จดทะเบียนสมรส ข้อดี ข้อเสีย

จะแต่งงานทั้งที จดทะเบียนสมรสดีมั้ย?

‘จดทะเบียนสมรสดีมั้ย?’ น่าจะเป็นคำถามของใครหลายคนที่กำลังวางแผนแต่งงานอยู่ อันที่จริงการแต่งงานนั้นไม่ได้บังคับเรื่องการจดทะเบียนสมรส กล่าวคือ การจดทะเบียนสมรสขึ้นอยู่กับความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย แล้วเราจะตัดสินใจอย่างไร ก่อนอื่นเราต้องมาดูข้อดี ข้อเสียของการจดทะเบียนสมรสกันก่อน

ประเด็น

จดทะเบียนสมรส

ไม่จดทะเบียนสมรส

1. สิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย

  • การอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
  • สิทธิที่ภรรยาจะได้ใช้ชื่อสกุลสามี และเปลี่ยนสัญชาติตามสามีได้ (หรือไม่เปลี่ยนก็ได้)
  • สิทธิที่จะได้รับมรดกหากอีกฝ่ายจากไปก่อน (เป็นทายาทโดยธรรมในการรับมรดก)
  • สิทธิที่จะหึงหวงคู่สมรสอย่างถูกกฎหมาย ถ้ามีชู้ สามารถฟ้องร้องค่าเสียหายจากคู่สมรสและชู้ได้
  • ถ้าหย่าร้าง มีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดูได้
  • มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย หรือเอาผิดแทนกันได้
  • มีสิทธิรับเงินสินไหม หรือเงินชดเชยจากราชการ กรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพ
  • ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิใดๆ ได้ตามกฎหมาย
  • ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดก ยกเว้นมีชื่อเป็นทายาทตามพินัยกรรม (พินัยกรรมระบุให้รับมรดก)

2. ทรัพย์สิน

  • สินสมรส ได้แก่ รายได้ ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังสมรสแล้ว รวมถึงดอกผลของสินส่วนตัว ซึ่งต่างก็มีอำนาจจัดการสินสมรสเองได้ ไม่ต้องขออนุญาตต่อกัน เว้นแต่เป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัว ตามที่กฎหมายบัญญัติควบคุมไว้ จะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อน
  • ต่างฝ่ายมีสิทธิในสินสมรสกึ่งหนึ่ง
  • หากพิสูจน์ได้ว่ามีการอยู่กินฉันท์สามีภรรยา มีทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกัน จะถือว่ามีสิทธิร่วมกันในทรัพย์สินนั้น โดยจะมีสิทธิในทรัพย์คนละครึ่ง แต่หากอีกฝ่ายไม่ยินยอมให้แบ่งทรัพย์สิน อาจต้องฟ้องร้อง (และต้องหาหลักฐานมายืนยัน)

3. การทำนิติกรรมต่างๆ

  • ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส ทำให้มีความยุ่งยากในการจัดการทรัพย์สิน
  • ถ้าเป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์ที่มีสิทธิร่วมกัน ต้องได้รับความยินยอมเช่นกัน แต่ถ้าเป็นนิติกรรมส่วนตัว ไม่ต้องขอความยินยอม

4. หนี้สิน

  • หนี้ส่วนตัว ใช้สินส่วนตัวชำระก่อน ถ้าไม่พอจึงใช้สินสมรสในส่วนของตน
  • หนี้ร่วม (หนี้สมรส) เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกบังคับชำระหนี้ได้จากสินสมรส หากไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกเอาจากสินส่วนตัวของทั้ง 2 ฝ่าย
  • ถ้ามีหนี้สินที่เกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกัน ใช้ทรัพย์สินที่มีสิทธิ์ร่วมชำระ
  • ถ้าเป็นหนี้ส่วนตัว ก็เป็นภาระส่วนตัว

5. บุตร

  • บุตรจะเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของทั้งบิดาและมารดา
  • ในกรณีเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมาย บิดาหรือมารดา มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าสินไหม แทนกันและกัน ตัวอย่างเช่น รับเงินชดเชย ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่ผู้เยาว์ มีบิดาหรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองยังมีชีวิตอยู่
  • เป็นทายาทโดยธรรมของทั้งบิดาและมารดา
  • บิดามารดาก็เป็นทายาทโดยธรรมของบุตรเช่นกัน
  • บุตรจะเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของมารดาเท่านั้น และจะไม่สามารถฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากบิดา เว้นแต่บิดาจดรับรองบุตร หรือรับรองโดยพฤติการณ์ (เชิดชู ให้ใช้นามสกุล ส่งเสียเลี้ยงดู) บุตรจึงจะมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของบิดา และสามารถเรียกค่าเลี้ยงดูได้   (แต่บิดาไม่มีสิทธิรับมรดกจากบุตร เพราะไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย)

6. การลดหย่อนภาษี

  • ลดหย่อนคู่สมรส*
  • ลดหย่อนบิดามารดาของคู่สมรส*
  • ลดหย่อนประกันชีวิตของคู่สมรส*
  • ลดหย่อนประกันสุขภาพของบิดามารดาคู่สมรส*
  • ลดหย่อนบุตร
  •  มีสิทธิเลือกที่จะแยกยื่นแบบหรือรวมยื่นแบบกับคู่สมรสได้ เพื่อการวางแผนภาษีที่เหมาะสม

   * กรณีรวมยื่นหรือคู่สมรสไม่มีรายได้

  • ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้

6. ผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิต

  • เงินคืนรายงวด เงินปันผล และเงินครบสัญญาจากกรมธรรม์ประกันชีวิตถือเป็นสินสมรส
  • หากเป็นผู้รับผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิต เช่น พ่อแม่ทำประกันชีวิตไว้ และให้คู่สมรสเป็นผู้รับผลประโยชน์ หากพ่อแม่เกิดเสียชีวิต ผลประโยชน์ที่ได้จากกรมธรรม์ถือเป็นสินส่วนตัว
  • ถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัว

7. หากต้องการเลิกรากัน

  • ต้องไปจดทะเบียนหย่า ซึ่งหากอีกฝ่ายไม่ยินยอม ต้องฟ้องร้องกัน
  • สามารถเลิกรากันได้เลย

กล่าวโดยสรุป ความรักไม่ได้อยู่ที่ทะเบียนสมรส หรือกฎหมาย แต่อยู่ที่หัวใจของคู่รัก ทำให้การจดทะเบียนสมรสจะดีกับเราหรือไม่ ก็อยู่ที่การพูดคุยของทั้ง 2 ฝ่าย และความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย และหาข้อตกลงร่วมกันบนพื้นฐานของความสุขในครอบครัวจะดีกว่า

บทความโดย :  นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®   นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร

การจดทะเบียนสมรสมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

1.ทรัพย์สินเงินทองของสามีภรรยาจะแยกออกจากกัน ไม่มีสินสมรส ไม่ต้องจัดการเรื่องสินสมรสให้ยุ่งยาก 2.ไม่ต้องยุ่งยากเมื่อต้องเลิกรา ข้อเสีย 1.แทบไม่มีสิทธิอะไรในทรัพย์สินของคู่สมรสเลย ยกเว้นแต่คู่สมรสทำพินัยกรรมทิ้งไว้ รวมถึงสิทธิ์ต่างๆ ด้านการเช่น เช่น ไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดกของคู่สมรส, สิทธิ์ได้รับเงินประกัน

จดทะเบียนสมรสมีผลเสียอะไรบ้าง

ข้อเสีย จดทะเบียนสมรสแล้ว ไม่ว่าจะ เงินก้อน หรือ หนี้สิน ทั้งสามีภรรยาต้องร่วมกันรับผิดชอบ รวมทั้งเรื่องอื่นๆ เจ้าสาวที่มีชื่อเป็นหุ้นส่วนในหลายๆ บริษัท การทำธุรกรรมต่าง ๆ จะยุ่งยากมากขึ้น และต้องยุ่งยาก เปลี่ยนข้อมูลทางนิติกรรม ทั้งเปลี่ยน Passport เปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวต่างๆ

การจดทะเบียนสมรสจะดีไหม

ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส สามีภรรยามีสิทธิ์ในทรัพย์สินร่วมกัน เช่น สิทธิ์รับเงินจากทางราชการ หรือนายจ้างในกรณีที่สามีหรือภรรยาเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ สิทธิ์ในการจัดการมรดก สิทธิ์ในการจัดการสินสมรสร่วมกัน ได้รับการลดหย่อนภาษี โดยไม่ต้องคำนึงว่าฝ่ายใดมีรายได้มากหรือน้อยกว่ากัน

ไม่จดทะเบียนสมรส ดียังไง

2. ข้อดีของการไม่จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินเงินทองของสามีและภรรยาจะแยกออกจากกันโดย ไม่มีสินสมรส ทรัพย์สินที่ทั้งสองหาร่วมกัน จากการทำงาน ทำธุรกิจระหว่างที่ใช้ชีวิตคู่ ให้ถือว่าทรัพย์สินที่ทำมาหาได้เป็น "กรรมสิทธิ์ร่วม" ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita