การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

เทคนิคการทำวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research , Qualitative Analysis และการทำวิจัยเชิงปริมาณ เป็นเทคนิคการทำวิจัยที่นักวิจัยและนักศึกษาควรเรียนรู้และเข้าใจลักษณะและรูปแบบของการทำวิจัยที่แตกต่างกันของการทำวิจัยทั้ง 2 แบบ

การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

เทคนิคการทำวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  เป็นเครื่องมือสำคัญมากสำหรับการทำวิจัยที่มุ่งเน้นผลการศึกษาที่ถูกต้อง ครบถ้วน ได้มุมมอง และประเด็นที่ลึกซึ้ง หากสามารถทำวิจัยที่มีการผสมผสานรูปแบบการทำวิจัยทั้งสองแบบ นอกเหนือจากการทำวิจัยเชิงปริมาณ ที่มุ่งเน้นการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามหรือข้อมูลทุติยภูมิประเภทอนุกรมเวลาเป็นหลัก หรือการทำวิจัยเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถสรุปข้อมูลด้วยตัวเลข สถิติ และการทดสอบสมมติฐาน

การทำวิจัยเชิงคุณภาพสามารถทำควบคู่กับการทำวิจัยเชิงปริมาณ  ซึ่งจะทำให้ได้ผลการศึกษาที่ครบถ้วนและสมบูรณ์แบบมากกว่าการทำวิจัยประเภทใดประเภทหนึ่ง

การทำวิจัยหรือการทำวิทยานิพนธ์ด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ  เป็นการมุ่งแสวงหาความรู้ ความเข้าใจพฤติกรรมและปรากฎการณ์ที่สนใจ ด้วยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามความจริงในทุกมิติ  ให้ความสนใจข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด การให้คุณค่าและความหมาย กับปัจจัยต่าง ๆ รวมไปถึงค่านิยมหรืออุดมการณ์ของแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่างกัน การวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งเน้นการเข้าไปมีส่วนร่วมหรือการสัมผัสกับข้อมูลหรือปรากฏการณ์โดยตรง  โดยโดยทั่วไปจะใช้เวลานานในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลและติดตามสิ่งที่สนใจศึกษาในระยะยาว  การวิจัยเชิงคุณภาพไม่ไม่เน้นการใช้สถิติตัวเลขในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่มุ่งเน้นใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์เป็นวิธีหลักในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive)

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

1. เน้นข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด จิตใจ การให้ความหมายและคุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล
2. เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ในบริบทสังคมและวัฒนธรรม ตลอดบริบทของสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันตามสภาพความเป็นจริงในภาพรวมโดยการมองจากหลายแง่มุม มักจะมีการวิจัยในสนาม (Field research)
3. เป็นการศึกษา รวบรวมข้อมูล สังเกตการณ์ และติดตามระยะยาวและเจาะลึกเพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์สังคม
4. การวิจัยเชิงคุณภาพ ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัยโดยการเข้าไปสัมผัส สร้างความสนิทสนมและความไว้เนื้อเชื่อใจ
5. ใช้การพรรณนาหรือบรรยายความให้เห็นรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของชุมชนหรือกรณีที่ศึกษา ตลอดจนใช้การวิเคราะห์ตีความโดยนำข้อมูลเชิงรูปธรรมย่อย ๆ หลาย ๆ กรณีเพื่อสรุปเป็นเชิงนามธรรม
6. ผู้วิจัยจะนำความรู้สึกนึกคิดส่วนตัวเข้าไปรวมอยู่ด้วย

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยเพื่อตอบปัญหาวิจัยที่มีการวัดค่าของตัวแปรหรือปัจจัยที่สนใจศึกษาออกมาเป็นตัวเลข การวิจัยเชิงปริมาณมุ่งเน้นการออกแบบวิธีการวิจัยให้มีการควบคุมตัวแปรหรือปัจจัยที่ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน  โดยหากเป็นการศึกษาตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป  จะเป็นการวิเคราะห์ตัวแปรเหล่าว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร โดยตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสระ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรตาม รวมถึงการจัดเตรียมเครื่องมือรวบรวมข้อมูลให้มีคุณภาพ จัดกระทำสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นมาตรฐาน และใช้วิธีการทางสถิติช่วยวิเคราะห์และประมวลข้อสรุปเพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) ให้น้อยที่สุด

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ
1.วัตถุประสงค์
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาเพื่อให้ผลการศึกษาที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้แนวที่เรียกว่า ปฏิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฏการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ
2.ลักษณะของข้อมูล
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่ต้องมีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ โดยส่วนใหญ่จะต้องมีการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนหรือกลุ่มตัวอย่าง (sample) จำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีหรือสร้างทฤษฎีและให้ความหมายในเชิงวิชาการมากกว่าการศึกษาแง่มุมแบบชาวบ้าน
3.การตั้งสมมติฐานและการทดสอบสมมติฐาน
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ถือได้ว่าข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณจะเหมาะสมกับการทดสอบทฤษฎีด้วยวิธีการแบบอุปนัย (Deductive) แนวปฎิฐานนิยมเป็นหลัก
4.การทดสอบความแม่นยำ เที่ยงตรงของข้อมูลและความเชื่อถือได้ของข้อมูล
เนื่องจากการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลด้วยการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมากด้วยแบบสอบถาม คำถามในแบบสอบถามจึงจำเป็นต้องมีความชัดเจน

5.ระยะเวลา
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแยกออกจากการเก็บข้อมูลโดยเด็ดขาดได้ การวิเคราะห์ข้อมูลอาจให้เจ้าหน้าที่วิเคราะห์เชิงสถิติดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับชุมชนที่ไปศึกษา

เทคนิคการทำวิจัยเชิงคุณภาพ

ข้อดีและข้อด้อยของการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ

ข้อดีของวิจัยเชิงคุณภาพ
1. สามารถลงลึกในรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งในแนวราบและแนวดิ่งได้มากตามที่ต้องการ เพราะเป็นการศึกษาขนาดเล็กหรือจำกัดการศึกษาวิจัยในบางกลุ่ม บางสถานการณ์
2.การวิจัยเชิงคุณภาพมีความยืดหยุ่นในการออกแบบ การเลือกใช้เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล รวมไปถึงการดำเนินการวิจัย
3.การวิจัยเชิงคุณภาพสามารถใช้ข้อมูลได้หลากหลายชนิด ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับการวิจัยเรื่องเดียวกัน
4.ใช้วิธีเก็บข้อมูลได้อย่างหลากหลายวิธี ในงานวิจัยเรื่องเดียวกัน
5.เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นถึงสิทธิและความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างมีความสำคัญมาก กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างไม่ใช่เป็นเพียงผู้ถูกกระทำเท่านั้น หากแต่ยังต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยนั้น

ข้อด้อยของวิจัยเชิงคุณภาพ
1.ไม่เหมาะสำหรับการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากการวิจัยเชิงคุณภาพต้องมีการเข้าถึงข้อมูลเพื่อรวบรวมรายละเอียดเชิงลึกซึ่งไม่เหมาะกับการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากหรือมีขนาดใหญ่
2.เนื่องจากการวิจัยเชิงคุณภาพมีความยืดหยุ่นในการดำเนินการวิจัย ซึ่งหากผู้วิจัยมีประสบการณ์น้อยหรือไม่เพียงพอ   จะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องความน่าเชื่อถือของการใช้เครื่องมือ และความถูกต้องตรงประเด็นของผลการศึกษา
3.ส่วนใหญ่การวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบบเจาะจง ทำให้การนำผลการศึกษาไปใช้ในวงกว้าง เป็นไปอย่างมีข้อจำกัด
4.กระบวนการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และข้อสรุปสำหรับเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ ค่อนข้างจะเป็นอัติวิสัย
5.ไม่เหมาะสำหรับใช้ทดสอบสมมติฐาน หรือทดสอบแนวคิดทฤษฏี

ข้อดีของวิจัยเชิงปริมาณ
1.มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสำหรับการหาคำตอบ ตลอดจนเป็นการแจกแจงวัตถุประสงค์ของการศึกษา กำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน สามารถหาคำตอบได้และวัดผล แปรผลได้แม่นยำ
2.ลักษณะการดำเนินงานวิจัย มีระบบที่ค่อนข้างแน่นอน สามารถศึกษากลุ่มตัวอย่างหรือข้อมูลที่มีจำนวนมากหรือขนาดใหญ่ได้
3.เนื่องจากการวิจัยเชิงปริมาณสามารถศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างในการศึกษามีจำนวนมาก สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในวงกว้างได้
4.กระบวนการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และข้อสรุปสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะมีรูปแบบตายตัว ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ จึงแม่นยำ เที่ยงตรง เพราะใช้วิธีการทางสถิติ
5.สามารถนำมาใช้ทดสอบสมมติฐาน หรือทดสอบแนวคิด ทฤษฏีได้

ข้อด้อยของวิจัยเชิงปริมาณ
1.มีข้อจำกัดด้านรายละเอียดเชิงลึก เนื่องจากนักวิจัยไม่สามารถลงลึกในรายละเอียดได้มากตามที่ต้องการเพราะเป็นการศึกษาขนาดใหญ่
2.ไม่มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ การใช้เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล และการดำเนินการวิจัย เพราะมีรูปแบบการวิจัยที่ชัดเจน ตายตัว เช่น ศึกษาจากแบบสอบถามหรือข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เช่น ข้อมูลประเภทอนุกรมเวลา
3.ข้อมูลมีความหลากหลายค่อนข้างน้อย เพราะมุ่งเน้นที่ความสำคัญที่คำถาม ของผู้ถามเท่านั้น
4.วิธีเก็บข้อมูลไม่มีความหลากหลายสำหรับในงานวิจัยเรื่องเดียวกัน
5.เป็นการวิจัยที่ไม่ให้ความสำคัญแก่ความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกศึกษาเท่ากับการวิจัยเชิงคุณภาพ กล่าวคือ ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงผู้ถูกกระทำ และไม่ได้เป็นผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยนั้น

จะเห็นได้ว่าทั้งการทำวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ล้วนแล้วแต่เป็นเทคนิคการทำวิจัยที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย  ดังนั้น งานวิจัยที่ต้องการมุ่งเน้นผลลัพธ์หรือผลการศึกษาที่มีประโยชน์ มีคุณค่าในเชิงวิชาการและการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาและการกำหนดนโยบายในระดับองค์กรจึงมีใช้เทคนิคการทำวิจัยทั้งสองแบบควบคู่กัน หรือการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed  Research)  ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในการวิจัยหรือการเรียนระดับสูง โดยเฉพาะในระดับปริญญาเอก ทั้งหลักสูตร PH.D และ DBA.  ซึ่งมีการใช้เทคนิคการทำวิจัยแบบผสมผสานเพิ่มมากขึ้น ทั้งงานวิจัยในสาขาสังคมศาสตร์ เช่น บริหารธุรกิจ  เศรษฐศาสตร์  รัฐศาสตร์และรัฐประสาสนศาสตร์  โลจิสติกส์และจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนงานวิจัยสายสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่มีจำนวนงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Qualitative and Quantitative Research ต่างกันยังไง

การวิจัยที่แบ่งตามลักษณะของกระบวนการรวบรวมข้อมูลและการ วิเคราะห์ข้อมูล มี 2ประเภท คือ •การวิจัยในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เช่น การสารวจ การพยากรณ์การ ประมาณค่า ฯลฯ •การวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เช่น การพรรณนา การอธิบาย การ บรรยาย ฯลฯ

การวิจัยเชิงปริมาณ คืออะไร

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงโดยเน้นที่ข้อมูลเชิงตัวเลข การวิจัยเชิงปริมาณจะพยายามออกแบบวิธีการวิจัย ให้มีการควบคุมตัวแปรที่ศึกษา ต้องจัดเตรียมเครื่องมือรวบรวมข้อมูลให้มีคุณภาพ จัดกระทำสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นมาตรฐาน และใช้วิธีการทางสถิติช่วยวิเคราะห์และประมวลข้อสรุป ...

การวิจัยเชิงคุณภาพ คืออะไร

การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยที่ทาในสถานการณ์ที่เป็น ธรรมชาติใช้วิธีการศึกษาและเครื่องมือในเก็บข้อมูลที่หลากหลาย เครื่องมือที่ส าคัญที่สุดคือนักวิจัยเอง ... ข้อเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพอยู่ที่การพรรณนารายละเอียด ของสิ่งที่ศึกษา มุ่งท าความเข้าใจพฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมภายใน บริบทต่างๆ

การวิจัยแบบผสมผสานคืออะไร

- การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เป็นการวิจัยที่ใช้วิธีวิทยาทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพร่วมกันในระยะต่างๆ ของการวิจัย ทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปล ความหมายข้อมูล เพื่อหาคำตอบของการวิจัยที่มีความครอบคลุม ลุ่มลึก และชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจ ในปรากฏการณ์ที่ศึกษามากขึ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita