วิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหาร

หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
The development of inclusive education administrative model of school in Bangkok metropolitan administration
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางอัญชลา เกลี้ยงแก้ว
Mrs. Aunchala Klengkaew
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญมี เณรยอด, ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์
Assoc. Prof. Boonmee Nenyod, Ph.D., Somsak Donprasit, Ph.D
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา
Leadership and Innovation in Educational Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง|Citation

อัญชลา เกลี้ยงแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Klengkaew A. (2017). The development of inclusive education administrative model of school in Bangkok metropolitan administration. (Master’s thesis). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการในการบริหารการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครและพัฒนารูปแบบการบริหาร การจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงบรรยาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสภาพการปฏิบัติในปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับ การบริหารการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สอบถามข้อมูลจากผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติหน้าที่ด้าน การจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ โดยแบ่งกลุ่มเขตกรุงเทพมหานคร และแบ่งตามขนาดของโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติโดยใช้ค่า t และจัดลำดับดรรชนีความต้องการจำเป็น (PNI) แล้วนำมายกร่างเป็นรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครและมีการตรวจสอบความเป็นไปได้และความสอดคล้องของระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการบริหารการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครมี
ค่าเฉลี่ยการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้านทั้งในประเด็นย่อยและภาพรวมของด้าน ส่วนค่าเฉลี่ยระดับความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านทั้งในประเด็นย่อยและภาพรวมของด้าน และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ปรากฏว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกด้านทั้งในประเด็นย่อยและภาพรวมของด้าน

2. รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1)ด้านการจัดการความพร้อมของนักเรียนและบุคลากร 2) ด้านบริหารการจัดสภาพแวดล้อม 3)ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร 4)ด้านการประสานความร่วมมือกับชุมชน ส่วนในการพิจารณาค่าดรรชนีความต้องการ (PNI) 3 อันดับแรกของแต่ละด้าน ปรากฏว่า ด้านการจัดการความพร้อมของนักเรียนและบุคลากร ได้แก่ โรงเรียนมุ่งมั่นเป็นผู้นำในด้าน การจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน บทบาทของบุคลากรและรูปแบบการจัดการเรียนร่วม และโรงเรียนมี การประชาสัมพันธ์ในการจัดการเรียนร่วมให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ด้านบริหารการจัดสภาพแวดล้อม ได้แก่ โรงเรียนเอื้ออำนวยต่อบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน โรงเรียนจัดการดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน และโรงเรียนมีการประสานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษาในการจัดการเรียนร่วม ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ได้แก่ โรงเรียนมีการจัดกระบวนการคัดกรองเด็กที่มีความต้องการพิเศษและนักเรียนเรียนร่วมได้เรียนรู้และมีโอกาสใน การทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนปกติ โรงเรียนจัดระบบการรับสมัครการจัดเข้าชั้นเรียนของนักเรียนเรียนร่วมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โรงเรียนมีการใช้สื่อ เทคนิควิธีการในการจัดกิจกรรมที่เป็นรูปแบบเฉพาะเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ ด้านการประสานความร่วมมือกับชุมชน ได้แก่ โรงเรียนมีการแต่งตั้งกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนเน้นคุณภาพการทำงาน และโรงเรียนใช้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเด็กเรียนร่วมในการส่งเสริมเรียนรู้และพัฒนา

คำสำคัญ: การบริหารการศึกษา

Abstract

The purposes of this study were to 1)to study the actual and expected inclusive education administration performance of school in Bangkok Metropolitan, and 2) to develop an inclusive education administration model of school in Bangkok Metropolitan Administration.

A descriptive research method was applied in this study by which data were gathered from school administrators , teacher, and education supervisors which involved in inclusive education administration of schools in Bangkok Metropolitan Administration. Research instrument was a questionnaire on actual and expected inclusive education administration performance. Data were analyzed by using means ( ) , standard deviation ( ), t-test, and Priority Needs Index (PNI). The proposed inclusive education administration model was formulated and then was validated by experts through focus group seminar technique.

Research findings showed as follows:

1. With regards to the actual and expected inclusive education administration performance, data showed that the average of the actual performance were at the high level in every aspect while the average of the expected performance were at the highest level. When compared these actual and expected performance, there were statistically significant differences at 0.01 level for each performance and total performance.

2. The inclusive education administration model of school in Bangkok Metropolitan Administration composed of 4 components, namely; the students and personnel readiness, the environment management, the curriculum management, and the community collaboration. In considering the top three priority indexes (PNI) in each of these component, it appeared that for the students and personal readiness, the top three priority indexes were the school’s determination on becoming a leader on educational management for students with intellectual disabilities, school’s policies and guidelines on personnel roles and inclusive educational management, and school public relations on inclusive educational management with the concerned units. With regards to the environment management, the top three priority indexed were school facilitated those personnel and operation staff, school maintenance all buildings and grounds, and school’s cooperation with the inclusive education management networks. With Regards to the curriculum management, the top three priority indexes were school provision of special needs screenings process for students in order to participate in learning activities, school provision on properly admission system, and school utilization system on appropriated media and specific learning activities. For the community collaboration, the top three priority indexes were school appointed a school board, concentrated on quality of work performance, and promoted and developed learning activities based on actual information.

Keywords:  Education Administrative.

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร|The development of inclusive education administrative model of school in Bangkok metropolitan administration

Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University, Thailand

Related Articles

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita