จุดความรับผิด ทาง ภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 78

Tax point

การขายสินค้า

กิจกรรม VAT

ความรับผิดในการเสีย VAT

ขายเสร็จเด็ดขาด, สัญญาจะขาย

เมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่ ได้โอนกรรม สิทธิ์ /รับชำระราคา / ออกใบกำกับภาษีก่อนการส่งมอบ

เช่าซื้อ/ขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ

ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ เว้นแต่ได้รับชำระราคา /ออกใบกำกับภาษีก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด

การฝากขายที่เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประกาศอธิบดี (ฉบับที่ 8)

เมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า เว้นแต่

- ตัวแทนโอนกรรมสิทธิ์ / รับชาระราคา / ออกใบกำกับภาษีก่อนส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า

- ตัวแทนนำสินค้าไปใช้

การส่งออก

เมื่อมีการผ่านพิธีการทางศุลกากร

การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา สินค้าที่ไม่มีรูปร่าง

เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อน  รับชำระราคา

การขายสินค้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ

เมื่อนำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ

กรณีจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าโดยไม่ค่าตอบแทน

เมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่งมอบสินค้า

กรณีนำสินค้าไปใช้ในกิจการอื่น

เมื่อนำไปใช้

กรณีมีสินค้า/ทรัพย์สินในวันเลิกกิจการหรือขอถอนหรือถูกเพิกถอนทะเบียน

เมื่อเลิกกิจการหรือเมื่อขอถอนหรือถูกเพิกถอนทะเบียน แล้วแต่กรณี

กรณีสินค้าขาดจากรายงาน

เมื่อตรวจพบ

กรณีรับโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่เคยเสีย VAT อัตรา 0 %

เมื่อโอนกรรมสิทธิ์สินค้า

จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT)

จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) จะมีความแตกต่างกันไปตามประเภทกิจการโดยแบ่งได้  4 ประเภทดังนี้

1. ธุรกิจขายสินค้า

1.1  การขายสินค้าทั่วไปซึ่งอยู่นอกข้อ (1.2, 1.3, 1.4 และ 1.5) จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) เกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนการส่งมอบสินค้า ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้กระทำการนั้นๆ ดังต่อไปนี้ด้วย
ก.โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
ข.ได้รับชำระราคาค่าสินค้า หรือ
ค.ได้ออกใบกำกับภาษี
1.2  การขายสินค้าตามสัญญาเช่าหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระ ทั้งนี้กรรมสิทธิ์ของสินค้านั้นยังไม่ได้โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้า จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) เกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนดชำระในแต่ละงวด ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้กระทำการนั้นๆด้วย
   ก.ได้รับชำระค่าสินค้า
   ข.ได้ออกใบกำกับภาษี

1.3  การขายสินค้าโดยมีการตั้งตัวแทนเพื่อขาย และทั้งนี้ได้มีการส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) เกิดขึ้นเมื่อตัวแทนได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้กระทำการนั้นๆ ด้วย

     ก.ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าให้ผู้ซื้อ
     ข.ตัวแทนได้รับชำระราคาสินค้า
     ค.ตัวแทนได้ออกใบกำกับภาษี หรือ
     ง.ได้มีการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าโดยตัวแทนหรือบุคคลอื่น

1.4  การขายสินค้าโดยการส่งออก จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) เกิดขึ้นตามกรณีดังนี้
     ก.การส่งออกนอกจากที่ระบุใน ข้อ (ข) หรือ (ค) เมื่อมีการการชำระอากรขาออก วางหลักประกันขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออกเว้นแต่ในกรณีที่ไม่เสียอากรขาออก หรือได้รับการยกเว้นอากรขาออก ให้ถือจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) เกิดขึ้นวันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออก
     ข.ในกรณีมีการส่งออกที่นำสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากร จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT)  เกิดขึ้นเมื่อมีการนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปเขตปลอดอากร
     ค.ในกรณีการส่งออกที่สินค้าอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT)  เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

 1.5  การขายสินค้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อบละ 0 โดยภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า ซึ่งทำให้ผู้รับโอนสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  (TAX POINT) เกิดขึ้นเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า

2.  ธุรกิจให้บริการ

2.1 การให้บริการทั่วไปที่อยู่นอกข้อ (2.2, 2.3 และ 2.4) จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) เกิดขึ้นเมื่อ ได้รับชำระราคาค่าบริการยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนชำระราคาค่าบริการให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้กระทำการนั้นๆ ด้วย
     ก. ได้ออกใบกำกับภาษี หรือ
     ข. ได้ใช้บริการนั้น ไม่ว่าจะด้วยตนเองหรือบุคคลอื่น

2.2 การให้บริการตามสัญญาที่กำหนดค่าตอบแทนตามส่วนของบริการ จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT)  เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระค่าบริการตามส่วนของบริการที่สิ้นสุดลง ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนได้รับชำระ ค่าบริการตามส่วนของบริการที่สิ้นสุดลงให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้กระทำการนั้นๆ

     ก. ได้ออกใบกำกับภาษี
     ข. ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น

2.3 การให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการในประเทศไทย จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) ทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นเมื่อมีการชำระค่าบริการทั้งหมดหรือบางส่วนแล้วแต่กรณี

2.4 การให้บริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 (ตามมาตรา 80/1 (5))  และในภายหลังได้มีการโอนสิทธิในบริการให้แก่ผู้รับโอนสิทธิในบริการที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ตามมาตรา 82/1 (2) จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) เกิดขึ้นเมือได้รับชำระค่าบริการกรณีรับชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเช็ค

     – กรณีการขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเช็ค ซึ่งเช็คลงวันที่ก่อนส่งมอบสินค้าหรือก่อนโอนกรรมสิทธิสินค้าจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT)  คือวันที่ที่ลงในเช็ค โดยผู้ประกอบการต้องออกใบกำกับภาษีและใบรับตาม
วันที่ที่ลงในเช็ค

     – กรณีที่ได้รับมอบเช็คลงวันที่ที่ผ่านมาแล้ว ให้ผู้ประกอบการออกใบกำกับภาษีและใบรับตามวันที่ ที่ลงในเช็คใบนั้นยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี้ให้ออกใบกำกับภาษีและใบรับตามวันที่ได้รับมอบเช็คนั้นในการชำระค่าสินค้าหรือบริการ

     ก. กรณีรัฐบาล องค์การรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ออกเช็ค
     ข. นอกจากกรณี ก. ในกรณีผู้ออกเช็คเป็นบุคคลธรรมดา บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งได้มีการออกเอกสารรับรองว่าได้ส่งมอบเช็คให้ผู้ประกอบการ ในวัน เดือน ปี ใด และได้ส่งมอบเอกสารดังกล่าวในวันเดียวกันกับที่ส่งมอบเช็คโดยผู้ประกอบการต้องมีเอกสารดังกล่าวพร้อมให้เจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจสอบได้ทันที

3. การนำเข้าสินค้า

3.1 การนำเข้าสินค้าที่ไม่ใช่ข้อ 3.1 และ 3.2 จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) เกิดขึ้นเมื่อมีการชำระอากรขาเข้าวางหลักประกันอากรขาเข้า หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาเข้า ยกเว้นกรณีไม่ต้องเสียอากรขาเข้า จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT)  จะเกิดขึ้น ในวันที่มีการออกใบขนสินค้าของกรมศุลกากร

3.2 การนำเข้าสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร แล้วนำสินค้าออกจากเขตปลอดอากร โดยมิใช่เพื่อการ ส่งออกจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น (TAX POINT) ในวันที่นำสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากร

3.3 การนำเข้าสินค้าในกรณีของตกค้างตามกฎหมายศุลกากร   จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  (TAX POINT) จะเกิดขึ้นเมื่อทางราชการได้ทำการขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่น เพื่อนำเงินดังกล่าวมาชำระภาษี ค่าเก็บรักษา ค่าขนย้าย หรือค่าใช้จ่ายอื่นซึ่งเป็นภาระผูกพันตามกฎหมายศุลกากร

3.4 การนำเข้าสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าในภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ทำให้มีผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายดังกล่าว หรือผู้รับโอนสินค้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) จะเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

4. การขายสินค้าหรือให้บริการอื่นดังต่อไปนี้

4.1 การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระค่าสินค้าหรือได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนการได้รับชำระค่าสินค้า ก็ให้จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) เกิดขึ้นเมื่อออกใบกำกับภาษี

4.2 การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง เช่น สิทธิในสิทธิบัตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ค่าสิทธิ หรือการขายสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน หรือการขายสินค้าที่ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบเมื่อใด  จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) เกิดขึ้นเมื่อ ได้รับชำระราคาสินค้ายกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนได้รับชำระค่าสินค้า ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้กระทำการนั้นๆ
     ก. โอนกรรมสิทธิ์สินค้าหรือ
     ข. ได้ออกใบกำกับภาษี

4.3 การขายสินค้าหรือให้บริการ ด้วยเครื่องอัตโนมัติ โดยการชำระค่าสินค้าและบริการ โดยการหยอดเหรียญ หรือบัตรหรือในลักษณะทำนองเดียวกัน จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) เกิดขึ้นเมื่อได้นำเหรียญ บัตร หรือสิ่งอื่นในลักษณะเดียวกันนอกจากเครื่องอัตโนมัติ

4.4 การขายสินค้าโดยชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเคดิต หรือในลักษณะทำนองเดียวกัน จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT)   เกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า  ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้กระทำการนั้นๆ ด้วย
     ก. โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
     ข. เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต หรือ
     ค. ได้ออกใบกำกับภาษี

4.5 การให้บริการโดยการชำระราคาค่าบริการด้วยการใช้บัตรเคดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกัน  จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT)  เกิดขึ้นเมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเดรดิต  ยกเว้นได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต ก็ให้จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) เกิดขึ้นเมื่อได้ออกใบกำกับภาษีนั้น

4.6 การขายสินค้าตามสัญญาจะขายสินค้า  ตามมาตรา 77/1 (8) (ก) จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) เกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า  ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้กระทำการนั้นๆ ด้วย

     ก. โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
     ข. ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
     ค. ได้ออกใบกำกับภาษี

4.7 การนำเข้าสินค้าโดยผู้ประกอบการ โดยนำสินค้าไปใช้โดยตนเองหรือบุคคลอื่น ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อการประกอบกิจการโดยตรง จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT)  เกิดขึ้นเมื่อนำสินค้าไปใช้หรือส่งมอบสินค้าให้บุคคลอื่นไปใช้

4.8 ในกรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ  จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  (TAX POINT) เกิดขึ้นเมื่อมีการตรวจพบ

4.9 ในกรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันที่เลิกประกอบกิจการจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT)  จะเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการ หรือแจ้งเลิกประกอบกิจการ ยกว้นผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ต่อไปอีกเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการหยุดประกอบกิจการ ให้ความรับผิดเป็นไปตามมาตรา 78 ตามประมวลรัษฎากร

4.10 ในกรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สิน ที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  (TAX POINT) เกิดขึ้นแล้วแต่กรณีใดดังต่อไปนี้
  ก. ณ วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดวันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  ข. ณ วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดวันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
     ยกเว้นผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ต่อไปอีกเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการหยุดประกอบกิจการให้ความรับผิดเป็นไปตามมาตรา 78 ตามประมวลรัษฎากร 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita