ตัวอย่าง หนังสือ ยื่นอุทธรณ์ประกันสังคม

หนังสือแจ้งการประเมินเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนประจำปี (กท. 26 ก.)และแบบแสดงเงินค่าจ้างประจำปี (กท. 20 ก.)
  • หนังสือมอบอำนาจ
  • หนังสือรับรองของแพทย์ผู้รักษา
  • หนังสืออุทธรณ์
  • แบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทน

    • แบบขอรับค่าบริการทางการแพทย์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของผู้ป่วยประกันสังคม (สปส.2-17)
    • แบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ โดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและฉีดยาอิริโธรปัวอิติน(รายสัปดาห์) (สปส.2-181ก) (ใช้สำหรับสถานพยาบาล)
    • แบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยประกันสังคม(สำหรับสถานพยาบาล) (สปส.2-15 )
    • แบบคำขอรับค่าบำบัดทดแทนไต (สปส.2-18)
    • แบบคำขอรับค่าอวัยวะเทียมอุปกรณ์ในการบำบัดโรค สำหรับผู้ประกันตนสถานพยาบาล (สปส.2-09)
    • แบบคำขอรับบริการทางการแพทย์ โดยการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวรและการฉีดยาอิริโธรปัวอิติน (รายเดือน)(สปส.2-181ข) (ใช้สำหรับสถานพยาบาล)
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-017)
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนการบำบัดทดแทนไต กรณีปลูกถ่ายไต (สปส.2-182)
    • แบบหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีตาย (ตัวอย่าง)
    • ใบรับรองแพทย์
    • หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน (กรณีสงเคราะห์บุตร)
    • หนังสือมอบอำนาจ (รับเงินประโยชน์ทดแทน)
    • หนังสือรับรองของนายจ้าง
    • หนังสือรับรองของบุคคลซึ่งอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยากับผปต.โดยเปิดเผย กรณีผปต.ถึงแก่ความตาย(เฉพาะกรณีสงเคราะห์บุตร)

      นางนิยดา เสนีย์มโนมัย ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 กล่าวว่า ผู้ประกันตนมาตรา 39 ก็คือเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่จะส่งเงินสมทบ เมื่อออกจากการเป็นผู้ประกันมาตรา 33 ที่ทำงานมีนายจ้าง แต่ต้องการใช้สิทธิประกันสังคมต่อจึงสมัครใจเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 หน้าที่ในการนำส่งเงินสมทบเป็นของผู้ประกันตนเอง ไม่ใช่นายจ้าง แต่มักพบว่า ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะถูกตัดสิทธิบ่อย เนื่องจากขาดการนำส่งเงินสมทบ โดยเหตุแห่งการสิ้นสภาพของผู้ประกันตนมาตรา 39 มี 5 กรณีคือ เสียชีวิต ลาออก กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ขาดส่งเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือนติดต่อกัน และหากนับเดือนปัจจุบันย้อนไป 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ซึ่ง 2 กรณีหลังมีค่อนข้างมาก ทำให้สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39

      ส่วนวิธีป้องกันการลืมนำส่งสมทบ เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์ ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถสมัครนำส่งเงินสมทบโดยหักผ่านบัญชีธนาคาร หรือสามารถลงทะเบียนเข้าสู่ระบบทาง Line สำนักงานประกันสังคม เพื่อรับการแจ้งเตือนกรณีค้างชำระการนำส่งเงินสมทบมาตรา 39 และสามารถตรวจสอบเงินสมทบมาตรา 39 ได้ที่สายด่วน 1506 หรือโทรสอบถามที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่ทุกแห่ง

      ส่วนกรณีที่ถูกตัดสิทธิ์การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แล้ว แต่อยากกลับมาเป็นผู้ประกันตนอีกครั้ง ในเรื่องนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 กล่าวว่า เมื่อผู้ประกันตนขาดส่งเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือน ประกันสังคมจะมีหนังสือแจ้งการสิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ไปยังผู้ประกันตน ซึ่งสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือ พร้อมแสดงหลักฐานการจ่ายเงินสมทบประกอบการอุทธรณ์ ส่วนอีกวิธีที่จะกลับมาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ก็คือต้องกลับไปเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ก็คือทำงานมีนายจ้าง และเมื่อลาออกจากงานสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงาน

      สำหรับวิธีการแจ้งความประสงค์หักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคาร สามารถดาวโหลดแบบฟอร์ม หนังสือยินยอมให้หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th กรอกข้อมูลพร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร นำส่งสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน โดยมีธนาคารที่เข้าร่วมการหักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ,ธนาคารกรุงไทย ,ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทยธนชาต , ธนาคารไทยพาณิชย์ ,ธนาคารกรุงเทพ ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์เพียงธนาคารเดียว ที่ผู้ประกันตนต้องนำแบบฟอร์มหนังสือยินยอมให้หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารที่ดาวน์โหลดจากสำนักงานประกันสังคมไปติดต่อธนาคารแล้วจึงนำส่งกลับมาที่ประกันสังคม

      เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา (เจ้าหนี้) มีสิทธิร้องขอให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา (ลูกหนี้) เช่น อายัดเงินเดือน อายัดเงินในบัญชีธนาคาร หรืออายัดเงินค่าจ้างของลูกหนี้ เพื่อนำมาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ (ปวิพ.ม.296 ประกอบ ม.316)

      แต่ถ้าบุคคลภายนอก ไม่ยอมส่งเงินมาตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าหนี้จะต้องแก้ไขปัญหาอย่างไร ?

      วันนี้ผมจะมาอธิบายข้อกฎหมาย และวิธีแก้ไขปัญหาโดยละเอียดครับ

      1.ทบทวนกระบวนการเรื่อง อายัดเงินเดือน หรือสิทธิเรียกร้องอื่นๆกันก่อน 

      เมื่อศาลตัดสินให้ลูกหนี้ชำระเงินแล้วแต่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิขอให้ศาล ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ (ปวิพ.ม.274)

      เมื่อเจ้าหนี้สืบทราบว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องอยู่กับบุคคลภายนอก  เช่น สืบทราบว่า ลูกหนี้มีเงินฝากในบัญชีธนาคาร  ทำงานกินเงินเดือนอยู่ที่บริษัทไหน หรือ มีสิทธิรับเงินตามสัญญาจ้างจากใคร 

      เจ้าหนี้ก็มีหน้าที่จะต้องไปตั้งเรื่องกับเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการ อายัดเงินในบัญชี เงินเดือน เงินโบนัส หรือเงินค่าจ้าง จากบุคคลภายนอก

      ทั้งนี้คำว่า “บุคคลภายนอก” หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินหรือโอนทรัพย์สินให้กับลูกหนี้ ตามนิติกรรมหรือสิทธิหน้าที่ระหว่างกัน เช่น สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน สิทธิตามสัญญาจ้างทำของ สิทธิสัญญาฝากทรัพย์ เป็นต้น 

      ตัวอย่าง คำร้อง ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี อายัดเงินเดือน ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา 1

      ตัวอย่าง คำร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี มีคำสั่งอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ตามคำพิพากษา 2

      เจ้าพนักงานบังคับคดีรับคำร้องแล้ว ทำอย่างไรต่อ ?

      เมื่อตรวจคำร้องจากเจ้าหนี้เสร็จแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดี ก็จะมีหนังสือคำสั่งแจ้งการอายัดสิทธิเรียกร้องไปยังบุคคลภายนอก และลูกหนี้

      ในคำสั่งอายัด เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีคำสั่งห้ามบุคคลภายนอกชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัด ให้กับลูกหนี้ และมีคำสั่งให้บุคคลภายนอกชำระหนี้ดังกล่าว ให้กับเจ้าพนักงานบังคับคดีแทน เพื่อที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้นำไปชำระให้กับเจ้าหนี้ต่อไป (ปวิพ ม.316)

      บุคคลภายนอกที่ได้รับคำสั่งอายัดจากจากเจ้าพนักงานบังคับคดี มีสิทธิโต้แย้งคัดค้านว่าคำสั่งอายัดดังกล่าวไม่ถูกต้อง ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งอายัด (ป.วิ.พ.325)

      ตัวอย่างการโต้แย้ง เช่น ลูกหนี้ไม่มีเงินฝากในบัญชีธนาคาร หรือเงินฝากไม่ถึงจำนวนยอดที่อายัด จำเลยไม่ได้ทำงานอยู่ที่บริษัทนี้ หรือจำเลยออกจากงานไปแล้ว เป็นต้น (เทียบเคียง ฎ.3793/2535 , ฎ.652/2508 , ฎ.2202/2554  )

      ทั้งนี้เมื่อบุคคลภายนอกรับทราบคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ยังชำระหนี้ให้ลูกหนี้ไปโดยฝ่าฝืนคำสั่ง จะไม่สามารถอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิด ได้ว่าตนเองได้ชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ไปแล้ว และบุคคลภายนอกก็ยังมีหน้าที่จะต้องชำระเงิน ตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ปวิพ ม.320 (1) )

      ตัวอย่างเช่น

      บริษัทนายจ้าง ได้รับคำสั่งอายัดเงินเดือน และเงินโบนัส ของลูกหนี้ จากกรมบังคับคดี แต่ก็ยังฝืนจ่ายเงินเดือนให้ลูกหนี้ไป เช่นนี้ บริษัทนายจ้างไม่สามารถอ้างได้ว่า ได้จ่ายเงินเดือนและเงินโบนัสให้ลูกหนี้ไปหมดแล้ว  (เทียบ ฎ.959/2537 ,ฎ.3729/2552  )

       
      ตัวอย่างคำสั่งแจ้ง อายัดเงินเดือน ของลูกหนี้ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งไปยังบริษัทนายจ้าง

      2.บุคคลภายนอกไม่ยอมส่งเงินมาตามคำสั่งอายัด จะต้องทำอย่างไร 

      ถ้าบุคคลภายนอกยังไม่ส่งเงินมาตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะแจ้งให้เจ้าหนี้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป 

      หลังจากนั้นหากเจ้าหนี้มีความประสงค์จะดำเนินการบังคับคดีต่อไป เป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้จะต้องยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลภายนอกปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้  (ปวิพ ม.321)

      ซึ่งทั้งสองแบบนั้น ใช้ในกรณีแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้  

      1.ให้บุคคลภายนอกปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี 

      กรณีเช่นนี้ พบเจอบ่อยที่สุด และมักใช้กับการอายัดเงิน เช่น ลูกหนี้ได้รับคำสั่งอายัดแล้ว ไม่ยอมชำระเงินให้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือยังฝืนไปชำระเงินให้กับลูกหนี้ 

      2.ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ 

      ใช้ในกรณี ใช้กับการอายัดทรัพย์เฉพาะสิ่ง เช่น เจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งอายัดรูปภาพมูลค่าหลายสิบล้านไว้ และแจ้งให้บุคคลภายนอกทราบแล้ว แต่บุคคลภายนอกกลับนำรูปภาพดังกล่าวไปมอบให้ลูกหนี้โดยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี 

      ต่อมารูปภาพดังกล่าวสูญหายหรือเสียหาย ย่อมทำให้เจ้าหนี้เสียหายกรณีเช่นนี้ กฎหมายให้อำนาจเจ้าหนี้ที่จะร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลภายนอกชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ 

      แต่กรณีเช่นนี้ ไม่ค่อยมีในทางปฏิบัติครับ เพราะส่วนมากจะเป็นการอายัดเงินเสียมากกว่า

      ตัวอย่างคำร้อง ตาม ปวิพ ม.321 กรณีบริษัทนายจ้างไม่ยอมส่งเงินตามคำสั่งอายัด 1

      ตัวอย่างคำร้อง ตาม ปวิพ ม.321 กรณีบริษัทนายจ้างไม่ยอมส่งเงินตามคำสั่งอายัด 2

      ตัวอย่างคำร้อง ตาม ปวิพ ม.321 กรณีบริษัทนายจ้างไม่ยอมส่งเงินตามคำสั่งอายัด 3

      ยื่นคำร้องเสร็จแล้วจะเป็นอย่างไรต่อ

      เมื่อศาลได้รับคำร้องขอให้ศาลบังคับบุคคลภายนอกชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง ตาม ปวิพ ม.321 แล้ว ศาลจะทำการไต่สวนตัวโจทก์ พร้อมกับออกหมายเรียก ลูกหนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดี และบุคคลภายนอก มาศาล เพื่อทำการค้นหาความจริงว่าเป็นอย่างไร

      โดยศาลมักจะมีคำสั่งว่า หากจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือบุคคลภายนอกจะโต้แย้งคัดค้านคำร้องของเจ้าหนี้ ก็ให้คัดค้านมาภายในวันนัด 

      ในวันนัด ต้องทำอย่างไร

      ในวันนัดเจ้าหนี้จะต้องเตรียมพยานหลักฐานต่างๆไปให้พร้อมไต่สวน เพื่อแสดงว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องอยู่กับบุคคลภายนอกจริง โดยพยานหลักฐานที่ใช้ในการไต่สวน เช่น สลิปเงิน สัญญาจ้าง หลักฐานการส่งประกันสังคม คำขอเปิดบัญชีและรายการเดินบัญชี เป็นต้น

      เมื่อศาลไต่สวนแล้วได้ความว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว แต่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่ง

      ศาลจะมีคำสั่ง ให้บุคคลภายนอกชำระหนี้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่ง หรือให้บุคคลภายนอกชำระค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่เห็นสมควร แล้วแต่กรณีและเมื่อศาลมีคำสั่งดังกล่าวแล้ว ศาลจะออกคำบังคับให้บุคคลภายนอกชำระหนี้ภายในกำหนด(เทียบ ฎ.773/2549

      ถ้าศาลสั่งแล้วยังไม่ปฏิบัติตามจะเป็นยังไง 

      ถ้าบุคคลภายนอกยังไม่ปฏิบัติตาม ขั้นตอนต่อไป เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอให้ศาลบังคับคดีกับบุคคลภายนอกเสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา 

      และศาลจะออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อให้เจ้าหนี้มีสิทธิยึดและอายัดทรัพย์สินของบุคคลภายนอก มาชำระหนี้ตามคำพิพากษา เสมือนกับบุคคลภายนอกเป็นลูกหนี้เองครับ 

      ทั้งนี้คำสั่งของศาลตามมาตรา 321 นี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ถึงที่สุด หรือห้ามอุทธรณ์ฎีกาแต่อย่างใด ดังนั้นหากคำสั่งดังกล่าวกระทบสิทธิผู้ใด ผู้นั้นย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ เช่นถ้าศาลยกคำร้อง เจ้าหนี้ก็อุทธรณ์ได้ หรือถ้าศาลสั่งให้บุคคลภายนอกชำระหนี้ บุคคลภายนอกก็อุทธรณ์ ฎีกาได้ (เทียบเคียง ฎ.6976/2556)

      สรุป 

      ถ้าท่านเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา อายัดเงินเดือน จากบริษัทนายจ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไปแล้ว บริษัทนายจ้างไม่ยอมส่งเงินมาให้ ท่านก็แก้ปัญหาได้ง่ายๆ ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาล ตาม ปวิพ. ม.321 

      และหากศาลมีคำสั่งแล้ว บริษัทนายจ้างยังดื้อแพ่งไม่ยอมจ่ายเงิน ท่านก็สามารถขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดอายัดทรัพย์สินของบริษัทนายจ้างได้ เสมือนบริษัทนายจ้างเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเองครับ

      ซึ่งวิธีการเดียวกันนี้ ก็นำไปใช้กับการอายัดสิทธิเรียกร้องอื่นๆ เช่น การอายัดเงินฝากในบัญชีธนาคาร หรืออายัดเงินค่าจ้าง ด้วยครับ 

      หนังสือค้นคว้าและอ้างอิงประกอบการเขียนบทความ

      คำอธิบาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาคบังคับคดี การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ธัชวุทธิ์ พุทธิสมบัติ

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita