ตัวอย่าง หนังสือ แจ้งพ้นสภาพการเป็นพนักงาน บริษัท ภาษาอังกฤษ


 
A. สวัสดีครับ คุณ ถาวร

         กรณีที่พนักงานขาดงานเกินสามวัน จะเข้าข่ายมาตรา 119 ( 5 ) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา

         สามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

      ตามมาตรานี้นายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้างพนักงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ทันทีครับ

กรณีนี้นายจ้างก็สามารถทำหนังสือในลักษณะของการแจ้งพ้นสภาพพนักงานได้เลย

โดยไม่ต้องให้พนักงานนั้นมาลงนาม เพราะการที่พนักงานขาดงานไปแล้ว บางทีเราก็ไม่สามารถตัวเค้ามาลงนามได้( ผมแนบเอกสารตัวอย่างหนังสือแจ้งพ้นสภาพมาให้ดูนะครับ)

ส่วนเรื่องการแจ้งพ้นสภาพพนักงานมีขั้นตอนดังนี้นะครับ

1.       การชี้แจงให้พนักงานทราบตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานวันแรก ซึ่งตรงนี้คุณทำอย่างถูกต้องแล้วครับ

2.       กรณีที่พบว่ามีพนักงานขาดงานติดต่อกันเป็นเวลาสามวัน ในทางกฎหมายเมื่อถึงวันที่สี่ นายจ้างก็สามารถทำหนังสือแจ้งพ้นสภาพได้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ตัดพนักงานออกจากบัญชีฐานข้อมูลพนักงานและดำเนินการเรื่องแจ้งออกประกันสังคมต่อ แต่ทั้งนี้นายจ้างก็ควรมีการสอบสวนหรือหาข้อเท็จจริงด้วย ถึงสาเหตุที่พนักงานนั้นขาดงาน เพราะตามกฎหมายจะเห็นว่า เค้าใช้คำว่า โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ระบุอยู่ด้วยครับ ดังนั้นหากพนักงานเค้ามีเหตุผลที่ทำให้ไม่สามารถแจ้งมายังบริษัทได้ ซึ่งอาจจะมีเหตุผลจำเป็นจริง ๆ หรือมีเหตุสุดวิสัยก็ตาม

     การใช้มาตรานี้ไปพิจารณาเลิกจ้างโดยให้พนักงานพ้นสภาพ พนักงานที่เค้ามีเหตุผลจำเป็นก็อาจฟ้องร้องนายจ้างในข้อหาเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้เหมือนกันครับ เพราะฉะนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและไม่ขัดต่อกฎหมาย ทางนายจ้างเองก็ควรมีวิธีการที่จะสามารถตรวจสอบหรือสอบสวนหาสาเหตุที่พนักงานขาดงานด้วย หากการตรวจสอบแล้วพบว่าพนักงานเค้าไม่มีเหตุผลอันควรทั้ง ๆ ที่ได้รับทราบถึงข้อบังคับการทำงานที่เราแจ้งไปตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานแล้ว นายจ้างก็พิจารณาแจ้งพ้นสภาพได้เลย แต่หากเค้ามีเหตุผลบางประการที่รับฟังได้ เราก็ควรให้โอกาสเค้าทำงานต่อครับ หรือในกรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบ หรือสอบสวนได้ เนื่องจากอาจจะติดต่อพนักงานคนนี้ไม่ได้เลย เราก็ควรกำหนดระยะเวลาขยายวันที่ขาดงานออกมาได้ แล้วแต่ความเหมาะสม เช่นที่ผมใช้อยู่จะมีขั้นตอนในทางปฏิบัติดังนี้ครับ

3.        ในวันที่ 4 ที่พนักงานขาดงาน ทางหัวหน้าของพนักงานนั้น จะติดต่อพนักงานเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงและเหตุผลในเบื้องต้น หากพนักงานมีเหตุผลเพียงพอทางหัวหน้างานก็จะแจ้งกลับมายังเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลให้รับทราบ หากไม่สามารถติดต่อได้ก็จะเป็นขั้นตอนต่อไปครับ

4.       วันที่ 5 ทางหัวหน้าก็จะพยายามติดต่อพนักงานคนนั้นอีก หากติดต่อไม่ได้ ทางหัวหน้าก็ต้องแจ้งมายังฝ่ายบุคคลเพื่อขอเอกสารแจ้งพ้นสภาพไปดำเนินการ หรือถ้าหากทางหัวหน้าไม่ได้แจ้งกลับมา ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลก็จะทราบอยู่แล้วว่ามีพนักงานขาดงานติดต่อกัน 5 วันแล้วเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลก็จะติดต่อไปยังหัวหน้าของพนักงานที่ขาดงานไปเพื่อขอทราบเหตุผล หากหัวหน้าเค้ามีเหตุผลและประสงค์ที่จะไม่แจ้งพ้นสภาพ ฝ่ายบุคคลก็จะยังไม่บันทึกข้อมูลประวัติใด ๆ ก่อนทั้งสิ้น แต่จะขึ้นรายชื่อในแบลคลิสไว้ก่อน เพื่อใช้ในการติดตามวันต่อไป

5.       วันที่ 6  หากฝ่ายบุคคลตรวจสอบแล้วพบว่า พนักงานยังไม่กลับมาทำงาน ซึ่งไม่มีการติดต่อหรือไม่สามารถติดต่อได้เลย และหัวหน้ายังไม่ทำใบแจ้งพ้นสภาพมาให้ ทางฝ่ายบุคคลก็จะส่งหนังสือแจ้งพ้นสภาพไปให้หัวหน้าลงบันทึกใบพ้นสภาพกลับมาครับ

6.       กรณีที่มีใบแจ้งพ้นสภาพมาแล้ว ฝ่ายบุคคลก็จะทำการตัดพนักงานออกจากระบบฐานข้อมูลพนักงานและบันทึกว่าพ้นสภาพการเป็นพนักงานไปในวันที่ที่หัวหน้าแจ้งมาในเอกสารครับ

และเจ้าหน้าทีที่ทำงานด้านประกันสังคมก็จะทำการแจ้งออกประกันสังคมในลำดับต่อไป

          ที่ผมเคยปฏิบัติมาก็มีนะครับ ที่เราดำเนินการไปหมดแล้ว ปรากฏว่าพนักงานกลับมา

ทางหัวหน้าก็จะแจ้งเลยว่าได้ตัดพ้นสภาพไปแล้ว พนักงานบางคนก็เข้าใจและกลับไปเลย แต่ก็มีบางคนที่จะขอทำงานต่อ ซึ่งทางหัวหน้าก็จะพามาพบกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้ช่วยผมก่อน ก็จะมีการสอบถามเหตุผลกันอีกครั้ง หากว่าไม่มีเหตุผลอันควร ก็ยืนยันไปเลยว่ามันผิดข้อบังคับการทำงาน

หากอยากจะทำงานต่อ ก็ต้องสมัครงานใหม่ ซึ่งพอเวลาที่มีการสัมภาษณ์ ก็จะมีโอกาสมากที่จะไม่รับเข้าทำงานอีก แต่ถ้ารับเข้าทำงาน ก็จะต้องเริ่มประวัติใหม่ทั้งหมด เงินเดือนค่าจ้างก็เริ่มใหม่

อายุงานก็เริ่มใหม่ทั้งหมด  แต่หากผู้ช่วยผมพิจารณาว่าพนักงานมีเหตุผลจริง ๆ คราวนี้ผมก็งานเข้าล่ะครับ คือพนักงานจะต้องมาพบผมโดยตรง หากผมเห็นว่าเหตุผลที่พนักงานมี ยังไม่พอเพียงในการพิจารณารับเข้าทำงาน ผมก็จะไม่อนุญาต แต่หากเหตุผลเค้าฟังดูแล้วเชื่อถือได้ อาจจะมีพยานหรือหลักฐานในการยืนยันเพียงพอ ผมก็จะอนุญาตให้กลับเข้ามาทำงานต่อได้ โดยยังได้รับค่าจ้างและการบันทึกประวัติตามเดิมต่อเนื่องไปอีก ซึ่งผมเองก็จะต้องให้หัวหน้างานของพนักงานทำเอกสารแจ้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลทราบว่า ได้พิจารณารับพนักงานกลับเข้าทำงานตามปกติได้ และผมก็จะต้องลงนามรับรองอีกคนด้วยครับ จากนั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลก็จะดำเนินการต่อเรื่องเอกสารประวัติรวมทั้งการแก้ไขการแจ้งออกประกันสังคม  ( ที่ผ่านมามีอยู่รายเดียวครับ ที่ผมพิจารณาร่วมกับทางหัวหน้าเค้าแล้วเห็นว่าควรรับเข้าทำงาน เพราะเหตุผลของพนักงาน ฟังได้และตรวจสอบแล้วมีเหตุผลอันควรจริง ๆ  ประกอบกับประวัติของพนักงานท่านี้ก็ไม่เคยมีประวัติอะไรที่เสียหายมาก่อน ) แต่รายที่ผมเล่าให้ฟังสองคนนั้น เค้ารู้มากและมาขอพบผมโดยตรงเลย ผมก็อนุญาตให้พบครับ แต่เหตุผลเค้าไม่มี และเจ้าตัวก็ยอมรับด้วยดีว่าทำผิดระเบียบทั้ง ๆ ที่รู้ ก็เลยไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ครับ

ขั้นตอนก็จะเป็นแบบนี้ครับ โดยสรุปหลัก ๆ เลยคือการให้โอกาสและการหาข้อเท็จจริงถึงคำว่า เหตุผลอันสมควรหรือไม่ ก่อนพิจารณาให้พนักงานพ้นสภาพ คุณถาวรลองหาวิธีการดูก็ได้นะครับ

เพราะวิธีการและขั้นตอนที่ผมใช้อยู่ จะค่อนข้างเสียเวลาในการทำงานพอสมควร แต่ถือว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างนายจ้างลูกจ้างครับ  ส่วนที่คุณถามมาว่าถ้าขาดงานเกินกำหนดแล้วพ้นสภาพการเป็นพนักงานจะไม่ได้รับเงินใดๆเลยจะเป็นการถูกต้องหรือไม่  ก็ถูกต้องครับ ( หากพนักงานไม่มีเหตุผลอันสมควรนะครับ ) สามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ และทำการบันทึกเอกสารการพ้นสภาพการเป็นพนักงานได้เลย โดยไม่ขัดต่อกฎหมายครับ ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องมาลงนามครับ หลักฐานที่ควรมีไว้เพื่อระบุถึงการขาดงาน คือเอกสารที่สามารถแสดงได้ว่าพนักงานขาดงานไปเกินกว่าสามวัน ของผมจะมีเอกสารสองอย่างคือ บัตรตอกและใบบันทึกประวัติการทำงานพนักงานประจำวันครับ

เรื่องที่สอง กรณีที่พนักงานได้รับโทษเนื่องจากขาดงานไปแล้ว หากขาดงานอีกครั้งควรจะดำเนินการอย่างไร  ระหว่างการใช้หนังสือเลิกจ้างกับหนังสือพ้นสภาพ ก็ขอให้แยกประเด็นในการใช้เอกสารดังนี้นะครับ

1.        กรณีหนังสือเตือนหรือหนังสือลงโทษทางวินัยจะใช้เมื่อพนักงานมีความผิดทางวินัย

2.        หนังสือเลิกจ้างจะใช้เมื่อนายจ้างต้องการบอกเลิกสัญญาจ้างต่อลูกจ้าง

          ซึ่งจะมีอยู่สองกรณีหลัก ๆ      คือ

2.1    เลิกจ้างโดยเหตุที่ลูกจ้างไม่ได้มีความผิดทางวินัย ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 , ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 ( ถ้ามี) , ค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 67 ( ถ้ามี ) , คืนค่าเงินประกัน ตามมาตรา 10 วรรคสอง ( ถ้ามี )

2.2   เลิกจ้างโดยเหตุที่ลูกจ้างกระทำความผิดตามมาตรา 119 ซึ่งนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย,ไม่ต้องจ่ายค่าบอกล่าวล่วงหน้า, คืนเงินประกัน ( ถ้ามี แต่นายจ้างก็อาจริบเงินประกันได้หากการกระทำผิดของลูกจ้างนั้นทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายที่เป็นตัวเงินตามความเป็นจริงของมูลค่าเสียหายที่เกิดขึ้น) , ต้องจ่ายค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมตามมาตรา 67 ( ถ้ามี)

3.       หนังสือพ้นสภาพการเป็นพนักงาน ตรงนี้จะใช้ในกรณีที่พนักงานขาดงานเป็นเวลาสามวันทำงานขึ้นไปโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรครับ

ดังนั้นในกรณีที่คุณถามมานั้น หากพนักงานท่านนี้ เค้าขาดงานอีกครั้งอาจเป็นเวลา 1 หรือ 2 วัน ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่คุณให้โอกาสเค้าแล้ว ก็ควรใช้เอกสารข้อ 2.2 ครับ แต่หากว่าเค้าขาดงานในครั้งสุดท้ายนี้เป็นเวลาเกินสามวันแล้ว คุณก็ใช้เอกสารข้อที่ 3. ได้เลยครับ

  สรุปได้ว่าควรทำเอกสารเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาจ้างลูกจ้างไว้ 3 ประเภท เพื่อใช้ในกรณีต่าง ๆ กัน ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนและเป็นธรรมในการนำไปใช้ครับ

เรื่องต่อไป สำหรับเอกสารแนบที่คุณส่งมา ขออีกทีแล้วกันนะครับ ผมเปิดไม่ได้ครับ สงสัยมีอะไรขัดข้องทางเทคนิคบางประการครับ อ่านไม่ออก มันเป็นภาษาต่างดาวหมดเลยครับ

เรื่องสุดท้าย สำหรับการที่เจ้านายไม่ได้สั่งการอะไรให้คุณทำเลย ผมว่าดีนะครับที่ทำให้เรามีอิสระในการทำงานเต็มที่ ของผมเองก็เหมือนกันครับ ท่านให้แต่นโยบายมาเท่านั้น ส่วนเรื่องการทำงานต่าง ๆ ท่านจะไม่เข้ามายุ่งในรายละเอียด แต่ผมก็จะต้องรายงานประจำเดือนให้ท่านทราบทุกเดือน ( บางเดือนผมก็ลืม ท่านก็ไม่ได้ทวงถาม บางเดือนท่านก็ลืมเองก็มี ) แต่สำหรับการที่เราจะวางโครงสร้างการทำงานในฐานะ HR. นั้นก็ขอแนะนำเรื่องของการตกลงกับเจ้านายในด้านนโยบายให้ตรงกันก่อนนะครับ อย่างผมเองก็จะไปคุยกับท่านโดยตรงว่าผมมีแนวทางการทำงานอย่างไร เพื่อทวนสอบกับท่านว่า เข้าใจตรงกันหรือไม่ แนวทางการทำงานที่ผมร่างขึ้นมาสอดคล้องกับนโยบายหรือแนวคิดของท่านอย่างไร ซึ่งก็มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมภารกิจให้ผมมาด้วย จากนั้นเราก็มาทำวิสัยทัศน์ของฝ่าย HR. รวมทั้งผังโครงสร้างการบริหารไปนำเสนอท่าน

ของผมเองที่เสนอไปท่านก็เห็นชอบครับ และท่านก็เรียกประชุมทุกฝ่ายเพื่อประกาศเป็นทางการอีกครั้งว่า ฝ่าย HR ,มีบทบาทหน้าที่อะไรมีขอบข่ายการทำงานอะไรบ้างให้ทุกฝ่ายทราบ

จากนั้นเราก็มาดำเนินการต่อในเรื่องของกลยุทธ์การทำงาน แผนงานต่าง ๆ ซึ่งท่านก็จะคอยติดตามแผนงานของเราอีกครั้งเป็นระยะ โดยให้เรามารายงานกับท่านทุกเดือนอย่างที่ว่าครับ

ทีนี้ในเรื่องของบทบาท HR นั้น นอกจากจะทำงานด้าน 1.พฤติกรรมพนักงาน  2.การแต่งกาย 3.บุคลิคภาพ 4.สวัสดิการ ตามที่คุณบอกมา ยังไม่พอนะครับ อีกเรื่องที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถ จริยธรรม ของบุคลากรในองค์กร  ตรงนี้ถ้าสนใจ ฉบับหน้าผมจะแนะนำให้อีกทีนะครับ ว่าจะต้องมีอะไรไปนำเสนอเจ้านายบ้าง

วันนี้ขอแค่นี้ก่อนนะครับ

อดิศร


From:
To:
Subject: เรื่องพนักงานพ้นสภาพ
Date: Wed, 28 Jan 2009 17:11:05 +0700

เรียน  อาจารย์

            มีเรื่องถามหน่อยครับติดพันมาจากที่อาจารย์ยกตัวอย่างมาเมื่อเช้า คือพนักงานที่ขาดงานติดต่อกันเกิน 3 วัน ตามหลักก็คือต้องพ้นสภาพการเป็นพนักงาน แต่ขั้นตอนการบอกแจ้งบอกเลิกจ้างจะต้องทำอย่างไง เพราะผมมยังไม่เคยทำ มีแต่พนักงานที่ไม่มาทำงานเกิน 3 วันแล้วโรมาถามว่าผมจะมาทำงานได้หรือเปล่า ผมก็พูดให้ฟังว่าถ้าเราไม่ได้มาทำงานเกิน 3 วันแล้วไม่ได้แจ้งบอกใครเลยในบริษัทฯก็ถือว่าพ้นสภาพการเป็นพนักงานแล้วและจะไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆ ที่ผ่านมาก็ไม่มีใครติดใจเรื่องอะไร เพราะผมได้แจ้งให้ฟังตั้งแต่มาสมัครงานกับผมแล้วว่า ถ้าขาดงานเกินกำหนดแล้วพ้นสภาพการเป็นพนักง่านจะไม่ได้รับเงินใดๆเลย อาจารย์ว่าถูกไหม จะมีที่ได้รับเป็นบางคนที่มาขอความเห็นใจให้จ่ายเป็นค่าน้ำมันรถนิดหน่อยก็ได้ ทางบริษํทฯก็จ่ายให้  ในกรณีแบนี้เราจะต้องทำหนังสือแจ้งให้เรารับทราบแบบไหน หรือว่าทำแบบหนังสือเตือน แล้วระบุในช่องที่จะลงโทษว่า ท่านได้ขาดงานเกิน 3 วันและพ้นสภาพการเป็นพนักงานแล้ว และให้เขาเซ็นรับทราบ  แต่ถ้าเขาไม่เซ็นเราจะต้องทำอย่างไง ผมว่าสักวันผมต้องเจอปัญหาแบบนี้แน่ๆ
     แล้วอีกอย่างตอนนี้ผมมีพนักงานที่ได้ใบเตือนเรื่องการขาดงานครั้งสุดท้ายอยู่ แล้วถ้าขาดอีกทีก็จะต้องถูกเลิกจ้าง หรือเป็นพ้นสภาพดี อย่างนี้จะต้องทำหน้งสือแบบเลิกจ้าง หรือใบเตือนอย่างเก่าแล้วระบุว่าท่านได้พ้นสภาพการเป็นพนักงานแล้ว
      ผมแนบแบบประเมินประจำเดือนมาให้อาจารย์ช่วยชี้แนะแนวทางให้ผมหน่อย คืออยู่ที่นี้เขา ( นาย ) จะไม่ได้สั่งงานอะไรให้ผมทำเลย บางครั้งผมก็อึดอัดที่เขาไม่ได้สางอะไร  จะว่าเขาจะให้ผมหาวิธีนำเสนอก็คงไม่ใช่  เพราะเขาก็รู้พื้นฐานความรู้ความสามรถผมดีว่ามีแค่ไหน แต่ผมก็พยายามหาความรู้ใส่ตัวตลอด มีแต่เขาเคยเขียนให้ผมรู้ว่าผมต้อืงทำอะไรบ้าง  มี 1.พฤติกรรมพนักงาน  2.การแต่งกาย 3.บุคคลิคภาพ 4.สวัสดิการ  ผมก็คิดว่ามันก็คุมหมดแล้วนะ แต่แนวทางเขาก็ไม่ได้บอกว่าจะต้องทำอย่างนี้ อย่างนั้น สิ้นเดือนจะต้องนำเสนอเรื่องอะไร รายงานอะไรบ้าง  บางครั้งผมก็คิดว่าเขาปล่อยผมมากเกินไปหรือเปล่า แต่เขาก็ไม่เคนว่า เคยตำนิอะไรนะ คือเขาอายุน้อยกว่าผม แล้วผมเป็นคนสนิทกับพ่อเขา และพ่อเขานี้แหละที่แนะนำให้เขา ( ลูก ) ชวนผมมาอยู่ที่นี้เลยได้เป็นฝ่ายบุคคล คนแรกของบริษัทฯ  เขาเลยไม่กล้าสั่งงานผม  ขอรบกวนอาจารย์แค่นี้นะครบ

                 ด้วยความนับถือ
                    ถาวร

แชตออนไลน์ทันใจกับเพื่อนและครอบครัวของคุณ! Windows Live Messenger

เพิ่มแผนที่และทิศทางไปสู่งานปาร์ตี้ของคุณ แสดงเส้นทาง!

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita