ข่าว กรณี ตัวอย่าง ของ ผล ที่ เกิด จากการเปิดเสรี ทางการ ค้าของ ประเทศไทย

เขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA)

หมายถึง การรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มลง ให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0 % และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า (goods) โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลัก แต่เขตการค้าเสรีในระยะหลังๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านบริการ (services) และการลงทุนด้วย นอกจากนี้การทำความตกลงฯ กับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหภาพยุโรป หรือ สหรัฐฯ ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเหล่านี้จะผนวกเงื่อนไขทางสังคมและการรักษาสภาวะแวดล้อมเช่นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน และการควบคุมมลภาวะเข้าไว้ในข้อตกลงด้วย

เขตการค้าเสรีที่ไทยมีภาระผูกพันในปัจจุบัน

คือ AFTA (AEC) อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลีใต้ อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อาเซียน-อินเดีย ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-ญี่ปุ่น ไทย-เปรู ไทย-ชิลี และไทย-อินเดีย

สาเหตุที่ประเทศต่างๆ ให้ความสนใจจัดทำเขตการค้าเสรี

     1) การเปิดเจรจาการค้ารอบใหม่ของ WTO ล่าช้า ประเทศต่างๆ จึงได้หันมาพิจารณาจัดทำเขตการค้าเสรีมากขึ้น เพื่อให้มีผลคืบหน้าในการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรมมากกว่าและรวดเร็วกว่าการเปิดเสรีในกรอบ WTO

     2) การที่ประเทศจีน ซึ่งมีประชากรจำนวนมหาศาล มีตลาดภายในที่มีขนาดใหญ่และมีแรงงานราคาถูก มีศักยภาพในการผลิต การบริโภค และการส่งออกสูง ได้ เข้าเป็นสมาชิกของ WTO ทำให้ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ โดยสินค้าและบริการของจีน (ซึ่งมีข้อได้เปรียบทางต้นทุน) จะได้รับ สิทธิโดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า หรือเสียภาษีในอัตราที่ต่ำ รวมทั้งประเทศสมาชิกต่างๆ จะมีการลดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีให้เหลือน้อยที่สุด ส่งผลให้สินค้าและบริการของประเทศสมาชิกสามารถเข้าสู่ตลาดได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

ด้วยเหตุนี้ ประเทศต่างๆ ทั้งที่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา จึงต้องปรับนโยบายและกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและอำนาจต่อรองทางการค้าของตนเพื่อรองรับผลกระทบจากการก้าวเข้ามาของจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ในตลาดโลก

     3) การทำเขตการค้าเสรีเป็นการให้แต้มต่อ หรือให้สิทธิพิเศษทางการค้าและการลงทุนแก่ประเทศที่เข้าร่วมโดยไม่ขัดกับ WTO (หากปฏิบัติตามเงื่อนไข) ซึ่งจะทำให้มีการขยายการค้าและการลงทุน ระหว่างประเทศที่ร่วมทำเขตการค้าเสรี และในทางกลับกัน ก็เท่ากับส่งผลกระทบต่อประเทศที่อยู่นอกกลุ่มที่จะค้าและลงทุนกับประเทศที่ อยู่ในกลุ่มเขตการค้าเสรีได้น้อยลง จึงเป็นแรงกระตุ้นให้หันมาพิจารณาจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศอื่นด้วยเช่น กัน

     4) หลายประเทศได้ใช้การจัดทำเขตการค้าเสรีเป็นยุทธวิธีในการสร้างพันธมิตรด้าน เศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งเป็นการสร้างฐานในการขยายการค้าและการลงทุนกับประเทศหรือกลุ่มประเทศ ในภูมิภาคอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลด้วย

     5) ประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็กแต่มีระบบเศรษฐกิจที่เปิดเสรีเต็มที่อยู่แล้ว เช่น สิงคโปร์ และชิลี ได้ใช้ยุทธวิธีนี้อย่างแข็งขัน เนื่องจากมีระดับการเปิดเสรีสูง จึงมีโอกาสที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดตลาดของประเทศที่ร่วมทำเขตการค้าเสรี ได้มาก เช่น สิงคโปร์ทำเขตการค้าเสรีกับญี่ปุ่น เป็นต้น

หลักการในการจัดทำเขตการค้าเสรีของประเทศไทย มีดังนี้

     1) การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี ควรทำในกรอบกว้าง (Comprehensive) ครอบคลุมการเปิดเสรีทั้งการค้าสินค้าและบริการ และการลงทุน รวมทั้งการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างไรก็ตามควรมีความยืดหยุ่น (Flexibility) ให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนาของประเทศคู่เจรจาเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

     2) การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีควรให้สอดคล้องกับกฎของ WTO ซึ่งมีเงื่อนไขให้การเปิดเสรีครอบคลุมการค้าสินค้า/บริการอย่างมากพอ (Substantial) สร้างความโปร่งใส และเปิดให้สมาชิกอื่นตรวจสอบความตกลง

     3) การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี ควรยึดหลักการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ (Reciprocate) และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยคำนึงถึงสถานะของไทยที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาในกรณีที่คู่เจรจาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ไทยควรเรียกร้องความยืดหยุ่นเพื่อให้มีเวลาในการปรับตัวนานกว่า หรือทำข้อผูกพันในระดับต่ำกว่า

    4) การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี ควรให้ครอบคลุมเรื่องมาตรการสุขอนามัย และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีอื่นๆ (NTM) ด้วย

    5) ความตกลงเขตการค้าเสรี ควรมีมาตรการต่างๆ เพื่อเป็นกลไกในการป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามพันธกรณี เช่น มาตรการ AD, CVD การใช้มาตรการคุ้มกัน (Safeguards) การใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร ซึ่งทำให้การดำเนินการตามพันธกรณีไม่มีผลในการเปิดตลาด รวมทั้งกำหนดกลไกการยุติปัญหาหรือข้อพิพาทอย่างเป็นธรรม

     6) ในการจัดทำเขตการค้าเสรีควรให้มีผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว ทั้งนี้ อาจมีการเจรจา ตกลงในเรื่องที่จะเป็นการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ระหว่างกันก่อน (Early Harvest)

 

สถานะการเจรจาจัดทำ FTA ของไทยกับประเทศต่างๆ

          สถานะการเจรจาความตกลงการค้าเสรีของไทย มีดังนี้

- ความตกลงการค้าเสรีที่มีผลใช้บังคับแล้ว มี 13 ฉบับ กับคู่ภาคี 18 ประเทศ โดยเป็นการจัดทำความตกลงการค้าเสรีในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียน 7 ฉบับ ได้แก่ (1) ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน ความตกลงการค้าบริการอาเซียน และความตกลงการลงทุนอาเซียน (2) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน (3) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (4) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-เกาหลีใต้ (5) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (6) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย และ (7) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง และการจัดทำความตกลงการค้าเสรีในระดับทวิภาคี 6 ฉบับ ได้แก่ (8) ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (9) ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (10) ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (11) ความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทย-เปรู (12) ความตกลงการค้าเสรีไทย – ชิลี และ (13) ความตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดีย


- ความตกลงการค้าเสรีที่ลงนามแล้วแต่ยังไม่มีผลผูกพัน ได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 ทั้งนี้ สมาชิก RCEP อยู่ระหว่างดำเนินกระบวนการภายในสำหรับการให้สัตยาบันของ ความตกลงเพื่อให้มีผลบังคับใช้ (ความตกลง RCEP จะมีผลบังคับใช้ 60 วันหลังจากที่สมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา 3 ประเทศส่งสัตยาบันสารให้สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันแล้ว 2 ประเทศ คือ สิงคโปร์และจีน) สำหรับประเทศไทย รัฐสภาของไทยมีมติเห็นชอบการให้สัตยาบันความตกลง RCEP เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งปัจจุบัน ไทยอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อรองรับการปฏิบัติตามพันธกรณี


- ความตกลงการค้าเสรีที่อยู่ระหว่างเจรจาจัดทำความตกลง ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีไทย-ปากีสถาน ความตกลงการค้าเสรีไทย-ตุรกี และความตกลงการค้าเสรีไทย-ศรีลังกา นอกจากนี้ ยังมีการเจรจาทบทวน/เปิดเสรีเพิ่มเติม ในความตกลงการค้าเสรีที่มีผลใช้บังคับแล้ว อาทิ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-เกาหลีใต้ และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เพื่อเปิดเสรีเพิ่มเติมในรายการสินค้าที่ยังไม่ได้เปิดตลาดและยกระดับความตกลงข้อบทต่างๆ ให้ทันสมัย สอดรับกับสภาพแวดล้อมและรูปแบบทางการค้าในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

- ความตกลงการค้าเสรีที่มีแผนจะดำเนินการในอนาคต ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป ความตกลงการค้าเสรีไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหราชอาณาจักร ความตกลงการค้าเสรี ไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาประโยชน์ ผลกระทบและรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน

------------------------------------------

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ศูนย์สารสนเทศการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

พฤษภาคม 2564

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita