ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษี ใครบ้างที่ไม่มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิมีใครบ้าง หจก.ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ภาษีเงินได้นิติบุคคล มีอะไรบ้าง ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคล สรุป ภาษีเงินได้หมายถึงอะไร ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จะต้องยื่นรายการภาษีเมื่อใด บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มีอะไรบ้าง ภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากอะไร ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล คือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ต้องเสียภาษีในกรณีใด

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่

และต้องมีพนักงานหลายฝ่ายมาเป็นตัวขับเคลื่อนให้องค์กรนั้นพัฒนาต่อไป ซึ่งตัวองค์กรเองก็ต้องหารายได้เพื่อนำมาจ้างพนักงานและนำรายได้นั้นมาใช้พัฒนาปรับปรุงภายในองค์กรด้วย ซึ่งรายได้ของประเทศเรามาจาก 2 ช่องทางหลัก คือ รายได้จากการเก็บภาษีอากร และรายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร ในวันนี้เราจะมาบอกเล่าเกี่ยวกับ “ภาษีเงินได้นิติบุคคล” เป็นภาษีทางตรงที่จะถูกเรียกเก็บเข้าสู่ระบบส่วนกลางของประเทศผ่านหน่วยงานที่เรียกว่ากรมสรรพากร 

สารบัญ

Add a header to begin generating the table of contents

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คืออะไร

เชื่อว่าทุกคนคงจะได้ผ่านหูผ่านตากับคำว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคล มาไม่มากก็น้อย และความเข้าใจที่มีต่อภาษีประเภทนี้ก็คงไม่ได้มีเท่ากันด้วย จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้ยกเอาเรื่องราวของภาษีประเภทนี้มาแบ่งปันกัน หากจะพูดกันให้เข้าใจง่ายที่สุด ภาษีเงินได้นิติบุคคล อยู่ในข้อกำหนดของกรมสรรพากรที่จะต้องจัดเก็บภาษีส่วนนี้มาจากกลุ่มองค์กรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยรูปแบบนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีตามที่ได้บัญญัติไว้ก็จะแบ่งตามเงื่อนไขการก่อตั้ง ดังนี้

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

– บริษัท จำกัด

– บริษัทมหาชน จำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

– ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แต่มีหน้าที่เสียภาษีในประเทศไทย (โดยต้องยึดตามเงื่อนไขในข้อบัญญัติ)
  2. กิจการที่ดำเนินการเพื่อหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์กรของรัฐบาลต่างประเทศ และนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
  3. กิจการร่วมค้า ซึ่งเป็นกิจการที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างองค์กร 2 องค์กรขึ้นไปเพื่อหากำไร (มีกำหนดเงื่อนไขตามข้อบัญญัติ)
  4. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการเพื่อสร้างรายได้ โดยจะไม่นับรวมมูลนิธิหรือสมาคมที่ถูกกำหนดให้เป็นองค์กรสาธารณกุศลอย่างเป็นทางการ
  5. นิติบุคคลอื่น ๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นตามการอนุมัติของรัฐมนตรี เพื่อให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนตามข้อกำหนด

นิติบุคคลที่ถูกยกเว้นการเสียภาษีเงินได้

จากข้างต้นเราได้แจกแจงเกี่ยวกับกลุ่มนิติบุคคลที่เข้าเงื่อนไขการเสียภาษีเงินได้ไปแล้ว แต่ในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงกลุ่มนิติบุคคลที่มองดูผิวเผินก็เป็นผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามปกติ แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับเป็นกลุ่มนิติบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งนิติบุคคลที่ถูกยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ตามบัญญัติกฎหมายจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้ โดยอ้างอิงข้อมูลตามที่เผยแพร่ในเว็บไซต์กรมสรรพากร ได้แก่

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
  2. บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
  3. บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ได้รับการยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
  4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ประเมินจากรายได้ส่วนใด

สำหรับการแจกแจงผลประกอบการต่าง ๆ ภายในองค์กรแล้วสรุปรวมออกมาเป็น ภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อส่งให้กรมสรรพากรนั้นจะสรุปออกมาเป็นรูปแบบของกำไรสุทธิที่ผ่านการคำนวณตามฐานภาษีที่ถูกกำหนดไว้ แต่ถึงอย่างนั้นในระบบการดำเนินงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนต่าง ๆ ก็อาจจะมีช่องว่างที่มีผลต่อการเลี่ยงภาษีบางส่วนไป การคำนวณ ภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงไม่ได้มีฐานการคำนวณภาษีเงินได้เพียงแค่ข้อเดียว แต่ยังมีฐานภาษีที่ต้องยกมาใช้ในการคำนวณภาษีให้ครอบคลุมโดยมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่

– ฐานภาษีกำไรสุทธิ

– ฐานภาษียอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย

– ฐานภาษีเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

– ฐานภาษีการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

การเริ่มต้นประกอบธุรกิจใดก็ตาม หากให้ถูกต้องตามกฎหมายคือคุณจะต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความสบายใจ อีกทั้งแสดงถึงความน่าเชื่อถืออีกด้วย ส่งผลทำให้มองเห็นผลกำไรเพราะการทำบัญชีจะต้องเก็บรายละเอียดในส่วนนี้ประกอบด้วยนั้นเอง อย่างไรก็ตามศึกษารายละเอียดอีกครั้ง เพื่อความถูกต้องครบถ้วน

ธุรกิจแบบนิติบุคคลกับธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาแบบไหนดีกว่า

ในส่วนนี้เราจะพูดถึงรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยจะแบ่งทั้งหมดเป็น 2 รูปแบบคือ รูปแบบแรกธุรกิจแบบธรรมดา กับรูปแบบที่สองธุรกิจแบบนิติบุคคล โดยธุรกิจทั้ง 2 แบบนี้มีหน้าที่ต้องยื่นเรื่องเสียภาษีให้กับกรมสรรพากรเหมือนกัน แต่ว่าวิธีการคำนวณฐานภาษีจะแตกต่างกัน โดยภาษีเงินได้เหล่านี้จะพิจารณามาตั้งแต่รูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์นั้น ๆ แล้ว เพื่อให้ข้อมูลด้านนี้ครบถ้วนและชัดเจนเราไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมกันได้เลย ดังนี้

  1. กลุ่มแรกคือบุคคลที่ประกอบธุรกิจที่เป็นบุคคลธรรมดา จะเป็นการดำเนินธุรกิจขนาดเล็กแบบห้างหุ้นส่วนสามัญที่มีบุคคลร่วมดำเนินงานตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปและแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน หรือจะเป็นลักษณะธุรกิจที่มีเจ้าของลงทุนคนเดียว แต่ก็ยังคงสภาพเป็นบุคคลธรรมดาเพราะไม่มีการจดทะเบียน จึงทำให้กลุ่มธุรกิจนี้มีความน่าเชื่อถือน้อย การทำบัญชีเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นเสียภาษีไม่ต้องยึดตามหลักบัญชีมาตรฐานก็ได้ แต่ต้องบันทึกรายการเพื่อแสดงรายได้ รายจ่าย ให้เห็นว่าผลการดำเนินกิจการมีตัวเลขขาดทุนหรือตัวเลขกำไรอย่างไร บันทึกไว้เพื่อนำมาใช้อ้างอิง
  2. . กลุ่มที่สองคือบุคคลที่ประกอบธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล ประเมินจากธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ดำเนินงานภายใต้ชื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนตามจุดประสงค์ของการก่อตั้ง ในระบบดำเนินงานจะต้องมีผู้บริหารหลายฝ่าย มีผู้ถือหุ้น และมีพนักงานภายในองค์กรจำนวนมาก การดำเนินธุรกิจแบบนิติบุคคลจะต้องถูกตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจอย่าง กระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากรที่จะเข้ามาตรวจสอบเกี่ยวกับภาษีเงินได้ขององค์กรเหล่านั้นด้วย ดังนั้นตัวองค์กรจึงต้องจัดทำบัญชีให้ตรงตามมาตรฐานเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบตามสถานะจริง

หากมองในแง่การเสียภาษีแล้วนิติบุคคลจะมีการลดหย่อนหรือข้อหักล้างบางอย่างที่ทำให้เสียภาษีได้น้อยลง หรือในกรณีที่ขาดทุนก็สามารถยกเว้นการเสียภาษีได้ตามข้อบัญญัติ มีอัตราการเสียภาษีเพียงแค่อัตราเดียวในทุกผลกำไร แต่ต้องทำบัญชีให้ตรงตามาตรฐานที่กำหนด ในขณะที่การเสียภาษีบุคคลธรรมดาไม่มีข้อหักล้างหรือการลดหย่อนภาษี มีอัตราการเสียภาษีแบบก้าวกระโดดการเสียภาษีจึงไม่ได้ใช้เกณฑ์เดียวในการประเมิน ขึ้นอยู่กับการประเมินรายได้ของกิจการในแต่ละช่วงเวลา แต่ไม่ต้องยุ่งยากกับการทำบัญชีให้ตรงตามมาตรฐาน

เมื่อพิจารณาจากรูปแบบโดยรวมของการดำเนินธุรกิจทั้ง 2 แบบแล้ว จะเห็นได้ว่าธุรกิจแบบบุคคลธรรมดากับธุรกิจแบบนิติบุคคลมีลักษณะการดำเนินงานที่ไม่เหมือนกัน มีวิธีการจัดทำบัญชีที่ต่างกัน ดังนั้น แนวทางการเสียภาษีเงินได้จึงมีวิธีการที่ต่างกันออกไปด้วย การจะตัดสินว่าธุรกิจแบบไหนดีกว่ากันโดยสิ้นเชิงคงเป็นไปได้ยาก ซึ่งเจ้าของกิจการเองต้องนำข้อดีข้อเสียของธุรกิจทั้ง 2 แบบมาเป็นหลักพิจารณาให้เหมาะสมกับขนาดของธุรกิจตัวเอง และหากจะตอบว่าธุรกิจแบบไหนดีกว่าก็ต้องประเมินจากปัจจัยแวดล้อมในขณะนั้นนั่นเอง

บทสรุป

จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้บอกเล่าไปจึงทำให้มองเห็นว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องศึกษาและทำความเข้าใจเป็นอย่างดี เพราะเชื่อว่ามีหลายคนยังมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวและไม่ได้ให้ความสนใจเท่าไหร่นัก แต่การศึกษาเอาไว้เป็นความรู้รอบตัวก็จะช่วยให้เราเป็นคนที่รู้เท่าทันโลก และได้ตระหนักว่าสิ่งที่อยู่ไกลตัวเราในวันนี้สักวันหนึ่งอาจจะกลายมาเป็นสิ่งใกล้ตัวที่เราต้องให้ความสนใจมากที่สุดก็ได้

ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 1) บุคคลธรรมดา 2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล 3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

ใครบ้างที่ไม่มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ (2) บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิมีใครบ้าง

4.1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ.
1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย.
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ.
(3) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ.

หจก.ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

หน้าที่ทางด้านบัญชี กับภาษีของ หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) มีอะไรบ้าง?.
ภาษีเงินได้นิติบุคคล.
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย.
ภาษีมูลค่าเพิ่ม.
ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ถ้ามี).

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita