เพาเวอร์แอมป์ คลาส AB ขับซับได้ไหม

ด้วยความสอดคล้องของนักเล่นระบบเสียงรถยนต์ในบ้านเรา ที่ค่อนข้างเอาใจใส่กับเรื่องของ “เสียงเบส” เป็นหลักใหญ่ ครั้งนี้จึงได้นำปัจจัยสำคัญๆในการเลือกเพาเวอร์แอมป์ขับซับวูฟเฟอร์ มาเล่าสู่กันฟังเป็นสาระประจำภาคส่วน

เลือกแอมป์ขับซับเน้นเบส AudioPhile เลือก Class-AB

ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งนะครับว่า ระบบของสัญญาณเสียงเพลงนั้น ยังคงยึดถือหลักพื้นฐานทางอนาล็อกอยู่ แม้ว่าต้นทางที่มาอาจเป็นสื่อแบบดิจิตอลแล้วก็ตาม ดังนั้นแอมป์ขับซับฯทื่ถือว่าให้เสียงในการฟังแบบ AudioPhile ได้ดี ยังคงเป็นแอมป์อนาล็อก หรือชื่อนิยมเรียกกันในท้องตลาดก็คือแอมป์ Class-AB นั่นเอง

ประเด็นสำคัญที่ต้องจดจำไว้ก็คือ เพาเวอร์แอมป์ Class-AB ที่เป็นแอมป์สเตอริโอ 2 แชนแนลส่วนใหญ่ จะมีความสามารถทางอิมพีแดนซ์ในแต่ละช่องสัญญาณที่ 2 โอห์ม(2 ohms stable) เมื่อนำมาบริดจ์เป็นโมโน ก็จะมีความสามารถทางอิมพีแดนซ์รวมที่ 4 โอห์ม จึงมักเหมาะสมกับซับวูฟเฟอร์วอยซ์เดี่ยว ที่มีอิมพีแดนซ์วอยซ์คอยล์ที่ 4 โอห์มเป็นหลัก ส่วนเรื่องของกำลังขับ โดยปกติกำลังในการซับที่เหมาะสม จะมีกำลังขับเป็น 4 เท่าของแอมป์ขับเสียงกลางแหลมต่อแชนแนล อย่างกรณีนี้แอมป์ขับกลางแหลมมีกำลังขับ 90 วัตต์ต่อแชนแนล ดังนั้นแอมป์ขับซับที่บริดจ์โมโนแล้ว ควรมีกำลังขับที่ 320 วัตต์ขึ้นไป โดยสัมพันธ์กับแรงดันเสียง (SPL) ที่ต้องการ โดยปกติทั่วไปกำลังวัตต์ที่ 320 วัตต์ จะสามารถสร้างพลังเสียง SPL ได้ในระดับตั้งแต่ 100 dB ถึง 110 dB ขึ้นอยู่กับความไวของวอยซ์คอยล์ที่ดอกซับ และชนิดของตู้บรรจุที่เลือกใช้

ปัจจุบันได้มีเพาเวอร์แอมป์สเตอริโอกำลังขับสูงๆ ที่มีความสามารถทางอิมพีแดนซ์สเตอริโอได้ที่ 1 โอห์ม/แชนแนล ทำให้สามารถบริดจ์โมโนได้ที่ 2 โอห์ม ซึ่งทำให้สามารถใช้งานกับซับวอยซ์คู่ 1 ดอก ที่มีอิมพีแดนซ์ต่อวอยซ์ 4 โอห์ม และต่อขนานวอยซ์เป็น 2 โอห์มได้

เลือกแอมป์ขับซับเน้นเบส SPL เลือก Class-D

ในกรณีที่ต้องการออกแบบระบบ SQ+ เพื่อเน้นเสียงเบสในแบบ SPL นั้น จำเป็นต้องหันไปพึ่งพาเพาเวอร์แอมป์ดิจิตอล หรือเพาเวอร์แอมป์ Class-D ด้วยผลของการใช้ระดับกระแสน้อยกว่า แต่ได้กำลังขับมากกว่า ทำให้สามารถหากำลังขับจากเพาเวอร์แอมป์ได้ในระดับเกินกว่า 1000 วัตต์ขึ้นไปจนถึง 5000 วัตต์ ซึ่งทำให้สามารถสร้างพลังเสียง SPL ได้สูงเกินกว่า 120 dB ขึ้นไปตามใจปราถนา ซึ่งหากต้องการความแม่นยำในด้านตัวเลขก็จะต้องใช้การคำนวณครับ

ข้อสำคัญประการหนึ่งก็คือ เราจะต้องออกแบบระบบซับวูฟเฟอร์ของเราให้ได้ก่อนว่า จะใช้ซับกี่ดอก เป็นซับวอยซ์เดี่ยวหรือวอยซ์คู่ เพื่อเลือกการต่ออิมพีแดนซ์รวมให้มีค่าต่ำสุด ก่อนที่จะคัดเลือกแอมป์ให้ได้กำลังขับตามอิมพีแดนซ์นั้นสูงสุด อาทิ เลือกใช้วอยซ์คู่ 1 ดอก อิมพีแดนซ์ต่อวอยซ์ 4 โอห์ม เราก็จะสามารถต่ออิมพีแดนซ์ต่ำสุดที่ 2 โอห์ม(ต่อวอยซ์ขนานกัน) ดังนั้นหากเราต้องการกำลังขับใช้งานที่ 1500 วัตต์ เราก็จะดูค่าตัวเลขกำลังขับที่ 2 โอห์มเป็นหลัก (แอมป์ Class D ส่วนใหญ่สามารถใช้งานได้ที่อิมพีแดนซ์ 4 / 2 / 1 โอห์ม อาทิ 3000 วัตต์ที่ 1 โอห์ม, 1500 วัตต์ที่ 2 โอห์ม และ 750 วัตต์ที่ 4 โอห์ม ซึ่งหากนำแอมป์ตัวนี้มาทำงานที่อิมพีแดนซ์ 2 โอห์ม ก็จะได้กำลังขับที่ 1500 วัตต์)

แอมป์ต้องมีค่าแดมปลิ้งที่สมบูรณ์

จุดสำคัญจุดหนึ่งของเพาเวอร์แอมป์ขับซับ ที่เรามักนำมาใช้ประกอบระบบที่ต้องการคุณภาพเสียง SQ+ ที่สมบูรณ์ ก็คือค่า DF หรือ Dampling Factor หรือค่าการยับยั้งตัวที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งในการคัดเลือกแอมป์ที่เหมาะสม เราจึงมักนำเอาประเด็นนี้มาเป็นตัวตั้งตัวหนึ่ง ซึ่งค่า DF นี้สามารถทำการวัดได้เองแบบง่ายๆสำหรับในขั้นตอนของการเลือกเพาเวอร์แอมป์

ขั้นแรกให้ทำการวัดไฟ AC ที่ตกคร่อมที่ขั้วลำโพงของแอมป์  โดยวัดครั้งแรกในขณะที่ถอดความต้านทานจำลองออก หรือวัดตรงจากขั้วสายลำโพงของแอมป์ ได้ค่าแรงดันเท่าไหร่ก็บันทึกเอาไว้ ในตัวอย่างคือวัดได้ 20 โวลท์

จากนั้นให้ต่อความต้านทานจำลองเข้าไป(ค่าที่ 4 โอห์ม) แล้ววัดบันทึกค่าแรงดันตกคร่อมเอาไว้ ในกรณีนี้สมมุติวัดได้ 19.95 โวลท์

คราวนี้เราก็นำค่าที่วัดได้มาแทนค่าในสูตร DF = Eno load / (Eno load – Eloaded)

            ในที่นี้ Eno load = 20 Volts และ Eloaded = 19.95 volts

            ดังนั้น DF = 20 / 0.05

            ได้เป็น DF = 400 หรือค่าแดมปลิ้งพื้นฐานของแอมป์ตัวนี้คือ 400 นั่นเอง

ในบรรดาแอมป์ที่เราคัดเลือกมาสี-ห้าเครื่อง เพื่อคัดสรรเอาเพาเวอร์แอมป์หัวกระทิมาเพื่อใช้งาน เราควรวัดให้ได้ค่าแดมปลิ้งนี้สุงสุดนะครับ

แอมป์ขับซับควรตอบสนองความถี่ได้ในขอบเขตย่านต่ำได้ลึกสุด

แน่นอนว่าปัจจัยของค่า “แดมปลิ้ง-เฟคเตอร์” เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะเนื้อเสียงจะสงบนิ่งไม่วูบวาบได้เพียงใดก็ขึ้นอยู่กับค่านี้ และค่าถัดไปที่ต้องนำมาพิจารณาในการคัดเลือกเพาเวอร์แอมป์เพื่อใช้งานขับซับวูฟเฟอร์โดยเฉพาะ ก็คือขอบเขตความสามารถในการตอบสนองความถี่เสียงในย่านต่ำกว่า 100 Hz ลงไป โดยสามารถจัดวงจรวัดการทำงานได้ด้วยเครื่อง RTA ใดๆก็ได้ แต่สำคัญตรงเครื่องกำเนิดสัญญาณ ที่จะต้องสามารถทำการกวาดคลื่นหรือเรียกว่า Sweep คลื่นได้จาก 5 - 100 Hz เพื่อวัดความสามารถทำงานได้ของเพาเวอร์แอมป์ในส่วนของย่านความถี่ต่ำๆ

ซึ่งเมื่อทำการวัดเพาเวอร์แอมป์ที่คัดเลือกไว้ทั้งหมดได้แล้ว เราก็จะคัดสรรเอาแอมป์ที่ได้การตอบสนองคลื่นความถี่ต่ำได้ลึกสุดมาเป็นอันดับหนึ่ง

ครอสโลว์พาสในตัว 18 dB/Oct ขึ้นไป

สำหรับเพาเวอร์แอมป์ที่เราจะเลือกมาใช้งานขับซับให้กับระบบเสียง SQ+ เพื่อสุดยอดของคุณภาพเสียงนั้น ควรมีครอสโอเวอร์-โลว์พาสติดตั้งในตัวเลยก็ดียิ่ง และควรมีอัตราความลาดชันของมุมตัดเสียงได้มากกว่า 18 dB/Oct ยิ่งถ้าปรับเลือกเป็น 24 dB/Oct ได้ก็ยิ่งดี

ซึ่งสำหรับการวัดเปรียบเทียบในบรรดาแอมป์ที่เราคัดเลือก 4-5 ตัวนั้น สามารถใช้เครื่องวัด RTA วัดเปรียบเทียบการตอบสนองทางความลาดชันนี้ได้ครับ ใช้โปรแกรม TrueRTA เพื่อการนี้ก็ได้ โดยปล่อยสัญญาณ Pink Noise จากโปรแกรมผ่านเข้าทางเพาเวอร์แอมป์(ที่เลือกปรับใช้วงจรโลว์พาสในเครื่อง) จากนั้นวัดคลื่นสัญญาณ RTA ขาออก โดยต่อความต้านทานจำลองเอาไว้ด้วยนะครับตอนวัด

ครอสโลว์พาสควรปรับค่าได้ต่อเนื่อง

สำหรับครอสโอเวอร์ที่ติดตั้งมาในเพาเวอร์แอมป์ที่เราจะเลือกใช้นั้น ควรเป็นครอสโอเวอร์แบบที่ปรับค่าจุดตัดได้ต่อเนื่อง และควรตัดช่วงความถี่ต่ำได้ถึงค่าประมาณ 50 Hz ก็จะดีไม่น้อย และควรตัดค่าความถี่สูงสุดได้ถึง 150 Hz ค่าที่เหมาะสมของครอสโอเวอร์โลว์พาสคือ 50 Hz – 150 Hz ครับ

เลือกแอมป์ขับซับที่มีอัตราการกินไฟใกล้เคียงกับขนาดของไดชาร์จรถ

ประเด็นสำคัญของการเลือกเพาเวอร์แอมป์มาขับซับโดยเฉพาะ ที่จะไม่มีปัญหาแทรกซ้อนกับระบบไฟรถยนต์ ก็คือการเลือกแอมป์ที่มีอัตราการกินไฟสูงสุด ไม่มากเกินไปกว่าขนาดตัวเลขกระแสของไดร์ชาร์จติดรถ อาทิ ไดชาร์จรถมีความสามารถจ่ายกระแสได้ 90 แอมแปร์ เราก็ควรเลือกใช้เพาเวอร์แอมป์ขับซับเฉพาะที่กินไฟไม่เกิน 90 แอมป์ อย่าลืมนะครับว่าเพาเวอร์แอมป์จะให้กำลังวัตต์ได้สมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อได้แรงดันไฟที่ถูกต้อง(ปกติ 13.8.4 โวลท์ขึ้นไป) และต้องได้กระแสที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยด้วย เพราะหากได้เพียงแต่ค่าแรงดันไฟเพียงอย่างเดียว ไม่มีกระแสที่สมบูรณ์ กำลังวัตต์ก็จะหายไปอย่างรู้สึกได้ครับ

เลือกแอมป์ขับซับที่มีระบบการระบายความร้อนที่ดีพอ

ข้อสำคัญของเพาเวอร์แอมป์เพื่อขับซับวูฟเฟอร์โดยเฉพาะ ก็คือความสามารถในการจัดการระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ไม่ทำให้เกิดความร้อนสะสมที่ตัวเครื่องมากๆในเวลาที่รวดเร็ว เพราะจะทำให้วงจรป้องกันความเสียหายทำงานเครื่องทำงานในเวลาที่รวดเร็ว เกิดผลในแง่ของเสียงเบสขาดๆหายๆเป็นระยะๆ

ซึ่งกรรมวิธีในการพิสูจน์ความสามารถนี้ คงต้องใช้การต่อเพาเวอร์แอมป์เข้าระบบ และขับซับวูฟเฟอร์ในระดับความดังมุ่งหมายที่เราต้องการ โดยต้องสามารถเล่นได้อย่างต่อเนื่องในระดับความดังเดียวกันนั้น อย่างน้อยเป็นเวลา 2 ชั่วโมงขึ้นไป จึงจะถือความได้ว่าเป็นเพาเวอร์แอมป์ที่มีการระบายความร้อนในขั้นดี และหากสามารถเล่นต่อเนื่องได้นานกว่า 4 ชั่วโมงขึ้นไป ก็จะถือเป็นเพาเวอร์แอมป์ที่มีการบริหารจัดการทางด้านการระบายความร้อนที่ยอดเยี่ยม

อนึ่งในการต่อทดสอบดังกล่าว จะต้องใช้ไฟทำงานที่ระดับ 13.8 โวลท์ขึ้นไป และมีกระแสจ่ายให้กับเพาเวอร์แอมป์อย่างพอเพียงตามที่เพาเวอร์แอมป์ต้องการด้วยนะครับ จึงจะถือว่าเป็นขั้นตอนการทดสอบที่สมบูรณ์ เนื่องจากหากแรงดันไฟทำงานของเพาเวอร์แอมป์ต่ำกว่าระดับ 12 โวลท์ ตัวเครื่องจะมีความร้อนเพิ่มขึ้นจากวงจรภาคจ่ายไฟ(ที่จะต้องสเตปอัพไฟเพิ่มขึ้น) มีผลทำให้ระยะเวลาในการเปิดฟังได้น้อยลง

ต้องมีวงจรซับโซนิคฟิลเตอร์

สำหรับระบบเสียงของรถยนต์ในปัจจุบัน ที่มีการใช้ระบบซับวูฟเฟอร์มารับผิดชอบในย่านความถี่ต่ำโดยเฉพาะนั้น เพื่อเป็นการทำนุบำรุงให้ซับวูฟเฟอร์ทำงานได้อย่างคงทน และยาวนาน วงจรซับโซนิค-ฟิลเตอร์(Subsonic-Filter) เป็นอุปกรณ์ภาคสำคัญ เพราะเมื่อเราได้ซิมมูเลทการทำงานของซับวูฟเฟอร์+ตู้ที่ออกแบบ เราจะเห็นการทำงานในส่วนระยะชักของกรวยซับวูฟเฟอร์ เมื่อป้อนกำลังวัตต์ในระดับหนึ่ง ว่ามันทำงานได้ถึงความถี่ต่ำสุดที่ความถี่ใด เพราะการปล่อยให้ซับวูฟเฟอร์ชัก-หดหน้ากรวยในความถี่ต่ำที่เกินความสามารถเป็นเวลานานๆ มีผลทำให้ซับวูฟเฟอร์ถูกทำลายได้อย่างง่ายดาย

เลือกแอมป์ขับซับฯที่มีตัวแทนอย่างเป็นทางการ

องค์ประกอบสำคัญของการเลือกใช้เพาเวอร์แอมป์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์อีเล็คโทรนิคแขนงหนึ่ง ก็คือ ต้องมีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ มีหลักแหล่ง มีที่อยู่จริงอ้างอิงได้ ไม่ใช่เบอร์มือถือลอยไปลอยมาโดยไม่มีเอดเดรส เพราะหากมีข้อผิดพลาดใดๆเกิดขึ้นกับเพาเวอร์แอมป์ ท่านก็จะสามารถหาที่ซ่อมบำรุง หรือสอบถามข้อมูลทางเทคนิคเพื่อการติดตั้งที่ถูกต้องได้ และเหนือสิ่งอื่นใด การเลือกเพาเวอร์แอมป์ที่มีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการนี่ละสำคัญที่สุด เนื่องจากอุปกรณ์อีเล็คโทรนิคนั้น...ประสิทธิผลรวมของการใช้งานจริงจะทำได้แค่ 99% หมายถึงใน 100 เครื่องอาจมีปัญหาเกิดขึ้นได้ 1 เครื่องเสมอครับ แม้จะมีระบบ QC อย่างยิ่งยวดเพียงใดก็ตาม เราถือว่านี่คือประเด็นสำคัญกว่าสิ่งอื่น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita