วิจัยคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล

1508 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 เผชิญหน้ากับปัญหาได้อย่าเหมาะสมโดยการใช้ทักษะต่าง ๆ ที่ตนเองมีอยู่ร่วมกับประสบการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งทักษะชีวิต เป็น ความสามารถของบุคคลที่สาคัญในการปรับตัวในการดาเนินชีวิตและพัฒนาความสามารถในการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีทักษะชีวิตเป็นความสามารถเชิงสังคมที่จะช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจาวันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มีความสามารถในการจัดการกับปัญหารอบตัวได้อย่างเหมาะสม [1] มีความสาคัญในการพัฒนาให้คนมีความ สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และช่วยในการปรับตัวต่อการเรียน ทาให้บุคคลสามารถจัดการการเรียนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการเรียนของนักศึกษาพยาบาล ทักษะชีวิตจึงมีความสาคัญในการปรับตัวของนักศึกษาที่จะเรียนรู้ ใน การแสวงหาความรู้ ข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงในการเรียนต่างๆ อย่างเป็นระบบและที่สาคัญทักษะชีวิตยังทาให้นักศึกษาสามารถปรับตัวใน การเรียนภาคปฏิบัติที่ต้องทางานร่วมกับทีมสุขภาพ ผู้รับบริการ ได้อย่างมีความสุขและสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่าง เป็นระบบ [2] ซึ่งการปรับตัวต่อการเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตที่ได้มีการศึกษาไว้โดย ธาราวดี อธิมาตรานนท์ [3] ได้ ทาการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาล และได้มีการจาแนกปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวเป็น 3 ด้าน คือ 1) ปัจจัยด้านส่วนตัว 2) ปัจจัยด้านครอบครัว และ 3) ปัจจัยด้าน สภาพแวดล้อม และ [4] ได้ศึกษาลักษณะการปรับตัวทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลพบว่า นักศึกษาที่มีรายได้ของครอบครัวที่ แตกต่างกันมีการปรับตัวด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและการปรับตัวในด้านความสัมพันธ์ในสถานศึกษาอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมแตกต่างกันมีการปรับตัวด้านทักษะทางสังคมและการปรับตัวด้านความสัมพันธ์ในที่อยู่อาศัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติและนักศึกษาที่มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาแตกต่างกันมีการปรับตัวด้านความสัมพันธ์ใน ครอบครัวและการปรับตัวด้านความสัมพันธ์ในชุมชนและการปรับตัวทางสังคมโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ คณะผู้วิจัยเห็นความสาคัญของความสัมพันธ์ระหว่างทักษะชีวิตกับการปรับตัวต่อการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ว่า หากนักศึกษาพยาบาลศาสตร์มีทักษะชีวิตหรือมีระดับชีวิตในการปรับตัวที่ดี นักศึกษาสามารถจะดาเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมี ความสุขทั้งสุขภาพทางกาย จิตใจ สังคมและอารมณ์ จะทาให้ปัญหาในการเรียนและการฝึกภาคปฏิบัติลดลง มีผลการเรียนอยู่ใน ระดับที่ดี สามารถเลื่อนชั้นปีได้ตามสมรรถนะของตนเอง คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาระดับทักษะชีวิตและระดับการปรับตัวต่อการ เรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1, 2, 3 และ4 เปรียบเทียบระดับชีวิตและการปรับตัวต่อการเรียนหลักสูตรพยาบาล ศาสตร์ในแต่ละชั้นปี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะชีวิตและการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1, 2, 3 และ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช เพื่อนาผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางวางแผนเตรียมสภาพแวดล้อมการ เรียนการสอนและเสริมสร้างทักษะชีวิตให้มีความเหมาะสมต่อการใช้ชีวิตและมีคุณภาพชีวิตทั้งทางกาย จิตใจ สังคมและอารมณ์ที่ดี มีสุขภายใต้รั้ววิทยาลัย วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับทักษะชีวิตและระดับการปรับตัวต่อการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ทุกชั้นปี 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับทักษะชีวิตและระดับการปรับตัวต่อการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในแต่ละชั้นปี 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับทักษะชีวิตและระดับการปรับตัวต่อการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ทุกชั้นปี วิธีดาเนินการ ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1, 2, 3 และ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช ปี การศึกษา 2560 จานวนทั้งหมด 463 คน

Made with FlippingBook

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3

ผู้แต่ง

  • อนันต์ตรี สมิทธิ์นราเศรษฐ์ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, นักศึกษาพยาบาล, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของ นักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 280 คน จากการคำนวณด้วยโปรแกรม G*Power สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล และส่วนที่ 2 แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นตามวิธีของครอนบาค (Cronbach's Alpha Coefficiency) ได้ค่าเท่ากับ 0.923 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเมื่อพบความแตกต่างทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)

         ผลการศึกษาวิจัย พบว่า คะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของนักศึกษาพยาบาลพบว่า มีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมปานกลาง และเมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของนักศึกษาแต่ละชั้นปีทั้งรายด้านและโดยรวมพบว่า นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตโดยรวมมากที่สุด ส่วนนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมมากที่สุด ในขณะที่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิต ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตโดยรวมน้อยที่สุด และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายน้อยที่สุด เมื่อทดสอบสมมติฐานพบว่า นักศึกษาพยาบาลอย่างน้อย 2 ชั้นปีมีระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษา  และคณะพยาบาลศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาล มีคุณภาพชีวิตที่ดีในรั้วมหาวิทยาลัยต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมลรัตน์ ทองสว่าง. (2560). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.วารสารสารคาม, 8(2), 1-14.

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. (2559). เอกลักษณ์คณะพยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560, จาก //faculty.eau.ac.th/ Faculty_of_Nursing.

ชัชชัย อนุสรณ์ธีรกุล, การย์กวิน ภัทรธีรนาถ, จุฑารัตน์ ชัยวีรพันธ์เดช, ภัสสร์วัลย์ รังสิปราการ, มานพ คณะโต,และนฤมล สินสุพรรณ. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับประชาชนที่ชุมชนสามเหลี่ยมในช่วงอายุเดียวกัน. ศรีนครินทร์เวชสาร,23(2), 200-206.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). วิธีการที่ถูกต้องและทันสมัยในการกำหนดขนาดตัวอย่าง. เอกสารประกอบการบรรยายในโครงการ Research Zone. สำนักงานวิจัยแห่งชาติ.

พรรณิการ์ พุ่มจันทร์. (2560). การศึกษาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช, 10(1), 10-17.

พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์ และเบญจวรรณ พิททาร์ด. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารเกื้อการุณย์, 23(1), 7-20.

พิชฌาย์ สินสวัสดิ์ และเบญจวรรณ พิททาร์ด. (2557). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(1), 97-108.

ลัดดาวัลย์ แดงเถิน. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ ระหว่างฝึกปฏิบัติงาน. พิษณุโลก: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วัฒนีย์ เย็นจิตร, พัชรินทร์ พลอยสิทธิ์, โทน แห้วเพชร และเอกชัย โภไคยศสวรรค์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด คุณภาพชีวิต ค่าใช้จ่ายกับผลการศึกษาของนักศึกษาทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(3), 477-486.

วินิทรา นวลละออง. (2555). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1. วารสารสมาคจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย, 57(2), 225-234.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, และจรัมพร โห้ลํายอง. (2557). คุณภาพชีวิตการทํางานและความสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุวัฒน์ มหัตนิรันทร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, และวราณี พรมานะรังกุล. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) [ออนไลน์]. โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2545 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2561, จาก //www.dmh.go.th/test/whoqol/.

Moritz, A. R., Pereira, E. M., Borba, K. P., Clapis, M. J., Gevert, V. G., & Mantovani, M. F. (2016).Quality of life of undergraduate nursing students at a Brazilian public university.Investigaci n y Educaci n en Enfermeria, 34(3), 564-572.

Moura, I. H., Nobre, R. S., Cortez, R. M. A., Campelo, V., Mac?do, S. F., & Silva, A. R. V. (2016).Quality of life of undergraduate nursing students. Revista Ga cha de Enfermagem,37(2), 1-7.

Francisco Rosemiro Guimara?es Ximenes Neto, Francisco Diogenes dos Santos, Luiza Jocymara Lima Freire et al. (2018). Analysis of the quality of life of nursing students in a university of Northeast Brazil. International Journal of Development Research,8(3), 19563-19565.

Selye, H. (1976). The stress of life. New York: McGraw-Hill.

Shareef, M. A., AlAmodi, A. A., Al-Khateeb, A. A., Abudan, Z., Alkhani, M. A., Zebian, S. I., . . .abrizi, M. J. (2015). The interplay between academic performance and quality of life among preclinical students. BMC Medical Education, 15(193). doi:DOI 10.1186/s12909-015-0476-1.

World Health Organization. (1998). The World Health Organization Quality of Life User Manual.Switzerland: Division of Mental health and prevention of substance abuse, World Health Organization.

Zhang, Y., Qu, B., Lun, S., Wang, D., Guo, Y., & Liu, J. (2012). Quality of life of medical students in China: A study using the WHOQOL-BREF. PLOS ONE, 7(11), 1-9.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita