วยกัน ภายหลังจึงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานแถบบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง และแม่น้ำแยงซีต่อมาเมื่อถูกรุกราน จึงค่อย ๆ อพยพลงมาสู่สุวรรณภูมิต่อมาภายหลัง เมื่อมีการศึกษาทางด้านโบราณคดีและด้านภูมิศาสตร์ ทำให้แนว ความคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไปเพราะทาง แถบบริเวณเทือกเขาอัลไตของเอเชียกลางนั้นเป็นเขตแห้งแล้ง อากาศมีความหนาวเย็น และถ้าอพยพโยกย้ายลงมาก็ต้องผ่านทะเลทรายที่กว้างใหญ่และทุรกันดารมาก จึงไม่เหมาะสำหรับจะเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์
      2. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยอยู่บริเวณมณฑลเสฉวน
      เทเรียน เดอ ลา คูเปอรี ศาสตราจารย์ชาวฝรั่งเศส เจ้าของแนวความคิดที่เชื่อว่าความเป็น มาของคนไทยอยู่บริเวณมณฑลเสฉวนของจีนได้แสดงความ เห็นไว้ว่า คนเชื้อชาติไทยตั้งถิ่นฐานเป็นอาณาจักรอยู่ในดินแดนจีนมาก่อน เมื่อประมาณ 2,208 ปีก่อนคริสตกาล ชนชาติ " ไท"ได้ถูกระบุไว้ในรายงานสำรวจ ภูมิประเทศจีนในสมัยพระเจ้ายู้ จีนเรียกชนชาติไทยว่า "มุง" หรือ "ต้ามุง" ถิ่นที่อยู่ของคนไทยซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุจีนนี้อยู่ในเขตที่เป็นมณฑลเสฉวน ปัจจุบัน สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเสนอความเห็นไว้ว่า คนไทยน่าจะอยู่แถบดินแดนทิเบตต่อกับจีน ( มณฑลเสฉวนปัจจุบัน ) ราว พ.ศ. 500 ถูกจีนรุกรานจึงอพยพมาอยู่ที่ยูนนานทางตอนใต้ของจีน แล้วกระจายไปตั้งถิ่นฐานบริเวณเงี้ยว ฉาน สิบสองจุไท ล้านนา ล้านช้าง
     หลวงวิจิตรวาทการ ได้กล่าวถึงถิ่นกำเนิดของคนไทยไว้ว่า คนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในดินแดนซึ่งเป็นมณฑลเสฉวน ฮูเป อันฮุย และเกียงซีตอนกลางของ ประเทศจีนปัจจุบัน ก่อนที่จีนจะอพยพเข้ามา แล้วค่อย ๆ อพยพสู่มณฑลยูนนาน และแหลมอินโดจีนต่อมาภายหลังเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าทางด้านมานุษยวิทยาและ ภาษาศาสตร์รวมทั้งการตรวจสอบหลักฐานจดหมายเหตุของจีนเป็นจำนวนมาก ปรากฏว่าสมมติฐานดังกล่าวไม่น่าจะเป็นไปได้ทำให้แนวความคิดที่ว่าคนไทยมี ีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณมณฑลเสฉวนของจีน ไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป
     3. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยอยู่บริเวณทางใต้ของจีน และทางตอนเหนือของภาคพื้น  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย
     อาร์ซิบอล อาร์ โคลฮูน นักสำรวจชาวอังกฤษ ได้เขียนรายงานการสำรวจที่ปรากฏอยู่ ในหนังสือชื่อ ไครเซ ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2428 ได้พบคนเชื้อชาติไทยในบริเวณภาคใต้ของจีนตั้งแต่กวางตุ้งไปจนถึงมัณฑะเลย์ในพม่า วูลแฟรม อีเบอร์ฮาด นักสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา ชาวเยอรมันได้กล่าวว่า เผ่าไทยอยู่บริเวณมณฑลกวางตุ้ง ต่อมาชนเผ่าไทยได้อพยพเข้าสู่ยูนานและดินแดนในอ่าวตังเกี๋ย และได้มาสร้างอาณาจักรเทียนหรือแถน ที่ยูนนานซึ่งตรงกับสมัย ราชวงศ์ฮั่นของจีน เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ถังเผ่าไทยก็สถาปนาอาณาจักรน่านเจ้าขึ้นที่ยูนนาน
     วิลเลียม เจ. เก็ตนีย์ นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกันผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภาษาไทยในเวียดนามตอนเหนือ ลาว และจีนตอนใต้ ได้เสนอความเห็นไว้เมื่อ
พ.ศ. 2508 ว่า ถิ่นกำเนิดของภาษาไทยมิได้อยู่ทางมณฑลยูนนาน แต่อยู่ที่มณฑลทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแถวเส้นเขตแดนระหว่างมณฑลกวางสีของจีนกับ เมืองเดียนเบียนฟูของเวียดนามตอนเหนือ
     เฟรเดอริค โมต ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์จีนได้ให้ทัศนะไว้นบทความที่เขียนขึ้นใน พ.ศ. 2507 ว่า หลักฐานประวัติศาสตร์จีนแม้จะไม่ระบุไว้อย่างชัดเจน เกี่ยวกับกำเนิดของชนชาติไทยว่าอยู่บริเวณใด แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีนใด ๆ ที่จะคัดค้านสมมติฐานที่ว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย อยู่ในบริเวณตอนใต้ของจีนและบริเวณต่อเนื่องกับเขตแดนของเวียดนาม
     เจมส์ อาร์ แชมเบอร์เลน นักภาษาศาสตร์ กล่าวว่า "ถิ่นกำเนิดเริ่มแรกของชนชาติไทยนั้นน่าจะอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเหนือปากแม่น้ำแยงซีตอนล่างเพราะเป็น วิถีชีวิตของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทยที่เพราะปลูกข้าวนาลุ่มมาแต่แรก ข้อมูลเกี่ยวกับคำศัพท์ของกล้าข้าว ประเภทต่าง ๆในภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มคนที่พูดภาษา ไทยอาจเป็นคนกลุ่มแรกที่รู้จักเพาะปลูกข้าวนาลุ่ม
     พอล เบเนดิกต์์ นักภาษาศาสตร์และมนุษยวิทยาชาวอเมริกันได้เสนอว่า ถิ่นกำเนิดของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทยนั้นอยู่บริเวณทางตอนใต้ของจีน
      ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช กล่าวว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของจีนแถบมณฑลกวางตุ้ง กวางสี ต่อมาประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าไทยจึงได้อพยพมาทางตะวันตก ตั้งแต่มณฑลเสฉวน เมืองเชียงตู ลงล่างเรื่อยมาจนเข้าเขตยูนนาน และลงมาทางใต้ผ่านสิบสองจุไทลงสู่ประเทศลาว
     จิตร ภูมิศักดิ์ เสนอทัศนะไว้ว่า คนเผ่าไทยอาศัยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณทางตอนใต้ของจีน และบริเวณภาคเหนือของไทย ลาว เขมร พม่า และรัฐอัสสัมของอินเดีย แนวความเชื่อนี้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีหลักฐานในสาขาวิชาการต่าง ๆ ทั้งทางด้านภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี มานุษยวิทยา และอื่น ๆ มาสนับสนุนเป็นจำนวนมาก
    4. แนวความคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นประเทศไทยใน ปัจจุบัน
     คอริช เวลส์ เป็นนักวิชาการตะวันตกคนแรกที่เสนอสมมติฐานว่า ถิ่นเดิมของชนชาติไทย อยู่บริเวณประเทศไทยปัจจุบัน โดยอาศัยหลักฐานจากกะโหลกศรีษะ ที่ขุดได้จากตำบลพงตึก จังหวัดกาญจนบุรีที่มีอายุราวต้นคริสต์ศตวรรษ ซึ่งเวลส์เห็นว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับกระโหลกศรีษะของคนไทยปัจจุบัน นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ได้ทำการศึกษาโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ 37 โครง ซึ่งพบบริเวณสองฝั่งแม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี พบว่าโครงกระดูกของ มนุษย์หินใหม่เหมือนกับโครงกระดูกของคนไทยปัจจุบันเกือบทุกอย่าง จึงสรุปว่าดินแดนไทยเมื่อครั้งอดีตน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของบรรพบุรุษของคนไทยปัจจุบัน มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว
     ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน โบราณคดี ได้เสนอว่า มีร่องรอยของผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่ยุคหินเก่าเรื่อยมาจนกระทั่งยุคหินกลาง หินใหม่ ยุคโลหะ และเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ โดยแต่ละยุคได้มีการสืบเนื่องทางวัฒนธรรมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันด้วย แนวความคิดนี้มีนักวิชาการหลายท่านพยายามนำหลักฐานทาง ด้านโบราณคดีและเอกสารมาพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าคนไทยน่าจะอยู่บริเวณนี้มา ก่อน โดยไม่ได้อพยพมาจากดินแดนอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป ซึ่งแนวความคิดนี้ในปัจจุบัน ยังไม่ถือว่าเป็นข้อยุติ
     5. แนวความคิดที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีนหรือ คาบสมุทรมลายูบริเวณหมู่เกาะชวา
     นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ ได้ทำวิจัยทางด้านพันธุศาสตร์เกี่ยวกับหมู่เลือดลักษณะของ จำนวนยีน พบว่าหมู่เลือดของคนไทยคล้ายคลึงกับชาวเกาะชวา ที่อยู่ทางใต้มากกว่าคนจีนซึ่งอยู่ทางเหนือ รวมทั้งลักษณะและจำนวนของยีนระหว่างคนไทยกับคนจีนก็ไม่เหมือนกันด้วย
     ดร.ถาวร วัชราภัย ได้ทำวิจัยกลุ่มเลือดที่ทันสมัย สรุปได้ว่าไทยดำและผู้ไทยมีลักษณะเลือดใกล้เคียงกับชาวจีน แต่ไม่ใกล้เคียงกับชาวมาเลย์ แต่ชาวมาเลย์มี ลักษณะเลือดใกล้เคียงกับชาวเขมร ขากรรไกรและฟันก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้ทำผลงานการวิจัยเรื่องฮีโมโกลบิน อี พบว่า ฮีโมโกลบิน อี มีมากในผู้คนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย ลาว เขมร พม่า มอญ และอื่น ๆ คนจีนเกือบไม่มีอยู่เลย แต่ปัจจุบันนี้ได้เลิกใช้ฮีโมโกลบิน อี เป็นเครื่องพิสูจน์ว่ากลุ่มใดมีบรรพบุรุษร่วมกับกลุ่มใด เพราะมีการพิสูจน์ได้ว่าดินแดนที่มีฮีโมโกลบิน อี มาก คือดินแดนที่มีไข้มาลาเรียมาก แนวความคิดนี้ปัจจุบัน ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดและยังไม่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางนัก

ชุมชนโบราณในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณใด

จากหลักฐานทางโบราณคดี เราพอกำหนดได้ว่า ชุมชนมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้ กระจายกันอยู่ตั้งแต่บริเวณอำเภอกุมภวาปี ผ่านอำเภอวาริชภูมิ อำเภอพนา ไปจนเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งอยู่บริเวณรอบหนองหาน สกลนคร การตั้งหลักแหล่งชุมชนในบริเวณนี้ มีสืบเนื่องเรื่อยมา จนถึงสมัยที่เกิดศิลปะแบบทวาราวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษ ...

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการตั้งถิ่นฐานแบบใด

การตั้งถิ่นฐานของประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เลือกตั้งถิ่นฐานบริเวณ ที่ดอน เพราะ ภูมิประเทศมีความแตกต่าง ขอบคุณรูปภาพจาก//encrypted-tbn0.gstatic.com Page 10 ประชากรส่วนใหญ่เลือกตั้งถิ่นฐานบริเวณ ที่ราบและที่ราบลุ่ม เช่น แม่น้าป่าสัก แม่น้าเจ้าพระยา แม่น้าลพบุรีแม่น้าแม่กลอง

ประชากรส่วนใหญ่ของภาคเหนือนิยมตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณใด

นับตั้งแต่มีการสร้างบ้านแปงเมืองขึ้น เป็นรัฐ เป็นต้นมา ชาวภาคเหนือ หรือพวกล้านนา ส่วนใหญ่จะตั้งหลักแหล่งบนที่ราบลุ่มในหุบเขา ตามริมลำน้ำ หรือลำธาร และมีอาชีพส่วนใหญ่ในการทำนา การขยายตัวของการตั้งถิ่นฐานนั้นก็คือ เคลื่อนย้ายเข้าไปหักร้างถางพงตามหุบเขาที่ยังไม่เคยมีผู้คนเข้าไปอยู่ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ อาจกล่าวได้ว่า ...

บริเวณที่มีการตั้งถิ่นฐานหนาแน่นที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือบริเวณใด *

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีประชากรหนาแน่นเป็นที่ ๒ ของประเทศ รองจากภาคกลาง บริเวณที่มี ประชากรหนาแน่นมากจะอยู่ในจังหวัดที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบอันกว้างใหญ่ และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ จังหวัดที่มี ประชากรหนาแน่นที่สุด ได้แก่ จ.มหาสารคาม จังหวัดที่มีความหนาแน่นรองลงไปได้แก่ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita