ข้อดี ขอ เสีย ของการขึ้นทะเบียนเกษตรกร

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะให้เกษตรกรที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน สามารถมาขึ้นทะเบียนได้หลังจากที่ปลูกพืชแล้ว 15 วัน พร้อมเตือนผู้ที่ไม่ได้เป็นเกษตรกรจริง จะไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรจำนวนมากที่อาจจะไม่ได้รับสิทธิในการเยียวยา โดยเฉพาะชาวนา เพราะตามระเบียบการขึ้นทะเบียนที่กำหนดไว้ในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร จะต้องเป็นเกษตรกรตัวจริง มีบ้านเลขที่ชัดเจน และที่สำคัญต้องปลูกพืชไปแล้ว 15 วัน กรมส่งเสริมการเกษตรจึงจะสามารถรับขึ้นทะเบียนให้ได้

  • เปิดสเป็ก “รีโว่ อีวี” กระบะไฟฟ้า 100% สวย เฉียบ คม ราคาโดน
  • ชุดซีทรูเป็นเหตุ ผู้จัดประกวด มิสเวียดนาม เจอถล่มจนต้องขอโทษ
  • สีเสื้อมงคล 2566/2023 วันอะไรใส่สีไหน ดวงปัง เงินเข้าไม่หยุด

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรระบุว่า ที่ผ่านมาหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกาศเยียวยาเกษตรกร ก็มีเกษตรกรรายใหม่ที่ไม่เคยขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร เดินทางมาเพื่อขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรรายใหม่ แต่เกษตรกรเหล่านั้น ไม่ได้มีการเพาะปลูก เพราะแล้ง ไม่มีน้ำในการทำนา แม้จะเข้าฤดูฝน แต่ต้องรอให้ฝนตกก่อนจึงจะสามารถหว่านข้าว หรือเพาะปลูกได้

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร เห็นความสำคัญปัญหาของการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ในฐานะกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นนายทะเบียน ที่ต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และระเบียบการขึ้นทะเบียนเกษตรที่กำหนดไว้ว่า เกษตรกรรายใหม่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนเกษตรกรจะสามารถขึ้นทะเบียนได้หลังจากที่ปลูกพืชแล้ว 15 วัน โดยให้มาติดต่อขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับผู้นำชุมชน หรือ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูก ภายในวันที่ 15 พ.ค. 2563 แต่เมื่อเกษตรกรมาขึ้นทะเบียน แต่ในนา หรือแปลงปลูกไม่มีพืชอยู่นั้นกรมส่งเสริมการเกษตร ก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะถือว่าทำผิดกฏหมาย

“ระเบียบราชการในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร มันถูกกำหนดไว้ต้องมีการปลูกพืชไปแล้ว 15 วัน กรมส่งเสริมการเกษตร ไม่สามารถจะรับขึ้นทะเบียนได้ กลุ่มนี้น่าจะมีปัญหา ไม่ได้รับสิทธิเยียวยา 5,000 บาท/เดือนระยะเวลา 3 เดือน กรมเป็นเพียงหน่วยงานปฏิบัติการ อยากให้เข้าใจ ประชาชนเกษตรกร จำนวนมากเดินทางไปยังเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ แต่เกษตรกร โดยเฉพาะชาวนา ยังไม่มีการปลูกพืช กรมก็ไม่สามารถขึ้นทะเบียนให้เป็นเกษตรกรได้ ส่วนใหญ่เมื่อทำไม่ได้เกษตรกร จำนวนมากก็ไม่พอใจข้าราชการ อยากให้เข้าใจระเบียบราชการด้วย กรมไม่สามารถดำเนินการได้ คงต้องไปร้องเรียนที่กระทรวง ในเรื่องของกฏเกณฑ์และภัยแล้งที่ต้องเลื่อนการเพาะปลูก”

นายเข้มแข็ง กลาวว่า อยากให้เข้าใจด้วยว่าหน่วยงานที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะจ่ายเงินให้เกษตรกรได้หรือไม่คือกระทรวงการคลัง ไม่ใช่กระทรวงเกษตรฯ ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรก็ดำเนินการตามระเบียบที่มีไว้เท่านั้น

ทะเบียนเกษตรกร คือข้อมูลของครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตรที่แสดงถึงสถานภาพและการประกอบอาชีพการเกษตรของครัวเรือน เกษตรกรที่มีทะเบียนเกษตรกร สามารถเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือของรัฐบาล ได้รับความช่วยเหลือกรณีแปลงปลูกพืชเสียหายจากการประสบภัยพิบัติด้านพืช ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และได้รับสิทธิต่างๆ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกร กับ กรมส่งเสริมการเกษตร

สำหรับ
✔️ เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม
✔️ เกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่
✔️ เกษตรกรรายใหม่

หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกร กับ กรมส่งเสริมการเกษตร

 

เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ต้องปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรทุกครั้ง เมื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ หลังการเพาะปลูก 15-60 วัน สามารถปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ตลอดปี ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของ แต่ละชนิดพืช

หากเป็นเกษตรกรรายเดิมที่ต้องการเพิ่มแปลงใหม่ จำเป็นต้องติดต่อขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่สำนักงานเกษตรอำเภอ แต่ถ้าเป็นเกษตรกรรายเดิมที่ใช้แปลงเดิม ติดต่อปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน  นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถขึ้นทะเบียนผ่านมือถือด้วยแอพพลิเคชั่น  DOAE Farmbook  ที่กรมส่งเสริมการเกษตรพัฒนาขึ้นในระบบปฏิบัติการ IOS และ Android เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรแจ้งปรับปรุงข้อมูลในทะเบียนได้ด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ทั้งยังเป็นช่องทางรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ รวมถึงใช้ตรวจสอบสิทธิ์เกษตรกรที่จะได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการแก้ปัญหาของภาครัฐ

ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไป เกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้แล้ว หากไม่ไปแจ้งปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรติดต่อกัน 3 ปี ก็จะสิ้นสภาพการเป็นเกษตรกร ซึ่งจะทำให้เสียโอกาสที่จะได้รับสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการ รวมถึงการขอรับการสนับสนุน ช่วยเหลือตามมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ
ซึ่งปัจจุบันมีถึง 896,871 ครัวเรือน ที่ยังไม่มาปรับปรุงข้อมูลเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร หากครบกำหนดแล้ว เกษตรกรที่ยังไม่ได้ปรับปรุงข้อมูลเกษตรกร 896,871 ครัวเรือน จะสิ้นสถานภาพเป็นเกษตรกรทันที ทำให้ไม่ได้รับสิทธิ์จากโครงการของรัฐบาล

เกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ หรือเกษตรกรรายใหม่ สามารถขึ้น ทะเบียนเกษตรกร ได้ดังนี้
  1. ยื่นเอกสารที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงที่ทำกิจกรรมการเกษตรอยู่ หากมีแปลงที่ทำกิจกรรมการเกษตรหลายพื้นที่ หลายอำเภอ ให้ยื่นที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงหลัก (อำเภอที่มีจำนวนแปลงมากที่สุด)
  2. กรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์แท็ปเล็ต (Tablet) หรือสมาร์ทโฟน(SmartPhone) ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่าน แอพพลิเคชั่น  DOAE Farmbook

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน ในเวลาทำการตั้งแต่ วันจันทร์-วันศุกร์  เวลา 08.30-16.30 น.

วิธีใช้ แอป DOAE FARMBOOK

ดาวน์โหลด..คู่มือการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร

ดาวน์โหลด..คู่มือการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร

 

ดาวน์โหลด..แบบคําร้องทะเบียนเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สําหรับครัวเรือนเกษตรกร)

แบบคําร้องทะเบียนเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สําหรับครัวเรือนเกษตรกร)

 

กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะหน่วยงานรับขึ้นทะเบียน กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียน ดังนี้

การขึ้นทะเบียนเกษตรกรมีข้อดีอย่างไร

ทะเบียนเกษตรกร คือข้อมูลของครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตรที่แสดงถึงสถานภาพและการประกอบอาชีพการเกษตรของครัวเรือน เกษตรกรที่มีทะเบียนเกษตรกร สามารถเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือของรัฐบาล ได้รับความช่วยเหลือกรณีแปลงปลูกพืชเสียหายจากการประสบภัยพิบัติด้านพืช ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และได้รับสิทธิต่างๆ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 ครัวเรือนขึ้นได้กี่คน

ครัวเรือนเกษตรกรหรือนิติบุคคลหนึ่งให้มีผู้ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้หนึ่งคนเท่านั้น

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรต้องขึ้นทุกปีไหม

ทะเบียนเกษตรกร คือข้อมูลของครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตร ที่แสดงถึงสถานภาพและการประกอบอาชีพทางการเกษตรของครัวเรือน เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ต้องทำการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรทุกครั้ง เมื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ หลังการเพาะปลูก 15 – 60 วัน สามารถปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ตลอดปี ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของ แต่ละชนิดพืช

จะขึ้นทะเบียนเกษตรกรต้องทําอย่างไร

1. ครัวเรือนเกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องเป็นผู้ประกอบกิจกรรมการเกษตร เป็นอาชีพหลัก หรือรองก็ได้ 2. ครัวเรือนเกษตรกร 1 ครัวเรือน จะมีตัวแทนมาขอขึ้นทะเบียนได้เพียง 1 คน 3. เกษตรกรต้องบรรลุนิติภาวะ และมีสัญชาติไทย กรณีเป็นนิติบุคคล จะต้องมีการมอบหมายตัวแทนมาขึ้นทะเบียน 4. ผู้ขอขึ้นทะเบียนใหม่หรือเพิ่มแปลงใหม่ให้ไปยื่น ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita