โครง งาน วิทยาศาสตร์ ดับ กลิ่น รองเท้า

แผ่นดับกลิ่นรองเท้าจากธูปฤาษี

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

นางสุนทรีย์ สัลักคำ

สถาบันการศึกษา

โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า

ระดับชั้น

ประกาศนียบัตรวิชาชีพ

วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อ

แผ่นดับกลิ่นรองเท้าที่ได้ทำการทดลองนี้ได้มาจากการนำเส้นใยจากใบต้นธูปฤาษี โดยลอกส่วนที่เป็นสีเขียวออก จะเหลือส่วนที่เป็นเส้นใยสีขาวซึ่งเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาทำเยื่อกระดาษ ใช้ส่วนที่เป็นเส้นใยสีขาวหนัก 100 กรัม นำมาปั่นกับน้ำให้ละเอียด และแช่น้ำนานประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง แล้วนำไปต้นนานประมาณ 15 นาที ทำ 5 ส่วน จากนั้นนำส่วนที่ 1 ทำเป็นเยื่อกระดาษกลิ่นมะกรูด โดยผสมผิวมะกรูดปั่นละเอียด 150 กรัม ส่วนที่ 2 ทำเยื่อกระดาษกลิ่นส้ม โดยผสมผิวส้มปั่นละเอียด 150 กรัม ส่วนที่ 3 ทำเยื่อกระดาษกลิ่นส้มโอ โดยผสมผิวส้มโอปั่นละเอียด 150 กรัม ส่วนที่ 4 ทำเยื่อกระดาษกลิ่นใบเตย โดยผสมใบเตยปั่นละเอียด 150 กรัม ส่วนที่ 5 กลิ่นที่ได้จะยึดติดกันด้วยน้ำแป้งสุก 2 % ปริมาณ 800 ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้เยื่อกระดาษที่ได้มีคุณภาพดี จากนั้นจึงนำมาตัดเป็นรูปพื้นรองเท้า แล้วนำไปทดสอบกับนักเรียนในห้อง 30 คน พบว่า แผ่นดับกลิ่นรองเท้าทุกกลิ่นสามารถดับกลิ่นเหม็นในรองเท้าได้ และใช้งานได้อย่างน้อยประมาณ 14 วัน

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

แผ่น,ดับกลิ่น,รองเท้า,ธูปฤาษี

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

โครงงาน

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า

วันที่เสร็จ

วันพฤหัสบดี, 01 มกราคม 2541

ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน

นายบรรณจง ใจปินตา, นายพัทพงษ์ ชัยสุนทร, นางสาววรยา วรไธสง

ระดับชั้น

ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6

ดูเพิ่มเติม

คุณอาจจะสนใจ

Hits

(79248)

บทความนี้ได้มีการนำเสนอโครงงานเรื่องการจัดการระบบขนส่งรถไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยจะมีการกล่าว ...

Hits

(74319)

จากปัญหาการระบาดของแมลงวัน การเกิดหนอนแมลงวันในส่วนต่างๆ ของร่างการ ทำให้ผู้จัดทำคิดหาวิธีการในการก ...

Hits

(73402)

ในปัจจุบันนี้มีเกมส์ออนไลน์มากมายที่ให้คุณประโยชน์และโทษในส่วนของประโยชน์จะให้ความผ่อนคลายแก่ผู้เล่ ...

ชื่อโครงงาน แผ่นดับกลิ่นรองเท้าจากธูปฤาษี

ประเภทหรือสาขา สาขาชีวภาพ

โรงเรียน เทพศิรินทร์ร่มเกล้า

ผู้จัดทำ 1. นายบรรณจง ใจปินตา

2. นายพัทพงษ์ ชัยสุนทร

3. นางสาววรยา วรไธสง

อาจารย์ที่ปรึกษา นางสุนทรีย์ สลักคำ

บทคัดย่อ

แผ่นดับกลิ่นรองเท้าที่ได้ทำการทดลองนี้ได้มาจากการนำเส้นใยจากใบต้นธูปฤาษี โดยลอกส่วนที่เป็นสีเขียวออก

จะเหลือส่วนที่เป็นเส้นใยสีขาวซึ่งเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาทำเยื่อกระดาษ ใช้ส่วนที่เป็นเส้นใยสีขาวหนัก 100 กรัม

นำมาปั่นกับน้ำให้ละเอียด และแช่น้ำนานประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง แล้วนำไปต้นนานประมาณ 15 นาที ทำ 5 ส่วน

จากนั้นนำส่วนที่ 1 ทำเป็นเยื่อกระดาษกลิ่นมะกรูด โดยผสมผิวมะกรูดปั่นละเอียด 150 กรัม ส่วนที่ 2 ทำเยื่อกระดาษ

กลิ่นส้ม โดยผสมผิวส้มปั่นละเอียด 150 กรัม ส่วนที่ 3 ทำเยื่อกระดาษกลิ่นส้มโอ โดยผสมผิวส้มโอปั่นละเอียด 150

กรัม ส่วนที่ 4 ทำเยื่อกระดาษกลิ่นใบเตย โดยผสมใบเตยปั่นละเอียด 150 กรัม ส่วนที่ 5 กลิ่นที่ได้จะยึดติดกันด้วยน้ำ

แป้ งสุก 2 % ปริมาณ 800 cm3 ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้เยื่อกระดาษที่ได้มีคุณภาพดี จากนั้นจึง

นำมาตัดเป็นรูปพื้นรองเท้า แล้วนำไปทดสอบกับนักเรียนในห้อง 30 คน พบว่า แผ่นดับกลิ่นรองเท้าทุกกลิ่นสามารถดับ

กลิ่นเหม็นในรองเท้าได้ และใช้งานได้อย่างน้อยประมาณ 14 วัน

กิตติกรรมประกาศ

โครงงานวิทยาศาสตร์ที่คณะผู้จัดทำได้ทำการทดลองและศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ ได้รับการสนับสนุนจากหลาย ๆ

ฝ่าย อาทิ ผู้อำนวนากรโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ที่ได้ให้กำลังใจด้วยดีตลอดมา อีกทั้งผู้ช่วยผู้อำนวยการทุกฝ่าย คณะ

ครู – อาจารย์หมวดวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาจารย์สุนทรีย์ สลักคำ และอาจารย์เสาวนีย์ ตรีศักด์ิศรีสกุล ได้ให้

คำปรึกษา ข้อคิด และคำแนะนำตลอดจนช่วยแก้ปัญหาบางประการที่พบจากการทดลอง รวมทั้งการจัดหาวัสดุอุปกรณ์

และเอกสารอ้างอิงมาใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า ให้เป็ นไปตามขั้นตอน จนสำเร็จไปด้วยดี คุณรังสี ชูเดช ที่

อนุเคราะห์ พืชสมุนไพรมาเพิ่มกลิ่นหอมให้กับแผ่นเยื่อกระดาษ คณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณทุกท่านที่กล่าว

นามไว้ ณ โอกาสนี้

สาบัญเรื่อง

เรื่อง หน้า

บทคัดย่อ ก

คำขอบคุณ ข

สารบัญเรื่อง ค

สารบัญตารางง

บทที่ 1 บทนำ 1 - 2

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3 - 4

บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง 5 - 7

บทที่ 4 ผลการทดลอง 8 - 12

บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการทดลอง 13

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน 14

ข้อเสนอแนะ 14

เอกสารอ้างอิง

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า

1. แสดงคุณสมบัติของเส้นใยจากส่วนต่าง ๆ ของใบธูปฤาษีหลังจากแช่น้ำและต้มแล้ว 8

2. แสดงลักษณะของแผ่นเยื่อกระดาษเมื่อใช้น้ำแป้ งสุกที่มีความเข้มข้นต่าง ๆ 8

3. แสดงลักษณะของแผ่นเยื่อกระดาษเมื่อใช้น้ำแป้ งสุก 2 % ในปริมาณที่ต่างกัน 9

4. เปรียบเทียบผลของการใช้อัตราส่วนของพืชสมุนไพร : เยื่อกระดาษในปริมาณที่ต่างกัน 9

5. แสดงผลการใช้แผ่นรองรองเท้าจากใยธูปฤาษีกลิ่นมะกรูด 10

6. แสดงผลการใช้แผ่นรองรองเท้าจากใยธูปฤาษีกลิ่นส้ม 10

7. แสดงผลการใช้แผ่นรองรองเท้าจากใยธูปฤาษีกลิ่นส้มโอ 11

8. แสดงผลการใช้แผ่นรองรองเท้าจากใยธูปฤาษีกลิ่นใบเตย 11

9. แสดงผลการใช้แผ่นรองรองเท้าจากใยธูปฤาษีกลิ่นตะไคร้ 12

10. สรุปผลการใช้แผ่นดับกลิ่นรองเท้าทั้ง 5 กลิ่น 12

บทที่ 1

บทนำ

1. แนวคิด ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ในชั่วโมงเรียนพระพุทธศาสนา อาจารย์จะให้ถอดรองเท้าก่อนเข้าห้องเสมอ ข้าพเจ้าสังเกตว่าเมื่อถอดรองเท้า

แล้วจะเกิดกลิ่นเหม็นอับ ทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียนจึงมีแนวคิดว่าน่าจะหาสเปรย์ดับกลิ่นมาฉีดรองเท้า จึงได้ทดลองดู

แต่ก็ได้ผลในระยะวันแรก และมีราคาแพง ข้าพเจ้าและเพื่อนจึงคิดหาวิธีการที่จะนำแผ่นดับกลิ่นมาใส่ไว้ในรองเท้า จึงได้

เกิดความคิดว่าน่าจะใช้วัสดุธรรมชาติ เพราะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงได้คิดทำโครงงานแผ่นดับกลิ่นรองเท้าขึ้น

โดยสังเกตว่าในหมู่บ้านไทยสมุทรของกลุ่มโครงงานข้าพเจ้ามีต้นธูปฤาษีขึ้นอยู่ข้างทาง ก็เลยคิดที่จะนำต้นธูปฤาษีนี้ มาใช้

ให้เกิดประโยชน์แทนที่จะปล่อยให้ขึ้นโดยเปล่าประโยชน์ จากการที่สังเกตส่วนต่าง ๆ ของต้นธูปฤาษี ซึ่งจะประกอบ

ไปด้วยส่วนใบและดอก ที่ส่วนใบนั้นภายในจะมีเส้นใยสีขาว ก็เลยคิดที่จะนำใยจากใบธูปฤาษีมาทำเป็นกระดาษ และนำ

กระดาษที่ได้จากธูปฤาษีมาดัดแปลงเป็นแผ่นรองเท้าโดยจะใช้กลิ่นจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่นที่มีกลิ่นหอมของน้ำมัน

ระเหยมาดับกลิ่นรองเท้าโดยผสมกับเยื่อกระดาษที่ได้

2. จุดมุ่งหมายของการศึกษา

1) นำวัสดุธรรมชาติมาใช้เป็นประโยชน์

2) ศึกษาค้นคว้าหาวิธีการทำเยื่อกระดาษกลิ่นหอมที่มีคุณภาพ

3) ศึกษาและทดสอบความคงทนของกลิ่นจากมะกรูด ส้ม ส้มโอ ใบเตย และ ตะไคร้ ว่าชนิดใดมีความคงทน

ของกลิ่นและอายุการใช้งานนานกี่วัน

4) ทำเป็นแผ่นดับกลิ่นรองเท้าและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

5) นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาวางแผนแก้ปัญหาได้

3. ขอบเขตของการศึกษา

- ในการศึกษาค้นคว้า จะศึกษาเฉพาะการทำเยื่อกระดาษจากใบต้นธูปฤาษีเท่านั้น

- การทดลองกับพืชที่ให้กลิ่นหอม จะใช้ส่วนของพืช เช่น ผิวมะกรูด ผิวส้ม ผิวส้มโอ ใบเตย และต้นตะไคร้

(ต้นและใบ)

- ทดลองใช้แผ่นดับกลิ่นรองเท้ากับเพื่อนนักเรียนชายในห้องเรียน ม. 5/1 – 5/3 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า

4. สมมติฐานของการศึกษา

แผ่นเยื่อกระดาษจากธูปฤาษีที่ผสมพืชสมุนไพรที่ให้กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยใช้ดับกลิ่นเหม็นในรองเท้าได้

5. ตัวแปรที่ศึกษา

กลุ่มทดลอง กลุ่มนักเรียนที่ใช้แผ่นเยื่อกระดาษจากธูปฤาษีที่ผสมพืชสมุนไพรที่ให้กลิ่นของน้ำมันหอมระเหย

ทั้ง 5 ชนิด

กลุ่มควบคุม กลุ่มนักเรียนที่ใช้แผ่นเยื่อกระดาษจากธูปฤาษีที่ไม่ผสมพืชสมุนไพรที่ให้กลิ่นของน้ำมันหอม

ระเหย

ตัวแปรต้น แผ่นเยื่อกระดาษที่ผสมพืชสมุนไพรที่ให้กลิ่นหอม 5 ชนิด

ตัวแปรตาม ความคงทนของกลิ่นและอายุการใช้งานของแผ่นดับกลิ่น

ตัวแปรควบคุม

- ปริมาณเส้นใยจากใบต้นธูปฤาษี

- เวลาที่ใช้ต้มเส้นใยธูปฤาษี

- ความเข้มข้นของน้ำแป้ งสุก

- ปริมาณน้ำแป้ งสุก

- จำนวนนักเรียนที่ทดลอง

- ปริมาณของผิวมะกรูด , ผิวส้ม , ผิวส้มโอ , ใบเตย , และต้นตะไคร้

- ระยะเวลาที่ใช้แช่เส้นใยธูปฤาษี

6. ระยะเวลาที่ดำเนินการทดลอง

ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 – 30 มกราคม 2546

7. สถานที่ทำการทดลอง

- บ้านเลขที่ 161/227 หมู่ 3 ซอยอ่อนนุช 86 ถนนอ่อนนุช เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250

- ห้องปฏิบัติการชีววิทยา โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า

- 3 -

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. พืชสมุนไพรที่ให้กลิ่นหอมของนํ้ามันหอมระเหย

มะกรูดเป็นพืชในตระกูล Rutaceae สกุล Citrus เช่นเดียวกับมะนาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus hystrix_

มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นที่มีลักษณะขนาดเล็ก ตามกิ่งแล้ะต้นมีหนามแหลม ใบมีสีเขียวเข้ม ดอกมีสีเขียว ผลมีสีเขียวหรือ

เหลืองแกมเขียว เปลือกผิวขรุขระ แต่มีกลิ่นหอม เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยเป็นจำนวนมาก ประสิทธิภาพต่อจุลินทรีย์

ของผิวมะกรูดอยู่ที่ส่วนน้ำมันหอมระเหย ซึ่งผิวมะกรูดจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ต่าง ๆ จึงมี

การนำน้ำมันหอมระเหยนี้ไปผสมกับแชมพูสระผมเพื่อกำจัดรังแคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา

ตะไคร้เป็นพืชในตระกูล Gramieae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cymbopogon cltratus_ ตะไคร้เป็นพืชที่มีอายุอยู่ได้

หลายปี ลักษณะลำต้นจะขึ้นเป็นกอ ส่วนที่อยู่เหนือดินจะเป็นมัดของปากใบที่เกิดจากการเรียงตัวกันอย่างหนาแน่นของ

กาบใบ หูใบและตัวใบ ตัวใบมีลักษณะเรียวยาว มีสีเขียวแกมเทา ปลายใบค่อนข้างแหลมใบมักจะม้วนห่อ ส่วนของ

น้ำมันหอมระเหยจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หลายชนิด

2. การทำเยื่อกระดาษจากธูปฤาษี

ธูปฤาษี หรือที่ชาวบ้านรู้จักและเรียกกันทั่วไปว่า ต้นปรือ บางแห่งเรียกว่า กกช้าง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Typha

angustifolia. เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุหลายปี เป็นวัชพืชที่สร้างความรำคาญให้แก่เกษตรกร พบได้มากในที่ลุ่มรกร้างว่าง

เปล่าที่มีน้ำขัง ลักษณะเป็นกอ ใบเรียงยาว ช่อดอกยาวพอ ๆ กับใบ สูงประมาณ 2 – 2.5 เมตร ช่อดอกคล้ายธูปมีสี

น้ำตาล สามารถนำมาทำเป็นเครื่องจักรสานได้ นอกจากนี้ยังพบว่าตรงส่วนใบของธูปฤาษีมีเส้นใยจำพวกใยเซลลูโลสที่

สามารถปั่นเป็นเส้นด้ายแล้วนำไปทอเป็นผืนผ้าได้ และสามารถนำมาทำกระดาษซึ่งเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

ได้ผลิตกระดาษจากธูปฤาษีเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ขึ้นโดยมีขั้นตอนดังนี้

1. นำใบธูปฤาษีมาล้างให้สะอาด แล้วตัดให้มีขนาดเหมาะสม

2. ต้มใบธูปฤาษีกับสารละลายโซดาไฟออกร้อยละ 7 ของน้ำหนักใบธูปฤาษี นาน 3 – 4 ชั่วโมง จนเปื่ อย

แล้วล้างเยื่อให้โซดาไฟออกให้หมด สังเกตจากการจับแล้วไม่ลื่นมือ

3. นำใบธูปฤาษีจากข้อ 2 มาทุบหรือตีให้เส้นใยกระจายตัวออกจากกันเป็นเยื่อกระดาษ แล้วนำไปฟอกสีให้ขาว

ด้วยผงปูนคลอรีน หรือสารฟอกอย่างอื่น เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

4. การทำให้เป็นแผ่นกระดาษโดยใช้ตะแกรงช้อนเยื่อกระดาษ แล้วยกผึ่งแดดให้แห้ง แล้วลอกออกจากตะแกรง

นอกจากนี้ยังมีการใช้พืชชนิดอื่น ๆ เช่น ต้นกล้วย , ผักตบชวา , ใบสับปะรด ฯลฯ มาทำเป็นกระดาษได้อีกด้วย

- 4 -

3. การศึกษาส่วนของใบที่นำมาทำกระดาษจากต้นธูปฤาษี

การนำเส้นใยจากต้นธูปฤาษีนั้นเราจะต้องนำเอาต้นธูปฤาษีที่มีทั่วไปตามธรรมชาติ โดยนำเอาต้นธูปฤาษีมาตัด

เป็นช่วงที่มีความยาวจากโคนต้นมาถึงปลายยอด แล้วใช้มีดปอกเปลือกที่มีสีเขียวของต้นธูปฤาษีตั้งแต่โคนต้นขึ้นมาเรื่อย

ๆ จนถึงยอดแล้วใช้มีดขูดเอาเส้นใยที่มีสีขาวแล้วนำเอาเส้นใยที่มีสีขาวนั่นนำมาปั่นให้ละเอียด แล้วนำมาแช่ไว้ในน้ำ

ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง และต้มนาน 15 นาที จึงได้เส้นใยพร้อมที่จะนำมาทำกระดาษ

- 5 -

บทที่ 3

วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง

1. วัสดุอุปกรณ์

1.1 อุปกรณ์

1) ตะแกรงมุ้งลวดขนาด 30 เซนติเมตร × 30 เซนติเมตร

2) กะละมัง

3) เครื่องปั่นผลไม้

4) เครื่องชั่ง

5) บีกเกอร์ ขนาด 100 ml และ 600 ml

6) ที่กรอง

7) มีด

8) ผ้าขาวบาง

9) เตาแก๊ส

10) หม้ออะลูมิเนียม

1.2 สารเคมี

1) แป้งมัน

1.3 พืชที่นำมาทดลอง

1) ใบธูปฤาษี

2) ตะไคร้

3) มะกรูด

4) ส้ม

5) ส้มโอ

6) ใบเตย

2. วิธีการทดลอง

ตอนที่ 1 ศึกษาว่าเส้นใยจากส่วนใดของใบธูปฤาษีที่เหมาะสมจะนำมาทำเยื่อกระดาษ

1. นำใบของต้นธูปฤาษีที่มีความยาวประมาร 2 – 3 เมตร ใช้มีดปลอกเอาเปลือกสีเขียวออก จนเหลือเส้นใยสี

ขาว

2. นำเปลือกสีเขียวหั่นเป็นชิ้นเล็กมา 100 กรัม ใส่เครื่องปั่นแล้วเติมน้ำประมาณ 200 cm3 ปั่นให้ละเอียด

พอประมาณ นำเส้นใยที่ปั่นแล้วไปแช่น้ำไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง แล้วนำไปต้มนาน 15 นาที

- 6 -

3. นำเส้นใยส่วนที่เป็นสีขาวที่ลอกเปลือกออกหมด มา 100 กรัม ใส่เครื่องปั่น แล้วเติมน้ำ 200 cm3 ปั่นให้

ละเอียดพอประมาณ นำเส้นใยที่ปั่นแล้วไปแช่น้ำไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง แล้วนำไปต้มนาน 15 นาที

4. นำใบธูปฤาษีทั้งใบหั่นเป็นชิ้นเล็ก มา 100 กรัม ใส่เครื่องปั่นแล้ว เติมน้ำ 200 cm3 ปั่นให้ละเอียด

พอประมาณ นำเส้นใยที่ปั่นแล้วไปแช่น้ำไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง แล้วนำไปต้มนาน 15 นาที

5. บันทึกผลการทดลอง

ตอนที่ 2 หาความเข้มข้นของนํ้าแป้งสุกที่สามารถทำให้กระดาษที่มีคุณสมบัติยึดแน่นติดกันได้ดีที่สุด

1. นำแป้ งมัน 10 g. มาผสมกับน้ำ 2,000 cm3 = 0.5 %

2. นำแป้ งมัน 20 g. มาผสมกับน้ำ 2,000 cm3 = 1 %

3. นำแป้ งมัน 30 g. มาผสมกับน้ำ 2,000 cm3 = 1.5 %

4. นำแป้ งมัน 40 g. มาผสมกับน้ำ 2,000 cm3 = 2 %

5. นำแป้ งมัน 50 g. มาผสมกับน้ำ 2,000 cm3 = 2.5 %

6. นำน้ำแป้ งที่ผสมทั้งหมดไปต้มประมาณ 10 นาทีและตั้งทิ้งไว้พออุ่น

7. นำเส้นใยธูปฤาษีที่แช่น้ำไว้ในตอนที่ 1 ไปผสมน้ำแป้ งทั้งหมดที่เตรียมไว้แล้วก็คนให้เข้ากัน

8. นำตะแกรงมุ้งลวด 5 อัน ขนาด 30 cm. × 30 cm. แล้วใช้น้ำฉีดตะแกรงให้ชื้น นำเส้นใยธูปฤาษี

ที่ผสมแต่ละ ความเข้มข้น เทใส่ตะแกรงมุ้งลวด แผ่กระจายให้มีความหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร

สม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น

9. นำตะแกรงทั้ง 5 อันผึ่งลมไว้ให้แห้งสนิท

10. บันทึกผลและเปรียบเทียบคุณภาพของแผ่นเยื่อกระดาษที่ได้

ตอนที่ 3 ศึกษาปริมาณนํ้าแป้งสุก 2 % ที่เหมาะสมต่อการทำให้เส้นใยธูปฤาษีกระจายตัวและติดกันแน่นพอดี

1. เตรียมน้ำแป้ งสุก 2 % ปริมาณ 500 cm3 , 800cm3 และ 1,200 cm3

2. นำเส้นใยธูปฤาษีที่ได้จากการทดลองตอนที่ 1 มาใส่ในน้ำแป้ งสุก ที่เตรียมไว้คนจนเข้ากันแล้วนำ

ไปเทลงในตะแกรงลวด แผ่ให้เป็นแผ่นสม่ำเสมอกัน มีความหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร

3. บันทึกผลการทดลอง

ตอนที่ 4 ศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของผิวมะกรูด ส้ม ส้มโอ ใบเตย และตะไคร้ ที่จะนำมาผสมกับเยื่อกระดาษ

1. เตรียมผิวมะกรูด 50 กรัม 100 กรัม และ 150 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปปั่นให้ละเอียด

2. เตรียมเปลือกส้ม 50 กรัม 100 กรัม และ 150 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปปั่นให้ละเอียด

3. เตรียมเปลือกส้มโอ 50 กรัม 100 กรัม และ 150 กรัม มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปปั่นให้ละเอียด

4. เตรียมใบเตย 50 กรัม 100 กรัม และ 150 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปปั่นให้ละเอียด

5. เตรียมตะไคร้ทั้งค้นมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 50 กรัม 100 กรัม และ 150 กรัม นำไปปั่นให้ละเอียด

6. นำแต่ละส่วนจากข้อ 1 – ข้อ 5 ทำส่วน 50 กรัมก่อน มาผสมกับน้ำแป้ ง 2 (ปริมาณที่ได้จากการทดลอง

ตอนที่ 3) คนให้เข้ากัน ทั้ง 5 กะละมัง แล้วนำธูปฤาษีที่แช่ไว้มาใส่กะละมังทั้ง 5 ใบ ต่อจากนั้นใช้

ตะแกรงช้อนเอาเส้นใยธูปฤาษีขึ้นมา เกลี่ยให้มีความหนาสม่ำเสมอกัน ซึ่งหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร

แล้วนำผ้าขาวบางมาปิดทับด้านบนเยื่อกระดาษ แล้วนำตะแกรงไปผึ่งลม ให้เยื่อกระดาษแห้งสนิทแล้วจึง

แกะออก

7. ทำซ้ำตามข้อ 6 แต่ใช้ส่วน 100 กรัม และ 150 กรัม ตามลำดับ

8. บันทึกและเปรียบเทียบผลการทดลอง

ตอนที่ 5 ศึกษาว่าแผ่นเยื่อกระดาที่มีกลิ่นต่าง ๆ คือ มะกรูด ส้ม ส้มโอ ใบเตย และ ตะไคร้ ว่าแต่ละชนิดมี

ระยะเวลาที่สามารถใช้ดับกลิ่นเหม็นในรองเท้าได้นานกี่วัน

1. นำแผ่นเยื่อกระดาษที่มีกลิ่นต่าง ๆ ทั้ง 5 กลิ่น มาตัดเป็นรูปพื้นรองเท้า ก็จะได้แผ่นดับกลิ่นรองเท้าสมุนไพร

ทั้ง 5 กลิ่น คือ มะกรูด ส้ม ส้มโอ ใบเตย และ ตะไคร้ มาทดลองกับนักเรียนชายในห้องโดยใช้นักเรียน

30 คน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ทดลองกลุ่มละกลิ่น

2. ทดลองกับเท้าทั้งสองข้าง โดยใช้แผ่นดับกลิ่นรองเท้าที่ผสมพืชสมุนไพรที่ให้กลิ่นหอมทั้ง 5 ชนิดกับเท้า

ข้างขวา และเท้าข้างซ้ายใช้แผ่นดับกลิ่นรองเท้าที่ไม่ได้ผสมพืชสมุนไพรใด ๆ

3. บันทึกและเปรียบเทียบผลการทดลอง

- 8 -

บทที่ 4

ผลการทดลอง

ตอนที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงคุณสมบัติของเส้นใยจากส่วนต่าง ๆ ของใบธูปฤาษีหลังจากแช่นํ้าและต้มแล้ว

ส่วนของใบธูปฤาษีที่นำมาศึกษาเพื่อทำ

เยื่อกระดาษ

คุณสมบัติของเส้นใยหลังจากแช่นํ้าและต้มแล้ว

1. ส่วนที่เป็นเปลือกของใบมีสีเขียว 1. แข็ง และมีสีเขียว

2. ส่วนที่เป็นเปลือกสีเขียวและเส้นใย

ข้างในสีขาว

2. เหนียว , ค่อนข้างแข็ง และมีสีเขียว

3. ส่วนข้างในของใบเป็นสีขาว 3. เหนียว นุ่ม และมีสีเหลืองอ่อน

ตอนที่ 2

ตารางที่ 2 แสดงลักษณะของแผ่นเยื่อกระดาษเมื่อใช้นํ้าแป้งสุกที่มีความเข้มข้นต่าง ๆ

ความเข้มข้นของนํ้าแป้งสุก ลักษณะของแผ่นเยื่อกระดาษที่ได้

1. น้ำแป้ งสุก 0.5 % 1. ยุ่ย ไม่ติดกันเป็นแผ่น

2. น้ำแป้ งสุก 1.0 % 2. ไม่ติดกันเป็นแผ่น

3. น้ำแป้ งสุก 1.5 % 3. ติดเป็นแผ่นบางส่วน

4. น้ำแป้ งสุก 2.0 % 4. ติดเป็นแผ่น และดึงออกจากตะแกรงได้ง่าย

5. น้ำแป้ งสุก 2.5 % 5. ติดเป็นแผ่น แต่ดึงออกจากตะแกรงได้ยาก ทำให้แผ่น

เยื่อกระดาษขาดง่าย

- 9 -

ตอนที่ 3

ตารางที่ 3 แสดงลักษณะของแผ่นเยื่อกระดาษเมื่อใช้นํ้าแป้งสุก 2 % ในปริมาณที่ต่างกัน

ปริมาณนํ้าแป้งสุก 2 % ที่ใช้ผสมกับเส้น

ใยธูปฤาษี

ลักษณะของแผ่นเยื่อกระดาษ

1. ใช้ปริมาณน้ำแป้ ง 500 cm3 1. เส้นใยไม่กระจายตัว เกาะกันเป็นก้อน ๆ

2. ใช้ปริมาณน้ำแป้ ง 800 cm3 2. เส้นใยกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ

3. ใช้ปริมาณน้ำแป้ ง 1,200 cm3 3. เส้นใยกระจายตัวมากเกินไป แต่กลิ่นของสมุนไพรที่

ผสมลงไปจะจางลง

ตอนที่ 4

ตารางที่ 4 เปรียบเทียบผลของการใช้อัตราส่วนของพืชสมุนไพร : เยื่อกระดาษในปริมารที่ต่างกัน

อัตราส่วนระหว่างพืชสมุนไพรที่ใช้ผสมใน

เยื่อกระดาษ 100 กรัม

ลักษณะของแผ่นดับกลิ่นที่ได้

1. พืชสมุนไพร : เยื่อกระดาษ = 50 กรัม : 100 กรัม 1. ไม่มีกลิ่นสมุนไพรติดแผ่นเยื่อกระดาษ

1. พืชสมุนไพร : เยื่อกระดาษ = 100 กรัม : 100 กรัม 2. มีกลิ่นติดเยื่อกระดาษบ้างเล็กน้อย

1. พืชสมุนไพร : เยื่อกระดาษ = 150 กรัม : 100 กรัม 3. มีกลิ่นติดเยื่อกระดาษมากขึ้น

- 10 -

ตอนที่ 5

ตารางที่ 5 แสดงผลการใช้แผ่นดับกลิ่นรองเท้าจากใยธูปฤาษีกลิ่นมะกรูด

ชื่อนักเรียนผู้ทดสอบ ระยะเวลาที่ใช้ทดลองแผ่นกับกลิ่นรองเท้า (วัน)

กลิ่นมะกรูด ไม่ใส่กลิ่น

1. นัทรี

2. จิรนันท์

3. บรรณจง

4. อนุชา

5. สิทธิชัย

6. นวพล

15

13

14

15

13

12

211

211

ค่าเฉลี่ย 13.66 1.3

ตารางที่ 6 แสดงผลการใช้แผ่นดับกลิ่นรองเท้าจากใยธูปฤาษีกลิ่นส้ม

ชื่อนักเรียนผู้ทดสอบ ระยะเวลาที่ใช้ทดลองแผ่นกับกลิ่นรองเท้า (วัน)

กลิ่นส้ม ไม่ใส่กลิ่น

1. ปิยะ

2. สุเมธ

3. พัทพงษ์

4. มหิธร

5. จักรพงษ์

6. ณัฐพงษ์

15

18

16

17

15

17

1212

11

ค่าเฉลี่ย 16.33 1.3

ตารางที่ 7 แสดงผลการใช้แผ่นดับกลิ่นรองเท้าจากใยธูปฤาษีกลิ่นส้มโอ

ชื่อนักเรียนผู้ทดสอบ ระยะเวลาที่ใช้ทดลองแผ่นกับกลิ่นรองเท้า (วัน)

กลิ่นส้มโอ ไม่ใส่กลิ่น

1. อภิชาติ

2. เทิดพงษ์

3. ภราดา

4. อธิคุณ

5. อัศนี

6. ศรายุทธ

12

16

13

12

15

13

12112

1

ค่าเฉลี่ย 13.49 1.3

ตารางที่ 8 แสดงผลการใช้แผ่นดับกลิ่นรองเท้าจากใยธูปฤาษีกลิ่นใบเตย

ชื่อนักเรียนผู้ทดสอบ ระยะเวลาที่ใช้ทดลองแผ่นกับกลิ่นรองเท้า (วัน)

กลิ่นใบเตย ไม่ใส่กลิ่น

1. ธนากร

2. ไตรเทพ

3. ปริญญา

4. ณัฐดนัย

5. มงคล

6. อนุสรณ์

13

14

14

14

13

12

1

12211

ค่าเฉลี่ย 13.33 1.3

- 12 -

ตารางที่ 9 แสดงผลการใช้แผ่นดับกลิ่นรองเท้าจากใยธูปฤาษีกลิ่นตะไคร้

ชื่อนักเรียนผู้ทดสอบ ระยะเวลาที่ใช้ทดลองแผ่นกับกลิ่นรองเท้า (วัน)

กลิ่นตะไคร้ ไม่ใส่กลิ่น

1. ตันติกร

2. สมมาส

3. สันติ

4. ธีระศักด์ิ

5. อรรถสิทธ์ิ

6. อภิวัฒน์

12

9

11

8

13

10

21102

1

ค่าเฉลี่ย 10.5 1.16

ตารางที่ 10 สรุปผลการใช้แผ่นดับกลิ่นรองเท้า ทั้ง 5 กลิ่น

กลุ่มนักเรียนที่ใช้แผ่นดับกลิ่นรองเท้า ระยะเวลาที่ใช้ดับกลิ่นรองเท้าได้นาน

(วัน)

1. กลิ่นมะกรูด

2. กลิ่นส้ม

3. กลิ่นส้มโอ

4. กลิ่นใบเตย

5. กลิ่นตะไคร้

13.66

16.33

13.49

13.33

10.5

เฉลี่ย 13.46

- 13 -

บทที่ 5

สรุปและอภิปรายผลการทดลอง

1. เส้นใยจากใบธูปฤาษีที่จะนำมาทำกระดาษได้ดีขึ้น คือส่วนที่อยู่ข้างในที่ลอกเอาเปลือกสีเขียวออกแล้วมีความ

เหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาทำเยื่อกระดาษ การแช่น้ำและการต้มเส้นใยธูปฤาษี เป็นการช่วยให้เส้นใยเหนียวและนุ่ม

ขึ้น

2. ความเข้มข้นของน้ำแป้ งสุก ที่จะนำมาทำให้เส้นใยธูปฤาษียึดติดแน่น คือ ความเข้มข้นของน้ำแป้ ง 2 % ซึ่งจะ

ได้กระดาษที่มีคุณภาพดี

3. พืชสมุนไพรที่นำมาทดลอง ส่วนที่ให้กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยมากที่สุด คือ ผิวมะกรูด ผิวส้ม ผิวส้มโอ

ใบเตย และตะไคร้ทั้งต้นและใบ ให้กลิ่นหอมที่สามารถใช้ดับกลิ่นเหม็นในรองเท้าได้

4. ในการทดสอบชนิดของแผ่นรองเท้าดับกลิ่นทั้ง 5 กลิ่น คือ มะกรูด ส้ม ส้มโอ ใบเตย และตะไคร้ สามารถใช้

ดับกลิ่นเหม็นในรองเท้าได้ และใช้ดับกลิ่นรองเท้าได้นานประมาณ 14 วัน

- 14 -

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน

1. นำพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่ให้น้ำมันหอมระเหยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ

2. เป็นการนำวัชพืชที่ขึ้นในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์

3. ได้ผลิตภัณฑ์แผ่นดับกลิ่นรองเท้าสมุนไพร สามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวได้

4. นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหา และวางแผนการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ ทำให้ความรู้ทางด้าน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง

ข้อเสนอแนะ

- สามารถใช้เส้นใยจากพืชชนิดอื่นที่พบมากในท้องถิ่นนั้น ๆ มาทำแผ่นเยื่อกระดาษแทนต้นธูปฤาษีได้

- สามารถใช้พืชสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่นมาทดลอง หรือนำพืชสมุนไพรหลาย ๆ ชนิด มาผสมกันก็ได้

ก็จะได้แผ่นดับกลิ่นรองเท้าที่มีกลิ่นตามที่ต้องการได้

- แผ่นดับกลิ่นรองเท้าสมุนไพรที่นำมาใช้กับร่างกายคน ไม่ควรใช้สารเคมีที่มีผลระคายเคืองต่อผิวหนัง

เอกสารอ้างอิง

1. ก่อแก้ว วีระประจักษ์ . การทำสมุดไทยลากรเตรียมใบลาน. 2 เล่ม. หนังสือชุดหอสมุดแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : กรม

ศิลปากร , 2521.

2. บัญญัติ สุขศรีงาม . เครื่องเทศที่ใช้เป็นสมุนไพร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อมรการพิมพ์ , 2527.

3. วิบูลย์ ลี้สุวรรณ . ศิลปะหัตถกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : ปาณยา , 2527.

4. อำไพ จันทร์จิระ . วิวัฒนาการพิมพ์หนังสือในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : วรรณศิลป์ , 2516.

5. //news.mweb.co.th/outwin/outwin 68865.html

6. //www.kmutt.ac.th/organization/Research/lntellect/best11.htm

7. //www.1dd.go.th/abs-scd-33-42/abst-scd-th/comserve/waste19.html

8. //www.ipst.ac.th/magazine/project01.html

9. //www.ipst.ac.th/magazine/abs31/profectp16.html

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita