กลับไป ทํา งานที่เก่า สัมภาษณ์

ต้นปีแบบนี้ถือว่าเป็นฤดูแห่งการโยกย้ายงานเลยก็ว่าได้ครับ เพราะหลังจากได้รับโบนัสตอนสิ้นปีและมีเวลาพักผ่อนช่วงวันหยุดยาว หลายคนอาจจะมีเวลาตั้งคำถามกับตัวเองว่า

“งานที่เราทำอยู่ตอนนี้...ตอบโจทย์เราแล้วหรือยัง”

“ถ้าย้ายงานไป เงินเดือนดีกว่าเดิม แต่จะทนสังคมของที่ใหม่ได้หรือเปล่า”

หลายคนคงขยาดกับการเปลี่ยนงานที่เหมือนหนีเสือปะจระเข้ อยากเปลี่ยนบรรยากาศไปที่ใหม่ ๆ ด้วยความหวังว่าจะดีกว่าเก่า แต่กลับผิดหวัง ทำให้ต้องหางานใหม่ ไป ๆ มา ๆ รู้ตัวอีกทีก็มีประวัติย้ายงานหลายที่ซะแล้ว วันนี้เราเลยมีวิธีการตั้งคำถามกับตัวเอง ก่อนที่จะเปลี่ยนงานใหม่มาเล่าสู่กันฟัง

หากตัดเรื่องผลตอบแทนหรือเงินเดือนของที่ใหม่ออกไป เรายังต้องแคร์เรื่องอะไรอีกบ้าง?

1. สังคมของที่ใหม่เป็นอย่างไร?
เรื่องนี้อาจดูไม่สำคัญในตอนแรก ๆ ของการย้ายงาน แต่หากเราอยากจะทำงานที่หนึ่งนาน ๆ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ สภาพสังคมขององค์กรนั้นว่าเป็นอย่างไร มีระบบเจ้านาย-ลูกน้องที่เคร่งครัดหรือไม่ มีจุดไหนในวัฒนธรรมองค์กรที่จะทำให้เรารู้สึกอึดอัดหรือเปล่า มีเพื่อนร่วมงานเก่ง ๆ ที่ช่วยให้เราพัฒนาขึ้นไหม การแข่งขันเป็นอย่างไร งานหนักเกินไปจนรบกวนชีวิตส่วนตัวไหม ฯลฯ

วิธีที่จะทำให้เราทราบข้อมูลเหล่านี้ได้ก็คือ การลองสืบถามจากเพื่อนหรือคนรู้จักที่เป็นคนจากวงใน ก่อนตัดสินใจเข้าทำงานที่นั่นครับ

2. เราพร้อมจะออกจาก Comfort Zone หรือยัง?
หากที่ทำงานที่เก่า...เราจะคุ้นเคยกับเนื้องานที่ทำ สนิทกับเพื่อนร่วมงาน ได้รับความไว้วางใจจากหัวหน้างานแล้ว การทำงานของคุณก็มักจะราบรื่น อยากลางาน หรือลาพักร้อนก็จะเป็นที่เข้าใจได้

แต่เมื่อเราเปลี่ยนงาน ย้ายงานไปที่ใหม่ แน่นอนว่าเราต้องเรียนรู้เนื้องานใหม่ ความรู้ใหม่ สภาพแวดล้อมใหม่ และสังคมใหม่ ๆ ต้องพิสูจน์ผลงานของตัวเองใหม่ ต้องทำให้เพื่อนร่วมงานและหัวหน้าประทับใจ...

ช่วงแรกของการเปลี่ยนงานจึงเป็นช่วงที่คุณอาจรู้สึกกดดัน และเก็บไปเครียดได้ เราต้องถามตัวเองว่า “พร้อมไหมสำหรับความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น”

3. เราชอบงานใหม่มากกว่าหรือเปล่า? หรือแค่อยากหนีจากที่เก่าอย่างเดียว?
งานที่เก่าเราอาจจะมีปัญหาแตกต่างกันไปตามแต่ละคน เช่น บางคนรู้สึกว่างานมีความจำเจน่าเบื่อทำให้เราไม่พัฒนาไปไหน บางคนรู้สึกว่างานที่เก่าหนักเกินไป ทนแรงกดดันไม่ไหวจึงอยากลาออก บางคนรู้สึกว่าความสามารถกับเงินเดือนที่สมควรได้รับไม่สอดคล้องกัน ฯลฯ

วิธีเช็คว่างานที่ใหม่จะตอบโจทย์เรามากกว่าที่เก่า คือ การ “สัมภาษณ์คนที่กำลังสัมภาษณ์เรา” หรือให้ “สังเกตนัยที่ซ่อนอยู่ในคำถามสัมภาษณ์” ที่เขาถามเรา เช่น หากเขาถามว่า

“คุณทำงานล่วงเวลาได้ไหม กลับดึกได้รึเปล่า” = งานที่ใหม่ต้องทำงานล่วงเวลาบ่อยแน่นอน หากเราไม่มีปัญหาเรื่องนี้ อย่าอายที่จะถามว่า มีสวัสดิการสำหรับพนักงานที่ทำงานล่วงเวลาหรือไม่

“คุณรับแรงกดดันได้ดีแค่ไหน” = งานที่ใหม่มีแรงกดดันสูง อาจต้องใช้ทักษะในการต่อรองขั้นเทพ หากเราไม่ได้ชอบงานที่ดูวุ่นวาย งานนี้ก็คงไม่เหมาะกับเรานัก

“คุณทำงานหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันได้ไหม” = งานที่ใหม่ของคุณคงยุ่งมากแน่ ๆ ถึงขั้นต้องการพนักงานที่ทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ ถ้าเราเป็นคนชอบทำงานละเอียด งานคราฟท์ หรือโฟกัสที่งานใดงานหนึ่งมากกว่า งานนี้อาจไม่เหมาะกับเรา

นอกจากนี้ การซักถามผู้สัมภาษณ์เรื่องเนื้องาน และความรับผิดชอบต่าง ๆ ที่เราจะทำอย่างละเอียด ก็จะช่วยให้เรารู้ได้ว่างานนั้นเหมาะกับเราหรือไม่ครับ

สถานการณ์ที่ควรรับกลับเข้ามาทำงานก็คือ เมื่อเราต้องการคนที่มีทักษะความสามารถเฉพาะด้าน เพราะไม่ต้องมาคอยสอนงานใหม่ ๆ รวมไปถึงหากเขาเป็นคนมีความเป็นผู้นำ เพราะทักษะการเป็นผู้นำไม่ใช่สิ่งที่จะมีอยู่ในพนักงานทุกคน

  • เราไม่ควรรับพนักงานเก่ากลับมาทำงานอีกครั้งหากสาเหตุที่เขาลาออกไปเป็นเพราะเขาเบื่องานหรือต้องการความก้าวหน้า แต่องค์กรยังคงไม่สามารถให้ในสิ่งที่เขาต้องการได้ หรือหากช่วงเวลาที่เขาเคยทำงานนั้นผ่านมานานมากแล้ว และองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงอะไรหลายอย่างจนแตกต่างจากสิ่งที่อดีตพนักงานคนนั้นคุ้นเคย

  • นอกจากความสามารถแล้วความสัมพันธ์กับคนในองค์กรก็เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นควรจะถามความคิดเห็นของคนในทีมปัจจุบันก่อน หากเขาเป็นคนที่ทำงานร่วมกับทีมได้อย่างดีก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่หากทีมไม่เห็นด้วยแล้วรับเข้ามาก็อาจส่งผลต่อการทำงานของคนในทีมได้

  • พนักงานบูมเมอแรง หรือ Boomerang Employee คือพนักงานในองค์กรที่เคยลาออกไปแล้วแต่กลับมาทำงานที่บริษัทเดิมอีกครั้ง แต่ในฐานะ HR คงไม่สามารถอ้าแขนรับพนักงานที่เคยลาออกไปแล้วกลับมาใหม่ได้เสมอ แม้ว่าเขาเป็นพนักงานที่ดีและไม่เคยสร้างปัญหาเลยสักครั้งเดียวเลยก็ตาม

    JobThai จึงไปรวมสิ่งที่ HR ควรทำก่อนจะตัดสินใจรับอดีตพนักงานกลับมาใหม่อีกครั้ง ว่าควรพิจารณาข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบยังไงบ้าง ให้การตัดสินใจรับอดีตพนักงานคนนี้ไม่มีผลเสียตามมา

    รับเขากลับเข้าทำงานอีกครั้งเมื่อ…

    เมื่อพนักงานคนนี้เป็น Specialist

    ทักษะ เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงาน หากอดีตพนักงานคนนี้มีความชำนาญเฉพาะด้านจริง ๆ การรับพนักงานที่เคยทำมาก่อน จะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานและลดเวลาในการสอนงาน รวมถึงไม่ต้องมาเริ่มทำความเข้าใจ Product หรือบริการขององค์กรอีกครั้ง เพราะพวกเขาจะมีทักษะและความรู้ที่จำเป็นต่อการทำงานตามที่เราต้องการอยู่แล้ว

    เมื่อเราเห็นว่าเขาทำงานเป็นทีมได้ดี

    การรับพนักงานใหม่เราต้องคอยลุ้นอยู่เสมอว่าเขาจะเข้ากับองค์กรได้ไหม แต่ปัญหานี้จะหมดไปเมื่อเราเห็นว่าอดีตพนักงานคนนี้มีความประพฤติยังไงบ้าง เขามีความสามารถในการทำงานเป็นทีม มีทัศนคติ มีวิธีคิด ที่เข้ากับทีมในปัจจุบันได้หรือไม่ ยิ่งถ้าเขามีทักษะและความสามารถสูงเป็นทุนเดิมอยู่ด้วยแล้ว การรับอดีตพนักงานคนนี้กลับเข้ามาอีกครั้ง จะเป็นสิ่งที่ไม่ต้องเสียเวลาคิดเยอะเลย

    เมื่อเขามีความเป็นผู้นำในการทำงาน

    กล้าตัดสินใจ กล้าออกความเห็น และสามารถบริหารจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ดี เป็นทักษะความเป็นผู้นำที่แทบจะหายากที่สุดในตัวพนักงาน และยังเป็นทักษะสำคัญที่จะทำให้องค์กรก้าวหน้าอีกด้วย หากอดีตพนักงานคนนี้มีทุกข้อที่กล่าวมาและมีความเป็นผู้นำด้วยแล้ว ก็อย่าลังเลที่จะรับกลับเข้ามา เพราะนอกจากจะส่งผลดีต่อภาพรวมของทีม เขาอาจเป็นแบบอย่างที่ดีและส่งต่อทักษะความเป็นผู้นำให้กับคนอื่น ๆ ได้อีกด้วย

    ปฏิเสธที่จะรับเขากลับเข้าทำงานเมื่อ…

    เมื่อพนักงานในทีมปฏิเสธ

    การจะรับอดีตพนักงานเข้ามาใหม่ นอกจากเรื่องต่าง ๆ ที่นำมาประกอบการตัดสินใจแล้ว เราก็ควรจะสอบถามคนในทีมด้วยว่ามีความคิดเห็นอย่างไร เพราะคนอื่น ๆ ในทีมอาจจะไม่ได้คิดแบบเรา ควรคุยกับทุกคนในทีมให้ชัดเจนว่าเห็นด้วยหรือมีปัญหาอะไรไหม เพื่อลดการเกิดปัญหาในการทำงานเพราะคนในทีมไม่สบายใจในการทำงานร่วมกัน และลดความเสี่ยงที่ต้องเสียพนักงานคนอื่น ๆ ไปแทน

    เมื่อองค์กรไม่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ

    หากเราใช้ทักษะ ความรู้ และความสามารถที่อดีตพนักงานคนนี้มีมาประกอบการตัดสินใจแล้ว อย่าลืมนำเหตุผลว่าทำไมเขาถึงออกจากบริษัทมาประกอบการตัดสินใจด้วย เขาออกไปเพราะเบื่องาน มองหาความก้าวหน้า หรือต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ ๆ และสังเกตว่าหลังจากที่เขาออกไป ทีมและองค์กรมีอะไรเปลี่ยนแปลงแล้วบ้างหรือไม่ หากทุกอย่างยังเหมือนเดิม ต่อให้เรารับเขากลับมาแล้วก็การันตีไม่ได้ว่าเขาจะไม่ออกไปด้วยเหตุผลเดิมอีกครั้ง เพราะเขายังไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการอยู่ดี

    เมื่อเขาออกจากบริษัทไปนานมากแล้ว

    ความคุ้นเคยต่อองค์กรของอดีตพนักงานที่เป็นแต้มต่อ เพราะคุ้นเคยกับรูปแบบการทำงาน รู้จัก Product และไม่ต้องมาปรับตัวและทำความรู้จักใหม่ ก็อาจกลายเป็นแต้มใหญ่ ๆ ที่ถูกหักหากเขาออกจากองค์กรนานเกินไปจนองค์กรได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการทำงาน พนักงาน ทีม หรือแม้แต่รายละเอียดของ Product ก็มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามากขึ้น จนทำให้เขาต้องมาเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด ไม่ต่างอะไรกับพนักงานใหม่ที่ไม่เคยทำงานที่นี่มาก่อน

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita