เปิดร้านค้า ยื่นภาษี แบบไหน

ต้องการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา ยาสูบ ไม่ว่าจะขายส่งหรือขายปลีกจะต้องยื่นขอใบอนุญาต และเสียภาษีที่ กรมสรรพสามิต เพื่อขออนุญาตจำหน่าย
  • เมื่อคุณมีรายได้ก็ทำการยื่นภาษีตามกฎหมาย ซึ่งการคิดภาษีเราคำนวนจากรายได้สุทธิ ไม่ใช่รายได้ที่ได้รับตลอดทั้งปี

  • เริ่มต้นเปิดร้านขายของชำต้องรู้กฎหมายอะไรบ้าง? จดทะเบียนกี่แบบ? ต้องเสียภาษีเยอะไหม? ขายแอลกอฮอล์ต้องขออนุญาตไหม? เป็นสิ่งที่เจ้าของร้านโชห่วยหลาย ๆ คนสงสัยและกังวลกัน วันนี้ร้านติดดาวมาตอบคำถามเหล่านี้กันแบบเข้าใจง่าย ๆ ไปดูกันเลย

    เปิดร้านขายของชำต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง

    ในการเปิดร้านขายของชำเราจะต้อง “จดทะเบียนพาณิชย์” สามารถจดได้ทั้งแบบบุคคลธรรมดาเจ้าของคนเดียว หรือจดหลายคนรวมกันในลักษณะของนิติบุคคล อย่างเช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ซึ่งจะต้องทำการจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่เริ่มเปิดธุรกิจและหากร้านของคุณมีจำหน่ายสินค้าประเภท เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา ยาสูบ ไม่ว่าจะขายส่งหรือขายปลีกจะต้องยื่นขอใบอนุญาต และเสียภาษีที่ “กรมสรรพสามิต” เพื่อขออนุญาตจำหน่าย

    จดทะเบียนพาณิชย์คืออะไร?

    จดทะเบียนพาณิชย์  คือ การจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ซึ่งเจ้าของธุรกิจไม่ว่าจะประกอบธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล จะต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อยืนยันว่าคุณทำธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง ดูรายละเอียดได้ที่

    //dbdregcom.dbd.go.th/mainsite/fileadmin/user_upload/pdf/documents_used_in_reg5.pdf

    ภาษีสรรพสามิตคืออะไร?


    ภาษีสรรพสามิต คือ การจ่ายภาษีสินค้าหรือบริการบางประเภทให้กับกรมสรรพสามิต เพื่อขอรับใบอนุญาตในการจำหน่ายสินค้า เช่น สุรา ยาสูบ และไพ่

    รายได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี

    เมื่อคุณมีรายได้ก็ทำการยื่นภาษีตามกฎหมาย แต่จะเสียภาษีไหมต้องมาคำนวณกันอีกที ซึ่งการคิดภาษีเราคำนวณจากรายได้สุทธิ ไม่ใช่รายได้ที่ได้รับตลอดทั้งปี 

    โดยการเสียภาษีสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ 

    • จ่ายแบบเหมา ไม่จำเป็นต้องยื่นหลักฐานค่าใช้จ่าย 

    • หักค่าใช้จ่ายตามจริง จะต้องเตรียมหลักฐานค่าใช้จ่ายไปยื่นด้วย

     แล้วมีรายได้เท่าไหร่เราถึงต้องเริ่มเสียภาษี เมื่อคุณมียอดขายต่อปี 500,000 บาทขึ้นไป จะเริ่มเสียภาษีขั้นบันไดอัตรา 5%  โดยสูงสุดจะไม่เกิน 1,500 บาท ต่อเดือน หากใช้แบบเหมาค่าใช้จ่ายต้นทุน 60% ของยอดขาย ถ้าหากคุณคำนวณแล้วต้นทุนของคุณสูงกว่า 60% คุณอาจไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่จะต้องยื่นเสียภาษีแบบหักค่าใช้จ่ายตามจริง โดยเก็บเอกสารใบเสร็จ ใบกำกับภาษี ที่มีข้อมูลระบุชัดเจนและถูกต้องตามที่กรมสรรพากรกำหนด และทำบัญชีราย-รายจ่าย เพื่อนำไปยื่นภาษี

     

    การจ่ายภาษีสำหรับร้านขายของชำ

    เมื่อเราทำความเข้าใจแล้วว่าการคำนวนภาษีต้องคำนวณอย่างไร และต้องมีรายได้เท่าไหร่ถึงเข้าสู่การเสียภาษี ต่อมาเราจะมาดูกันว่าร้านขายของชำแบบเราจะต้องจ่ายภาษีอะไรบ้าง แล้วต้องจ่ายเมื่อไหร่
    ถ้ามีหลายท่านที่ยังไม่ยื่นภาษีและอยากรู้ว่าทำไมร้านค้าต้องยื่นภาษีด้วย รวมถึงมีข้อสงสัยในบางประการเกี่ยวกับเรื่องนี้ PN Storetailer จะมาตอบคำถามเหล่านั้นให้คุณเองค่ะ

    เลือกเรื่องที่จะอ่านเลย ☟

    1.  

    1. ทำไมต้องยื่นภาษีร้านค้า?

    ตอบ : 1) เป็นสิ่งที่ควรทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย 

    2) เพื่อไม่ให้สรรพากรเข้ามาตรวจสอบทีหลัง

    ไม่ว่าคุณจะเป็นมนุษย์เงินเดือน หรือทำธุรกิจเปิดร้านค้าอะไรก็ตาม คุณก็จะต้อง “ยื่นภาษี” ทั้งสิ้นเพื่อแสดงรายได้ที่รับมาตลอดทั้งปีของตนเอง และเป็นสิ่งที่ควรทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย 

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร้านค้าที่เปิดทั่วไป การยื่นภาษีร้านค้ายังเป็นการทำเพื่อไม่ให้สรรพากรเข้ามาตรวจสอบคุณทีหลัง (เพราะถ้ามาตรวจสอบทีหลัง คุณอาจต้องเสียภาษีที่มากกว่าเดิมและอาจโดนปรับตามกฎหมายได้) 

    การยื่นภาษี ≠ การเสียภาษี 

    ถ้าคำนวณรายได้ทั้งปีแล้วไม่เกิน 150,000 บาท คุณก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี แต่ควรจะยื่นภาษีเพื่อความบริสุทธ์ใจของตัวคุณเอง ความน่าเชื่อถือของร้านค้าที่คุณเปิด และความถูกต้องตามกฎหมายค่ะ 

    2. เปิดร้านค้าทั่วไปต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? 

    ในการเปิดร้านที่มีหน้าร้าน โดยทั่วไปคุณจะต้องมีสถานที่ตั้งและป้ายหน้าร้าน คุณจึงจะต้องเสียภาษีดังนี้ค่ะ

    1) ภาษีป้าย

    2) ภาษีโรงเรือน

    ซึ่งคุณจะต้องไปเสียภาษี 2 อันนี้ที่เทศบาลท้องถิ่น หรือ อบต. 

    3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    กรณีที่เป็นร้านทั่วไปไม่ได้จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล คุณจะต้องทำรายรับ, รายจ่าย ตลอดทั้งปีของคุณเพื่อสิ้นปีจะต้องเอารายได้ทั้งหมดไปยื่นสรรพากร 

    สำหรับร้านค้าทั่วไป จะเป็นเงินได้จากธุรกิจที่มีหน้าร้านเป็นของตนเองอยู่ในมาตรา 40(8) ซึ่งจะต้องยื่นภาษีแบบ ภ.ง.ด.90 

    ปล. กรณีร้านขายของชำหรือร้านที่มีเหล้า, บุหรี่ จะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกกับกรมสรรพสามิต 

    3. ทำบัญชีรายรับรายจ่ายไปทำไม?

    ตอบ : สำหรับร้านทั่วไป : การเงินและรายได้ของคุณจะชัดเจน ทำให้ง่ายต่อการคำนวณภาษี
    สำหรับร้านที่มีต้นทุนสูง และมีกำไรน้อยกว่า 40% :
    1) นำไปใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษี
    2) เพื่อให้การจ่ายภาษีตรงกับความเป็นจริง
    3) คุณจะไม่เสียเปรียบสรรพากร

    ซึ่งการจ่ายภาษีนั้น เราต้องบอกก่อนว่ามีทางเลือก 2 แบบ คือ

    1) แบบเหมา หักต้นทุน 60%

    เหมาะกับผู้ที่มีอัตรากำไรสูงถึง 40% หรือมากกว่า กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อยื่นภาษี และไม่ต้องพิสูจน์รายได้ ให้สรรพากรเก็บตามนั้นไปเลย

    2) แบบค่าใช้จ่ายตามจริง

    เหมาะกับคนที่มีต้นทุนสูง และมีกำไรน้อยกว่า 40% ซึ่งการทำรายรับ,รายจ่าย และกำไรในทุก ๆ เดือนและเอาไปสรุปสิ้นปีก็เพื่อ

    • การเงินและรายได้ของคุณจะชัดเจน เพราะคุณจะรู้รายรับ, รายจ่าย, ต้นทุน และกำไรของร้านคุณเองมากที่สุด  
    • นำไปใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษี เพราะหากไม่มีบัญชีรายรับรายจ่าย ก็จะไม่สามารถคำนวนภาษีจริง ๆ ของคุณได้ 
    • คุณจะไม่เสียเปรียบสรรพากร เพราะปกติแล้วถ้าคุณรอสรรพากรมาประเมิน พวกเขาอาจประเมินภาษีที่สูงเกินค่าใช้จ่ายจริงของคุณ (เพราะเขาจะคิดแบบเหมา 60% เหมือนกันทุกร้าน) จากที่ต้องเสียแค่ไม่กี่ร้อย อาจจะต้องเสียเป็นพันเลยก็ได้  

    » ตัวอย่างเช่น 

    ถ้าคุณเปิดร้านขายของชำ คุณมีค่าใช้จ่ายกับต้นทุนไปประมาณ 80% คุณก็จะนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามเปอร์เซ็นต์นี้ 

    แต่ถ้าคุณรอสรรพากรมาคำนวณให้ สรรพากรจะคิดต้นทุนแบบเหมาตามมาตรฐานให้คุณ 60% แน่นอนว่าการคิดต้นทุนแบบนี้มันน้อยกว่าความเป็นจริงที่คุณจ่ายไป 

    คุณอาจจะมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่สูง แถมยังมีกำไรน้อยมาก ๆ แต่การคิดต้นทุนแบบเหมาจากสรรพากรทำให้คุณก็จะต้องจ่ายภาษีสูงขึ้นไปอีก ฉะนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมคุณควรทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายค่ะ 

    สรุปก็คือ :

    ร้านค้าที่มีกำไรมากกว่า 60% ถ้าจ่ายแบบเหมา ก็ไม่ต้องทำรายรับรายจ่ายเพื่อยื่นภาษีก็ได้

    แต่สำหรับร้านที่มีกำไรน้อยกว่า 40% ทำเพื่อให้การจ่ายภาษีตรงกับความเป็นจริง (เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่สรรพากรเข้า เขาอาจจะใช้มาตรฐานการเรียกเก็บภาษีทั่วไปแบบเหมาที่ใช้กับทุกร้าน ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับรายรับ-รายจ่ายที่แท้จริงของคุณ ทำให้คุณอาจจะต้องจ่ายภาษีที่สูงกว่าเดิมได้)

    วิธีการทำบัญชีแบบทั่วไป

    • เก็บใบเสร็จหรือบิลทุกอย่างเอาไว้ เวลาจ่ายอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับร้านค้าของคุณ จะต้องขอบิลเก็บไว้ทุกครั้ง พึงนึกไว้เสมอว่า บิลทุกใบคือต้นทุน เช่น บิลจากห้างที่ไปซื้อ, บิลบริษัทขายส่ง, บิลจากรถส่งของ เป็นต้น 
    • จดต้นทุนทุกอย่างในแต่ละวันลงในตารางรายรับ-รายจ่าย
    • จดยอดขาย และสรุปกำไรไว้ในทุก ๆ วัน เพื่อนำไปรวบรวมเป็นรายได้ในแต่ละเดือน 

    หากคุณอยากทำบัญชีเอง สามารถดาวน์โหลด แบบฟอร์มตารางรายรับ-รายจ่ายของกรมสรรพากร << ได้ที่ลิ้งค์นี้เลยค่ะ 

    หรือถ้าหากคุณไม่สะดวกที่จะทำบัญชีเอง ก็สามารถจ้างคนทำบัญชีในท้องถิ่นของคุณได้ ซึ่งการจ้างคนทำบัญชีน่าจะคุ้มกว่าการที่คุณจ่ายเงินให้สรรพากรแบบเหมาค่ะ 

    » ตัวอย่างการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของร้านค้า

    〈Tips〉 : สำหรับร้านค้าที่ยื่นภาษีแบบบุคคลธรรมดา ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนแทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้นะคะ

    4. คำนวณภาษีอย่างไร?

    การคำนวณภาษีร้านค้าแบบมาตรฐานทั่วไปแบบเหมา สำหรับคนที่ยื่นภาษีบุคคลธรรมดา จะต้องคำนวณคร่าว ๆ ดังนี้ 

    “รายได้ 1 ปี 

    หักต้นทุน 60%

    หักลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่นบาท”

    ถ้าเกิน 150,000 บาท คุณต้องเสียภาษี 

    » ตัวอย่างการคำนวณที่ 1

    ขายของมีรายได้วันละ 1,000 บาท (คิดเป็นเดือนได้ 30,000 บาท) 

    รายได้ 1 ปี จะมีทั้งหมด = 360,000 บาท 

    หักต้นทุน 60% จะเหลือ = 144,000 บาท

    หักลดหย่อน 6 หมื่น จะเหลือ = 84,000 บาท (ไม่เกิน 150,000 = ไม่ต้องเสียภาษี

    » ตัวอย่างการคำนวณที่ 2 

    ขายได้วันละ 2,000  (เดือนละ 60,000 บาท) 

    รายได้ 1 ปี = 720,000 บาท

    หักต้นทุน 60% จะเหลือ = 288,000 บาท

    หักลดหย่อน 6 หมื่น จะเหลือ = 228,000 บาท

    จะเท่ากับว่ารายได้ของคุณ เกินแสนห้ามา 78,000 บาท จะโดนภาษี 5% = 3,900 บาท 

    〈Tips〉 : กรณีต้นทุนของคุณสูงกว่า 60% คุณจะสามารถยื่นหลักฐานจำนวนต้นทุนเพิ่มได้ 

    • การทำบัญชีอย่างละเอียด 
    • บันทึกต้นทุนให้ครบ 
    • เก็บเอกสารและบิลทุกบิลไว้อย่างดี

    คุณจะสามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้มากกว่า 60% 

    ส่วนถ้าหากคุณไม่ทำบัญชี แม้ต้นทุนจริง ๆ ของคุณจะมากน้อยแค่ไหน สรรพากรเขาก็คิดเหมาให้แค่ 60% ค่ะ 

    • การลดหย่อนภาษี

    ในการลดหย่อนภาษีโดยปกติแล้วคุณจะได้ค่าลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่นบาท นอกจากนี้ยังมีอื่น ๆ อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น  

    • ลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร, ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่
    • ประกัน เช่น ประกันสังคม, ประกันสุขภาพ, ประกันชีวิต 
    • กองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุน RMF
    • มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น ช้อปช่วยชาติ, เที่ยวทั่วไทย เที่ยวเมืองรอง
    • เงินบริจาค เช่น พรรคการเมือง, การศึกษา, กีฬา 

    ซึ่งแต่ละคนจะได้ค่าลดหย่อนภาษีต่างกันออกไป สำรวจให้ดี ๆ ว่าคุณมีสิทธิ์ลดหย่อนอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์และช่วยให้คุณลดหย่อนภาษีได้มากกว่าเดิม รวมถึงมันจะส่งผลให้คุณเสียภาษีในจำนวนที่น้อยลงนั่นเองค่ะ 

    5. ไม่ยื่นภาษีร้านค้าจะเป็นไรไหม?

    ตอบ : หากคำนวณภาษีแล้วไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องจ่าย ก็อาจไม่ส่งผลอะไร

    แต่หากถึงเกณฑ์ แต่คุณไม่ได้ยื่นและจ่ายภาษี เมื่อสรรพากรเข้ามาตรวจสอบ คุณอาจจะต้องได้เสียภาษีและโดนค่าปรับจากการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

    การที่คุณไม่แสดงตัวตน ไม่ยื่นภาษีร้านค้าของคุณเอง อาจจะยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นหากสรรพกรไม่เข้ามาตรวจสอบ แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งที่สรรพากรเพ่งเล็งร้านค้าของคุณแล้วเข้ามาตรวจสอบ พร้อมกับถามว่าคุณยื่นภาษีร้านค้าแล้วหรือยัง? วันนั้นคุณอาจจะต้องได้เสียภาษีและโดนค่าปรับจากการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ในกรณีที่รายได้ของคุณอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องจ่าย 

    หากคุณเปิดร้านค้าแล้วถ้าไม่อยากเจอแจ็คพ็อตแบบนี้ ก็แสดงตัวตนด้วยการยื่นภาษีเพื่อความสบายใจและความถูกต้องตามกฎหมายนะคะ 

    โทษของการไม่ยื่นภาษี 

    • กรณีไม่ยื่นภาษี หรือแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90,91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
    • ถ้าเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเลี่ยงภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ → กรณีไม่ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกำหนดเวลา)

    6. สิ่งที่ต้องเตรียมในการยื่นภาษี 

    1. หลักฐานแสดงรายรับ – รายจ่าย ของร้านคุณทั้งปี
    2. หลักฐานต้นทุนทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ใบเสร็จหรือบิลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ, บิลต้นทุนการซื้อสินค้า, ใบกำกับภาษี, บิลค่าน้ำ ค่าไฟ, บิลค่าเช่าที่ ฯลฯ 
    3. รายการลดหย่อนภาษีทั้งปีที่คุณมี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร, กองทุนและประกันต่าง ๆ 
    4. เอกสารประกอบการลดหย่อน เพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น เบี้ยประกันชีวิต, จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน

    7. ยื่นภาษีได้ที่ไหน? 

    การยื่นภาษี จะสามารถยื่นได้ตามนี้ 

    1. ไปยื่นได้ด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร
    2. ยื่นผ่านแอปพลิเคชั่น RD Smart Tax แต่ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรก่อน
    3. ยื่นภาษีออนไลน์ ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร rd.go.th

    หากคุณอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ → คู่มือภาษีสำหรับผู้ประกอบการ

    ✔สรุป

    “การยื่นภาษีร้านค้า” เป็นเรื่องที่คนเปิดร้านค้าควรทำ เพราะถ้าเราไม่ศึกษาและไม่เข้าไปยื่นด้วยตัวเองตั้งแต่แรก สุดท้ายแล้วถ้าคุณมีหน้าร้าน สรรพากรก็จะเข้ามาตรวจสอบร้านค้าของคุณและเรียกเก็บภาษีที่ร้านค้าของคุณอยู่ดี 

    และถ้าเมื่อไหร่ที่สรรพากรเข้า เขาอาจจะใช้มาตรฐานการเรียกเก็บภาษีทั่วไปแบบเหมาที่ใช้กับทุกร้าน ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับรายรับ-รายจ่ายที่แท้จริงของคุณ ทำให้คุณอาจจะต้องจ่ายภาษีที่สูงกว่าเดิมได้ คุณจึงควรจะ

    • เก็บหลักฐานต้นทุนทั้งหมดไว้ 
    • บันทึกรายรับ-รายจ่ายทั้งปีอย่างครบถ้วน 
    • เช็คลิสต์รายการลดหย่อนภาษีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 
    • ยื่นภาษีด้วยตัวเอง 

    นั่นจะทำให้คุณได้จ่ายภาษีที่ถูกต้องและสมเหตุสมผลตามจำนวนที่ควรเป็นค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณจะต้องซื่อสัตย์ด้วยนะคะ ป้องกันโทษที่จะตามมาภายหลังด้วยเน้อ 

    ผู้เขียนเข้าใจว่าทุก ๆ คนมีเหตุผลที่น่าหนักใจเกี่ยวกับการเสียภาษี แต่มันก็เป็นเรื่องที่หลีกหนีไม่พ้นน่ะเนอะ ยังไงเราก็เป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการทุกคนนะคะ ใครที่ยังให้สรรพกรมาเก็บเองอยู่ ลองทำแล้วไปยื่นด้วยตัวเองดูน้าา

    ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก

    • ยื่นภาษีกับ 10 คำถามที่พบบ่อย : itax
    • วิธียื่นภาษีออนไลน์ : finspace 
    • เปิดร้านต้องเสียภาษีอะไรบ้าง : youtube/บ้านบัญชี T.O.Y.    
    • ร้านค้า บุคคลธรรมดา ยอดขายเท่าไหร่เริ่มเสียภาษี : youtube/YANAKON CHANNEL
    • สิทธิลดหย่อน 2564 : bolttech
    • ปรึกษาเรื่องภาษีร้านค้าใน Pantip : pantip/topic/30191487 
    • เอกสารเตรียมยื่นภาษีออนไลน์ : bangkokbiznews 
    • เตรียมเสียภาษี!! ร้านค้า “เราชนะ” ต้องยื่นภาษีแล้ว : youtube/
      9 MCOT Official
       
    • การทำบัญชี : accountingcenter
    • เปิดร้านขายของชำเล็กๆแต่โดนภาษีจ่ายไม่ไหว : moneyduck
    • อยากรู้ว่า ร้านขายของชำต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ? เท่าไหร่ ยังไงคะ? pantip/topic/36963784 
    • เลขประจำตัวประชาชนใช้แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร : rd.go.th 

    ดูบทความทั้งหมด

    บทความแนะนำ

    เศรษฐกิจแบบนี้.. เปิดร้านขายอะไรดี?

    เศรษฐกิจแบบนี้ขายอะไรดี, เปิดร้านขายอะไรดีในหมู่บ้าน, เปิดร้านอะไรดี ติดถนน, เปิดร้านขายอะไรดี ต่างจังหวัด ? ไปหาคำตอบกับไอเดียเหล่านี้กัน

    08
    พ.ค.

    10 นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ในวงการค้าปลีก

    สร้างแรงบันดาลใจการเริ่มต้นกิจการด้วย 10 นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวงการค้าปลีก พวกเขาทำอย่างไร? ถึงเป็นมหาเศรษฐีติดอันดับรวยมากที่สุด ทั้งในไทยและระดับโลก

    31
    พ.ค.

    รวมสุดยอดโมเดลธุรกิจ..เสกร้านค้าปลีกให้ขายดีขึ้น

    “โมเดลธุรกิจที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจของคุณสร้างกำไรได้อย่างมหาศาล” อาจจะดูเว่อร์ไปหน่อย แต่มันเกิดขึ้นจริงมาแล้วกับธุรกิจประสบความสำเร็จ 

    เปิดร้านต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

    เริ่มเปิดร้านขายอาหาร.
    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เราต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ ... .
    ภาษีเงินได้นิติบุคคล ... .
    ภาษีมูลค่าเพิ่ม.

    พ่อค้าแม่ค้ายื่นภาษีแบบไหน

    เรื่องที่พ่อค้าแม่ค้าต้องระวังก็คือ หากมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนำส่งให้กรมสรรพากร โดยต้องจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ เพื่อยื่นแบบ ภ.พ.30 นำ ส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน และ ชำระเงินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

    ขายอาหารยื่นภาษีแบบไหน

    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในครั้งที่ 2.

    ร้านค้ายื่นภาษี ภงด อะไร

    ภาษีเงินได้นิติบุคคล เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยยื่น แบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ .ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี

    กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita