การเตรียมตัวเข้าอบรม

เทคนิคการฝึกอบรม

เทคนิคการฝึกอบรมเป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อการจัดฝึกอบรมเป็นอย่างมากเพราะการอบรม  เพื่อเพิ่มพูนสรรถภาพและประสิทธิภาพของบุคคล  ในด้านความรู้ความเข้าใจ  ทักษะและทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมอันจะทำให้สามารถนำสิ่งที่ฝึกอบรมให้นั้นไปปรับใช้ได้กับการปฏิบัติงานจริง  ซึ่งการสร้างภาวะการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น  ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์  และเลือกใช้เทคนิคและวิธีการฝึกอบรมรวมถึงสื่อการสอนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม  เนื้อหาสาระในการหลักสูตร  ผู้เข้ารับการฝึกอบรม  ความรู้และความสามารถของผู้เป็นวิทยากรในการเลือกเทคนิคที่จะถ่ายทอด  สถานที่  สิ่งอำนวยความสะดวก  เครื่องมือเครื่องใช้  และวัสดุอุปกรณ์  รวมทั้งโสตทัศนูปกรณ์  ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ในแต่ละโครงการฝึกอบรม  ตลอดจนค่าใช้จ่าย  ฯลฯ  เป็นต้น

ความหมายของเทคนิคการฝึกอบรม

วิธีการ  หรือเครื่องมือ  หรือกิจกรรม  ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร  และสื่อความหมายระหว่างผู้ที่เป็นวิทยากรกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม  หรือระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยกัน  หรือระหว่างบุคคลอื่นใด  ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมในกระบวนการฝึกอบรมเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลด้านความรู้  ทักษะ  และทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในระดับที่ต้องการ  เพื่อนำความรู้  ทักษะ  และทัศนคติไปใช้ในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทของเทคนิคในการฝึกอบรม

การบรรยาย ( Lecture )
การบรรยาย  เป็นเทคนิควิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดความคิดเห็น  ความรู้  ตลอดจนข้อมูล  ข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ฟัง  เป็นเทคนิคที่แพร่หลายและสามารถใช้ประกอบกับเทคนิคอื่น ๆ ได้  แต่มีจุดด้อยตรงที่ลักษณะของการบรรยายจะเป็นระบบสื่อสารทางเดียว  ยิ่งถ้ามีเวลาจำกัดโอกาสที่จะให้ผู้ฟังได้มีส่วนร่วมในการซักถาม  หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่บรรยายจะไม่มี  ผู้บรรยายไม่สามารถประเมินได้ว่าเมื่อจบการบรรยายแล้วผู้ฟังมีความรู้  ความเข้าใจ  ในสิ่งที่บรรยายมากน้อยเพียงใด  ซึ่งอาจจะต้องพิจารณาจากผลกระทบที่เกิดจากการบรรยาย
ความสำเร็จของการบรรยายจะขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของผู้บรรยาย  กล่าวคือผู้บรรยายบางคนสามารถบรรยายเรื่องที่ยากต่อการทำความเข้าใจให้ผู้ฟังเกิดความสนใจเกิดความกระจ่างเกิดเป็นรูปธรรม  นำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง  ถ้าจะพิจารณาอย่างผิวเผินแล้วอาจคิดว่าการบรรยายเป็นสิ่งที่ง่าย  สามารถใช้ได้ทุกโอกาส  ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วถ้าจะให้การบรรยายเกิดประสิทธิภาพ  และประสบความสำเร็จ  มีส่วนที่ต้องดำเนินการ  2  ส่วน  คือ  การเตรียมตัวในการบรรยาย  กับการบรรยาย

ข้อดี

1.  การบรรยายเป็นเทคนิคที่ง่ายต่อการใช้  ผู้ที่มีประสบการณ์จะใช้เวลาในการเตรียมตัวน้อยลง
2.  เนื้อหาสาระที่ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เวลาในการอบรมด้วยวิธีอื่น
3.  สามารถให้การอบรมคนเป็นจำนวนมาก ๆ ในแต่ละครั้ง
4.  สะดวกและช่วยลดภาระงานด้านการจัดการของฝ่ายฝึกอบรม
5.  สามารถเน้นเนื้อหาระได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการอบรม
6.  การบรรยายนอกจากจะใช้เป็นเทคนิคเฉพาะแล้ว  ยังสามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการฝึกเทคนิคอื่น ๆ เช่น  การฝึกปฏิบัติงานจริงจำเป็นต้องใช้การบรรยายนำก่อน  จึงอาจกล่าวได้ว่า  การบรรยายเป็นเทคนิคพื้นฐานของเทคนิคพื้นฐานของเทคนิคอื่น  ๆ
ข้อจำกัด 1.  ประสิทธิภาพของการบรรยายขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของวิทยากร
2.  การบรรยายเป็นลักษณะการสื่อสารทางเดียว  ถ้าไม่เปิดโอกาสให้มีการซักถาม  จะไม่สามารถประเมินได้ว่า  ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่บรรยายเพียงใด
3.  การบรรยายไม่อาจใช้กับทุกเรื่องได้  เช่น  เรื่องที่ต้องการข้อสรุปเพื่อการนำไปปฏิบัติการ
4.  ช่วงความสนใจในการฟังของบุคคลแต่ละวัย  แต่ละระดับบุคคลในองค์การมีขีดจำกัด  หากใช้เวลาในการบรรยายมากเกินไป  จะไม่เกิดผลตามความมุ่งหมายที่กำหนด

สรุป

การบรรยายที่มีการซักถามเป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่เหมาะกับการฝึกอบรมที่มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ความรู้  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  การยอมรับของผู้ที่มีส่วนร่วม  การเปลี่ยนทัศนคติ  ทักษะการแก้ปัญหา  แต่ไม่เหมาะสำหรับความรู้ที่ได้จากการอบรมเพื่อเสริมสร้างประสมการณ์ในแนวใหม่
การอภิปราย( Discussion )
การอภิปราย  คือ  การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในปัญหาหรือเรื่องเดียวกัน  ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันด้วยวิธีการวิเคราะห์  และพิจารณาโดยอาศัยความคิดเห็นร่วมกัน
1.  การอภิปรายเป็นคณะ( Panel Discussion )
เป็นการการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และมีประสบการณ์มาให้ความคิดเห็นหรือทรรศนะในเรื่องเดียวกัน  จำนวนผู้อภิปรายอาจจะมีประมาณ  3-5 คน  ในการอภิปรายผู้ทรงคุณวุฒิจะอภิปรายในลักษณะที่สนับสนุนหรือให้เหตุผลโต้แย้งผู้ทรงคุณวุฒิด้วยกัน  เพื่อให้ความคิดกว้างไกลออกไป  และตอนท้ายผู้ดำเนินการอภิปราย           ( Moderater ) จะเป็นผู้สรุปความคิดเห็นของผู้สรุปความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ
2.  การอภิปรายแบบชุมนุมปาฐกถา ( Symposium Discussion ) 
เป็นการอภิปรายที่เชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ความรู้ในเรื่องที่สนใจในแต่ละด้าน  มาร่วมเป็นองค์ปาฐก  ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะมีความรู้ความเข้าใจตามเรื่องและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ข้อดี

1.  การอภิปรายช่วยเปลี่ยนบรรยากาศในการฟังของผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการอบรม  โดยได้สัมผัสกับแนวและวิธีการพูดของผู้อภิปรายในลักษณะหลากหลาย  โดยเฉพาะการพูดโต้แย้งในการอภิปรายเป็นคณะ
2.  การอภิปรายเป็นคณะช่วยสร้างแนวคิดให้แก่ผู้ฟังในทรรศนะที่ต่างกัน  ทำให้เกิดความความรอบคอบในการตัดสินใจเลือกแนวทางที่ดีที่สุด  ส่วนการอภิปรายแบบชุมนุมปาฐกถา  ผู้ฟังจะรับความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะทาง  ทำให้รู้จริง  ได้ประโยชน์เต็มที่
3.  การอภิปรายเป็นการแสวงหาข้อสรุปและแนวทางในการแก้ปัญหาของผู้ที่มีความสนใจร่วมกันในลักษณะที่มีความเป็นไปได้ของการนำไปใช้  เพราะความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มาอภิปรายบางเรื่องผู้ฟังรับได้  บางเรื่องต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมซึ่งสามารถทำได้ในได้ในช่วงของคาบการอภิปราย ( Forumperiod ) 
4.  การอภิปรายทั้งสองแบบสามารถใช้ได้กับคนกลุ่มใหญ่

ข้อจำกัด

1.  ผู้ดำเนินการอภิปรายจะต้องเป็นผู้มีความสามารถและประสบการณ์เกี่ยวกับการอภิปราย  จึงจะสามารถควบคุมการอภิปรายให้ดำเนินไปสู่เป้าหมาย  และเวลาของการอภิปรายที่กำหนดไว้
2.  การพิจารณาเลือกเชิญผู้อภิปรายมีความสำคัญมาก  หากได้ผู้มีความรู้และประสบการณ์สูงจะทำให้การอภิปรายเกิดผลดีและให้การอภิปรายเกิดผลดีและให้ประโยชน์แก่ผู้ฟัง
3.  ผู้แม้จะมีส่วนร่วมในคาบของการอภิปราย  แต่จัดว่ายังมีส่วนร่วมน้อยบางครั้งบรรยายกาศไม่ส่งเสริมทำให้ผู้ฟังไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเท่าที่ควร
การสาธิต( Demonstration )
เป็นการแสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นการปฏิบัติจริงซึ่งการกระทำหรือปฏิบัติจริงซึ่งการกระทำหรือปฏิบัติจริงจะมีลักษณะคล้ายการสอนงาน  การสาธิตนิยมใช้กับหัวข้อวิชาที่มีการปฏิบัติ  เช่น  การฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ นาฏศิลป์  และขับร้อง 
วิธีการ  วิทยากรทำให้ดูแล้วผู้เข้ารับการฝึกอบรมทดลองทำตาม

ข้อดี

เกิดความรู้ความเข้าใจเร็ว  และมีความน่าเชื่อถือสูง  เพิ่มทักษะของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ดี  ไม่เบื่อหน่าย  สามารถปฏิบัติได้หลายครั้ง

ข้อจำกัด

ต้องใช้เวลาเตรียมการมาก  เหมาะกับการฝึกอบรมกลุ่มเล็ก ๆ วิทยากรต้องมีความชำนาญจริง ๆ และต้องไม่พลาด

การสอน ( Coaching )
เป็นการแนะนำให้รู้วิธีปฏิบัติงานให้ถูกต้อง  โดยปกติจะเป็นการสอนหรืออบรมในระหว่างการปฏิบัติงาน  อาจสอนเป็นรายบุคคลหรือสอนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งผู้สอนต้องมีประสบการณ์และทักษะในเรื่องที่สอนจริง ๆ
วิธีการ  หัวหน้างานสอนการทำงาน

ข้อดี 

เน้นเนื้อหาตามความเหมาะสมของแต่ละคน

ข้อจำกัด 

คุณค่าขึ้นกับผู้สอนงานซึ่งส่วนใหญ่คือหัวหน้างาน

การระดมสมอง ( Brainstorming )
เป็นการประชุมกลุ่มเล็กไม่เกิน  15  คน  เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีโดยปราศจากข้อจำกัดหรือกฎใด ๆ ในหัวข้อใดหัวขอหนึ่งหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่ง  โดยไม่คำนึงว่าจะถูกหรือผิด  ดีหรือไม่ดี  ความคิดหรือข้อเสนอทุกอย่างจะถูกจดไว้แล้วนำไปกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง  ดั้งนั้นพอเริ่มประชุมต้องมีการเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเสียก่อน
วิธีการ  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนเสนอความคิดเห็นแล้วช่วยกันสรุป

ข้อดี

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมโดยตรง  ช่วยกันคิด  ช่วยกันเสนอ  ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์  สามารถแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ได้  ทำให้ความคิดหลากหลายในเวลาจำกัดสามารถเร้าความสนใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ดี  บรรยากาศเป็นกันเอง

ข้อจำกัด

ได้ความคิดเห็นจำนวนมากแต่คุค่าน้อย  และต้องจำกัดกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้ทุกคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น  ปัญหาที่นำมาระดมสมองควรเป็นปัญหาเดียว

การประชุมกลุ่มย่อย ( Buzz session )
เป็นการแบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มย่อยจากกลุ่มใหญ่  กลุ่มย่อยละ 2-6  คนเพื่อพิจารณาประเด็นปัญหา  อาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกัน  ในช่วงเวลาที่กำหนด  มีวิทยากรคอยช่วยเหลือทุกกลุ่ม  แต่ละกลุ่มต้องเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเพื่อดำเนินการ  แล้วนำความคิดเห็นของกลุ่มเสนอต่อที่ประชุมใหญ่
วิธีการ  กลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาที่ได้รับมอบหมายข้อดีข้อจำกัด

ข้อดี

เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น  บรรยากาศเป็นกันเอง

ข้อจำกัด

การประชุมกลุ่มย่อยในให้ในห้องเดียวกันอาจทำให้เกิดเสียงรบกวนกัน  ประธานที่เลือกได้อาจไม่มีลักษณะผู้นำ  ดำเนินการประชุมไม่ดีทำให้ผู้ร่วมการประชุมขาดการแสดงความคิดเห็น  บางกลุ่มอาจได้ความคิดเห็นน้อย  บาง
กลุ่มอาจใช้เวลามากทำให้ควบคุมเวลาได้ยาก
กรณีศึกษา(Case  Study ) เป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่นำเอาเรื่องราวหรือกรณีที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นจริง ๆ เสนอในกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม  สมาชิกของกลุ่มจะใช้หลักวิชาการและประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาผสมผสานเพื่อมาวิเคราะห์กรณีที่ยกมา  โดยมีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำและให้แนวทางเพื่อช่วยสมาชิกกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงวัตถุประสงค์ขั้นตอนของการศึกษาจพเริ่มด้วยหลักการ  และการให้ภาพต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาแก้ไขปัหา  จากนั้นผู้เข้าฝึกอบรมจะศึกษา  อภิปราย  และค้นคว้าตามหลักวิชาการ  ซึ่งบางครั้งข้อมูลที่ต้องการอาจเป็นข้อมูลที่สำเร็จอยู่แล้ว  แต่บางครั้งจำเป็นต้องค้นคว้าหาข้อมูลบ้าง  และในขั้นตอนสุดท้ายผู้เข้ารับการอบรมจะต้องพิจารณาตัดสินใจแก้ปัญหาหรือกรณีที่นำเสนอภายใต้สภาพการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด  และเพื่อช่วยให้การตัดสินใจของผู้เข้ารับการอบรมดีขึ้น  การนำเสนอกรณีหรือปัญหา  จะต้องมีรายละเอียดมากพอที่จะทำให้ผู้ศึกษาได้เห็นจุดสำคัญของปัญหาและได้ข้อที่เป็นแนวทางนำไปสู่การตัดสินใจการแก้ปัญหา
กรณีศึกษาเหมาะสำหรับการฝึกอบรมทางด้านกฏหมาย  ด้านการเงิน  และการฝึกอบรมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญของมนุษย์  ประเภทบุคคลที่เข้าฝึกอบรมที่เหมาะสมที่จะใช้เทคนิควิธีนี้  คือผู้บริหาร  ผู้จัดการและผู้ที่จะเข้าสู่ระดับมืออาชีพ  ส่วนเรื่องการสนองตอบวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมจะใช้ได้ดีกับการฝึกอบรมที่ต้องการ
เปลี่ยนทัศนคติ  และสร้างเสริมทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

 ข้อดี

ช่วยให้ผู้รับการฝึกอบรมได้วิเคราะห์ตัดสินปัญหาในเรื่องที่เหมือนจริงและสามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้  กรณีศึกษาเป็นกิจกรรมที่มีบรรยายกาศเป็นกันเองเพราะทุกคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์

ข้อจำกัด

สมาชิกบางคนอาจครอบงำความคิดของผู้อื่นเพราะบุคลิกภาพ  วัยวุฒิหรือคุณวุฒิ  กรณีศึกษาที่เป็นเรื่องจริงหาได้ยาก  โดยเฉพาะเรื่องที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมและเหมาะสมกับเวลา  การสร้างกรณีศึกษาเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณ  ตอนสรุปผลการกรณีศึกษาวิทยากรมักไม่ให้ความสำคัญและรีบสรุปจบ
การประชุมแบบฟอรัม( Forum )
เป็นเทคนิคที่ใช้กับการประชุมกลุ่มใหญ่  ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการฝึกอบรม  โดยการซักถามแสดงข้อเท็จจริง  ปรึกษาหารือแสดงความคิดเห็นกับวิทยากร
วิธีการ  วิทยากรพูดให้ฟังแล้วผู้ฟังสอบถามและแสดงความคิดเห็นได้

ข้อดี

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็น  วิเคราะห์ปัญหา  เป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเตรียมตัวให้ดียิ่งขึ้น  และมีบรรยากาศเป็นกันเอง

ข้อจำกัด

เวลาอาจไม่พอถ้าเป็นเนื้อหาที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสนใจกันทุกคน  พิธีกรและวิทยากรต้องมีความรู้ความสามารถดี  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมบางคนอาจไม่กล้าผู้แสดงความคิดเห็น  หรือบางคนพูดนอกประเด็น
เกมการบริหาร( Management Games )
เป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มบุคคลตั้งแต่  2  กลุ่มขึ้นไป  โดยแข่งขันเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง  เป็นการให้ปฏิบัติเหมือนเหตุการณ์จริง  อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสาร  การตัดสินใจ  การวางแผน  การเป็นผู้นำ  มนุษย์สัมพันธ์  ฯลฯ  ขนาดของกลุ่มในการแข่งขันขึ้นอยู่กับเกมการแข่งขัน
วิธีการ  ทุกคนในกลุ่มร่วมกันแข่งขันตามเกมข้อดี
เป็นการย่อสถานการณ์จริงให้ฝึกในช่วงสั้น ๆ  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมช่วยกันคิดช่วยกันทำ  ทำให้มีบรรยากาศเป็นกันเอง  ได้รับความรู้โดยไม่รู้ตัว

ข้อจำกัด

การเลือกเกมที่ไม่เหมาะสมจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์  การแบ่งกลุ่มมากเกินไปจะเป็นอุปสรรคในการแข่งขัน  และเกมบางชนิดต้องใช้อุปกรณ์และเวลา
การแสดงบทบาทสมมติ( Role  playing )
เป็นเทคนิคที่นำเอาเรื่องที่เป็นกรณีตัวอย่างมาเสนอในรูปแบบการแสดงบทบาท  ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เห็นภาพชัดเจน  ได้สัมผัสกับประสบการณ์และความรู้สึกที่แท้จริงเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นกรณีตัวอย่าง  การแสดงบทบาทสมมติช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทราบข้อมูลและเรื่องราวที่ตรงกับเนื้อเรื่องที่ใช้ในการศึกษาแนวเดียวกัน  ซึ่งต่างจากกรณีศึกษาที่ผู้เข้ารับการอบรมอ่านเนื้อหาแล้วต้องจินตนาการและตีความหมายของปัญหาในบางครั้งอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวได้  นอกจากนี้หลังการแสดงบทบาทสมมติแล้ว  ผู้เข้ารับการอบรมสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้  พร้อมกันทั้งกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มย่อยได้ทำให้ได้ข้อสรุปเพื่อการแก้ปัญหา
การแสดงบทบาทสมมติ  ผู้ให้การฝึกอบรมจะต้องเตรียมเรื่อง  เนื้อหา  และบทบาทข้อตัวละครไว้ล่วงหน้า  ส่วนผู้แสดงบทบาทจะใช้วิธีอาสาสมัครจากสมาชิกผู้เข้าอบรม  เพื่อให้การแสดงบทบาทได้สมจริง  และในการแสดงผู้ให้การอบรมเป็นเพียงแต่ให้ข้อมูลพร้อมทั้งชี้แจ้งได้เข้าใจเนื้อเรื่องและบทบาทของตน  ผู้แสดงจะแสดงออกตามความรู้สึกนึกคิดของตนในบทที่ได้รับมอบหมาย  สมาชิกที่ได้เข้ารับการอบรมที่เป็นผู้ดูจะได้รับการบอกเล่าเรื่องราวและปํญหาอย่างย่อ ๆ  ส่วนราบละเอียดให้สังเกตจากพฤติกรรมของผู้แสดง  หลักการแสดงบทบาท  ผู้เข้ารับการอบรมจะอภิปรายโดยใช้ประสบการณ์เรียนรู้มาวิเคราะห์ปัญหาจากพฤติกรรมที่แสดงบทบาทสมมติ  พร้อมทั้งแสดงแนวทางในการแก้ปัญหา
ข้อดี
1.  การใช้บทบาทสมมติช่วยกระตุ้นให้สมาชิกผู้เข้ารับการอบรมเกิดความสนใจเรื่องีท่อบรม
2.  ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แสดงออกด้วยการปฏิบัติจริง  ทำให้ประสิทธิภาพของการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
3.  เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทดลองแสดงบทบาทตามแนวคิด  และสามารถแสดงบทบาทซ้ำได้  เพื่อให้เกิดความเข้าใจและหาข้อสรุปได้
4.  เป็นเทคนิคที่สามารถใช้ได้ทั้งในกรณีที่มีการวางแผนล่วงหน้า  และไม่ได้ว่างแผนล่วงหน้า
5.  ส่งเสริมความคิดริเริ่มของผู้เข้ารับการอบรม

ข้อจำกัด

1.  การใช้เทคนิคนี้ผู้ให้การอบรมอาจมีความยุ่งยากเกี่ยวกับการเตรียมการล่วงหน้า    
2.  การแสดงบทบาทสมมติต้องใช้เวลามาก  ซึ่งมีผลต่อระยะเวลาการฝึกอบรม
3.  การหาอาสาสมัคร  เพื่อแสดงบทบาทเป็นอุปสรรค  เพราะบางคนไม่กล้าแสดงออก
4.  ผู้ให้การฝึกอบรมต้องเป็นผู้มีความสามารถในการเชื่อมโยงความคิดของสมาชิกที่เข้าอบรมไปสู่ข้อสรุปได้
การสัมมนา( Semiar)
เป็นการประชุมของผู้ที่ปฏิบัติอย่างเดียวกันหรือคล้ายกัยแล้วพบปัญหาเหมือน ๆ กัน  เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นหาแนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหาทุคนที่ไปร่ใมการสัมมนาต้องช่วยกันพูดช่วยกันแสดงความคิดเห็น  ปกติจะบรรยายให้ความรู้พื้นฐานก่อนแล้วแบ่งกลุ่มย่อย  จากนั้นนำผลการอภิปรายของกลุ่มย่อยเสนอที่ประชุมใหญ่
วิธีการ  ทุกคนรว่มกันอภิปรายเสนอความคิด
ข้อดี

เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสมีส่วนร่วมมาก  ผลสรุปของการสัมมนานำไปเป็นแนวทางแก้ปัญหาได้ดี

ข้อจำกัด ที่ปรึกษากลุ่มหรือสมาชิกบางคนอาจครอบงำความคิดของผ็อื่นได้เพราะวัยวุฒิหรือคุณวุฒิหรือตำแหน่งหน้าที่การงาน  ถ้าเวลาจำกัดรีบสรุปผลอาจได้ข้อสรุปที่ไม่หน้าพอใจ
การศึกษาดูงานนอกสถานที่( Field  Trip )
เป็นการนำผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปศึกษายังสถานที่อื่นนอกสถานที่ฝึกอบรม  เพื่อให้พบเห็นของจริงซึ่งผู้จัดต้องเตรียมการเป็นอย่างดี
วิธีการ  นำผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปศึกษาดูงานนอกสถานที่
ข้อดี
เพิ่มความรู้ความเข้าใจได้เห็นการปฏิบัติจริง  สร้างความสนใจและความกระตือรือร้น  สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ข้อจำกัด ต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายมาก  ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะเจ้าของสถานที่ที่จะไปศึกษา
การประชุมเชิงปฏิบัติการ( Workshop )
เป็นรูปแบบของการฝึกอบรมที่ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ  สามารถนำสิ่งที่ได้รับไปปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงที่ผู้เข้าอบรมปฏิบัติอยู่ 
ลักษณะของการประชุมเชิงปฏิบัติงานจะแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  คือ 
1.  เป็นการให้ความรู้ของวิทยากร  เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม  ให้สามารถแก้ไขข้อขัดข้องในการทำงาน  กำหนดแนวทางในการปฏิบัติและปรับปรุงงาน 
2.  เป็นการปฏิบัติการของผู้เข้ารับการอบรมที่จะหารือ  อภิปราย  ให้ได้แนวทางแก้ปัญหาหรือวิธีการปฏิบัติงาน  โดยอาจจะดำเนินการทั้งกลุ่มใหญ่หรือแงเป็นกลุ่มย่อย  ซึ่งการดำเนินการของส่วนที่สอง  จะอาศัยหลักวิชาการหรือหลักการที่วิทยากรได้บรรยายหรืออภิปรายมาใช้ประกอบเป็นแนวทาง
ข้อดี 1.  การประชุมปฏิบัติการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการอบรมทุกคน
2.  ผู้เข้าอบรมมีอิสระในการคิดและปฏิบัติงานกลุ่ม
3.  ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำผลการประชุมปฏิบัติการไปใช้ในการดำเนินงาน  และปฏิบัติงานในหน่วยงานของตน
ข้อจำกัด 1.  จะต้องใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมากเพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้เข้ารับการอบรมในแต่ละกลุ่ม  รวมทั้งการจัดวิทยากรประจำกลุ่ม
2.  ต้องใช้เวลามากโดยเฉพาะเวลาสำหรับการปฏิบัติงานกลุ่ม
การอบรมด้านความรู้สึก( Sensitivity  Training )
เป็นการอบรมในลักษณะของผู้เข้ารับการอบรมจะเรียนรู้พฤติกรรมของกลุ่มผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับกลุ่ม  ประสบการณ์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จ  ความผิดหวังและความคับข้องใจของกลุ่ม  จะได้รับการแก้ไขปัญหากันเองภายในกลุ่ม  การแสดงออกทางความรู้สึกของคนในกลุ่มอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนมากกว่าการเรียนรู้  จุดประสงค์ที่สำคัญของการอบรมด้านความรู้สึก  เป็นการสอนให้เข้าใจในเรื่องของประสิทธิภาพของกลุ่มพลวัตร  และพฤติกรรมของกลุ่มที่ขาดประสิทธิภาพ  โดยแจ้งว่าสิ่งที่เรียนรู้จากกลุ่มจะได้รับการนำกลับไปสู่การปฏิบัติงานของแต่ละคน
ข้อดี 1.  เปิดโอกาสให้สมาชิกที่เข้ารับการอบรมแสดงออกด้านความรู้สึก  และรู้จักควบคุมความรู้สึกที่อาจมีผลกระทบต่อผู้อื่น 
2.  ผู้เข้ารับการอบรมได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกอย่างทั่วถึง
3.  ส่งเสริมให้ผุ้เข้ารับการอบรมได้เปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่พฤติกรรมที่พึงปราถนาขององค์การ
ข้อจำกัด 1.  ไม่สามารถใช้ได้กับบุคลากรทุกระดับขององค์การ
2.  จำนวนผู้เข้าอบรมจะจำกัดเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ  6 - 8 คน
3.  ผู้ให้การอบรมจะต้องเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องกลุ่มพลวัตรเป็นอย่างดี 

การเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม

การเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรมให้เหมาะกับโครงการฝึกอบรมในแต่ละครั้งนั้นเป็นเรื่องีท่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง  เพราะการใช้เทคนิคการฝึกอบรมที่เหมาะสมนั้นสามารถช่วยให้เกิดการเรียนและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ  ซึ่งได้แก่  ความรู้  ทักษะ  และ  ทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ตามวัตถุประสงค์  สถานการณ์และปัจจัยอื่น ๆ ของโครงการฝึกอบรมนั้น ๆ ดังนี้

1.  วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรม

การเทคนิคการฝึกอบรมจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมว่า  ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้  หรือทักษะหรือเจตคติ  หรือทั้ง  3  ด้านไปพร้อม ๆ กัน  ถ้าต้องการให้เกิดความรู้เฉพาะอย่างยิ่งความรู้ระดับความจำ  ความเข้าใจ  และมีผู้เข้ารับการอบรมจำมาก  อาจจะใช้เทคนิคการบรรยายได้  แต่ถ้าจะต้องการให้ผู้เข้าฝึกอบรมจำได้แม่นยำและจำได้นานและเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นนั้น  อาจจะต้องใช้กิจกรรม  หรือโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบการบรรยายด้วย  น่าจะเป็นประโยชน์ได้อย่างมากและน่าจะเป็นการส่งเสริมให้ผูเข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทุกด้านซึ่งจะช่วยให้การฝึกอบรมในแต่ละครั้งได้รับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างแน่นนอน

2.  สอดคล้องกับเนื้อหาสาระในหลักสูตร
ต้องสอดคล้องกับเนื้อหาสาระในหลักสูตร  เพราะเนื้อหาสาระนั้นจะต้องมีความยากง่ายพอเหมาะกับความรู้ความสามารถและต้องมีความต่อเนื่องกับพื้นฐานเดิมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมอีกด้วย  โดยปกติแล้วเพื่อหาสาระของหลักสูตรให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมแล้วมักจะแบ่งเนื้อหาออกได้เป็นเนื้อหาประเภทข้อเท็จจริง  ความรู้ทั่วไป  แนวคิดและหลักการการแก้ปัญหา  ความคิดสร้างสรรค์  ความสามารถ  ทักษะและทัศนคติ  ซึ่งในทำนองเดียวกันก็ไม่อาจแยกเนื้อเนื้อหาสาระของวิชาใดวิชาหนึ่งออกจากกิจกรรมวิธีการหรือเทคนิคการฝึกอบรมได้แต่อย่างใด  และถ้าหากจะถือหลักการเรียนรู้โดยการกระทำด้วยแล้ว  จะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นว่า  ไม่สามารถจะแยกเนื้อหาสาระของหลักสูตรออกจากเทคนิคการฝึกอบรมได้เลย  เพราะว่ากิจกรรมที่กระทำนั้น  เป็นทั้งเนื้อหาสาระและเทคนิคการฝึกอบรมพร้อม ๆ กันนั่นเอง
3.  ผู้เข้ารับการอบรม
ในการใช้เทคนิคการฝึกอบรมต้องคำนึงถึงผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นสำคัญ  อันได้แก่  ระดับของความรู้ความสามารถ  ระดับการศึกษา  อายุ  เพศ  และ  จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วย
ผู้เข้ารับการอบรมที่มีระดับความสามารถและความสามารถและความฉลาดสูงมาก ๆ ชอบที่จะเรียนรู้  และเรียนได้ดีในบรรยายกาศของความเป็นประชาธิปไตยและเป็นกันเองมาก  แต่มุ่งที่จะเรียนโดยกระบวนการกลุ่มน้อยและเน้นการเรียนรู้ตามลำพังมากกว่า  จึงเห็นได้ว่า  เทคนิคการฝึกอบรมที่จะอบรมมาใช้นั้นต้องปิดโอกาสให้ผู้เข้าฝึกอบรมที่มีความฉลาดมากมีอิสรภาพที่จะเรียนรู้ในบรรยายกาศที่เป็นประชาธิปไตะการฝึกอบรมนั้น ๆ ก็ต้องเอื้ออำนวยให้บุคคลเหล่านี้ได้เรียนรู้ตามลำพังให้มากกว่าผู้มีความสามารถและความเฉลียวฉลาดไม่ค่อยมากนักดังนี้  เป็นต้น
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความสามารถและมีความฉลาดพอสมควรนั้น  ค่อนข้างจะได้รับผลประโยชน์และเรียนรู้ได้ดีในบรรยายกาศของการเป็นประชาธิปไตยหรือมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ดังนั้น  การฝึกอบรมควรจะเป็นประสบการณ์ที่น่ารื่นรมย์และมีเสรีภาพ
ส่วนผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความรู้ความสามารถและความสามารถและความเฉลียวฉลาดน้อย  ชอบที่จะเรียนรู้และเรียนรู้ได้ดีโดยการใช้เทคนิคการฝึกอบรมประเภทที่ครูหรือวิทยากรเป็นศูนย์กลาง  มากกว่าวิธีการเรียนรู้อื่น ๆ
นอกจากด้านความรู้ความสามารถและความเฉลียวฉลาดของผู้เข้ารับการฝึกอบรมแล้วต้องคำนึงถึงระดับการศึกษาหรือประสบการณ์เดิมของเขาด้วย  กล่าวคือ  เทคนิคที่ใช้ต้องไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนมากจนเกินแก่การทำความเข้าใจให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมที่มีระดับการศึกษาไม่สูงนัก  และหากใช้เทคนิคการฝึกอบรมที่ง่ายจนเกินไปกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีระดับการศึกษาสูง ๆ ก็จะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย  และไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อการเรียนรู้แต่อย่างใดเลย
ในทำนองเดียวกันอายุหรือวัยของผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็มีความสำคัญที่ต้องคำนึงถึง  เพราะธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็กแตกต่างจากธรรมชาติของการเรียนรู้ของผู้ใหญ่  วิธีการ  กิจกรรม  โสตทัศนูปกรณ์  และ  เทคนิคการฝึกอบรมก็จะต้องแตกต่างไปด้วย   ในการใช้เทคนิคการฝึกอบรมและการจัดกิจกรรมนั้นจะต้องให้สอดคล้องกับความแตกต่างดังกล่าว  ไม่ว่าจะเป็นความต้องการที่จะรู้ถึงเหตุผลที่ว่าทำไมจะต้องเรียนรู้  การมีความเข้าใจในตนเองบทบาทของประสบการณ์  ความรู้เพื่อจะเรียนรู้  แนงโน้ม  ของการเรียนรู้และรวมถึงแรงจูงใจที่จะต้องการจะเรียนรู้อีกด้วย
4.  ต้องคำนึงถึงจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
สำหรับจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็มีความสำคัญต่อการเลือกใช้เทคนิคกาฝึกอบรมถ้าจำนวนคนมีมากคงจะต้องใช้เทคนิคประเภทยรรยาย  การอ๓ปรายเป็นคณะ  เพราะคงจะไม่สามารถใช้เทคนิคการฝึกอบรมประเภทที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้กระทำหรือเรียนโดยอาศัยกระบวนการกลุ่มแต่อย่างใดดังนี้เป็นต้น
5.  ความรู้ความสามารถของวิทยากร
เพราะถ้าวิทยากรขาดความรู้ความสามารถและทักษะในการใช้เทคนิคการฝึกอบรมบางประเภทเสียแล

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita