โรคประสาทหูเสื่อมจากการทํางาน สาเหตุ

การได้ยินถือเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ หากขาดหายไปจะทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันนั้นทำได้ยากขึ้น ปัญหาการได้ยินนั้นมีหลายอย่าง เช่น เส้นประสาทหูที่เสื่อมสภาพ บางรายเสื่อมลงตามอายุขัย แต่บางรายเสื่อมเพราะพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อย่างอุปกรณ์หูฟังที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย ก็มีส่วนที่ทำให้ประสาทหูเสื่อมได้เช่นกัน เราควรหันมาให้ความสำคัญและปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม เพื่อจะช่วยรักษาสุขภาพหูให้อยู่กับเราไปนานๆ

โรคเส้นประสาทหูเสื่อม

ที่ทำให้การได้ยินของคนเรานั้นถดถอยลง เป็นไปได้ทั้งอาการเสื่อมตามวัย และเสื่อมตามพฤติกรรมหรือสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน อาการเสื่อมตามวัยมักจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยหูจะได้ยินลดลงทีละน้อย รวมถึงมีเสียงวี้ดในหู เสียงที่ได้ยินมักเป็นเสียงที่มีความถี่สูง

โดยปกติเสียงที่ควรได้ยินไม่ควรดังเกิน 80 เดซิเบลและนานต่อเนื่องเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน

ซึ่งปกติคนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเสียงดัง มีสิทธิสูงต่อการป่วยเป็นโรคเส้นประสาทหูเสื่อม ซึ่งจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เหมือนคนที่เกิดอาการตามวัย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีกฏหมายควบคุมโรงงานในเรื่องของเสียงกำหนดอยู่หากเสียงดังเกิน 80 เดซิเบล ระยะเวลาในการได้รับฟังต่อเนื่องก็จะต้องลดลงให้น้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ที่สำคัญตามโรงงานจะมีอุปกรณ์ครอบหูให้พนักงานใช้ แต่ปัญหาคือพนักงานจะไม่ค่อยชอบใช้อุปกรณ์นี้ เนื่องจากไม่รู้สึกว่าตนเองได้รับผลกระทบในตอนต้น แต่ความจริงแล้วการกระทำแบบนี้จะส่งผลในภายหลัง โดยเสียงที่ดังในโรงงานจะค่อยๆ ทำลายเส้นประสาทหูลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเสื่อมและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในที่สุด

บางกรณีถ้าหากไม่ได้ค่อยเป็นค่อยไป หรือสูญเสียการรับฟังแบบเฉียบพลัน

อาจเกิดจากการได้ยินเสียงที่ดังมากๆ เช่น ระเบิด เป็นเสียงดังทีเดียวแต่ก็สามารถทำให้สูญเสียการได้ยินได้ในทันที เพราะเส้นประสาทได้ถูกทำลายไปแล้ว อาการหูดับไปเลย คนไข้จะได้ยินเสียงวี้ด แล้วไม่ได้ยินอะไรอีก อาการนี้เป็นแบบเฉียบพลัน เนื่องจากเสียงที่ดังเกินไป ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรง ส่งผลให้เซลล์ถูกทำลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะตกที่ความถี่สูง แต่อาการแบบนี้จะสามารถรักษาได้ถ้าหากคนไข้มารับเข้าการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยต้องรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ยิ่งเร็วเท่าไรโอกาสที่จะกลับมาได้ยินเหมือนเดิมยิ่งสูงมากเท่านั้น

นอกจากนี้อาการเส้นประสาทหูเสื่อม ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมาย

อย่างในกรณีที่ได้ยินบ่อยก็คือน้ำในหูไม่เท่ากัน เกิดจากสาเหตุของท่อน้ำในหูชั้นในโป่งและแตก สาเหตุที่ท่อน้ำนี้โป่งขึ้น อาจมาจากการทานเค็ม หรือมีการผลิตน้ำมากเกินไป หรือมีการดูดซึมของน้ำที่น้อย ทำให้ท่อโป่งและเมื่อโป่งมากๆ จะทำให้แตก ทำให้เกิดภาวะไม่เท่ากันของเกลือแร่ เมื่อไม่เท่ากัน เส้นประสาทหูจะรับการได้ยินที่ไม่ดีในที่สุด

โดยส่วนมากอาการที่เกิดจากน้ำในหูไม่เท่ากัน จะมีอาการวิงเวียนบ้านหมุนตามมาด้วย ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ 20 นาทีหรือนานเป็นชั่วโมง อาการน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นแตกต่างจากผู้ที่เกิดขึ้นตามวัย เพราะมันตกที่ความถี่ต่ำก่อน คนไข้อาจรู้สึกว่าเสียงในหูดังเป็นเสียงต่ำๆ ที่ความถี่ต่ำ และร่างกายจะมีการซ่อมแซมในส่วนที่แตก เมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้วจะกลับมาได้ยินปกติ คนที่เป็นโรคนี้มักจะเดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหายสลับกัน

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากส่งผลต่อการเสื่อมของเส้นประสาท อย่างเช่น

เนื้องอกของเส้นประสาท และมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป และมักจะเกิดขึ้นเพียงข้างเดียว ถ้าหากใครที่รู้สึกว่าไม่ค่อยได้ยินและเป็นเพียงข้างเดียว ทั้งที่ไม่มีปัจจัยอื่นเกี่ยวข้องเลย ให้รีบพบแพทย์จะดีที่สุด เพราะทางการแพทย์จะมีวิธีตรวจว่าเป็นส่วนของเนื้องอกในสมอง หรือเส้นประสาทที่มันลึกเข้าไปหรือไม่

วิธีการสังเกตตัวเองเกี่ยวกับโรคเส้นประสาทหูเสื่อม

คือถ้าหากใครที่รู้สึกผิดปกติในการได้ยิน หรือได้ยินลดลง ให้รีบพบแพทย์ โดยไปพบตั้งแต่รู้สึกว่าเริ่มมีอาการ อย่ารอให้เรื้อรัง เพราะการรักษาตั้งแต่ต้นจะช่วยให้รักษาได้ผลดีกว่าทิ้งไว้นานๆ

สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรค ได้แก่

กลุ่มผู้สูงอายุ ที่เส้นประสาทเสื่อมตามวัย และกลุ่มที่ทำงานในโรงงาน ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหลัก รวมถึงกลุ่มคนที่ทำงานในสถานที่เที่ยวกลางคืน โดยสถานที่เหล่านี้มีความดังอยู่ที่ 100-120 เดซิเบล คนที่ทำงานในสถานที่ดังกล่าวจะต้องได้รับความดังที่เกินมาตรฐานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานโดยเฉลี่ย 7 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ จึงจัดเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ใช้หูฟังเป็นประจำ คนกลุ่มนี้มักรู้สึกคุ้นชินกับการฟังเสียงที่ดัง และรู้สึกว่ามันไม่ดัง ซึ่งความจริงแล้วค่อนข้างดัง และส่งผลให้ประสาทหูเสื่อมได้เช่นกัน โดยในส่วนนี้จะเกิดจากพฤติกรรมของตนเอง

โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีเส้นประสาทหูปกติดี จะสามารถได้ยินเสียงที่ระดับ 25 เดซิเบล แต่ถ้าหากต้องใช้เสียงที่ดังมากกว่านี้จึงจะได้ยิน นั่นแสดงว่าเส้นประสาทหูเริ่มเสื่อม และถ้าหากต้องใช้ระดับเสียงที่ดังมากถึง 40 เดซิเบล จึงจะได้ยิน แบบนั้นจัดเป็นผู้พิการที่ต้องใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเป็นเครื่องช่วยขยายเสียง

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
และอ.นพ. ธเนศ แก่นสาร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | ลัดคิวหมอ เส้นประสาทหูเสื่อม” ได้ที่นี่

YouTube: //youtu.be/GGS2sxU6Wwo

การได้ยิน หู หูเสื่อม ประสาทหูเสื่อม สูญเสียการรับฟังแบบเฉียบพลัน น้ำในหูไม่เท่ากัน โรคเส้นประสาทหูเสื่อม

โรคประสาทหูเสื่อมจากการประกอบอาชีพ เป็นภาวะการเสื่อมของประสาทหู เนื่องจากสัมผัสกับเสียงดังที่เกิดจากการทำงาน อาชีพกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ บุคคลที่ต้องทำงานอยู่กับเสียงดัง ดังนี้

  • ลูกจ้างของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ โรงทอ โรงงานถลุงเหล็ก โรงเลื่อย เป็นต้น
  • นอกโรงงาน ได้แก่ คนขับรถตุ๊กตุ๊ก รถอีแต๋น ตำรวจจราจร บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีปัญหาการจราจร เป็นต้น

องค์ประกอบที่ทำให้ประสาทหูเสื่อมเนื่องจากเสียง

  1. ความเข้มของเสียง เสียงดังมากจะยิ่งทำลายประสาทหูมาก
  2. ความถี่ของเสียง เสียงที่มีความถี่สูงหรือแหลมจะทำลายประสาทหูมากกล่าเสียงที่มีความถี่ต่ำ
  3. ระยะเวลาที่ได้ยินเสียง ยิ่งสัมผัสกับเสียงเป็นเวลานาน ประสาทหูจะยิ่งเสื่อมมาก
  4. ลักษณะของเสียงที่มากระทบ เสียงกระแทกไม่เป็นจังหวะ จะทำลายประสาทหูมากกว่าเสียงที่ดังติดต่อกันไปเรื่องๆ
  5. ความไวต่อการเสื่อมของหู เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จะเกิดประสาทหูเสื่อมได้ง่ายกว่าคนปกติ

การสูญเสียการได้ยิน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ

  1. การสูญเสียการได้ยินอย่างเฉียบพลัน เมื่อได้ยินเสียงระเบิด เสียงปืน เป็นต้น
  2. การสูญเสียการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป เกิดขึ้นในผู้ที่ทำงานอยู่ในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานานๆ เช่น โรงทอ โรงกลึง เป็นต้น

เกณฑ์การวินิจฉัยโรค

  1. ประวัติทำงานในที่ที่มีเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือได้ยินเสียงดังมากทันที
  2. ผลการทำสอบสมรรถภาพการได้ยินมีกราฟเป็นรูปตัววีที่ความถี่ 4,000 เฮิร์ต และระดับการได้ยินเกิน 25 เดซิเบล (เอ)

ระดับการได้ยิน แบ่งได้ดังนี้ (500 – 2,000 เฮิร์ต)

    • หูปกติ น้อยกว่า 25 เดซิเบล (เอ)
    • หูตึงเล็กน้อย 25-40 เดซิเบล (เอ)
    • หูตึงปานกลาง 41-55 เดซิเบล (เอ)
    • หูตึงมาก 56-70 เดซิเบล (เอ)
    • หูตึงรุนแรง 71-90 เดซิเบล (เอ)

(*ANSI 1969)

การป้องกัน เป็นการปฏิบัติตามแผนพิทักษ์การได้ยิน ดังนี้

1. การแก้ไขเพื่อลดระดับเสียง

  • ลดระยะเวลาการทำงาน
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

2. การป้องกันทางสิ่งแวดล้อม

  • กำหนดจุดอันตราย ถ้ามีเสียงดังเกิน 155 เดซิเบล (เอ)
  • ตรวจวัดเสียงบริเวณที่เป็นจุดกำเนิดเสียง หรือบริเวณที่ลูกจ้างทำงาน

3. การป้องกันที่ตัวบุคคล

  • ให้ความรู้
  • ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ปลั๊กอุดหู ที่ครอบหู

4. การตรวจการได้ยิน

  • ตรวจก่อนเข้าทำงาน
  • ตรวจระหว่างทำงาน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง

แนวทางการแก้ไข ปัญหาเสียงดังในโรงงาน ผู้ประกอบการ ต้องให้ความสำคัญต่อปัญหามลภาวะทางเสียงของโรงงานอุตสาหกรรม ทำการวิเคราะห์ ปัญหาเสียงดังเกินมาตรฐาน ของเครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมทั้งหาหนทางในการแก้ไขปัญหาเสียงดังในโรงงานอุตสาหกรรมของตน อย่างถูกต้อง ตรงจุดของปัญหา

มลภาวะทางเสียง ที่เกิดจากการผลิตในโรงงาน มีวิธีการแก้ไขได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดเสียง และความซับซ้อนของกระบวนการผลิตนั้น เช่น บางปัญหาเรื่องเสียงสามารถแก้ไขได้โดยการทำ ผนังกั้นเสียง ห้องดูดซับเสียง ท่อลดเสียง กล่องเก็บเสียง แผ่นดูดกลืนเสียง ม่านเก็บเสียง หรือ ติดฉนวนกันเสียง ลงไปตรงๆ ที่แหล่งกำเนิดเสียง ก็สามารถ ลดเสียงดังรำคาญ ลงได้จนเป็นที่น่าพอใจ แต่บางปัญหา ต้องถึงกับปรับเปลี่ยน หรือ ดัดแปลงอุปกรณ์ หรือ วิธีการผลิตไปเลย จึงจะสามารถ แก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง ได้หายขาดก็มี แนวทาง การแก้ไขที่สำคัญจึงอยู่ที่ “การจำกัด หรือเปลี่ยนแปลงแหล่งกำเนิดเสียง ให้อยู่ในทิศทางที่เราต้องการ หรือ ลดระดับความเข้มของพลังงานเสียง ให้กลายเป็นพลังงานความร้อน หรือพลังงานอย่างอื่นแทน”

ประสาทหูเสื่อมเกิดจากอะไร

การสูญเสียการได้ยินจากประสาทหูเสื่อมนั้นเกิดได้จาก 3 สาเหตุหลัก ๆ คือ หูชั้นใน ประสาทหู และระบบประสาทส่วนกลาง หนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการสูญเสียการได้ยินจากประสาทหูเสื่อมที่เกิดจากหูชั้นใน คือประสาทหูเสื่อมตามอายุ (Presbycusis) ซึ่งถือ เป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยอันดับต้น ๆ ในผู้สูงอายุ รบกวนชีวิตประจำวันและ ...

อาชีพใดที่เกี่ยวข้องกับโรคประสาทหูเสื่อม

อาชีพเสี่ยงโรคประสาทหูเสื่อม.
งานอุตสาหกรรมโลหะ.
งานตัดไม้ เลื่อยไม้.
อุตสาหกรรมสิ่งทอ.
อุตสาหกรรมยางและพลาสติก.
อาชีพขับรถรับจ้าง.

ประสาท หู เสื่อม รักษา อย่างไร

การรักษา.
ให้ยากินเพื่อลดการอักเสบของประสาทหูและเซลล์ประสาทหู ฉีดยาเข้าหูชั้นกลางโดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานที่กินยาแล้วไม่ดีขึ้น.
ให้ยาขยายหลอดลมเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น.
ยาวิตามินช่วยบำรุงประสาทหูที่เสื่อม.
ยาลดอาการเวียนศีรษะ.

โรคประสาท หูเสื่อม รักษาได้ ไหม

ในปัจจุบัน ผู้ป่วยประสาทหูเสื่อมยังไม่สามารถรักษาให้หายดีด้วยการผ่าตัด แต่ทำได้เพียงการใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเป็นเครื่องขยายเสียงขนาดเล็กที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้โดยไม่ติดขัด และการผ่าตัดประสาทหูเทียม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยฟังที่ต้องผ่าตัดแล้วฝังไว้ในอวัยวะรับเสียง โดยจะมี ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita