งานวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุ 2565

30 ส.ค. 2565 เวลา 12:56 น.

มส.ผส.-วช. เปิดผลวิจัยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย ชูขับเคลื่อน 4 ประเด็นหลัก “ที่อยู่อาศัยกลุ่มเปราะบาง-รายได้เพียงพอ-พัฒนาศักยภาพ-เครื่องมือประเมินความมีชีวิตชีวาผู้สูงอายุ” หวังสร้าง “สังคมสูงวัยแบบพฤฒพลัง”อย่างยั่งยืนภายใต้วิถีชีวิตใหม่

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพฯ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ร่วมกับสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดงานเปิดคลังความรู้ มส.ผส. 2565 “การเตรียมความพร้อมรอบด้านในสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์สู่สังคมไทยที่มีสุขอย่างยั่งยืน” โดยมีการนำเสนอผลงานวิจัยและเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ เพื่อเตรียมรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ภายใต้แผนงานวิจัยท้าทายไทย เรื่อง “สังคมสูงวัยที่ยั่งยืนภายใต้วิถีชีวิตใหม่” เกิดเป็นชุดงานวิจัยและกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมเชิงนโยบายผ่านกระบวนการ Policy Dialogue Process จำนวนทั้งหมด 18 เรื่อง 


ดร.นพ.ภูษิต ประคองสาย เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.) กล่าวว่า มส.ผส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้ดำเนินการศึกษาและวิจัยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย ทั้งเชิงสถานการณ์และหาช่องว่างทางความรู้ในการพัฒนานโยบายของประเทศให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 มุ่งสู่ Active & Productive Ageing

ตลอดจนนำองค์ความรู้ปรับใช้ และผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายสู่องค์กรหลักที่เกี่ยวข้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน เพื่อให้ผู้สูงอายุไทยสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างเต็มศักยภาพ 

โดยมีเป้าหมาย 4 ประเด็น ได้แก่ 1. การมีที่อยู่อาศัยและการได้รับบริการที่เหมาะสมโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีเศรษฐานะยากจนและเป็นกลุ่มเปราะบาง 2. ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและการมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดํารงชีพอย่างมีคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 

                          

3. การพัฒนาโครงสร้างและนโยบายของภาครัฐเพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุในชุมชน และ 4. พัฒนาระบบข้อมูลและตัวชี้วัดสําหรับประเมินศักยภาพ ภาวะพฤฒิพลัง และความต้องการด้านบริการสุขภาพ และบริการทางสังคมสําหรับผู้สูงอายุ 

ดร.นพ.ภูษิต กล่าวต่อว่า ข้อค้นพบที่สำคัญในการศึกษาวิจัย อาทิ ประเด็นที่อยู่อาศัยและการได้รับบริการที่เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุ ที่มีฐานะยากจนและเป็นกลุ่มเปราะบาง ควรมีการจัดบริการทางสังคม (social service) ที่เหมาะสมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางสังคม 


โดยเป็นภารกิจหลักของหน่วยงานในระดับพื้นที่ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในแต่ละพื้นที่ ร่วมกับภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เอ็นจีโอ วัด โรงเรียน โรงพยาบาล 


นอกจากนี้ควรจัดบริการให้ความรู้เรื่องสุขภาพ (health literacy) รวมทั้งการเตรียมพร้อมและการเข้าถึงบริการทางสังคมเพื่อการสูงวัยอย่างมีพลัง และการประเมิน ติดตาม การใช้ประโยชน์จากเครื่องมือประเมินความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ (ดัชนีพฤฒพลัง) และขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

                  


ดร.นพ.ภูษิต กล่าวต่อว่า ที่น่าสนใจคือ โครงการวิจัยการวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบํานาญแห่งชาติ โดยคํานึงถึงผลกระทบของ โควิด-19  ที่มีต่อผู้สูงอายุ ของ ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย และ ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า ควรปฏิรูประบบบํานาญและการจ่ายเบี้ยยังชีพที่เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย 


เสนอให้มีการปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า ซึ่งมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เดือนละ 3,000 บาท และออกแบบระบบบํานาญแห่งชาติ สามารถพัฒนาไปได้ถึงระดับมัธยฐานของการครองชีพสําหรับครัวเรือนไทยที่ 6,000 บาท/เดือน โดยให้ผู้ทํางานอยู่นอกระบบสามารถทําการออมและให้รัฐบาลร่วมสมทบการออมในสัดส่วนเดียวกัน ซึ่งจะใช้งบประมาณทั้งหมดไม่สูงกว่าระบบบํานาญภาครัฐ 


ทั้งนี้คณะผู้วิจัยเสนอแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นข้อจํากัด สร้างระบบฐานข้อมูล ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุและเสนอให้มีการทบทวนนิยาม “การเริ่มนับอายุของผู้สูงอายุ” ให้เพิ่มมากกว่า 60 ปี และขยายเวลาในการ “เกษียณอายุ”จากการทำงาน (ทั้งภาครัฐและเอกชน)

                          


นางสาวศิรินทร์พร เดียวตระกูล หัวหน้าภารกิจการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ด้านการเตรียมรับสังคมสูงวัย (ววน.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า สังคมสูงวัย เป็นประเด็นที่มีความท้าทาย ทั้งโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงทำให้ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาสุขภาพ ป่วยเรื้อรัง ติดเตียง เหงาซึมเศร้า ปัญหาที่พักอาศัย รายได้ไม่เพียงพอ ไม่มีเงินออม ก้าวตามเทคโนโลยีไม่ทัน 


โดย วช.กำหนดทิศทางการสนับสนุนการวิจัยที่สอดคล้องกับแผน ววน. พัฒนาสังคมสูงวัยด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2 ด้าน คือ 1.การพัฒนาผู้สูงอายุในภาคชนบทและเมืองให้มีศักยภาพในการพึ่งตนเอง มีคุณค่า และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคม 


2.การพัฒนานวัตกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของวัยแรงงานในภาคชนบทและเมือง เข้าสู่การเป็นผู้สูงวัย เพื่อให้ประเทศมีความพร้อมในการเป็นสังคมสูงวัย ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและการอยู่ร่วมกันของคนทุกช่วงวัย รวมทั้งส่งเสริมให้ประชากรไทยช่วงวัยแรงงาน (25-59 ปี) มีการเตรียมการเข้าสู่วัยสูงอายุด้วยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 


นางสาวศิรินทร์พร กล่าวต่อว่า การร่วมมือกับ มส.ผส.และภาคีเครือข่ายในครั้งนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ ซึ่ง วช. มีทิศทางการทำงานดังนี้ 1.สนับสนุนให้ผู้สูงอายุคงอยู่ในที่อยู่อาศัยเดิมอย่างเหมาะสม (Ageing in Place) 2.สนับสนุนคนในครอบครัวที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ 

                              


3.สนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต 4.ส่งเสริมให้ อปท. และชุมชน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ 5.จัดบริการสาธารณะที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตนอกบ้านของผู้สูงอายุ 6.ส่งเสริมให้ อปท. และเครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างกลไกเฝ้าระวังและดูแลผู้สูงอายุ 7.ยกระดับมาตรฐานที่อยู่อาศัยและการดูแลผู้สูงอายุ


นอกจากนี้ คณะผู้จัดงานยังได้เชิญหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เข้าแลกเปลี่ยนในวงเสวนาเรื่อง “พลังความรู้สู่นโยบายและการปฏิบัติ...เพื่อสังคมสูงวัยที่ยั่งยืน” ทั้งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากทุกภูมิภาค นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 


และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤฒพลัง (Active and healthy aging) สำหรับผู้สูงอายุ เช่น กินอย่างไร ให้สมวัย สว., สูงวัย (แต่ง) อย่างไรให้สง่า, สูงวัย ก้าวทันเทคโนโลยี, หนุนนำใจ บรรยายธรรม : สูงวัยอย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ,  โยคะกายขยับ กระฉับกระเฉง ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita