เลขที่จดแจ้ง เครื่องสําอาง ภาษาอังกฤษ

     หลังจากที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพิ่งประกาศใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอางฉบับใหม่ พ.ศ. 2564 แทนฉบับเดิม พ.ศ. 2562 ที่ใช้มาหลายปี เราเลยถือโอกาสนำแนวทางข้อบังคับเกี่ยวกับการตั้งชื่อแบรนด์และชื่อเครื่องสำอาง มาฝากสำหรับเจ้าของแบรนด์ และคนที่สนใจกำลังอยากสร้างแบรนด์ ได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกันครับ

หลักเกณฑ์จดแจ้งเครื่องสำอาง สำคัญอย่างไร ทำไมคนทำแบรนด์ต้องรู้? 

     เป็นข้อบังคับที่ อย. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลเครื่องสำอางของประเทศไทย ได้กำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางดำเนินงานในการตรวจสอบและอนุญาตการจดแจ้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง จะได้รับเลขที่จดแจ้ง 13 หลัก และสามารถผลิตหรือจำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ยื่นจดแจ้งไม่ผ่าน ก็เท่ากับ ยังไม่มีสิทธิ์ขายนั่นเอง หากผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุก 6 เดือน และปรับสูงสุด 50,000 บาท!!

     ทั้งนี้ “การตั้งชื่อโอเวอร์เกินจริง ไม่สอดคล้องกับสรรพคุณของเครื่องสำอาง” เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เจ้าของแบรนด์หลายๆคนยื่นจดแจ้งเครื่องสำอางไม่ผ่านสักที เสียโอกาสทั้งขายของ และขยายฐานลูกค้าไปโดยปริยาย ซึ่งการตั้งชื่อแบรนด์ และชื่อเครื่องสำอาง ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอาง "ฉบับล่าสุด" มีข้อกำหนดสำคัญที่ควรรู้ ดังต่อไปนี้

1.ชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง ที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ต้องมีความหมายสอดคล้องตรงกัน หรือใช้คำทับศัพท์

2.ต้องไม่ใช้คำไปในทำนองโอ้อวด ไม่สุภาพ หรืออาจทำให้เข้าใจผิดในความเป็นจริง

3.ต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย หรือส่อไปในทางทำลายคุณค่าของภาษาไทย หรือสื่อถึงการใช้ทางเพศสัมพันธ์ซึ่งมิใช่เครื่องสำอาง

4.ต้องไม่ใช้ข้อความ/คำศัพท์/ตัวย่อ/คำพ้องรูป/คำพ้องเสียง/ตัวอักษร/ตัวเลข/การออกเสียง ที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง หรือสื่อความหมาย /แสดงสรรพคุณเกินขอบข่ายเครื่องสำอาง หรือไปในทางยา เช่น STEM CE11

5.ต้องไม่ใช้ข้อความที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ยา หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ใช่เครื่องสำอาง 

6.ข้อความที่ใช้เป็นชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง จะต้องสามารถชี้แจงและสื่อความหมายไปในทาง เครื่องสำอางได้อย่างสมเหตุสมผล 

7.การจดทะเบียนชื่อการค้าที่ใช้ข้อความ / คำศัพท์ / ตัวย่อ / คำพ้องรูป / คำพ้องเสียง / ตัวอักษร / ตัวเลข / การออกเสียงที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง หรือสื่อความหมาย/แสดงสรรพคุณ เกินขอบข่ายเครื่องสำอาง หรือไปในทางยา จะนำมาเป็นเหตุให้ยกเว้นการปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ฉบับนี้ไม่ได้ 

8.ต้องไม่ใช้ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะกระทำ โดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม 

9.ต้องไม่ใช้เครื่องหมายการค้า หรือภาพ หรือข้อความที่สื่อให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ เช่น สื่อไปในทางเพศ สื่อไปทางการรักษา สื่อไปในทางยาหรือมีผลระดับเซลล์ หรือมีผลต่อโครงสร้างของร่างกาย 

      นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้นแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จะต้องมีความสอดคล้องกับสรรพคุณหรือรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่ยื่นจดแจ้งอีกด้วย

โดยTNPC สรุปเงื่อนไขการใช้คำที่สำคัญๆ มาเป็นไกด์ไลน์ให้ทุกท่านครับ


ผลิตภัณฑ์ ดูแลสิว (Anti-Acne)


การใช้คำว่า “Acne /Anti-acne / Blackhead” เป็นส่วนหนึ่งของชื่อผลิตภัณฑ์ หากเป็นภาษาไทยจะต้องใช้การทับศัพท์เท่านั้น ไม่สามารถใช้การแปลความหมายได้ และในสูตรผลิตภัณฑ์จะต้องมีส่วนผสมของ Salicylic Acid , Melaleuca Alternifolia Leaf Oil (Tea Tree Oil) หรือ Garcinia Mangostana Peel Extract 

ทั้งนี้ยกเว้นกลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว สามารถใช้คำว่า “Acne /Anti-acne / Blackhead” เป็นส่วนหนึ่งของชื่อได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีสารดังกล่าว

*คำศัพท์เกี่ยวกับแอนตี้แอคเน่ที่ห้ามใช้ : Ache , Acne Control , Acne Out , Acne Therapy , Acne Treatment , Stop Acne , ลอกสิว , ขัดสิว , แก้สิว , ขยี้สิว , ดูดสิว , ลบสิว , ลดสิว , ลดสิวเสี้ยน , ลดอักเสบ , ลดการอักเสบ , สิวฝ้า , รักษาสิว , ฆ่าแบคทีเรีย 


ผลิตภัณฑ์ ขาวกระจ่างใส (Whitening)

 

การใช้คำ (Whitening / Lightening / Brightening) สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อผลิตภัณฑ์ หรือสื่อความหมายในทำนองเดียวกันได้ เมื่อในสูตรมีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด สารผลัดเซลล์ผิวกลุ่ม AHA BHA PHA  เช่น Glycolic Acid , Lactic Acid , Salicylic Acid , Gluconolactone หรือสารไวท์เทนนิ่งประเภทอื่นๆที่ทาง อย. กำหนดให้ใช้ได้ เช่น Arbutin , Niacinamide , Kojic Acid เป็นต้น 

*คำศัพท์เกี่ยวกับไวท์เทนนิ่งที่ห้ามใช้ : Anti Pigment , Anti Pigmentation , Anti Melanin , Cell Bright , Scar Eraser , Scar Remover , Scar Treatment , Pigment Reducing , Reduce Pigment , ลดฝ้า , ลดกระ , ลดฝ้ากระ , ลดรอยฝ้ากระ , ลบฝ้า , ลบรอยแผลเป็น , ลอกกระ , ลอกฝ้า , รักษาฝ้า 

ผลิตภัณฑ์กันแดด (Sunscreen)

อย. อนุญาติให้ใช้คำว่า “Sunscreen / UV Protection” เป็นส่วนหนึ่งของชื่อผลิตภัณฑ์ เมื่อในสูตรมีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด ประเภท Physical sunscreen หรือ Chemical sunscreen ทั้งนี้หากมีคำที่แสดงถึงความสามารถในการกันน้ำ “Water Resistance/ Water Proof” จะต้องมีผลการทดสอบที่ได้มาตรฐานสากลรับรอง จึงสามารถใช้สรรพคุณดังกล่าวในชื่อผลิตภัณฑ์ได้

*คำศัพท์ห้ามใช้ : Sun Burn 


ผลิตภัณฑ์ ออร์แกนิค (Organic)

ในกรณีการจดแจ้งคำว่า “Organic” และคำพ้องรูปหรือคำพ้องเสียง เป็นส่วนหนึ่งของชื่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ต้องมีเอกสาร Certificate ที่ออกโดยหน่วยงานหรือองค์กรรับรองที่น่าเชื่อถือ ที่แสดงว่ามีการใช้พืชที่ปลูกแบบ Organic เป็นส่วนผสมจริง 

ตัวอย่างองค์รับรองที่น่าเชื่อถือ

USDA Organic เครื่องหมายรับรองออร์แกนิค ที่ออกโดยหน่วยงานของกระทรวงเกษตร ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ECOCERT® ออกโดยสถาบัน Ecocert ของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญในการรับรองผลิตภัณฑ์ Organic ของโลก มีมาตรฐานเข้มงวดและความน่าเชื่อถือระดับสากล


ผลิตภัณฑ์

การใช้คำว่า “All In One / 2 in 1 / 3 in 1” เป็นส่วนหนึ่งของชื่อผลิตภัณฑ์ จะต้องชี้แจงว่าสื่อความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับสารใดในสูตร ซึ่งต้องไม่เกินขอบข่ายความเป็นเครื่องสำอาง ทั้งนี้หากมี Function เหมือนกัน ไม่สามารถกล่าวอ้างว่ามีหลายสรรพคุณได้

ยกตัวอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์ 2 in 1 Makeup Removing Water มีส่วนผสม Micellar ช่วยทำความสะอาดสิ่งสกปรก ขจัดคราบเครื่องสำอาง สารสกัดจาก Centella และ Aloe Vera ช่วยบำรุงผิวให้นุ่มชุ่มชื้น จึงถือว่ามีฟังก์ชั่นการทำงาน 2 รูปแบบ ทั้งทำความสะอาดและช่วยบำรุงผิว ดังนั้นสามารถใช้คำว่า 2 in 1 เป็นส่วนหนึ่งของชื่อผลิตภัณฑ์ได้

บทสรุปของการจดแจ้ง อย.ให้ผ่านฉลุย คือ การศึกษาข้อบังคับต่างๆในหลักเกณฑ์การพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอางฉบับใหม่ให้เข้าใจชัดเจน ทั้งลักษณะการตั้งชื่อที่ถูกต้อง การใช้คำให้สอดคล้องกับสรรพคุณมีเงื่อนไขอะไรบ้าง และคำแบบไหนที่ อย. ไม่อนุญาตให้ใช้ เพียงเท่านี้ ไม่ว่าผู้ประกอบการจะยื่นจดแจ้งเครื่องสำอางอีกกี่รอบ อีกกี่สูตรผลิตภัณฑ์ รับรองผ่านฉลุยทุกครั้งอย่างแน่นอน 

ที่มาข้อมูล : หลักเกณฑ์การพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

สร้างแบรนด์ครบจงจร กับ TNP Cosmeceutical โรงงานรับผลิตครีมชั้นนำ ที่ได้มาตรฐานส่งออก ISO 22716 , GMP TUV NORD  , GMP ASEAN และ HALAL ด้วยทุนเริ่มต้นเพียงหลักหมื่น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita