มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก แนวคิด

เมื่อไม่นานมานี้ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก มีแพลนปรับโฉมเฟซบุ๊กครั้งใหญ่ โดยตั้งใจว่าจะสร้างสิ่งที่ทำให้ผู้คนเปลี่ยนมุมมองที่เคยมีต่อเฟซบุ๊ก โดยเปลี่ยนจากที่เคยยกให้เป็นองค์กรพัฒนาสื่อโซเชียล กลายมาเป็นโลก Metaverse ที่เชื่อมโยงเทคโนโลยีโซเชียลต่างๆ ไว้ด้วยกัน ครอบคลุมทั้ง VR, AR และ 2D 

.

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ คำว่า ‘โลก Metaverse’ หรือ ‘Metaverse Company’ ที่มาร์กเอ่ยถึงนั้นคืออะไร แล้วจะช่วยต่อยอดรูปร่างโมเดลธุรกิจของเฟซบุ๊กให้ไปทางไหนได้บ้าง

.

ย้อนกลับไปถึงที่มาของคำว่า Metaverse กันก่อน หากใครเป็นแฟนนิยายไซไฟ คงรู้จักคำดังกล่าวจากนวนิยายไซไฟสุดคลาสสิกอย่าง Snow Crash ซึ่งอธิบายแนวคิด Metaverse ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1992 แนวคิดดังกล่าวว่าด้วยการคาดการณ์ ‘อินเทอร์เน็ต’ ในฐานะพื้นที่สามมิติ ซึ่งผู้คนสามารถเข้ามาใช้ชีวิต มีปฏิสัมพันธ์ หรือทำกิจกรรมร่วมกันได้แบบเรียลไทม์

.

แน่นอนว่า Metaverse ฟังดูเป็นเรื่องของโลกอนาคตและไกลตัวพอสมควรสำหรับตอนนี้ หากแต่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กลับต้องการทำสิ่งที่ว่าให้เกิดขึ้นจริงกับเฟซบุ๊กภายในอีกห้าปีข้างหน้า ความตั้งใจของเขาคือมองหาการสร้างระบบที่ผู้คนสามารถเคลื่อนย้ายไปมาผ่านเทคโนโลยี VR, AR หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์ 2D โดยใช้อวตารเป็นตัวแทนของผู้คนเหล่านั้น 

.

ความพิเศษของการสร้างเฟซบุ๊กให้เป็นโลก Metaverse คือเราสามารถทำงาน พูดคุย แบ่งปันสิ่งของหรือเรื่องราวต่างๆ ได้ ในขณะเดียวกัน ก็ยังใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงาน สืบค้นข้อมูลต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมายอย่างที่เราทำได้ในตอนนี้

.

เมื่อพูดถึงแพลนการสร้างโลก Metaverse นั้น เฟซบุ๊กจำเป็นต้องสร้างเทคโนโลยีเสมือนจริงให้สำเร็จให้ได้ โดยองค์กรได้เริ่มจัดตั้ง Reality Labs ฝ่ายทำงานที่รวมเอานักวิจัยที่ดำเนินงานด้านการสร้างเทคโนโลยีที่ว่าไว้มากมาย ที่สำคัญ พวกเขาต่างเป็นคนที่มีพื้นเพความรู้และประสบการณ์เดิมเกี่ยวข้องกับการสร้างเกมอีกด้วย

.

นอกจากนี้ ยังลงเงินไปกับซอฟต์แวร์สุดล้ำอย่างแว่นตาอัจฉริยะ ซึ่งช่วยให้คนเปิดวาร์ปหรือ teleport ไปที่ต่างๆ ได้เหมือนจริง เขาคาดว่าผู้คนจะได้มีโอกาสใช้นวัตกรรมดังกล่าวภายในปี ค.ศ.2030 

.

สิ่งสำคัญที่จะทำให้โลก Metaverse ที่เขาวางแผนไว้สำเร็จและเป็นจริงนั้น คือต้องออกแบบนวัตกรรมทั้งหมดของเฟซบุ๊กให้รองรับและทำงานร่วมกับระบบ Metaverse ขององค์กรอื่น รวมทั้งสร้างเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นหรือปรับใช้ได้ง่าย เพื่อเชื่อมต่อผู้คนจำนวนมากให้เข้ามาอยู่และพบกันได้อย่างไร้ขีดจำกัด 

.

แน่นอนว่าทั้งหมดนี้ล้วนต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่โลก Metaverse อาจทำเงินให้กับเฟซบุ๊กได้กลับมามากเช่นกัน 

.

อย่างที่รู้กันดีว่า ‘โฆษณา’ คือหนึ่งในแหล่งรายได้ของเฟซบุ๊ก โดยเฟซบุ๊กมียอดขายโฆษณาเพิ่มขึ้นถึง 57% ในไตรมาสสองที่ผ่านมา รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า (10.4 ล้านดอลลาร์) และทำเงินไปได้ทั้งสิ้น 64 ล้านดอลลาร์เมื่อจบเดือนมิถุนายน

.

ถึงอย่างนั้น การปรับเปลี่ยนทิศทางองค์กรไปสู่โลก Metaverse จะยิ่งเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้จากช่องทางใหม่ๆ ได้มากกว่าเดิม หากดูพฤติกรรมผู้ใช้งานเฟซบุ๊กแล้ว จะเห็นว่าผู้คนมักแสดงความคิดเห็นหรือแชร์รูปภาพ โพสต์ กิจกรรม อีเวนต์ หรือความสนใจบางอย่างร่วมกัน เมื่อ ‘ปฏิสัมพันธ์’ คือสิ่งที่มนุษย์เสพติด จะเป็นอย่างไรหากพวกเขาสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กันได้มากกว่าแค่แชร์รูปหรือแสดงความคิดเห็นเท่านั้น

.

และแน่นอนว่าผู้ใช้งานต่างยินยอมที่จะจ่ายเงินให้กับการได้มีรูปแบบปฏิสัมพันธ์ที่มากกว่าและลึกซึ้งกว่านั้น อย่างการเทเลพอร์ตไปยังอีกที่นึงได้เหมือนจริง หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ผ่านเทคโนโลยี VR และ AR ซึ่งเป็นสิ่งที่โลก Metaverse ทำได้ แต่สื่อโซเชียลทั่วไปทำไม่ได้

.

ที่สำคัญ แผนการสร้างโลก Metaverse ของเฟซบุ๊กยังช่วยสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทั้งในแแง่คู่ค้าธุรกิจหรือความสัมพันธ์อื่นๆ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพราะยิ่งเทคโนโลยีนี้ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาอยู่ในวงจรได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างมูลค่าให้เฟซบุ๊กมากขึ้น

.

ถึงตรงนี้ การสร้างโลก Metaverse อาจไม่ใช่แค่แนวคิดที่มีอยู่ในนิยายอย่างเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนแล้ว แต่กำลังจะเกิดขึ้นจริงในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้านี้ ก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าความตั้งใจของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ครั้งนี้ จะเป็นอย่างไรต่อไป

อ้างอิงจาก : 

//theconversation.com/mark-zuckerberg-wants-to-turn-facebook-into-a-metaverse-company-what-does-that-mean-165404

//www.cnbc.com/2021/03/08/mark-zuckerberg-how-smart-glasses-could-help-combat-climate-change.html

//www.prnewswire.com/news-releases/facebook-reports-second-quarter-2021-results-301343579.html

.

Content by Piyawan Chaloemchatwanit

.

#Brief #business #TheMATTER

Share this article


เมื่อ 1 ปีที่แล้ว ซักเคอร์เบิร์กได้โพสต์ลงบนเฟสบุ้คของเขาว่า “ในทุกๆ ปี ผมจะท้าทายตัวเองให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และเติบโตไปในด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเฟสบุ๊ค” สิ่งที่เขาได้ทำนั้น มีทั้งการเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ และการสร้างสิ่งประดิษฐ์แปลกๆ ซึ่งสิ่งท้าทายเหล่านี้ล้วนมีจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่แฝงอยู่

หลังจากปี 2016 ได้ผ่านไปได้ไม่นาน ชายผู้ก่อตั้งเฟสบุ๊คผู้นี้ก็ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า ในปี 2017 นี้ เขาจะเข้าไปเยี่ยมและพบปะผู้คนให้ได้ทุกรัฐ ซึ่งจุดประสงค์ของเขาก็คือการ เรียนรู้ว่าคนทั่วประเทศนี้มีชีวิตความเป็นอยู่และมีการวางแผนอนาคตกันอย่างไรบ้าง

ความท้าทายเหล่านี้ทำให้มาร์กเกิดแรงบัลดาลใจในการตั้งปณิธานขึ้นมาในแต่ละปี และมันไม่ได้ช่วยเขาเพียงแค่ด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่กลับได้ประโยชน์จากมันในหลาย ๆ ด้านเลยทีเดียว อย่างเช่นการเรียนภาษาจีนกลางเมื่อปี 2010 มันช่วยให้เขาสามารถสื่อสารด้านธุรกิจได้กว้างขึ้น ได้เรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆ และเมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา ตอนที่เขาเริ่มสร้าง A.I. ขึ้นมานามว่า จาวิส(Javis) เพื่อช่วยดูแลบ้านของเขา เขาก็ได้พบวิธีที่จะนำทักษะที่มีเหล่านี้และเทคโนโลยีปัจจุบันเข้ามาปรับใช้ให้สามารถดำเนินชีวิตได้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก

เราไปชมกันว่าปณิธานปีใหม่ของซักเคอร์เบิร์ก มีอะไรกันบ้างและสิ่งเหล่านี้แฝงไปด้วยข้อคิดอะไรบ้าง?

1. นำเทคโนโลยีมาทำให้ชีวิตง่ายขึ้น

ในปี 2016 ธีมปณิธานปีใหม่ของซักเคอร์เบิร์ก คือ “การคิดค้น” ซึ่งเป็นเหตุผลที่เขาได้ท้าทายตัวเองในการสร้าง A.I. ที่ช่วยดูแลบ้านขึ้นมา เมื่อเดือนธันวาคม ซักเคอร์เบิร์กก็ได้สร้าง จาวิส(Jarvis) สำเร็จ โดยได้รับแรงบัลดาลใจมาจากภาพยนตร์เรื่อง Iron Man โดยมันสามารถควบคุมระบบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เปิดเพลง จดจำหน้าผู้คน และเล่นกับลูกสาวอายุ 2 ขวบของเขาได้อีกด้วย การได้นำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ล้วนเป็นเรื่องที่ท้าทายตัวเอง ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ขึ้นมา และช่วยทำให้กิจวัตรประจำวันของเราง่ายขึ้นด้วย

2. ใฝ่หาความรู้ด้วยตัวเอง

ในสมัยนี้ คุณไม่จำเป็นต้องออกเดินทางเพื่อจะเรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆ เพียงแค่ลองศึกษาข้อมูลรอบๆ ตัวแล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับใช้ดูก็ได้ผลแล้ว ในปี 2015 มาร์กได้ท้าทายตัวเองด้วยการอ่านหนังสือเล่มใหม่ทุก 2 สัปดาห์ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆ ทั้งเรื่องของ ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ และเทคโนโลยี เขาได้ โพสต์ ลงบนเฟสบุ๊คว่า “หนังสือช่วยทำให้เราได้รับความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ได้อย่างเต็มเปี่ยม และทำให้คุณได้ดื่มด่ำกับมันได้มากกว่าสื่อใดๆ”

3. รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน

ในโลกที่เราสามารถส่งข้อความกล่าว “ขอบคุณ” ผ่านอีเมล์หรือแชทได้อย่างง่ายดายนั้น ในปี 2014 ซักเคอร์เบิร์กตัดสินใจที่จะส่งข้อความขอบคุณอย่างจริงใจให้กับผู้คนในทุก ๆ วัน เขากล่าวกับสำนักข่าว Bloomberg ว่า “มันเป็นเรื่องที่สำคัญต่อผมมาก เพราะผมเป็นคนที่ชอบตัดสินคน” การแสดงความรู้สึกขอบคุณง่ายๆ แบบนี้ทุกวันจะทำให้คุณมีความอ่อนน้อมถ่อมตนและมีความจริงใจมากขึ้น

4. พบปะผู้คนที่ไม่ใช่เพื่อนร่วมงาน วันละคน

อย่าให้กำแพงของสถานที่ทำงานมาเป็นตัวปิดกั้นการได้พบปะผู้คน ใช้เวลานอกเหนือจากงานในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนบ้านหรือคนในแถบระแวกนั้นเพื่อให้ได้รู้จักผู้คนใหม่ๆ มากขึ้น เมื่อปี 2013 มาร์กตั้งปณิธานไว้ว่าในแต่ละวันเขาจะนัดพบปะกับผู้คนใหม่ๆ ข้างนอกบริษัท ซึ่งพอผ่านไปไม่กี่สัปดาห์ เขาบอกกับนิตยสาร Fortune ว่า “มันกำลังไปได้สวยเลยล่ะ ผมได้ทำหลายสิ่งหลายอย่างให้กับชุมชน และพยายามที่จะเข้าหาพบปะผู้คนในวงกว้างให้มากขึ้น”

5. ใส่ใจในรายละเอียด

จากรายงานของ Business Insider กล่าวว่า การที่ซักเคอร์เบิร์กเป็นถึงผู้ก่อตั้งและซีอีโอของบริษัท ทำให้เขาไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องของรายละเอียดปลีกย่อยเล็กๆต่างๆ ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะสำคัญต่อเฟสบุ๊คมากก็ตาม นี่จึงเป็นเหตุผลที่ในปี 2012 เขาได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เขาจะเขียนโค้ดทุกวันเพื่อปฏิสัมพันธ์กับเหล่าพนักงาน และทำความเข้าใจกับเฟสบุ๊คให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น

6. เสียสละ

ในปี 2012 ซักเคอร์เบิร์ก ได้ท้าทายตัวเองด้วยการทานมังสวิรัติและทานเนื้อสัตว์ที่เขาต้องฆ่าเองกับมือเท่านั้น เขาโพสลงบนเฟสบุ๊คว่า “ในการจะรู้ซึ้งถึงคุณค่า ผมจึงต้องการที่จะรู้ซึ้งถึงคุณค่าของอาหารที่ผมกิน รวมถึงสัตว์ที่มอบทั้งชีวิตของมันให้ผมได้กิน” ลองรู้จักคุณค่าด้วยการลดละในสิ่งที่คุณเคยไม่เห็นค่า เพื่อให้ได้เข้าใจว่าชีวิตนั้นมีค่ามากแค่ไหนสำหรับคุณ

7. ทำอะไรที่ประเทืองปัญญา

เมื่อปี 2010 ซักเคอร์เบิร์ก ได้ท้าทายตัวเองด้วยการเรียนภาษาจีนกลาง ซึ่งเขาไม่ได้ทำมันเพียงเพื่อสื่อสารในโลกธุรกิจเท่านั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าภรรยาของเขาพูดภาษาจีน และเมื่อปี 2015 เขาได้แสดงความสามารถด้านภาษาที่มหาวิทยาลัย Tsinghua ในกรุงปักกิ่ง ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ถามคำถามเป็นภาษาจีน ผลที่ได้ก็คือ ซักเคอร์เบิร์กสามารถลบล้างกำแพงภาษาและเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ได้ รวมไปถึงการลบปมด้อยในอดีตที่เขาไม่สามารถพูดภาษาอื่นได้เลย

8. หาวิธีใหม่ๆ ในการสร้างแรงจูงใจให้เหล่าพนักงาน

เมื่อปี 2009 ซักเคอร์เบิร์กตัดสินใจเปลี่ยนจากการใส่เสื้อยืดและเสื้อกั๊กมาเป็นการสวมเน็คไท ในช่วงภาวะวิกฤติ ขณะที่หลายๆบริษัทในสหรัฐและทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เขาจึงได้ใช้เน็คไทนี้เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความจริงจังและการให้ความสำคัญอย่างมากต่อบริษัทของเขาในปีนั้น เพื่อเรียกขวัญกำลังใจแก่พนักงานและเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรของเขาเอง

Source : entrepreneur

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita