สั่งของจาก lazada ติด ศุลกากร

กรมศุลกากรจะส่งใบแจ้งสีเขียว ๆ มาตามที่อยู่ของเรา โดยปกติสามารถเช็คตามเลข Tracking พัสดุที่ส่งมาได้เลย อย่างเช่นของไปรษณีย์ไทย เราจะเจอสถานะของพัสดุคือนำจ่ายไม่สำเร็จ และเจ้าหน้าที่จะเขียนเหตุผลว่า ออกใบแจ้ง ซึ่งก็หมายถึงใบแจ้งสีเขียวค่าภาษีนำเข้านั่นเอง รอมาส่งถึงที่บ้านได้เลย ก่อนจ่ายสามารถตรวจสอบความถูกต้องของภาษีได้ หากเราคิดว่ากรมศุลกากคิดภาษีมาแพงเกินจริง สามารถส่งคำร้องโต้แย้งได้ แต่ต้องอ้างอิงจากอัตราเสียภาษีนำเข้าจากกรมศุลกากรเท่านั้น

จากกรณีร้องเรียนร้อนๆ ผ่านแฮชแท็ก #ศุลกากรหรือซ่องโจร...

Posted by CatDumb on Monday, March 22, 2021

อย่างไรก็ตาม หากไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายศุลกากรกำหนด จะถือเป็นความผิดและได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งลักษณะความผิดที่พบเจอบ่อยๆ นั้น First Taobao ขอนำข้อมูลจากกรมศุลกากรมาเผยแพร่ ดังต่อไปนี้

  1. ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร หมายถึง การนำสินค้า ที่เป็นการสั่งของจากจีน และยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือของที่ควบคุมการนำเข้าหรือของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาหรือส่งออกไปนอกประเทศไทย โดยของที่ลักลอบหนีศุลกากรอาจเป็นของที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ต้องเสียก็ได้ หรืออาจเป็นของต้องห้ามหรือของต้องกำกัดหรือไม่ก็ได้ หากไม่นำมาผ่านพิธีการศุลกากร ก็ถือว่ามีความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร ทั้งนี้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่ลักลอบหนีศุลกากรและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของราคารวมค่าภาษีอากรหรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ

  2. ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร หมายถึง การนำของที่ต้องชำระค่าภาษีอากรเข้ามาหรือส่งออกไปนอกประเทศไทยโดยนำมาผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง แต่ใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีเจตนาเพื่อมิให้ต้องชำระค่าภาษีอาการหรือชำระในจำนวนที่น้อยกว่าที่จะต้องชำระ เช่น สำแดงปริมาณ น้ำหนัก ราคา ชนิดสินค้า หรือพิกัดอัตราศุลการเป็นเท็จ เป็นต้น ดังนั้น ผู้นำเข้าหรือส่งออก ที่มีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร จึงมีความผิดฐานสำแดงเท็จอีกฐานหนึ่งด้วย  กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงภาษีอากรและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ ในกรณีที่มีการนำของซุกซ่อนมากับของที่สำแดงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากรสำหรับของซุกซ่อน โทษสำหรับผู้กระทำผิดคือ ปรับ 4 เท่า ของอากรที่ขาดกับอีก 1 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยที่ขาด(ถ้ามี) และให้ยกของที่ซุกซ่อนมาให้เป็นของแผ่นดิน
  3. การสำแดงเท็จ หมายถึง การสำแดงใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าไม่ตรงกับหลักฐานเอกสารและข้อเท็จจริงในการนำเข้าและส่งออก การกระทำผิดฐานสำแดงเท็จ มีหลายลักษณะ ดังนี้

 

             – การยื่นใบขนสินค้า คำสำแดงใบรับรอง บันทึกเรื่องราวหรือตราสารอย่างอื่นต่อกรมศุลกากรเป็นความเท็จ

             – การไม่ตอบคำถามของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายด้วยความสัตย์จริง

             – การไม่ยอมหรือละเลย ไม่ทำ ไม่รักษาบันทึกเรื่องราวหรือทะเบียน สมุดบัญชี หรือเอกสาร หรือตราสารอื่นๆ ซึ่งกฎหมายศุลกากรกำหนดไว้

             – การปลอมแปลงหรือใช้เอกสารบันทึกเรื่องราวหรือตราสารอื่นๆ ที่ปลอมแปลงแล้ว

             – การแก้ไขเอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอื่นๆ ภายหลังที่ทางราชการออกให้แล้ว

             – การปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อหรือเครื่องหมายอื่นๆ ของพนักงานศุลกากร ซึ่งพนักงานศุลกากร ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

            การกระทำตามลักษณะดังกล่าวข้างต้น ให้ถือเป็นความผิด โทษสูงสุดคือปรับเป็นเงินไม่เกิน 50,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน

  1. ความผิดฐานนำของต้องห้ามหรือต้องกำกัดเข้ามาหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร สำหรับโทษของผู้กระทำ ผิดในการนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้าประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ความผิดครั้งหนึ่งๆ กำหนดไว้สูงสุดคือให้ริบของที่หลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัด และปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ
  2. ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร ในการนำเข้าและส่งออกสินค้าแต่ละครั้ง ผู้นำเข้าและส่งออกจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารและการควบคุมการจัดเก็บภาษีอากร และการนำเข้า-ส่งออกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การกระทำผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากรมีหลายลักษณะ เช่น การขอยื่นปฏิบัติพิธีการศุลกากรแบบใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ ย้อนหลัง การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนระเบียบที่กำหนดไว้ จะถูกปรับ 1,000 บาท

    การช้อปสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศในยุคนี้ค่อนข้างสะดวกสบาย เพราะสามารถเลือกซื้อได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางแพลตฟอร์ม Marketplace ในไทย อย่าง Shopee, Lazada, Taobao, Amazon และอีกมากมาย ที่สามารถซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ง่าย ๆ  แต่ทุกครั้งที่สั่งของมาจากต่างประเทศ ควรจะต้องคำนึงถึงการชำระภาษีนำเข้าด้วยเสมอ 

    ภาษีนำเข้าคืออะไร?

    ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยสินค้าแต่ละประเภทก็จะมีอัตราการชำระภาษีที่แตกต่างกัน ส่วนนี้ก็เพื่อปรับปรุงการค้าภายในประเทศ และเพื่อเป็นการส่งเสริมบางอุตสาหกรรมให้ดำเนินการต่อไปได้ อย่างเช่น รัฐยกเว้นภาษีให้กับเครื่องจักรการผลิต เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติม > 5 ข้อควรรู้ ส่งของไปต่างประเทศง่าย ๆ ฉบับประหยัดงบน้อย!)

    สั่งของจากต่างประเทศเสียภาษีอย่างไร?

    ภาษีนำเข้าจะเกิดขึ้น เมื่อมีการซื้อของจากต่างประเทศกลับมายังไทยหรือสั่งซื้อของออนไลน์ที่ส่งมาจากต่างประเทศ ถ้าของที่นำเข้าไทยมานั้นมีมูลค่าสูงเกินที่กำหนดไว้เราจะต้องจ่ายภาษีเพื่อนำของชิ้นนั้นเข้าประเทศ โดยจะเสียให้กับกรมศุลกากร ทุกครั้งที่มีพัสดุเข้ามาจากต่างประเทศจะต้องผ่านการตรวจประเมินราคา จากนั้นจะส่งใบเรียกเก็บภาษีไปยังผู้รับ เพื่อมาชำระและรับของที่ไปรษณีย์ 

    สินค้าราคาเท่าไหร่จึงจะเสียภาษี?

    หากราคาสินค้าที่นำเข้ามา มีมูลค่าเกิน 1,500 บาท จะต้องเสียภาษีตามอัตราประเภทสินค้าแต่ละชนิด โดยมี เทคนิคการสั่งของจากต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียภาษีแบบถูกต้อง คือ

    1. สั่งของไม่เกิน 1,500 บาท สั่งของจากต่างประเทศจะต้องคำนวณให้ดีเสมอ  กรมศุลกากรกำหนดราคาสินค้าทุกชนิด มูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษีอากรนำเข้า 

    2.สั่งของจากต่างประเทศ ผ่านบริการ  Shipping สำหรับผู้ที่สั่งสินค้าราคาเกิน 1,500 บาท ควรใช้บริการ Shipping ระหว่างประเทศ จ่ายแค่ค่าขนส่งอย่างเดียว โดยให้ Shipping เคลียร์เรื่องภาษีนำเข้าให้ได้เลย (อ่านเพิ่มเติม > อยากส่งของไปต่างประเทศ เลือกบริษัทขนส่งไหนดี?)

    อัตราภาษีนำเข้าสินค้าละประเภท

    สินค้าแต่ละประเภทจะเสียภาษีไม่เท่ากัน  ยกตัวอย่างสินค้าที่คนไทยนิยมสั่งของจากต่างประเทศ อัตราเสียภาษีนำเข้า คิดตามเปอร์เซ็นต์ดังนี้..

    • ภาษีนำเข้า 30% : เครื่องสำอาง หมวก น้ำหอม รองเท้า ผ้าห่ม ร่ม
    • ภาษีนำเข้า 20% : กระเป๋า
    • ภาษีนำเข้า 10% : CD DVD อัลบั้ม คอนเสิร์ต Power Bank หูฟัง Headphone Earphones ตุ๊กตา
    • ภาษีนำเข้า 5% : นาฬิกา แว่นตา แว่นกันแดด
    • ยกเว้นภาษีนำเข้า แต่เสีย VAT 7% : นิตยสาร Photobook คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ เมาส์ (อ่านเพิ่มเติม > 4 ทริค ส่งของไปต่างประเทศให้ราบรื่น)

    วิธีคำนวณภาษี

    จำนวนเงินที่จะนำมาคิดภาษีนั้นจะมาจาก ราคาสินค้า+ค่าจัดส่ง+ค่าประกันภัย โดยมีเกณฑ์ง่าย ๆ ตามนี้

    • รวมกันไม่เกิน 1,500 บาท ไม่ต้องจ่ายภาษี
    • รวมกันแล้วเกิน 1,500 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายภาษี

    ถ้ามีการจ่ายภาษี จะมีภาษีที่ต้องจ่าย 2 รายการด้วยกัน คือ

    • ภาษีนำเข้า = ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งของ
    • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) = 7%

    โดยสามารถคำนวณภาษีได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

    • ค่าสินค้ารวมค่าส่ง x อัตราภาษีนำเข้า (%) = ภาษีนำเข้า
    • ค่าสินค้ารวมค่าส่ง + ภาษีนำเข้าที่ต้องจ่าย x vat 7% = ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก: //article.redprice.co, //www.you.co

    ปรึกษาหรือสนใจส่งสินค้าไปต่างประเทศ

    ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-026-3165 หรือ > ขอรับใบเสนอราคา < กดที่นี่

    ซื้อของในลาซาด้าเสียภาษีไหม

    สำหรับผู้ขายบน Lazada สามารถยื่นภาษีแบบเดียวกับ Shopee แต่จะมีขั้นตอนการเก็บยอด หรือคำนวณที่ยุ่งยากกว่านิดนึงนะคะ เพราะทาง Lazada จะไม่มีรายงานยอดตามช่วงเวลา ดังนั้นทางที่ง่ายที่สุดคือ การคำนวณจากยอดขายจริง ๆ แบบยังไม่หักอะไร หรือรายได้ตามจริงซึ่งก็คือ ค่าสินค้า+ค่าขนส่ง จะสามารถนำไปคำนวณได้ง่ายกว่า

    ติดกรมศุลกากร กี่วัน

    ของนําเข้าที่เป็นสินค้าอันตรายตามชนิด หรือประเภทที่กําหนด ตามมาตรา 5 (5) แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ซึ่งผู้นําของเข้ามิได้นําของออกไปจากเขตศุลกากรภายใน 5 วัน สําหรับของที่ขนถ่ายข้างลํา (OVERSIDE) และภายใน 7 วันสําหรับกรณีอื่น นับแต่สินค้าอันตรายอยู่ในอารักขาของศุลกากร ถ้าพ้นกําหนดแล้วสินค้าอันตรายนั้นจะตกเป็น ...

    ต้องเสียภาษีศุลกากรอย่างไร

    สูตรการคำนวณภาษีนำเข้าสำหรับหิ้วสินค้าเข้ามาเอง สามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1.อากรขาเข้า = ราคาสินค้า x อัตราภาษีขาเข้า 2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ราคาสินค้า + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 3.ภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ = อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม

    สั่งของจากต่างประเทศต้องเสียภาษีไหม

    ทุกครั้งที่มีการสั่งของจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า “ภาษีนำเข้า” ในกรณีที่มูลค่าสินค้านั้น ๆ เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ นั่นคือ เมื่อทำการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศแล้วมีราคา CIF (ราคาศุลกากร (ค่าสินค้า + ค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง + ค่าประกันภัย) สูงกว่า 1,500 บาท ซึ่งอัตราภาษีนั้นจะขึ้นอยู่กับหมวดหมู่ของ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita