การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา การร่างภาพ

          เมื่อได้แนวทางการแก้ปัญหาแล้ว จะนำแนวทางนั้นมาออกแบบเป็นภาพร่าง ผังงาน รหัสลำลอง หรือแผนภาพ เพื่อนำไปสู่การสร้างแบบจำลอง

ภาพร่าง

          การออกแบบเป็นภาพร่าง สามารถทำได้ทั้งแบบ 2 มิติ คือมีด้านกว้าง และด้านยาว และแบบ 3 มิติ คือมีทั้งด้านกว้าง ด้านยาว และด้านสูง การออกแบบโดยการร่างภาพ 3 มิติ จะทำให้มองเห็นภาพได้ทุกด้าน มีความสมจริงมากกว่าภาพ 2 มิติ

ผังงาน (Flowchart)

          ผังงาน คือ แผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของอัลกอริทึม เป็นเครื่องมือที่ใช้การรวบรวมจัดลำดับความคิด เพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและใช้วางแผนการทำงานขั้นแรก โดยสัญลักษณ์ Flowchart แสดงถึงการทำงานลักษณะต่างๆ เชื่อมต่อกัน

รหัสลำลอง (pseudocode)

          การเขียนรหัสลำลองเป็นการใช้คำบรรยายอธิบายขั้นตอนอย่างชัดเจนในการแก้ปัญหา หรือการทำงานของโปรแกรม โดยใช้ถ้อยคำหรือประโยคคำสั่งที่เขียนอยู่ในรูปแบบของภาษาที่เข้าใจง่าย เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ที่ไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่ออธิบายรายละเอียดของอัลกอริทึม

ตัวอย่าง

สถานการณ์ : เขียนรหัสลำลองการคำนวณหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม

          เขียนรหัสลำลอง :

                    เริ่ม

                    1. รับค่าความกว้างของฐาน

                    2. รับค่าความสูง

                    3. คำนวณหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยมจากสูตร ½ x ความกว้างของฐาน x ความสูง

4. แสดงผลคำตอบ

                    จบ

อ้างอิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี), พิมพ์ครั้งที่ 1, สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว, ปีที่พิมพ์ 2563

admin, “การใช้งาน ZW3D – ออกแบบ 3 มิติ จากเส้นร่าง”, //www.zw3dthailand.com/zw3d-manual-hand-book/1064/ สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

การถ่ายทอดความคิด เป็นการถ่ายทอดแนวคิดที่ใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการให้เป็นรูปธรรม เพื่ออธิบายและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. การถ่ายทอดความคิดเป็นชิ้นงาน
  • ภาพร่าง 3 มิติ
  • ภาพฉาย
  • แบบจำลอง
  • ต้นแบบ
  1. การถ่ายทอดความคิดเป็นวิธีการ
  • ภาพร่าง 2 มิติ
  • ภาพร่าง 3 มิติ
  • ผังงาน
  • แบบจำลองความคิด

การถ่ายทอดความคิดเป็นชิ้นงาน

การถ่ายทอดความคิดที่เป็นชิ้นงาน เป็นการอธิบายหรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรมในลักษณะของรูปร่าง รูปทรง รายละเอียดและส่วนประกอบของชิ้นงาน ซึ่งการถ่ายทอดความคิดลักษณะนี้ทำได้หลายวิธี ได้แก่ ภาพร่าง 3 มิติ ภาพฉาย แบบจำลอง และต้นแบบ

  1. ภาพร่าง 3 มิติ  

ภาพร่าง 3 มิติ เป็นภาพที่ประกอบด้วย ด้านกว้าง ด้านยาว และความสูง หรือ ความลึก ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของรูปร่าง รูปทรง การทำงานและกลไกภายในการเขียนภาพร่าง 3 มิติ ที่นิยมใช้มี  2  รูปแบบ ดังนี้

  • แบบออบลิค (Oblique)เป็นภาพร่าง 3 มิติ ที่มองเห็นรูปร่างด้านหน้าเป็นแนวตรง มีฐานของภาพขนานกับแนวเส้นระดับ สามารถวัดขนาดได้ ส่วนความสูงหรือลึก จะทำมุม 45 องศากับเส้นระดับ ซึ่งการวาดภาพออบลิกนี้จะเริ่มต้นด้วยการร่างภาพ 2 มิติ ที่ขนานกับแนวเส้นระดับก่อน

ตัวอย่างภาพ Oblique

ที่มา : //www.onlinedesignteacher.com

  • แบบไอโซเมตริก (Isometric)เป็นแบบภาพ 3 มิติ ที่มองเห็นรูปร่างลักษณะเหมือนของจริง มีแนวสันของวัตถุด้านหนึ่งตั้งฉากกับแนวเส้นระดับ ส่วนด้านหน้าและด้านข้างจะทำมุม 30 องศา กับเส้นระดับ ซึ่งการร่างภาพอาจทำได้โดยการขึ้นเส้นแกน เพื่อช่วยในการสร้างภาพไอโซเมตริก

ตัวอย่างภาพ Isometric

ดังนั้นการเขียนภาพร่าง 3 มิติ จะช่วยในการแสดงลักษณะรูปร่างและรูปทรงได้เหมือนของจริงมาก สามารถแสดงรายละเอียดได้ถึง  3  ด้าน เหมือนกับการได้เห็นชิ้นงานจริง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นการประกอบกันของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของชิ้นงาน และสามารถทำความเข้าใจลักษณะการทำงานของชิ้นงานนั้นได้ดียิ่งขึ้น และในการร่างภาพ 3 มิติ สามารถใช้กระดาษ      ไอโซเมตริกกริดช่วยในการร่างภาพได้

การร่างภาพ 3 มิติด้วยการใช้กระดาษไอโซเมตริกกริด

ภาพฉาย

ภาพฉาย เป็นภาพที่แสดงรายละเอียดของแนวคิดในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในแต่ละด้านของสิ่งที่จะสร้าง ตลอดจนมีรายละเอียดของแบบงานครบถ้วนสมบูรณ์ชัดจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำไปสร้างขึ้น ตามแบบได้อย่างถูกต้อง ภาพฉายยังสามารถแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ได้ เช่น รูปร่าง ขนาด และผิวงาน ประกอบด้วยภาพด้านหน้า ด้านข้าง และภาพด้านบน แสดงขนาดด้านกว้าง ด้านยาว และความสูงหรือความลึกของชิ้นงานและหน่วยในการวัดขนาด เพื่อสามารถนำไปสร้างเป็นแบบจำลองหรือชิ้นงานของจริงได้

ในการเขียนภาพฉายส่วนใหญ่ จะเขียนหรืออ่านจากภาพไอโซเมตริก หรือ ภาพของจริง โดยการมองแต่ละด้านแล้วเขียนออกมาเป็นภาพฉาย 2 มิติ ตามภาพที่มองเห็น ซึ่งมีตำแหน่งการมองภาพดังนี้

การมองภาพในตำแหน่งต่าง ๆ

การเขียนภาพฉายจากการมองภาพ Isometric

การเขียนภาพฉายจากการมองภาพ

สื่อเสริมเนื้อหาบทเรียน

VDO สอนการเขียนภาพฉาย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita