เหตุผล ที่ ประจำเดือน ไม่ มา

มีคำถามจากทางบ้านถามเข้ามาในหน้า Ask Expert ว่า "ประจำเดือนขาด ตั้งแต่เมษายน จนปัจจุบันก็เดือนพฤศจิกายนแล้ว แต่ไม่มีอาการแบบคนท้อง แบบนี้ปกติไหมคะ?" เชื่อว่าสาว ๆ หลายคนเคยมีประสบการณ์เดียวกันนี้มาบ้างแล้ว แต่อาจไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร งั้นวันนี้มาดูคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลย

ประจำเดือน (Mense) คือ เลือดที่ไหลออกจากโพรงมดลูก พร้อมเยื่อบุโพรงมดลูกที่ตายแล้วหลุดลอก หลุดและแตกสลาย เกิดเป็นรอบประจำเดือนตามปกติทุก 21-36 วัน (นับจากวันแรกของประจำเดือน)

ประจำเดือนขาด (Amenorrhea / Missed Period) คือ ภาวะที่ประจำเดือนขาด หรือไม่มาตามปกติ โดยประจำเดือนต้องหายไป 3 เดือน ถึงจะเรียกได้ว่า “ภาวะประจำเดือนขาด” หาก ประจำเดือนขาดไปเพียง 1-2 เดือน จะเรียกว่า ภาวะประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด

ประจำเดือนขาด แบ่งได้ 2 ประเภท

  1. ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Amenorrhea) คือ ผู้หญิงอายุ 18 ปีแล้ว แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมักจะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12 ปี

  2. ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Amenorrhea) คือ ผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาก่อน แต่ต่อมาประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 3 รอบเดือน

และจากคำถามทางบ้าน ที่ประจำเดือนขาดมาถึง 6 เดือน จึงเข้าข่ายภาวะขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ นั่นเอง

สาเหตุการขาดประจำเดือน

  • การตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุที่คนส่วนใหญ่จะสงสัยเป็นสาเหตุแรก ๆ เมื่อประจำเดือนขาดหายไป ซึ่งหากอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ และมีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์อยู่แล้วในช่วงก่อนประจำเดือนขาด อาจเป็นสาเหตุให้ประจำเดือนขาด ซึ่งถือว่าไม่ใช่ความผิดปกติ สามารถตรวจเบื้องต้นได้เอง โดยการตรวจปัสสาวะด้วยที่ตรวจการตั้งครรภ์ หรือไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจครรภ์เพื่อให้ได้ผลยืนยันชัดเจน

  • ความเครียด วิตกกังวล อาจทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ประจำเดือนอาจขาดหายไปได้คราวละหลาย ๆ เดือน เนื่องจากความเครียดนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์และการมีประจำเดือน

  • โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) โรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorders) ทำให้ประจำเดือนขาด ไม่มีความรู้สึกทางเพศ

  • ใช้ยาคุมนานเกินไป การใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด การฉีดยาคุมกำเนิด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาดได้เป็นธรรมดา

  • ช่วงให้นมลูก คุณแม่หลายคนที่คลอดลูกแล้ว ประจำเดือนอาจจะยังไม่มา หรือ ประจำเดือนขาดอยู่ เพราะเป็นช่วงหลังคลอด หรือช่วงให้นมลูกอยู่ ซึ่งในช่วงหลังคลอด หรือแม้แต่หลังแท้งลูก ถ้ายังมีน้ำนมอยู่ก็เป็นเรื่องปกติที่ประจำเดือนจะยังไม่มาจนกระทั่งหย่านม

  • วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน (Menopausal syndrome) โดยเมื่ออายุมากขึ้น ในช่วงวัยประมาณ 40 – 59 ปี ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน ซึ่งทำให้สิ้นสุดการมีประจำเดือนอย่างถาวร

  • มีเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง เนื้องอกของต่อมใต้สมอง หรือแม้แต่เนื้องอกบริเวณใกล้ ๆ ต่อมใต้สมอง ก็อาจเป็นสาเหตุให้ประจำเดือนขาดได้ โดยเนื้องอกของต่อมใต้สมองที่เรียกว่า พิตูตารี่แกลนด์ (Pituitary gland) อาจทำให้ร่างกายมีความผิดปกติ เช่น รูปร่างโตผิดปกติ ประจำเดือนขาดหายไป

  • ระดับฮอร์โมนผิดปกติ รังไข่ที่สร้างฮอร์โมน ไม่ว่าจะสร้างฮอร์โมนมาก หรือน้อยก็เป็นสาเหตุให้ประจำเดือนขาดได้ หากสร้างฮอร์โมนอีสโตรเจน กับ โปรเจสเตอโรนน้อยเกินไป ก็ไม่พอที่จะไปกระตุ้นให้มีประจำเดือนออกมา หรือ หากรังไข่สร้างฮอร์โมนเพศชายมามากเกินไป ก็ทำให้ประจำเดือนขาดหายไปได้เช่นกัน

  • น้ำหนักเพิ่มหรือลดมากเกินไป ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเพิ่ม หรือลดมากเกินไปอาจเกิดอาการประจำเดือนไม่มา โดยเฉพาะเมื่ออดอาหาร หรือลดน้ำหนักเร็วเกินไป อาจทำให้ไม่มีสารอาหารไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก ส่วนคนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนมากนั้น จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมาก ซึ่งส่งผลต่อรอบเดือน และทำให้ประจำเดือนไม่มา

  • ออกกำลังกายมากเกินไป ผู้หญิงที่ออกกำลังกายมากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะขาดประจำเดือน เนื่องจากร่างกายสูญเสียไขมันมากเกินไป โดยผู้หญิงที่อายุ 16 ปี ต้องมีไขมันในร่างกายประมาณ ร้อยละ 22 ของน้ำหนักตัว เป็นอย่างน้อย จึงสามารถคงรอบประจำเดือนตามปกติได้ ดังนั้นในผู้หญิงที่มีไขมันในร่างกายน้อย หรือผอมเกินไป อาจทำให้ขาดประจำเดือนได้เช่นกัน

  • โรคเกี่ยวกับมดลูก เช่น ฉายแสงที่มดลูกเพื่อรักษามะเร็ง หรือเป็นโรคบางชนิดของตัวมดลูกเอง เช่นเป็นวัณโรคของเยื่อบุมดลูก

  • แท้ง แล้วตัดขูดมดลูก ผนังมดลูกได้รับความกระทบกระเทือนมากเกินไป จนเกิดเป็นแผลเป็นข้างใน ติดกันเป็นพังผืด แบบนี้ก็เป็นเหตุของการขาดประจำเดือนได้เช่นกัน

  • ป่วยเป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคของต่อมไธรอยด์ โรคของตับอ่อน และโรคของต่อมหมวกไต

    คุณ ๆ ที่กำลังไม่สบายเป็นไข้อะไรก็ตามแต่ อาจทำให้ประจำเดือนขาดหายไปชั่วคราวได้ แต่พอโรคนั้นหายแล้ว ประจำเดือนก็จะมาเป็นปกติ โรคเรื้อรังบางอย่าง เช่น วัณโรคปอดก็ทำให้ประจำเดือนขาดหายไปได้

  • ถุงน้ำรังไข่หลายใบ ภาวะนี้เกิดจากรังไข่มีถุงน้ำรังไข่เป็นจำนวนมาก โดยถุงน้ำเหล่านี้จะไม่ปล่อยไข่ให้ตกออกมา

ประจำเดือนขาด มีผลเสียอย่างไร?

  • เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น หากประจำเดือนขาดเป็นเวลานาน อาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น ซึ่งวันดีคืนดีอาจส่งผลให้มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ และหากปล่อยไว้ อาจมีความเสี่ยงเกิดมะเร็งมดลูกได้

  • มีลูกยาก หากอยากมีลูก แต่อยู่ในภาวะที่ประจำเดือนขาด ก็อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพราะส่งผลกับการมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติอาจจะทำไม่ได้

  • อาจมีอาการเจ็บป่วยแฝงอยู่ในร่างกาย ซึ่งการขาดประจำเดือน เป็นอาการหนึ่งของโรค หรือความผิดปกตินั้น จึงควรต้องเข้ารับการตรวจ รักษา

  • กระดูกพรุน มวลกระดูกลดลง การขาดประจำเดือน ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนสำคัญต่อการดูดซึมแคลเซียมทั้งที่ไต และระบบทางเดินอาหาร เพื่อนำไปใช้ในการเสริมสร้างกระดูก การมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำนาน ๆ จึงมีผลให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง หรือในระยะยาวอาจเกิดภาวะกระดูกพรุนได้

ประจำเดือนขาด ต้องทำอย่างไร?

  • ผ่อนคลาย ไม่เครียด ความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประจำเดือนขาดได้ ควรพยายามทำร่างกาย และจิตใจให้ผ่อนคลาย อาจจะไปเที่ยว ทำงานน้อยลง ทำจิตใจให้สบาย ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย

  • หมั่นสังเกตร่างกาย เมื่อประจำเดือนเริ่มหายไปแม้เพียงเดือนเดียว ควรเริ่มจดบันทึกเพื่อดูว่าประจำเดือนหายไป หรือแค่มาช้ากว่ากำหนด และคอยสังเกตความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีน้ำนมไหลออกมาทั้งที่ไม่ตั้งครรภ์หรือไม่ มีอาการปวดท้องผิดปกติ มีขน มีหนวดขึ้นผิดปกติ หรือไม่

  • ไม่หักโหมออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายด้วยความเหมาะสม ไม่ออกกำลังกายหนัก หรือมากเกินไป โดยเฉพาะหากเป็นผู้หญิงที่ผอม มีไขมันน้อย อาจจะเน้นการออกกำลังกายที่เน้นการเพิ่มกล้ามเนื้อ แทนการออกกำลังกายที่ออกแรงเยอะ ๆ เพื่อลดไขมัน เช่น อาจจะโยคะ แทนการวิ่ง

  • ควบคุมน้ำหนัก ให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ไม่อ้วนไป หรือผอมไป หากรู้ตัวว่าผอม หรือมีสัดส่วนไขมันในร่างกายน้อย ควรรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มน้ำหนัก เน้นอาหารที่เพิ่มไขมันดี หรือหากน้ำหนักตัวเยอะ อาจจะค่อย ๆ ลดน้ำหนัก แต่ไม่ควรอดอาหาร หรือลดน้ำหนักเร็วเกินไป

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ รับประทานให้ครบ 3 มื้อ และ เน้นอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาจจะเน้นอาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม เพิ่มขึ้น

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น

  • พบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย นอกจากการปรับพฤติกรรมแล้ว หากประจำเดือดขาดหายไป ควรไปพบแพทย์ หรือ สูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่ประจำเดือนหายไป ว่าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ เพื่อตรวจรักษา โดยแพทย์จะซักประวัติ ตรวจภายใน อัลตราซาวด์ ตรวจดูระดับฮอร์โมน ฯลฯ

เมื่อประจำเดือนขาด ควรรักษาอย่างไร?

การรักษา “ภาวะประจำเดือนขาด” นั้น รักษาได้หลายวิธี โดยต้องหาสาเหตุให้พบว่าเกิดจากอะไรกันแน่ เช่น

  • กินยาฮอร์โมนเสริม หากเกิดจากสาเหตุเช่น ผอมเกินไป อ้วนเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ไม่ใช่ความผิดปกติหรือเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ เบื้องต้นเพื่อให้ประจำเดือนมาปกติ คุณหมออาจจ่ายยาฮอร์โมน ซึ่งเป็นตัวยาเดียวกับยาเลื่อนประจำเดือนที่เราคุ้นเคย ซึ่งเมื่อกินยาแล้ว จะทำให้ประจำเดือนมาได้ โดยอาจให้กินยาเป็นประจำในช่วงเดียวกันของทุก ๆ เดือน ประมาณ 6 เดือน เพื่อให้ประจำเดือนมาปกติ ให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมา และหลังจากนั้นให้ลองดูว่าประจำเดือนมาได้เองโดยไม่จำเป็นต้องกินยาหรือไม่

  • กินยาคุมกำเนิด หากมีความผิดปกติ เช่น ถุงน้ำรังไข่หลายใบ แพทย์อาจจ่ายยาคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อช่วยรักษาอาการ

  • รักษาอาการป่วยอื่น ๆ หากตรวจวินิจฉัยแล้ว พบว่าการขาดหายไปของประจำเดือนเกิดจากความผิดปกติ เช่น เนื้องอกต่อมใต้สมอง มีมดลูกผิดปกติ ก็รักษาโรค หรือ อาการเจ็บป่วยนั้น ๆ เมื่อรักษาหายแล้ว ประจำเดือนก็จะกลับมาได้ตามปกติ

โหลดเพิ่ม

แชร์เรื่องนี้

แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คัดลอกลิงก์

ขอขอบคุณ

ภาพ :iStock

ประจำเดือนฮอร์โมนฮอร์โมนเพศหญิงเมนส์ผู้หญิงโรคผู้หญิงประจำเดือนขาดประจำเดือนมามากสุขภาพกายรู้ทันโรคดูแลสุขภาพสุขภาพความเสี่ยงอันตรายโรค

แบบไหนคือประจำเดือนมาไม่ปกติ

มีเลือดออกกะปริบกะปรอยนอกรอบเดือน หรือมีประจำเดือนมากกว่า 1 รอบต่อเดือน เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกหลังหมดประจำเดือน หลังหมดประจำเดือนแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงจะค่อยๆลดลงจนหมดไป จึงไม่ควรกลับมามีประจำเดือนอีก หากมีเลือดออกจากช่องคลอดควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินทุกครั้ง

ทำไมประจำเดือนไม่มา2เดือน

ประจำเดือนไม่มา2เดือน เป็นปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในผู้หญิง ในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ หรืออาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น เช่น วัยหมดประจำเดือน ความเครียด ความผิดปกติของฮอร์โมน การใช้ยาบางชนิด ซึ่งภาวะประจำเดือนขาดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีบุตรยากและกระดูกพรุน การรักษาสาเหตุหลักของภาวะประจำเดือนขาดอาจลด ...

ประจำเดือนไม่มาจะทำอย่างไร

ใช้ยาบางชนิดที่สามารถรักษาภาวะประจำเดือนขาดได้ เช่น ยาคุมกำเนิด หรือยาฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ เป็นต้น แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนเสมอ ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย นอกจากนี้ ไม่ควรซื้อยา อาหารเสริม หรือสมุนไพรที่โฆษณาสรรพคุณว่าสามารถทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติได้มาใช้เองโดยไม่ปรึกษา ...

ประจำเดือนไม่มามากสุดกี่วัน

รอบประจำเดือน ที่ถือว่าปกติอยู่ คือเคลื่อนเข้าหรือออกไม่เกิน 7วัน หรืออยู่ในช่วง 21-35วัน ในแต่ละช่วงอายุ ลักษณะประจำเดือนอาจแตกต่างกันได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเมื่อ 3 ปีก่อน ประจำเดือนมาทุก 25 วัน แต่ตอนนี้มาช้าลง เป็นทุก 35วัน ถ้ายังมาสม่ำเสมอ ไม่มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน “ถือว่าปกติ”อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอย่าง ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita