การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว คือ

                วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอนภายหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้วเช่นการทำความสะอาดการคัดขนาดการบ่มผลผลิตและการบรรจุภัณฑ์ทั้งนี้เพื่อให้ผลผลิตมีความสวยงามมีคุณภาพน่าซื้อน่าบริโภคมากยิ่งขึ้นซึ่งการที่จะปฏิบัติในขั้นตอนใดจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับชนิดของผลผลิตรวมทั้งลักษณะรูปร่างและขนาดของผลผลิตเพราะแต่ละขั้นตอนมีวิธีการปฏิบัติได้หลายวิธีแตกต่างกันออกไปเช่นการทำความสะอาดผลผลิตสามารถที่จะทำความสะอาดด้วยน้ำหรือทำความสะอาดด้วยลมเป็นต้นดังนั้นการปฏิบัติได้อย่างถูกวิธีและเหมาะสมกับชนิดลักษณะรูปร่างและขนาดของผลผลิตจะช่วยให้เก็บรักษาผลผลิตไว้ได้นานผลผลิตทีคุณภาพและเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภคมากขึ้น

ผักมีลักษณะต่างๆกันมากมายทั้งรูปร่าง  ลักษณะและการนำไปใช้ประโยชน์หรือบริโภค   ซึ่งผักต่างๆจะมีความแก่ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุด   หรือดัชนีการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน 

หากไม่เข้าใจถึงปัจจัยทั้งก่อนและหลัง      การเก็บเกี่ยวจะทำให้ผลิตผักได้ผักที่มีคุณภาพต่ำ       ซึ่งทำให้การจัดการเบื้องต้นทั้งหลายไม่มีผล   เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า

• การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผัก

• ผักแต่ละชนิดต้องการการเก็บเกี่ยว  การรักษา และการขนส่งที่ต่างกัน 

• ผักแต่ละชนิดเก็บรักษาได้นานเพียงไรก่อนถึง   ผู้บริโภคในขณะที่ผัก

-  ยังคงมีชีวิตอยู่

-  ยังคงมีการคายน้ำ

-  ยังคงมีการหายใจได้ตามปกติ

-  ยังคงมีคุณภาพดีอยู่

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผัก

เริ่มต้นจากเมล็ดที่งอก  ผักจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพและชีวเคมี จากการเริ่มต้นการเจริญเติบโตจนตายไปบางส่วนหรือทั้งต้น 

เจริญเติบโตของผักเกิดขึ้นเป็น 4 ระยะคือ

- การเจริญ  ( Growth )

-  การแก่  ( Maturation )

-  การสุก   ( Ripening )

-  การเสื่อมสภาพ   ( Senescence )

ปัจจัยที่เกี่ยวกับการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

1.             อุณหภูมิ

ผักส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ในช่วงอุณหภูมิแคบๆ   คือ  จาก  0 - 40 C  อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่     ในช่วง  21 - 23 C  ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ อาการสะท้านหนาว อาจเกิดขึ้นได้เมื่อผักได้รับอุณหภูมิต่ำเหนือ จุดเยือกแข็ง  ผักที่ได้รับอุณหภูมิสูงเกินไป  ทุกๆ  10 C  ที่เพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิที่เหมาะสม ความร้อนอาจทำลายผักได้ อัตราการเสื่อมสภาพจะเพิ่มขึ้นเป็น  2 - 3  เท่า ทั้งอุณหภูมิต่ำและสูงจะก่อให้เกิดลักษณะที่ผิดปกติทางสรีรวิทยา

ผักที่ได้รับอุณหภูมิต่ำจะทำให้ผักเกิดการช้ำน้ำ  ไม่สามารถสุกได้  และมีกลิ่นหรือรสชาติผิดปกติ  มีการเน่าเสียง่าย ผักได้รับอุณหภูมิสูงจะทำให้เกิดการไหม้  สีซีด  สุกไม่สม่ำเสมอ  ผลนิ่ม  หรือแห้ง ผักที่ยังติดอยู่กับต้นหรือยังคงสภาพที่อยู่กับดินสามารถปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิที่ผันแปรได้บ้าง เมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้วผักไม่สามารถปรับตัวได้อย่างเดิม  

ผักจะสะสมความร้อนอย่างรวดเร็ว  จึงจำเป็นต้องลดอุณหภูมิ เพื่อลดความร้อนจากแปลง  (Field  heat)  และความร้อนจากการเมตาบอลิสม์  (Vital  heat)  ออกอย่างรวดเร็วเพื่อทำให้ผักมีอายุยาวนานขึ้น หลังจากนั้นควรเก็บรักษาผักไว้ที่อุณหภูมิที่ต่ำและปลอดภัยต่อผักนั้นๆ นอกจากนั้นต้องเก็บรักษาผักในสภาพที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูงด้วย

        2.             การหายใจ

                พืชที่กำลังเจริญเติบโตจะมีความสมดุลย์ของกระบวนการ เมตาบอลิสม์  ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ออกซิเจนโดยการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์และความร้อน ที่เกิดจากการหายใจจะไม่รบกวนการเจริญเติบโตของพืช รากทำหน้าที่รักษาระบบของธาตุอาหารและน้ำให้เหมาะสม ใบจะควบคุมการเข้าออกของก๊าซและการคายน้ำ เมื่อเก็บเกี่ยวผักแล้วต้องลดอุณหภูมิทันที และเก็บรักษาผักภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง  อัตราการหายใจถูกควบคุมโดยปริมาณออกซิเจน อัตราการหายใจบอกถึงการเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นแป้ง ซึ่งที่อุณหภูมิสูงจะเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว  เช่น  กรณีของ  Pea   และข้าวโพดหวาน

                อัตราการหายใจยังร่วมไปกับการสูญหายของวิตามินและอัตราการเสื่อมสภาพของผักได้กระบวนการหายใจของผักสามารถถูกควบคุมได้ โดยอุณหภูมิภายในและอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม ถ้าอุณหภูมิลดลงถึงจุดที่ปลอดภัยต่อผักเร็วเท่าไร ผักจะมีอายุการวางจำหน่ายยาวนานขึ้นไปด้วย

3.             ความต้องการน้ำ

เนื่องจากผักที่เก็บเกี่ยวมายังคงมีการหายใจอยู่  และยังมีการสูญเสียน้ำเกิดขึ้นจากกระบวนการคายน้ำ  ทำให้ผักเหี่ยว ความกรอบเปลี่ยนเป็นความเหนียว ผักบางชนิดจะสูญเสียน้ำง่าย  เช่น  ในผักที่เป็นผล เช่น  ฟักทองและแตงต่างๆ  บริเวณก้านผลที่ถูกตัดจากต้นเป็นบริเวณที่สูญเสียน้ำได้มาก การวางมันฝรั่งไว้ในที่มีแสงแดดและลม  น้ำจะระเหยผ่านทางเลนติเซลเป็นปริมาณมาก ไม่เพียงแต่ต้องรักษาสภาพอุณหภูมิของผักให้ต่ำเท่าที่จะปลอดภัยต่อผัก   ความชื้นสัมพัทธ์ก็จะต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วย

4.             การเคลื่อนที่ของอากาศ

ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมผักเกือบทุกชนิดอยู่ในระดับ  95 - 98 %  ยกเว้น   หอมหัวใหญ่   และฟักทอง การหมุนเวียนของอากาศที่เหมาะสมจะช่วยลดความร้อนที่เกิดจากการหายใจผักได้ห้องเก็บรักษาต้องติดตั้งเครื่องมือเพื่อทำให้อากาศสามารถหมุนอย่างเหมาะสม

5.             เอทธีลีน

เอทธิลีนเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์โดยเนื้อเยื่อพืชและเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดก็สามารถสังเคราะห์เอทธิลีนได้ เอทธิลีนเป็นสารระเหยได้  มีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมนพืช ผลไม้บางชนิดสามารถสังเคราะห์เอทธิลีนได้จำนวนมาก  ซึ่งจะเพียงพอต่อการเร่งกระบวนการเสื่อมสภาพของผักส่วนมาก ในทางกลับกันเอทธิลีนมีประโยชน์เมื่อต้องการเร่งผลไม้ให้สุกพร้อมกันและเร็วขึ้นตามต้องการ เอทธิลีนทำให้เกิดปัญหามากมายกับผัก  คือ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita