การฟื้นฟูสภาพจิตผู้สูงอายุ

วัยชราเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ทั้งสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลงตามอายุที่มากขึ้น รวมถึงอารมณ์และจิตใจที่ไวต่อการกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายในจนนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพจิตและปัญหาเรื้อรังอื่น ๆ ได้ วัยสูงอายุจึงถือเป็นวัยที่มีความเปราะบางและต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

สาเหตุของปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
- การสูญเสียและพลัดพรากจากบุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลอันเป็นที่รัก อาทิ คู่ชีวิต เพื่อน สมาชิกในครอบครัว
- ความรู้สึกเศร้าและกังวลว่าตนเองจะถึงแก่ความตายในอนาคตอันใกล้
- ความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตเนื่องจากไม่ได้ทำงาน สภาวะทางการเงินที่เปลี่ยนไป การขาดรายได้ การสูญเสียสถานภาพและบทบาททางสังคม
- การรู้สึกว่าตนเองต้องเป็นภาระ ความรู้สึกเหงา ว้าเหว่ น้อยใจ กลัวถูกทอดทิ้ง ฟุ้งซ่าน
- การคิดซ้ำ ๆ เกี่ยวกับเรื่องในอดีต อยากย้อนเวลาไปแก้ไขเหตุการณ์บางอย่าง
- การเก็บตัว ปลีกวิเวก ไม่กล้าเข้าสังคม

ปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
- ภาวะอารมณ์แปรปรวน
- ภาวะเครียด วิตกกังวล
- โรคจิตเภท
- โรคสมองเสื่อม
- กลุ่มอาการต่าง ๆ ของร่างกายที่ไม่พบพยาธิสภาพทางกาย หรืออาการหลงผิดคิดตนป่วย

วิธีสังเกตผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต
- พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติไปจากเดิม เช่น รับประทานอาหารมากขึ้นหรือน้อยลง เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อในบางราย
- อาการง่วง เซื่องซึม นอนหลับมากกว่าปกติ หรือมีอาการนอนไม่หลับ ฝันร้ายติดต่อกันหลายคืน
- อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย หงุดหงิด เครียด ซึม ฉุนเฉียว วิตกกังวล
- พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ซึมลงหรือแจ่มใสมากผิดปกติ พูดน้อยลงหรือพูดเยอะขึ้น เริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
- อาการเจ็บป่วยทางร่างกายที่หาสาเหตุไม่พบ เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว

แนวทางการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุให้แจ่มใส
1.ให้ความรักและความอบอุ่น
หมั่นพูดคุย ใกล้ชิด ให้ความรัก ความอบอุ่น สร้างเสียงหัวเราะ รวมถึงหาเวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น รับประทานอาหาร ทำบุญ ท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกอุ่นใจ รู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่าและมีความสำคัญ

2.ให้เกียรติ
ระมัดระวังคำพูดและท่าทางที่แสดงออกต่อผู้สูงอายุ ไม่แสดงความรำคาญ ไม่ต่อว่าด้วยถ้อยคำรุนแรง หรือจับผิดเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แม้ผู้สูงอายุจะดื้อหรือเอาแต่ใจ

3.ส่งเสริมให้เกิดความสงบภายใน
ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรับรู้และเข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์ ผ่อนคลาย และปล่อยวาง รวมทั้งสามารถปรับตัวและยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง รวมถึงเรื่องความตาย ผ่านการควบคุมลมหายใจ ฝึกคิดอย่างยืดหยุ่นและคิดแง่บวก

4.ส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเอง
ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกภาคภูมิใจและมีความเชื่อมั่นในตนเอง โดยอาจปล่อยผู้สูงอายุพยายามช่วยเหลือตนเองในเรื่องง่าย ๆ เช่น กิจวัตรประจำวัน หรืองานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่เกินกำลังและไม่เป็นอันตราย

5.ฝึกระบบความคิด
ส่งเสริมความสามารถของผู้สูงอายุด้านความจำ การฝึก การวางแผน และการแก้ไขปัญหาเพื่อชะลอความเสื่อมของสมองในด้านต่าง ๆ เช่น ฝึกการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ลองทำกิจกรรมด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด หรือทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำ

6.ส่งเสริมการเข้าสังคม
ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ หรือกลุ่มวัยอื่น ๆ เพื่อพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุได้รู้สึกผ่อนคลาย ลดปัญหาการเก็บตัวหรือปลีกวิเวกจากสังคม

7.ผ่อนคลาย
ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมความรู้สึกสนุกสนาน ด้วยการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จิตใจสดชื่นแจ่มใส กระปรี้กระเปร่า อาทิ การเล่นกีฬา ดนตรี ศิลปะ หรืองานอดิเรกที่ชอบ เช่น เปตอง รำวง เต้นแอโรบิค เป็นต้น ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายและลดความเครียดได้เป็นอย่างดี

8.ฝึกสมอง
เล่นเกมที่ช่วยฝึกฝนด้านความจำหรือฝึกสมองได้เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหา การจัดลำดับความคิด เช่น หมากรุก อักษรไขว้ ต่อคำ ต่อเพลง คิดเลข หรือการจดจำข้อมูลต่าง ๆ เช่น วัน เวลา สถานที่ บุคคล หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น

9.เป็นที่ปรึกษา
สังเกตปัญหาและรับฟังความต้องการของผู้สูงอายุ หมั่นสอบถามสารทุกข์สุขดิบเสมอ แสดงความเห็นใจ เข้าใจ รับฟัง และให้ผู้สูงอายุได้ระบายความรู้สึก ร่วมกันหาแนวทางในการปรับตัวกับปัญหา

10.ส่งเสริมการออกกำลังกาย
ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุหันมาดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลังวังชา สามารถตอบสนองความต้องการทางกายภาพได้อย่างเหมาะสมผ่านการฝึกกายบริหาร โยคะ รำมวยจีน หรือการออกกำลังกายประเภทอื่น ๆ ที่เหมาะสมวันละ 15-30 นาที

ผู้สูงอายุเป็นช่วงชีวิตหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งทางร่างกายและจิตใจจนอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา แต่หากลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวสามารถรับมือได้อย่างเหมาะสมก็จะให้ปัญหาต่าง ๆ ทุเลาลง นำมาซึ่งความสุขของสมาชิกทุกคนในครอบครัวต่อไป

“อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม” เราเป็นบ้านพักผู้สูงอายุที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งระยะสั้นและระยะยาวในรูปแบบเนอร์สซิ่งโฮมระดับพรีเมี่ยม มั่นใจได้ด้วยบริการบ้านพักคนชราและบ้านพักผู้สูงอายุที่ดูแลโดยทีมแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุ และพนักงานผู้ช่วยพยาบาลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรในการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะที่จะคอยดูแลผู้สูงอายุอย่างเอาใจใส่และใกล้ชิดแบบองค์รวม ช่วยสนับสนุนให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพกายและใจที่ดี มีความสุขและอบอุ่นเสมือนอยู่บ้าน

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         ผู้สูงอายุ เป็นวัยของการเปลี่ยนแปลง มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกาย มีความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ เมื่ออายุมากขึ้น ผิวหน้า กล้ามเนื้อ สายตาแย่ลง และนอกจากทางกาย เรื่องของ สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เนื่องจากผู้สูงอายุจะประสบกับการสูญเสียในชีวิตมาก เช่น สูญเสียคนใกล้ คู่แต่งงาน หน้าที่การงาน  

         ทำให้ผู้สูงอายุ ต้องปรับตัวมากเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ หากผู้สูงอายุไม่สามารถปรับตัวได้ และหากสะสมเป็นระยะเวลานานก็อาจจะพบปัญหา สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ซึ่งจากรายงานของฐานข้อมูลการบริการผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีผู้สูงอายุป่วยโรคซึมเศร้าเข้ารับบริการถึง 75,564 คน

ซึ่งมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ถึงร้อยละ 1.17 ซึ่งปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่พบบ่อย ได้แก่ ความวิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ระแวง และความจำเสื่อม

สารบัญ

สาเหตุของปัญหา สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

 ผู้สูงอายุหลายท่าน มีสุขภาพจิตที่ไม่สดชื่นแจ่มใสเท่าที่ควร ที่เป็นอย่างนั้นเพราะมีหลายสาเหตุ หลายปัจจัย ที่ส่งผลต่ออารมณ์ และความรู้สึกของผู้สูงอายุ จนทำให้สุขภาพจิตของผู้สูงอายุเสียได้นะคะ

  • การสูญเสีย เช่น สูญเสียคนใกล้ชิด คู่ชีวิต ทำให้อารมณ์ของผู้สูงอายุหวั่นไหวไปด้วย รู้สึกเศร้า และเกิดความรู้สึกกลัวว่าตนเองจะเสียชีวิต
  • ออกจากหน้าที่การงาน ทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับการยกย่องเหมือนเดิม กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย การเงิน รู้สึกไม่เชื่อมั่นในตัวเอง คิดว่าตนเองไร้คุณค่า ต้องพึ่งลูกหลาน กลัวถูกทอดทิ้ง กลัวขาดความสามารถ ไม่มีคุณค่า กลัวว่าจะไม่ได้รับความรัก ความดูแลจากลูกหลาน ทำให้นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมง่าย หายใจไม่ออก เบื่ออาหาร เป็นต้น
  • ความจำน้อยลง ผู้สูงอายุจะจำเรื่องใหม่ ๆ ได้ไม่ดีเท่าเรื่องเก่า ๆ ในอดีต ต้องถามซ้ำ ๆ ทำให้รู้สึกไม่ดีกับตนเอง
  • เก็บตัว ไม่ชอบเข้าสังคม เพราะคิดว่าตัวเองแก่แล้ว
  • ทุกข์ใจ เรื่องในอดีต เสียดาย อยากย้อนเวลา คิดซ้ำ ๆ กังวลในเรื่องของปัจจุบัน และอนาคต กลัวถูกทอดทิ้ง

อ่านบทความ : โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ความเจ็บปวดด้านจิตใจที่ต้องได้รับการรักษา

วิธีสังเกตผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต

         ปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามนะคะ เพราะสุขภาพจิตที่ดี นำไปสู่โรคภัยและปัญหาต่าง ๆ ซึ่งมีผลกับกิจวัตรประจำวันได้นะคะ ดังนั้น ต้องหมั่นสังเกตอาการของผู้สูงอายุ ดังนี้ค่ะ

  1. รับประทานอาหารมากขึ้น หรือน้อยลงกว่าปกติ
  2. นอนหลับมากกว่าปกติ หรือมีอาการนอนไม่หลับ ตกใจตื่นกลางดึกแล้วไม่สามารถหลับต่อได้
  3. อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย
  4. พฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น เคยเป็นคนร่าเริงแจ่มใส กลับซึมเศร้า / ไม่เคยดื่มแอลกอฮอล์ ก็หันมาดื่ม / เคยพูดน้อย กลายเป็นคนพูดมากขึ้น
  5. มีอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย ซึ่งหาสาเหตุไม่พบ

การส่งเสริม สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

  • ให้ความเคารพ นับถือ ยกย่อง

         ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่า ตนเองมีคุณค่ากับคนในครอบครัว ส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว และสังคม หมั่นทำกิจกรรมร่วมกัน กระตุ้นในผู้สูงอายุรู้สึกว่า ตนเองเป็นที่ปรึกษาของบุคคลในครอบครัว เนื่องจากเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ชีวิตมากกว่า มีความสุขุมรอบคอบ เป็นหลักให้ความอบอุ่นแก่ครอบครัว หมั่นทำกิจกรรมร่วมกัน

  • สร้างอารมณ์ขัน

         การหัวเราะจะช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดี เนื่องจากการหัวเราะช่วยลดความดันโลหิต และระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลลง (ฮอร์โมนแสดงความเหนื่อยล้าในกระแสเลือด) และช่วยเสริมสร้างระดับของภูมิคุ้มกันร่างกาย ให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

  • ระมัดระวังการเจ็บป่วยและการเกิดอุบัติเหตุ

         ซึ่งมักเกิดขึ้นง่ายในผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ต้องใช้เวลาในการดูแลนานกว่าวัยหนุ่มสาว ซึ่งอาจจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกแย่กับตนเอง เพราะฉะนั้น การออกกำลังกาย ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ในการส่งเสริม สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เพราะนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กล้ามเนื้อ ทำงานดีขึ้น ยังเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ เพิ่มการหลั่งสารแห่งความสุข ทำให้มีความสุขมากขึ้น ลดความเครียด และยังทำให้เซลล์สมองทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ อาหารที่มีประโยชน์ ก็ช่วยให้สุขภาพของผู้สูงอายุแข็งแรงเช่นกัน

  • ตระหนักและระวังความรู้สึก

         ระมัดระวังภาวะอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว น้อยใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง เพื่อให้ความสัมพันธ์กับครอบครัว และลูกหลานเป็นไปในทางที่ดี เป็นที่พึ่งทางใจของลูกหลาน

  • ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ

         สนับสนุนผู้สูงอายุให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ เล่นดนตรี เพื่อทำให้ใจเพลิดเพลิน

  • หาสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน

         การเลี้ยงสัตว์ หรือการให้เวลากับสัตว์เลี้ยงตัวโปรด ได้คุยเล่น หยอกล้อกับมันเสียบ้าง จะช่วยให้จิตใจที่ฟุ้งซ่าน สงบลงได้ รู้จักการให้ มองโลกในแง่ดีมากขึ้น

  • พุดคุยกับผู้สูงอายุบ่อย ๆ

         ควรสอบถามสาเหตุ ที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความวิตกกังวล พูดคุย และรับฟัง แลกเปลี่ยนวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน ไม่ควรให้ผู้สูงอายุเก็บปัญหา หรือความไม่สบายใจไว้เพียงลำพัง ทำความเข้าใจ ความคิดของผู้สูงอายุ

  • หลีกเลี่ยงการให้ผู้สูงอายุอยู่คนเดียวเพียงลำพัง

         สนับสนุนให้ออกไปพบปะผู้คน หาสังคมใหม่ ๆ ทำกิจกรรม หรืองานอดิเรก

  • จัดสถานที่ให้เอื้ออำนวยกับการดำเนินชีวิต 

        สถานที่และสภาพแวดล้อมสำหรับคนทั่วไป อาจไม่เหมาะกับการใช้งานของผู้สูงอายุ และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ หรือการหกล้มในผู้สูงอายุได้ ดังนั้น จึงควรจัดระเบียบหรือจัดสรรแวดล้อม ให้เอื้ออำนวยต่อผู้สูงอายุ เช่น ห้องน้ำผู้สูงอายุ ห้องนอนผู้สูงอายุ

  • ให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง

         ควรให้ความรู้ ทั้งทางร่างกายของผู้สูงอายุ ความรู้เรื่องอนามัย และความรู้อื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพกาย และใจของตนเองแก่ผู้สูงอายุ

หลัก 5 สุขในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ

         น.ต.นพ. บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้วางแนวทางสำหรับยุค 4.0 เพื่อให้ผู้สูงอายุไทย สามารถสร้างความสุข ความพึงพอใจในชีวิตให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน ด้วยการยอมรับ และปรับตัวให้ได้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใช้ชีวิตอยู่อย่างพอดี และมีคุณค่า ยึดหลัก 5 สุขในการดำเนินชีวิต ได้แก่

  1. สุขสบาย : ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง คล่องแคล่ว ตามสภาพ ไม่ใช้สารเสพติด
  2. สุขสนุก : ทำกิจกรรมที่ทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ลดความซึมเศร้า ความเครียด และความกังวล
  3. สุขสง่า : มีความพึงพอใจในชีวิต ภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเอง มีความเห็นอกเห็นใจ และช่วยเหลือผู้อื่น
  4. สุขสว่าง : คิดและสื่อสารอย่างมีเหตุผล สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. สุขสงบ : รับรู้ เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุม และจัดการกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น สามารถผ่อนคลาย และปรับตัวยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามความเป็นจริง

สรุป

         การดูแลเรื่องสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ ครอบครัว หรือคนดูแลไม่ควรมองข้ามนะคะ หากมีสุขภาพจิตที่ดี จะนำมาซึ่งร่างกาย และจิตใจที่แข็งแรงตามมาด้วย สิ่งเหล่านี้จะทำให้การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เป็นไปได้อย่างราบรื่น และมีความสุขค่ะ

BED & MATTRESS PRODUCT

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita