ภัย พิบัติ ทางธรรมชาติ ใน ประเทศไทย ข้อ ใด ไม่ ได้ เกิดจากสาเหตุ ตาม ที่ ระบุ ไว้

ไม่มีใครรู้ว่าโลกร้อนมากเพียงใดที่จะ “ปลอดภัย” แต่ที่เรารู้ก็คือ ภาวะโลกร้อนกำลังก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้คนและระบบนิเวศ ความจริงที่เราเห็นได้ก็คือ ธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย น้ำแข็งขั้วโลกสลาย ชั้นดินเยือกแข็ง (Permafrost) ที่อุ่นขึ้น ปะการังที่กำลังตาย ระดับน้ำทะเลที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ระบบนิเวศที่กำลังเปลี่ยนแปลง และคลื่นความร้อนที่ทำให้ถึงแก่ความตายได้

ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่กำลังเป็นประจักษ์พยานของความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ตั้งแต่ชนเผ่าอินูท์ในทวีปอาร์กติกทางตอนเหนือสุด จนถึงชาวเกาะใกล้เส้นศูนย์สูตร ผู้คนกำลังดิ้นรนเพราะผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

  • 9 วิธีที่มนุษย์เปลี่ยนสภาพภูมิอากาศยุคปัจจุบันไปตลอดกาล

  • เรากำลังเผชิญกับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น เรากำลังประสบกับภาวะโลกร้อนที่อันตรายแล้ว และเราต้องลงมือกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อนอันเป็นหายนะ ในขณะที่ยังไม่ทราบถึงผลกระทบทั้งหมดในระดับภูมิภาค ผลกระทบต่อไปนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหากเรายังปล่อยให้สภาพในปัจจุบันดำเนินต่อไป

ผลกระทบที่น่าจะเกิดขึ้น และผลกระทบในตอนเริ่มต้นจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นเล็กน้อยถึงปานกลาง

  • ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
  • ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง และป่าที่กำลังตาย
  • มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และ น้ำท่วม ในปัจจุบันความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า
  • ผลกระทบรุนแรงในระดับภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ในยุโรป จะเกิดน้ำท่วมจากแม่น้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ส่วนมากของทวีป และตามพื้นที่ชายฝั่งจะเสี่ยงต่อน้ำท่วม การกัดเซาะ และ การสูญเสียพื้นที่ในทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • ระบบทางธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ธารน้ำแข็ง ปะการัง ป่าชายเลน ระบบนิเวศของทวีปอาร์กติก ระบบนิเวศของเทือกเขาสูง ป่าสนแถบหนาว ป่าเขตร้อน เขตลุ่มน้ำในทุ่งหญ้า และ เขตทุ่งหญ้าในท้องถิ่น จะถูกคุกคามอย่างรุนแรง
  • สัตว์สายพันธุ์ต่างๆ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น และเกิดความสูญเสียด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ผลกระทบที่รุนแรงกว่าจะตกอยู่กับประเทศยากจน ได้แก่ ประเทศที่กำลังพัฒนาของทวีปแอฟริกา เอเชีย และ มหาสมุทรแปซิฟิค ที่มีความสามารถน้อยที่สุดในการป้องกันตนเองจากระดับทะเลที่สูงขึ้น การแพร่กระจายของเชื้อโรค และ ผลผลิตภาคเกษตรที่ต่ำลง
  • ภาวะโลกร้อนทุกระดับจะทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาทุกข์ทรมานมากที่สุด

ผลกระทบร้ายแรงในระยะยาวหากโลกร้อนยังดำเนินต่อไป

  • พืดน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกากำลังละลาย หากไม่ควบคุม ความร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจจุดชนวนให้เกิดการละลายของพืดน้ำแข็งทั้งหมดในเกาะกรีนแลนด์ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 7 เมตรเป็นเวลาหลายทศวรรษ มีหลักฐานใหม่ที่แสดงว่าอัตราของการไหลลงต่ำของน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาแสดงถึงภาวะเสี่ยงที่จะละลายทั้งหมด
  • กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติกที่ไหลช้าลง เปลี่ยนทิศทาง หรือ หยุดไหล ซึ่งส่งผลกระทบอย่างสูงในยุโรป และทำให้ระบบการไหลเวียนของมหาสมุทรผิดปกติ
  • หายนะจากการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างมหาศาลจากมหาสมุทร ซึ่งทำให้ก๊าซมีเทนในบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้โลกร้อนขึ้น

อุณหภูมิโลกยิ่งสูง ยิ่งเสี่ยงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis)

“สภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว” หรือ Extreme Weather Event  ฟังแล้วเราอาจจะไม่คุ้นหูมากนัก คำนี้เกิดขึ้นใหม่เพื่อแสดงให้เห็นถึงภัยทางธรรมชาติที่ส่งผลรุนแรงและบ่อยขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น คลื่นความร้อน ภัยแล้ง พายุฝน เหล่านี้มีแนวโน้มจะเกิดบ่อยขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มนุษย์เป็นผู้ก่อขึ้น ประโยคนี้เป็นใจความของรายงานในการประชุมของสหภาพธรณีวิทยาอเมริกา (the American Geophysical Union) ในซานฟรานซิสโก

ยกตัวอย่างเช่น ภัยแล้งและพายุฝนที่ดูเป็นภัยที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน แต่กลับมีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงขึ้นจากกิจกรรมการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษย์ ก็ทำให้น้ำมีแนวโน้มที่น้ำจะระเหยไปในอากาศมากขึ้น จึงเกิดฝนบ่อยขึ้นนั่นเอง 

  • ถึงเวลาประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ
  • เรากำลังเผชิญกับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังทำให้ภัยแล้งรุนแรงมากกว่าเดิม โดยข้อมูลจาก Center for Climate and Energy Solutions (CCES.) ระบุว่าเมื่อน้ำระเหยขึ้นไปในอากาศในปริมาณที่มากขึ้นก็เป็นสาเหตุที่น้ำในดินหายไปและทำให้เกิดความแห้งแล้ง นอกจากนี้ อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังเชื่อมโยงไปถึงการเกิดไฟป่าที่บ่อยขึ้น และแม้ว่าไฟป่าจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปรากฎการณ์นี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้หลายๆภูมิภาคเกิดความแห้งแล้ง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าซึ่งส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าและมนุษย์

ถัดจากความแห้งแล้ง การละลายของน้ำแข็งเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นก็ทำให้โลกของเราแปรปรวนไม่น้อย เพราะจากการสันนิษฐานของสถาบันวิจัยสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) คาดว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นต้นมา เกิดการละลายของน้ำแข็งในทวีปกรีนแลนด์ครั้งใหญ่ถึง 7 ครั้ง คุกคามอีกหลายพันล้านชีวิตและมีส่วนเร่งเร้าวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

มนุษยชาติไม่เคยถูกกดดันให้ยื้อยุดกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่หนักหน่วงเช่นนี้มาก่อน ถ้าเราไม่ลงมือทำอย่างเร่งด่วนและทันทีเพื่อหยุดภาวะโลกร้อน อาจทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่สามารถย้อนกลับคืนได้

รายงานสรุปของกรีนพีซเรื่อง รายงานการประเมินฉบับที่ ของ IPCC
ธนาคารโลกเพนตากอนเตือนภัยรุนแรงของโลกร้อน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita