การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม


การส่งสัญญาณโทรทัศน์
1) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน
       เป็นการแพร่กระจายคลื่นสัญญาณไปในอากาศเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อติดตั้งเสาอากาศแล้วต่อสายนำสัญญาณเข้าเครื่องรับก็สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีส่งได้ การส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุส่งได้ในช่วงความถี่ 30- 300MHz จะเป็นช่วงของ Very high Frequency (VHF) และช่วงความถี่ 300 - 3000 MHz จะเป็นช่วงของ Ultra high Frequency (UHF)

2) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านช่องนำสัญญาณ
      เป็นการส่งสัญญาณไปตามสายนำสัญญาณหรือสายเคเบิลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างสถานีส่งกับผู้รับสัญญาณ การส่งสัญญาณด้วยสายนำสัญญาณแบ่งออกเป็น
      2.1) เคเบิลโทรทัศน์ชุมชน
      2.2) ระบบเสาอากาศโทรทัศน์ชุมชน
      2.3) ระบบเสาอากาศชุดเดียว

3) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
      เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านดาวเทียมซึ่งใช้คลื่นไมโครเวฟเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณ

4) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต
      เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต www สามารถเปิดใช้งานและรับชมได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อผ่านระบบเครือข่ายเนตเวิร์ก ( Network )

ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทย
      ประเทศไทยใช้ระบบโทรทัศน์ PAL ซึ่งแบ่งแถบคลื่นความถี่ของการใช้งานโทรทัศน์ออกเป็นย่านความถี่ VHF และ ความถี่ UHF โดยที่ย่านความถี่ VHFได้ถูกใช้จนเต็มแล้ว ดังนั้นสถานีโทรทัศน์ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่จึงต้องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในย่านความถี่ UHF แถบคลื่นความถี่ของความถี่การใช้งานโทรทัศน์ได้แบ่งตามตารางดังนี้

ช่องความถี่ใช้งาน    ย่านความถี่          ช่วงความถี่
ช่อง 2-4                   VHF                41 - 68 เมกะเฮิร์ซ
สถานีวิทยุ FM          VHF                88 - 108 เมกะเฮิร์ซ
ช่อง 5-13                 VHF               174 - 230 เมกะเฮิร์ซ
ช่อง 21-69               UHF               470 - 806 เมกะเฮิร์ซ

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
      1) ดาวเทียม ดาวเทียมมีความเกี่ยวข้องกับโทรทัศน์ในแง่ของการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ในทุกที่
      2) สายอากาศ เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ด้วยคลื่นวิทยุโดยที่มีระยะทางจำกัด
      3) การผสมสัญญาณ เป็นการผสมสัญญาณระหว่างสัญญาณภาพกับสัญญาณคลื่นวิทยุและสัญญาณซิงโครไนซ์ เพื่อทำการส่งออกไปในรูปสัญญาณ เอ.เอ็ม. ( AM )

          และยังเป็นการผสมสัญญาณเสียงกับคลื่นพาหะเสียงเพื่อส่งออกไปในรูปสัญญาณ เอฟ.เอ็ม. ( FM )
      4) คลื่นไมโครเวฟ เป็นคลื่นวิทยุที่ใช้สำหรับการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระยะทางไกลเนื่องจากสามารถกำหนดทิศทางการส่งได้แน่นอน เพราะคลื่นความถี่สูงมากๆ จะมีการหักเหน้อย
      5) คลื่นวิทยุ เป็นคลื่นที่กระจายไปได้ทุกทิศทาง ใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์อย่างแพร่หลาย สามารถส่งออกไปได้ในระยะทางไกล แต่เมื่อผ่านสิ่งกีดขวางกำลังในการส่งก็จะลดลงอย่างมาก
      6) จดหมายเหตุ
      โทรทัศน์เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจากบันทึกในหนังสือเทคโนโลยีโทรทัศน์โดยได้ระบุว่า จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นผู้ริเริ่มให้นำโทรทัศน์เข้ามาในประเทศ โดยมีหนังสือถึงอธิบดีกรมโฆษณาการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2493 ความตอนหนึ่งว่า "...ผมอยากจะให้พิจารณาจัดหา และจัดการส่ง Television ขึ้นในประเทศของเรา เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาของประชาชน จะควรทำเป็น Mobile unit อย่างที่สนทนาวันก่อน แล้วจัดหารถจี๊บขนาดเล็กมาทดลองต่อไป..."  ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงได้มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นหลังจากนั้นมา

การค้นพบและการใช้งาน
ปี พ.ศ.   การค้นพบและการใช้งาน
2416   Andrew May ค้นพบสารเซเลเนียมซึ่งเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า
2426   Paul Nipkow คิดค้นหลักการสแกนภาพที่ใช้ระบบจานหมุนแบบกลไก
2454   Campbell Swinton ได้นำหลอดรังสีแคโทดมาใช้ในการรับส่งภาพของการสแกนภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์
2466   Vladimir Zworykinประดิษฐ์ iconoscope
2467   Vladimir Zworykin ประดิษฐ์ kinescope
2468   John Logie Baird และ Charles Francis Jenkins ทดลองการออกอากาศโดยส่งภาพเงาโดยไม่ใช้สาย
2471   James L. Bairdนำแผ่นกรองสีมาใช้แยกสัญญาณสี เกิดการส่งภาพสี
2479   แพร่ภาพขาว-ดำเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษด้วยระบบ 405 เส้น 25 ภาพต่อวินาที
2494    แพร่ภาพสีเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยระบบ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที
2495   ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ( ใน พ.ศ. 2550 คือสถานีโทรทัศน์โมเดิลไนน์ ทีวี Modern Nine TV )
2498    มีการแพร่ภาพขาว-ดำเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (ใน พ.ศ.2550 คือ สถานีโมเดิร์นไนน์ทีวี)
2500   ได้มีการก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และมีการแพร่ภาพเป็นภาพขาว-ดำ
2510   สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 แพร่ภาพเป็นโทรทัศน์สีระบบ PAL เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
2513    ได้มีการก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยเป็นสถานีโทรทัศน์สีระบบ PAL
2517    สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ย้ายมาเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และได้เปลี่ยนจากการแพร่ภาพระบบขาว-ดำมาเป็นโทรทัศน์สีระบบ PAL
2539   สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี (ใน พ.ศ.2550 เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี) เป็นสถานีแรกที่ใช้ระบบ UHF เนื่องจากช่องสัญญาณในย่านความถี่ VHF ถูกใช้จนเต็ม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita