ขั้นตอนการนําเข้าสินค้า กรมศุลกากร

กระบวนการนำของเข้าทางอากาศเป็นวิธีการนำเข้าสินค้าที่มีจุดเด่นเรื่องความสะดวกรวดเร็วในการขนส่ง เหมาะสำหรับการนำเข้าที่ต้องการประหยัดเวลาหรือในกรณีเร่งด่วน

คุณจะต้องตรวจสอบใบอนุญาตสินค้าก่อน จึงจะสามารถดำเนินการในขั้นตอนนี้ได้

ขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออกผลิตภัณฑ์ในระบบ e – Import

1

ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร

ผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติ พิธีการศุลกากร เพื่อบันทึกข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

ขั้นตอนการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร

ลงทะเบียนออนไลน์กับกรมศุลกากร

ข้อควรรู้

ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนหากของมีราคารวมค่าขนส่งและค่าประกันภัย ไม่เกิน 1,500 บาท และไม่เป็นของต้องห้าม หรือต้องกำกัดตามกฎหมาย

2

ส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าในระบบ e – Import

ข้อควรรู้

Tips วิธีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าในระบบ e – Import ได้ 4 ช่องทาง

  • ด้วยตนเอง
  • มอบหมายให้ตัวแทนออกของ (Customs Broker) เป็นผู้ส่งข้อมูล
  • ใช้บริการ เคาน์เตอร์บริการ (Service Counter) ในการส่งข้อมูล
  • ยื่นแบบบันทึกข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ณ จุดบริการศุลกากร ส่วนบริการศุลกากร 1 ชั้น 1 อาคาร BC-1

1

จัดเตรียมข้อมูลใบขนสินค้าเข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์

e – Import จัดเตรียมข้อมูลใบขนสินค้าเข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร เพื่อทำการตรวจสอบและตอบรับให้ผู้นำของเข้าหรือตัวแทนทราบผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

2

จัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า

จัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร เมื่อระบบฯ ได้รับข้อมูลบัญชีสินค้าสำหรับอากาศยาน (Manifest) วันนำเข้าจริง (Actual Arrival Date) และใบตราส่งสินค้าทางอากาศยาน (House Air Waybill: HAWB) จากตัวแทนอากาศยานแล้ว จะทำการตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าถึงความถูกต้องเบื้องต้นกับแฟ้มข้อมูลอ้างอิง (Reference File) ระบบ Profile และแฟ้มข้อมูลการอนุมัติ/อนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3

การจับคู่ Manifest กับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า

หากข้อมูลถูกต้อง ระบบฯ จะทำการจับคู่ Manifest กับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า เพื่อการตอบกลับเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้า 

  1. กรณีข้อมูลถูกต้องตรงกัน ระบบฯ จะตอบกลับเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าให้กับผู้ส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ
  2. หากพบว่า ข้อมูล Manifest ไม่ถูกต้องตรงกันกับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ระบบฯ จะไม่ออกเลขที่ใบขนสินค้าให้ แต่จะตอบรหัสข้อผิดพลาดกลับไปให้ผู้ส่งข้อมูลว่า “ยังไม่พบข้อมูลบัญชีสินค้า”

ผู้นำของเข้าต้องแก้ไขข้อมูล ตรวจสอบ และแก้ไขข้อมูลในใบขนสินคาขาเข้า (Version) และส่งข้อมูลการแก้ไขเข้าสู่ระบบฯ อีกครั้ง หรือแจ้งตัวแทนอากาศยานเพื่อให้แก้ไข ข้อมูลในใบตราส่งสินค้า (Air Waybill) แล้วส่งข้อมูลการแก้ไขไปยังระบบฯ เพื่อให้มีการตัดบัญชีกับ Manifest ได้

4

ผู้นำของเข้าต้องตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าขาเข้า

ผู้นำของเข้าต้องแก้ไขข้อมูล ตรวจสอบ และแก้ไขข้อมูลในใบขนสินค้าขาเข้า และส่งข้อมูลการแก้ไขเข้าสู่ระบบฯ อีกครั้ง หรือแจ้งตัวแทนอากาศยานเพื่อให้แก้ไขข้อมูลในใบตราส่งสินค้า (Air Waybill) แล้วส่งข้อมูลการแก้ไขไปยังระบบฯ เพื่อให้มีการตัดบัญชีกับ Manifest ได้

ข้อควรรู้

การตอบกลับเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าโดยระบบฯ นั้น ถือเป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเขาโดยถูกต้องต่อกรมศุลกากรแล้ว (สถานะ 0109) และเมื่อมีการชำระภาษีอากรแล้ว หรือ ได้รับการยกเว้นอากร ระบบฯ จะแสดงสถานะใบขนสินค้าเป็น 0209 ต่อไป

3

ชำระภาษี (ถ้ามี)

ผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย และภาษีอากรอื่น ผ่านทางธนาคารในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือติดต่อขอชำระได้ที่ ฝ่ายบัญชีอากร ชั้น 2 อาคาร BC-1 ในเวลาราชการ หรือ ติดต่อที่ อาคารตรวจสินค้าขาออก (CE) สำหรับนอกเวลาราชการ

ข้อควรรู้

การรับของจากอารักขาศุลกากรในระบบ e – Import

Tips: หลักการในการรับของนำเข้าออกจากอารักขาศุลกากร ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและได้ปล่อยออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว
  • ให้ถือว่ามี ชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก ราคา หรือเกี่ยวกับอัตราอากร ถูกต้องตรงตามที่ผู้นำของเข้าได้ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
  • ก่อนการรับมอบของไปจากคลังสินค้า TG หรือ BFS ให้ผู้นำของเข้าดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรให้ครบถ้วน
  • ผู้นำของเข้าต้องตรวจสอบของที่นำเข้าให้ตรงตามข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าที่ส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร

4

การรับของจากอารักขาศุลกากรในระบบ e – Import

1. ช่องทางปล่อยของ

คำสั่ง ยกเว้นการตรวจ (Green Line)

ให้ติดต่อขอรับของจากคลังสินค้า TG หรือ BFS (ใบขนสินค้ามีสถานะ 0309) เมื่อคลังสินค้าพิมพ์ใบสั่งปล่อย (Customs Permit) ระบบฯ จะปรับสถานะใบขนสินค้าฉบับนั้นเป็น 0409

หมายเหตุ กรณีของที่นำเข้าต้องมีการอนุมัติ/อนุญาต ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร หรือเอกสารเพื่อประกอบการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีอากร หากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร อาทิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร เป็นต้น ขอทำการตรวจสอบของก่อนการนำของออกจากอารักขาของศุลกากร ให้ผู้นำของเข้าติดต่อขอรับของดังกล่าวเพื่อนำของออกจากคลังสินค้า TG หรือ BFS มาให้เจ้าหน้าที่สังกัดหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ ณ สถานที่ตรวจสินค้า หรือคลังสินค้าหรือที่อื่นใดที่หน่วยงานดังกล่าวเห็นชอบ

  • ให้ผู้นำของเข้า พิมพ์หรือเขียนเลขที่ใบขนสินค้าที่มุมบนด้านขวาของเอกสารการอนุมัติ/อนุญาต ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร หรือเอกสารเพื่อประกอบการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีอากร
  • ยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ได้รับมอบหมาย ก่อนการติดต่อขอรับของออกจากคลังสินค้า
  • หน่วยบริการศุลกากรจะจัดทำทะเบียนรับเอกสาร และตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร แต่จะไม่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารกับข้อมูลรายละเอียดของใบขนสินค้าขาเข้า
  • ส่งมอบเอกสารภายใน 3 วันทำการ ให้หน่วยงานทบทวนหลังการตรวจปล่อยเป็นผู้ดำเนินการต่อไป

คำสั่ง ตรวจสอบพิกัด ราคา และ ของ (Red line)

ให้ติดต่อคลังสินค้า TG หรือ BFS เพื่อเตรียมของให้ตรวจสอบ (ใบขนสินค้ามีสถานะ 0301) คลังสินค้าจะส่งข้อมูลเตรียมของเพื่อตรวจสอบ มายังระบบฯ หลังจากนั้น ระบบฯ จะกำหนดชื่อ เจ้าหน้าที่ศุลกากรผู้รับผิดชอบตรวจปล่อยโดยอัตโนมัติ

  • จัดเตรียมเอกสารประกอบข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า อาทิ ใบตราส่งสินค้าทางอากาศยาน (Air Waybill) บัญชีราคาสินค้า (Invoice) ใบอนุญาตหรือเอกสารประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร หรือรายละเอียดของสินค้า เป็นต้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรผู้ได้รับมอบหมายตรวจสอบพิกัด ราคา และของ ตามหลักเกณฑ์
  • กรณีของที่นำเข้าต้องได้รับ อนุมัติ/อนุญาต ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร หรือมีเอกสารเพื่อประกอบการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีอากร ให้ผู้นำของเข้า พิมพ์หรือเขียนเลขที่ใบขนสินค้าที่มุมบนด้านขวาของเอกสารการอนุมัติ/อนุญาต ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร หรือเอกสารเพื่อประกอบการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีอากร และยื่นเอกสารดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรผู้ได้รับมอบหมาย 

หมายเหตุ ในกรณีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร ขอทำการตรวจสอบของก่อน การตรวจปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร ให้ผู้นำของเข้านำของ มาให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายอื่นตรวจสอบให้แล้วเสร็จ

2. ตรวจสอบชื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร

ให้ผู้นำของเข้าหรือตัวแทน ตรวจสอบชื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรผู้ตรวจปล่อยที่หัวหน้างานตรวจสินค้าหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita