ลักษณะพิเศษของถั่วลันเตาคืออะไร ถั่วลันเตามีกี่ลักษณะ เมนเดลศึกษาลักษะของถั่วลันเตาที่แตกต่างกันกี่ลักษณะ ลักษณะใดของต้นถั่วลันเตาที่เมนเดลศึกษาเป็นลักษณะเด่นทั้งหมด ลักษณะเด่นของถั่วลันเตา ลักษณะของถั่วลันเตาที่เมนเดลศึกษา ลักษณะของถั่วลันเตา 7ลักษณะ จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ จากการศึกษาถั่วลันเตา ลักษณะที่ปรากฏข้อใดต่อไปนี้เป็นลักษณะด้อย เพราะเหตุใด เมนเดล จึงเลือกที่จะทำการทดลองกับต้นถั่วลันเตา เมนเดลศึกษาถั่วลันเตาทั้ง 7 ลักษณะยกเว้นลักษณะในข้อใด ลักษณะพิเศษของดอกถั่วลันเตา คืออะไร และส่งผลดีอย่างไรบ้าง

ลักษณะเด่นและด้อยของถั่วลันเตา


พันธุศาสตร์ (Genetics) คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีน และสามารถถ่ายทอดจากรุ่นไปสู่รุ่น  โดยสามารถศึกษาได้ในระดับชีวโมเลกุล เช่น

  • การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในระดับ DNA  RNA และโปรตีน
  • การศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับสิ่งมีชีวิตโดยศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรมและการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น
  • การศึกษาความถี่ของลักษณะทางพันธุกรรมในระดับประชากรของสิ่งมีชีวิต และผลกระทบต่อพัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมโดยกฎของเมนเดล

Gregor Mendel เป็นบาทหลวงชาวออสเตรีย
ผู้ได้ทำการทดลองทางพันธุศาสตร์โดยการปลูกถั่วลันเตา และเขียนกฎการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เรียกว่า กฎของเมนเดล อธิบายถึงการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นของลักษณะทางพันธุกรรมของถั่วได้แก่ ความสูงของต้น ตำแหน่งของการเกิดดอก สีของดอก สีของเมล็ด สีของฝัก ผิวของฝัก และผิวของเมล็ด ซึ่ง ณ ขณะนั้น
เมนเดล เรียกลักษณะต่าง ๆ ของถั่วลันเตาเหล่านี้ ว่า factor และต่อมาถูกเรียกว่า gene 

ปัจจัยที่ทำให้การทดลองทางพันธุศาสตร์โดยการปลูกถั่วลันเตาประสบความสำเร็จ คือ

  1. Mendel เลือกลักษณะทางพันธุกรรมที่ศึกษาแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น สีของเมล็ด
  2. ถั่วลันเตา เป็นพืชดอกที่มีการสืบพันธุ์แบบสมบูรณ์เพศ หมายความว่าสามารถสืบพันธุ์ภายในดอกเดียวกัน ทำให้สามารถควบคุมการทดลองได้ง่าย ไม่ถูกปนเปื้อนโดยละอองเรณูจากถั่วของต้นลันเตาต้นอื่น
  3. ถั่วลันเตาเป็นพืชปลูกง่าย อายุสั้น เจริญเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก

วิธีการทดลอง

  1. เมนเดลทดลองผสมพันธุ์ถั่วลันเตา โดยเก็บข้อมูลของลักษณะทางพันธุกรรมของถั่วรุ่นลูก (F1) และรุ่นหลาน (F2)  
  2. เมนเดลทำการทดลองโดยตัดเกสรตัวผู้ของต้นถั่วลันเตาที่ศึกษา เพื่อป้องกันการปฏิสนธิภายในดอกเดียวกัน แล้วนำพู่กันไปเเตะละอองเกสรของต้นถั่วลันเตาที่ต้องการศึกษาเพื่อวางบนเกสรตัวเมียของดอกที่ถูกตัดเกสรตัวผู้ออก
  3. นำเมล็ดที่เกิดจากการผสมเกสรไปเพาะ และเก็บสถิติเพื่อวิเคราะห์ผลการทดลอง
  4. Mendel ติดตามและบันทึกลักษณะของดอกถั่วลันเตา ดังต่อไปนี้
    1. ความสูงของลำต้น: tall vs dwarf
    2. สีของฝัก: green vs yellow
    3. รูปร่างของฝัก: inflated vs non-inflated
    4. สีของเมล็ด: green seeds vs yellow seeds
    5. รูปร่างของเมล็ด: smooth seeds vs rough seeds
    6. สีของดอกถั่วลันเตา: purple vs white
    7. ตำแหน่งของดอก: axial vs terminal
  5. เมนเดลคัดเลือกลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเช่น Green Seed และ Yellow Seed มาผสมกัน ในรุ่นพ่อแม่ Gen P (parents)
  6. เมนเดลพบว่าลูกที่เกิดในรุ่นถัดมา (F1) มีการแสดงออกเป็นลักษณะเด่นทั้งหมด กล่าวคือในรุ่น F1 สีของเมล็ดเป็นสีเขียวทั้งหมด
  7. เมนเดลนำถั่วรุ่น F1 มาผสมพันธุ์กันเอง
  8. เมนเดลพบว่าถั่วรุ่นถัดมา (F2) จะมีจำนวนการแสดงออกของลักษณะเด่น ต่อลักษณะด้อยเป็นอัตราส่วน  3:1 เสมอ
  9. การทดลองของเมนเดลได้ผลสม่ำเสมอ ทั้ง 7 ลักษณะทางพันธุกรรมที่ตรวจนับทางสถิติ ผลการทดลองของ
    เมนเดล จึงเรียกว่ามี reproducibility

พันธุกรรมเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการดำรงเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และได้รับการศึกษามาอย่างยาวนาน โดยนักวิทยาศาสตร์ยุคหลังได้ยกย่องให้ เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล เป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ โดย ทฤษฎีของเมนเดล เป็นทฤษฎีเบื้องต้นที่เป็นรากฐานของการประยุกต์ใช้หลักการพันธุศาสตร์ที่แพร่หลายในปัจจุบัน

เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล (Gregor Johann Mendel) คือ นักบวชชาวออสเตรียที่มีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1800 เมนเดลเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักพฤกษศาสตร์ และอาจารย์ที่มีชื่อเสียง จากการสร้างรากฐานสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยเฉพาะในสาขาวิชาพันธุศาสตร์

เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล

เมนเดลได้ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของพืชผ่านการทดลองเพาะปลูกและผสมพันธุ์ถั่วลันเตาหลากหลายสายพันธุ์ด้วยตนเองนานถึง 8 ปีเต็ม จนสามารถตั้งกฎทางพันธุกรรมมากมายที่ในภายหลังรู้จักกันในชื่อ “พันธุศาสตร์ของเมนเดล” (Mendelism) หรือ ทฤษฎีของเมนเดล

การทดลองผสมพันธุ์ถั่วลันเตาของเมนเดล

เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล เลือกศึกษาถั่วลันเตา (Pisum sativum L.) โดยมีสาเหตุสำคัญ 3 ประการ คือ

ถั่วลันเตาเป็นพืชที่มีการผสมหรือปฏิสนธิในตนเอง (Self-Fertilization) ซึ่งทำให้ถั่วลันเตาสามารถเพาะพันธุ์ได้ง่าย หรือแม้แต่การทำการผสมข้ามสายพันธุ์ (Cross-Fertilization) เพื่อสร้างลูกผสมด้วยการถ่ายละอองเรณูโดยใช้มือช่วย (Hand pollination) ล้วนเป็นกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยาก

ถั่วลันเตาเป็นพืชที่เพาะปลูกง่ายและไม่ต้องการการทำนุบำรุงรักษามาก อีกทั้ง ใช้เวลาเพาะปลูกน้อย

ถั่วลันเตาแต่ละชนิดมีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันชัดเจน เช่น ความสูงของลำต้น รูปร่างของเมล็ด และสีของดอก เป็นต้น

ลักษณะทั้ง 7 ของถั่วลันเตาที่เมนเดลเลือกศึกษา

ในการศึกษาขั้นต้น เมนเดลทำการเลือกศึกษาลักษณะของถั่วลันเตาโดยตั้งต้นพิจารณาลักษณะเพียงลักษณะเดียว (Monohybrid Cross) ผ่านการผสมพันธุ์โดยใช้พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่เป็นพันธุ์แท้ (Pure Line – Parental Generation: P) ที่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน เพื่อสร้างลูกผสมที่ถูกเรียกว่า “ลูกผสมช่วงที่ 1” (First Filial Generation: F1) ซึ่งเมนเดลนำไปปลูกลงดิน เพื่อรอดูผลและลักษณะที่เกิดขึ้น

ภาพประกอบ Study Solutions

 

จากการผสมพันธุ์ถั่วลันเตารุ่นแรก ลักษณะทั้ง 7 ที่ปรากฏในลูกผสมประกอบด้วยถั่วลันเตาที่มีลำต้นสูง มีเมล็ดกลมสีเหลือง มีฝักอวบสีเขียว และมีดอกสีม่วงอยู่ตรงกิ่งตลอดลำต้น เมนเดลเรียกลักษณะที่ปรากฏในถั่วลันเตารุ่น F1 ว่า “ลักษณะเด่น” (Dominant Trait)

หลังจากนั้น เมนเดลได้ปล่อยให้ลูกผสมรุ่นที่ 1 ผสมพันธุ์กันเอง โดยมีผลผลิตที่ได้หลังจากนั้นที่เรียกว่า “ลูกผสมช่วงที่ 2” (Second Filial Generation: F2) ซึ่งเมนเดลนำมาปลูกลงดิน เพื่อรอดูลักษณะและการเติบโตเช่นเดียวกัน และผลของการทดลองปลูกในรุ่นที่ 2 นี้เองที่ทำให้เมนเดลค้นพบ “ลักษณะด้อย” (Recessive Trait) ในถั่วลันเตาที่จะปรากฏขึ้นในอัตรา 1 ต่อ 3 เป็นลักษณะที่หายไปในรุ่น F1 แต่กลับมาปรากฏในรุ่น F2 ในสัดส่วนที่น้อยกว่า เช่น เมื่อผสมพันธุ์ถั่วลันเตา 2 ชนิดที่มีดอกสีม่วงและสีขาวเข้าด้วยกัน ลูกผสมในรุ่นที่ 1 มีดอกสีม่วงทั้งหมด แต่หลังการผสมกันเองในรุ่นถัดมา ถั่วลันเตาในรุ่นที่ 2 มีต้นที่ออกดอกเป็นสีขาวอยู่ 1 ต้นจากทั้งหมด 4 ต้น

ภาพประกอบ : CK-12 Foundation 2020

จากการทดลองผสมพันธุ์ถั่วลันเตาหลากหลายสายพันธุ์เป็นเวลานานกว่า 8 ปีเต็ม ทำให้เมนเดลค้นพบว่าสิ่งมีชีวิตนั้น มีหน่วยที่ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่าง ๆ และหน่วยนี้สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกในลำดับถัดไป ในขณะนั้นเมนเดลเรียกหน่วยนี้ว่า “แฟกเตอร์” (Factor) ซึ่งต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้เรียกแฟกเตอร์ที่เมนเดลค้นพบนี้ว่า “ยีน” (Gene)

กฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า “กฎของเมนเดล” ประกอบด้วย

กฎข้อที่ 1 “กฎแห่งการแยกตัว” (Law of Segregation) อธิบายถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่จะถูกควบคุมโดย “ยีน” (Gene) ที่ปรากฏเป็นคู่เสมอในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ก่อนจะแยกคู่ออกจากกัน เมื่อเข้าสู่เซลล์สืบพันธุ์ เพื่อก่อให้เกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis) ที่ทำให้จำนวนโครโมโซม (Chromosome) ลดลงครึ่งหนึ่งระหว่างเซลล์ เช่น การผสมของไข่และอสุจิ

กฎข้อที่ 2 “กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ” (Law of Independent Assortment) อธิบายถึงการรวมกลุ่มของหน่วยพันธุกรรมของลักษณะต่าง ๆ ในเซลล์สืบพันธุ์ หรือการที่ยีนที่แยกออกจากคู่ของตนสามารถจัดกลุ่มอย่างอิสระกับยีนควบคุมลักษณะอื่น ๆ  ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตในรุ่นต่อ ๆ ไปมีความหลากหลายทางพันธุกรรม และยังทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำนายอัตราส่วนหรือผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในรุ่นต่อไปได้อีก

ลักษณะพิเศษของถั่วลันเตาคืออะไร

- ดอกถั่วลันเตามีลักษณะพิเศษที่บังคับให้ละอองเรณูผสมกับไข่ในดอกเดียวกัน เท่านั้น การผสมข้ามดอกเกิดได้ยากมาก ในธรรมชาติจึงไม่มีการผสมข้ามต้น ลักษณะเช่นนี้ เหมาะแก่การควบคุมการทดลองที่ผู้ทดลองสามารถจัดให้มีการผสมข้ามต้นได้ไม่ข้ามต้นก็ได้ ตามความประสงค์ของผู้ทดลอง

ถั่วลันเตามีกี่ลักษณะ

เกรเกอร์ เมนเดล บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ได้ทำการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของถั่วลันเตา 7 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะของเมล็ด, สีของเมล็ด, ลักษณะของฝัก, สีของฝัก, บริเวณที่เกิดดอก, สีของดอก และลักษณะความสูง ผลจากการศึกษาดังกล่าว พบว่า มีหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ยีน

เมนเดลศึกษาลักษะของถั่วลันเตาที่แตกต่างกันกี่ลักษณะ

Gregor Mendel ได้เสนอผลงานของเขาในปี ค.ศ. 1865 ซึ่งเป็นงานที่ได้จากการวิเคราะห์ผลการผสมพันธุ์ถั่วลันเตา (Pisum sativum) ในเชิงคณิตศาสตร์ ลักษณะที่ศึกษามี 7 ลักษณะ แต่ละลักษณ ะมีความแตกต่าง 2 แบบ ลักษณะต่างๆ 7 ลักษณะนี้ ได้แก่ ลักษณะเมล็ด ( ผิวเมล็ด สีใบเลี้ยง สีเปลือ กหุ้มเมล็ด และสีดอก ซึ่งสีเปลือกหุ้มเมล็ด และสีดอก ...

ลักษณะใดของต้นถั่วลันเตาที่เมนเดลศึกษาเป็นลักษณะเด่นทั้งหมด

เมนเดลอธิบายผลการทดลองว่า ลักษณะต้นสูงที่ปรากฏในทุกรุ่น เรียกว่า ลักษณะเด่น (dominant)ส่วนลักษณะต้นเตี้ยที่มีโอกาสปรากฏในบางรุ่น เรียกว่า ลักษณะด้อย (recessive) เมนเดลได้ท าการทดลองแบบเดียวกันนี้กับลักษณะอื่น ๆ ของถั่วลันเตาอีก 6 ลักษณะ ปรากฏว่าได้ผลออกมาในท านองเดียวกัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita