หลักการ พิจารณาสื่อโฆษณาในการเลือกบริโภค

ผู้บริโภคเต็มขั้นต้องรู้ทันสื่อ

เขียนโดย ศูนย์ข่าวผู้บริโภค. จำนวนผู้ชม: 21735


ในยุคสื่อหลอมรวมอยู่ในสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียวที่รองรับทั้งสื่อภาพ เสียง คลิป สื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ที่ตื่นและหลับไปพร้อมกับใครหลายๆคน การใช้ชีวิตจึงต้องทันข้อมูลสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการต่างๆ ตลอดจนต้องเท่าทันความเชื่อค่านิยมที่ส่งผ่านสื่ออย่างแนบเนียน อย่างเรื่องค่านิยมความสวย ที่ต้องผอม ขาว ผมยาว สูง หุ่นดีสมส่วน สร้างสื่อโฆษณาทำให้ความปกติของแต่ละคนกลายเป็นปมด้อยและกลายเป็นปัญหา และผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ การรับข่าวสารและสื่อ เราจะต้องมี "สติและปัญญา" ไตร่ตรอง และใช้ข้อมูล เหล่านั้นให้เกิดประโยชน์

คนที่รู้เท่าทันสื่อ จะมีทางเลือกมากขึ้นในการบริโภคและการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะรู้ว่าจะจัดการกับสื่อและสารต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาหาเราด้วยมุมมองแบบไหน (สามารถต่อรองกับด้านลบของสื่อ และนำเอาด้านบวกจากสื่อมาใช้)

ยิ่งกว่านั้น การรู้เท่าทันสื่อยังเป็นการเพิ่มพลังและอำนาจให้แก่ตัวเอง ในการควบคุมความเชื่อและพฤติการณ์ส่วนตัวของเราได้ เช่น ไม่เชื่อตามโฆษณา ว่าคุณค่าหรือความงามอยู่ที่ผิวขาวหรือผมสวย จึงไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าด้วยเหตุผลนั้น แต่ดูคุณภาพและประโยชน์จริงๆ ของสินค้า เป็นต้น

การรู้เท่าทันสื่อ ยังนำไปสู่การตระหนักในสิทธิการสื่อสารของประชาชนและทำให้เราสามารถสื่อสาร ได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างประชาธิปไตยของสังคม อีกด้วย

5 คำถามรู้ทันสื่อและโฆษณา
ก่อนที่เราจะเชื่อสื่อ เรามาตั้งคำถาม 5 ข้อเพื่อเปิดมุมคิด
1. สื่อนี้ใครเป็นเจ้าของสื่อ
สื่อทั้งหลายล้วนแต่ถูกสร้างขึ้นโดยมีเจ้าของ มีเป้าหมายการสื่อสารที่ชัดเจนโดย ใช้เทคนิคกลวิธีบางอย่าง เช่น มุมกล้อง สี เสียง หรือการตัดต่อในการนำเสนอเนื้อหา

2. สื่อนี้มีรูปแบบการนำเสนออย่างไร
ลักษณะการนำเสนอมีผลต่อการสร้างความรับรู้และสร้างความเป็นจริง เช่นถูกนำเสนอในรูปแบบของการเล่าข่าว การสัมภาษณ์ยืนยันการใช้จริง ใช้การ์ตูน เพื่อเลือกการนำเสนอให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย

3. สื่อนี้ต้องการสื่อสารกับใคร
หลากหลายรูปแบบการนำเสนอแตกต่างกันไปตามกลุ่มเป้าหมายเช่น เด็กจะใช้สื่อการ์ตูนหรือเด็กในรุ่นราวคราวเดียวกัน เพื่อสร้างความเป็นกันเองในการโน้มน้าวความสนใจ วัยรุ่นจะใช้ภาพเคลื่อนไหวและเพลงสนุกสนาน ใช้สีสันสดใส เป็นต้น

4. สื่อต้องการทำให้รับรู้และรู้สึกอย่างไร มีอะไรไม่ถูกนำเสนอบ้าง
บางสื่อพยายามนำเสนอข้อมูลด้านเดียวเช่นโฆษณาการทำศัลยกรรม นำเสนอคุณค่าความสำคัญของการสวยหล่อ โดยไม่นำเสนอคุณค่าด้านอื่นของความเป็นคนที่ไม่ต้องสวย หล่อก็มีคุณค่าและทำประโยชน์ ทำงานในสังคมได้

5. สื่อหวังผลทำให้เราเชื่อหรือทำอะไร
การทำสื่อทุกอย่างหวังผลเสมอ เช่น นักการตลาดทำเพื่อหวังผลกำไร นักการเมืองหวังคะแนนนิยม หรือเพื่อประชาสัมพันธ์
ถามให้ครบ 5 ข้อ แล้วค่อยตัดสินใจว่า สื่อที่รับอยู่นี้ “น่าเชื่อถือแค่ไหน”

อ้างอิงข้อมูลจาก
1. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) “ทำไมเราถึงต้องรู้เท่าทันสื่อ”
2. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) “5 คำถามรู้ทันสื่อและโฆษณา”

พิมพ์ อีเมล

ความหมายของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพ

สื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพ หมายถึง สื่อที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสินค้าหรือบริการต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพโดยผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร นิตยสาร แผ่นพับ รวมทั้งการโฆษณาผ่านสื่อมวลชนต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร วิทยุ และโทรทัศน์ เป็นต้น รวมทั้งสื่อในลักษณะอื่นๆ เช่น ป้ายโฆษณา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพเพื่อกระตุ้นจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อหรือใช้สินค้าหรือบริการนั้น

ความสำคัญของสื่อโฆษณา

สื่อโฆษณานับว่ามีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ในการที่จะพิจารณาเลือกซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือใช้บริการเกี่ยวกับสุขภาพ ผู้บริโภคมักจะเสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งจากสื่อโฆษณา ดังนั้นข้อความเชิญชวนตามสื่อโฆษณารูปแบบที่หลากหลาย จึงมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ และใช้บริการสุขภาพนั้นๆ

ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาสื่อโฆษณาให้ละเอียดรอบคอบว่ามีการให้ข้อมูลที่เป็นจริงหรือมีโฆษณาชวนเชื่อเกินจริงหรือไม่ เนื่องจากหากขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบ เชื่อถือข้อความบนสื่อโฆษณาโดยปราศจากการไตร่ตรอง ประกอบกับใช้ความต้องการ ความอยากได้และความปรารถนาของจิตใจเป็นตัวนำทางในการเลือกสินค้ามากกว่าความสมเหตุสมผลจะทำให้ได้รับสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการสุขภาพที่ไม่สมประโยชน์ และอาจเกิดผลเสียหาย มีอันตรายต่อรางกายและจิตใจของผู้บริโภคได้

องค์ประกอบของการสื่อสาร

ในโฆษณาสินค้าในสื่อต่างๆ ผู้ประกอบการได้ใช้กระบวนการสื่อสารเพื่อส่งสารไปยังผู้บริโภค โดยใช้องค์ของการสื่อสาร ดังนี้

  1. ผู้ส่งสาร (Sender) คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ในการเสนอข่าวสารโดย การพูด การเขียน การแสดงท่าทางแก่ผู้รับสาร ซึ้งผู้ส่งสารจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะในการสื่อสารเป็นอย่างดี
  2. ข่าวสาร (Message) คือ ข้อมูลหรือสารที่ถูกส่งผ่านช่องทางสื่อ โดยการพูด การเขียน และรูปภาพ ข่าวสารเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ส่งสารต้องการส่งไปยังผู้รับข่าวสาร
  3. ช่องทางสื่อ (Channel) คือ ช่องทางที่นำข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับสาร เช่น หนังสื่อพิมพ์ วารสาร โทรทัศน์ วิทยุ รวมทั้งสื่อบุคคล เป็นต้น
  4. ผู้รับข่าวสาร (Receiver) คือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับข่าวสารจากผู้ส่งสารโดยการฟัง ดู และอ่าน ผู้รับข่าวสารต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในข่าวสารที่ผู้ส่งสารส่งมาให้
    สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพชนิดต่างๆ นั้นมีดังนี้

    1. อาหาร หมายถึง วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือสารเสพติด นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่น รสด้วย

    1. เครื่องสำอาง

    หมายถึง วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบหรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วยหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงามหรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม และรวมไปถึงเครื่องประทินผิวต่างๆ แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับหรือเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย

    1. ยา

    หมายถึง วัตถุที่มุ่งหมายใช้สำหรับการพิเคราะห์ บำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วย            แหล่งกำเนิดของยาได้มาจาก 2 แหล่ง คือ

    3.1 ยาสมุนไพร เป็นยาที่ได้มาจากส่วนต่างๆ ของพืช ส่วนประกอบของสัตว์และ แร่ธาตุ

    3.2 ยาสังเคราะห์ เป็นยาที่ได้โดอาศัยปฏิกิริยาทางเคมีในห้องปฏิบัติการซึ่งปัจจุบันยาส่วนใหญ่ที่ใช้กันเป็นยาสังเคราะห์

    1. เครื่องมือแพทย์

    การพิจารณาตีความว่าผลิตภัณฑ์ใดจัดว่าเป็นเครื่องมือแพทย์พิจารณาจาก 2 ประเด็นหลักที่สำคัญดังนี้

    4.1 พิจารณาจากตัวผลิตภัณฑ์นั้นโดยตรง โดยพิจารณาจากสภาพของตัวผลิตภัณฑ์ว่าโดยตัวของมันเองเป็นเครื่องมือแพทย์อยู่แล้ว เช่น หูฟังเพื่อตรวจคนไข้ ปากคีบ มีดผ่าตัด กรรไกรผ่าตัด เข็มฉีดยา เครื่องเอกซเรย์ เครื่องอัลตราซาวนด์ ถุงมือยางสำหรับตรวจโรค ถุงยางอนามัย เป็นต้น

    4.2 พิจารณาจาการอ้างหรือระบุสรรพคุณ คุณประโยชน์ การพิจารณาใน ประเด็นนี้ ตัวผลิตภัณฑ์โดยสภาพอาจไม่แน่ชัด หรือมีรูปแบบที่ไม่ชัดเป็นเครื่องมือแพทย์โดยตัวสภาพของมัน แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีการอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ในการบำบัด บรรเทา หรือรักษา เช่น เก้าอี้นวดไฟฟ้า อุปกรณ์ที่นอนแม่เหล็ก กำไลสุขภาพ เป็นต้น

    1. วัตถุอันตราย

    มีหลายชนิด เช่น วัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี เป็นต้น

    หลักการพิจารณาสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพ

    1. ฝึกแยกแยะสื่อทางบวกและทางลบ

    สื่อทางบวก คือ สื่อที่มีการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ พัฒนาความคิดในเชิงสร้างสรรค์ เช่น การส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง สื่อทางลบ คือสื่อที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ นักเรียนจึงต้องใช้ความคิดวิเคราะห์ และใช้เหตุผลว่าสื่อเหล่านั้นเป็นสื่อทางบวกหรือทางลบ และควรเชื่อถือข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอโดยสื่อนั้นหรือไม่

    1. คำนึงถึงความเป็นจริง

    ผู้บริโภคสื่อควรมีทักษะในการเลือกสื่อโฆษณาโดยการพิจารณาด้วยความเป็นเหตุเป็นผล และความเป็นไปได้โดยอยู่บนพื้นฐานของความจริงและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไม่หลงเชื่อโฆษณาชวนเชื่อที่ใช้ข้อความเกินความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น โรลออนนี้ใช้แล้วสาวๆ กรี๊ดเพราะความหอมของกลิ่นกาย ใช้ครีมยี่ห้อนี้ผิวขาวสวยภายใน 7 วัน เป็นต้น เพราะข้อความดังกล่าวมีความเป็นไปได้ต่ำ

    1. มีความไวในการรับสื่อ

    ผู้บริโภคควรมีพฤติกรรมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทันเหตุการณ์ทั้งในและนอกประเทศ และมีการวิเคราะห์ข้อมูลในการโฆษณาโดยไม่ไปเชื่อสื่อโฆษณา หลงใหลไปกับสื่อทางลบซึ่งเป็นสื่อที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการบั่นทอนสุขภาพ

    1. ไม่หลงเชื่อง่าย

    ข่าวสารบางเรื่องมีผลต่อสุขภาพโดยตรง ควรมีการพิจารณาให้ดีก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ควรมีการตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกันจึงตัดสินใจเชื่อ

การตัดสินใจเลือกซื้อโฆษณาจะต้องคำนึงถึงสิ่งใด

โดยการทำโฆษณาสามารถเลือกได้จากเกณฑ์ของการเลือก สื่อโฆษณา ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายคือ คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจที่มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา หรือจะเป็นด้านสังคม ประเพณี ความเชื่อ และอื่นๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา

สื่อโฆษณามีความสําคัญต่อผู้บริโภคอย่างไร

2.2 อิทธิพลของสื่อโฆษณาต่อผู้บริโภค สร้างแรงกระตุ้นให้ผู้บริโภคต้องการทดลองใช้ สร้างความภูมิใจในสินค้าและบริการ สร้างความตอกย้ำความทรงจำของผู้บริโภค สร้างแรงจูงใจให้เกิดความสนใจที่จะซื้อสินค้า

เพราะเหตุใดสื่อโฆษณาจึงมีอิทธิพลต่อการเลือกบริโภค

สื่อโฆษณานับว่ามีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติค่านิยม และพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ในการที่จะพิจารณาเลือกซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์หรือใช้บริการเกี่ยวกับสุขภาพ ผู้บริโภคมักจะเสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าจาก แหล่งต่างๆ รวมทั้งจากสื่อโฆษณา ดังนั้นข้อความเชิญชวนตามสื่อโฆษณารูปแบบที่หลากหลาย จึงมีส่วนสาคัญใน ...

นักเรียนคิดว่าสื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อผู้บริโภคหรือไม่อย่างไร

สื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อผู้บริโภคสำคัญ ดังนี้ 1.สร้างความเข้าใจในคุณสมบัติของสินค้าและบริการที่ต้องให้ผู้บริโภคต้องการทราบ เพราะเมื่อสื่อโฆษณาใดให้ข้อมูลของสินค้าได้ตรงกับความสนใจของผู้บริโภคที่มีอยู่แล้วย่อมให้เกิดแรงจูงใจการซื้อสินค้าง่าย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita