พ.ร.บ.คุ้มครองครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 จะมีผลใช้บังคับในวันที่เท่าใด?

PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองส่วนบุคคล คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อ 27 พฤษภาคม 2562 โดยระบุให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชน หรือหน่วยงานภาครัฐ ต้องไม่นำเอาข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ที่เราไม่ยินยอม

  • เพื่อไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว
  • เพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลในกรณีที่ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้น ได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม เช่น รูปกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวหนังสือรูปภาพหรือเสียง โดยครอบคลุมตั้งแต่ ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล์ นอกจากนี้กฎหมายยังคุ้มครองไปถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความเห็นทางการเมือง ความเชื่อ ลัทธิ ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลทางด้านสุขภาพ ข้อมูลทางพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ Cookies ID EMEI หรือ Device ID ที่สามารถเชื่อมต่อ Server ได้เพื่อระบุตัวอุปกรณ์แม้ไม่เปิดเผยชื่อ – นามสกุลผู้ใช้เลยก็ตาม

เอกชนและภาครัฐ (บุคคลหรือนิติบุคคล) รวมไปถึงนิติบุคคลที่จัดตั้งในต่างประเทศ ซึ่งทำการเก็บรวมรวม ใช้ เปิดเผยและหรือ โอนข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลในประเทศไทย

  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) คือ ข้อมูลส่วนบบุคคลที่สามารถเชื่อมโยงถึงบุคคลที่มีชีวิต ที่สามารถระบุตัวตนได้ บุคคลดังกล่าวเรียกว่า เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ “ตัดสินใจ” เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล “ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าว ต้องไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

  • โทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และหรือ ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท
  • โทษทางแพ่ง จ่ายค่าสินไหมไม่เกิน 2 เท่าของค่าสินไหมที่แท้จริง
  • โทษทางปกครองปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท

สิ่งที่องค์กรต้องเตรียมพร้อมกับ พระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล คือ ทำ Privacy policy และ บันทึกกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคลโดยต้องจัดให้มีมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลียนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจโดยมิชอบ เช่น 

  • มีนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policies)
  • มีการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย (Consent Management)
  • มีการประเมินความเสี่ยงของข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Risk Assessment)

ดังนั้นการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในองค์กรและจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับดังต่อไปนี้

  • การกำกับดูแลของกรรมการและผู้บริหารและการมีส่วนร่วมของบุคคลในองค์กร
  • การออกแบบกระบวนการที่มีการสอดแทรกมาตรการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงาน การฝ่าฝืนนโยบาย และมาตรการที่กำหนดไว้ รวมถึงการวิเคราะห์ ตรวจสอบ ค้นหาและตอบสนองต่อภัยคุกคามจากภายนอก

ทางบริษัท เวิลด์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี่ จำกัด มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถเข้ามาช่วยองค์กรในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและปฎิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สอบถามรายละเอียด ติดต่อ

บริษัท เวิลด์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี่ จำกัด

โทร : 02-237-3555

พ.ร.บ.คุ้มครองครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 จะมีผลใช้บังคับในวันที่เท่าใด? 2019

มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา วันที่27 พฤษภาคม 2562) ยกเว้นหมวด 1 คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และหมวด 4 สานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีผลใช้บังคับทันที

การบังคับใช้ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จะมีผลใช้บังคับอย่างสมบูรณ์ เมื่อใด

พระราชบัญญัติ + พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.. 2562 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562) <<เข้าชม>> + Personal Data Protection Act, B.E. 2562 (2019) (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562) <<เข้าชม>>

กรณีใดต่อไปนี้สามารถเก็บ รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม

กรณีเป็นการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย “ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายรักษาชีวิต ร่างกายหรือสุขภาพเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงเพื่อประโยชน์สาธารณะสามารถทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ตาม มาตรา 24(2))

พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พศ. 2562 มีข้อกําหนดที่เป็นสาระสําคัญ อะไรบ้าง

1. สิทธิได้รับแจ้งรายละเอียดในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (Right to be informed) 2. สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access) 3. สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability) 4. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita