แบบจําลองการทํางานของปอด สรุป

แบบบันทึกกิจกรรมเรื่อง แบบจำลองการทำงานของปอด
ให้นักเรียนบันทึกผลการทำกิจกรรมเรื่อง แบบจำลองการทำงานของปอด ลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
 ID: 3057593
Language: Thai
School subject: วิทยาศาสตร์
Grade/level: 8
Age: 12-15
Main content: ระบบหายใจ
Other contents: กลไกการหายใจ

 Add to my workbooks (0)
 Download file pdf
 Embed in my website or blog
 Add to Google Classroom
 Add to Microsoft Teams
 Share through Whatsapp

Link to this worksheet:  Copy

suphatthidaing


What do you want to do?

Check my answersEmail my answers to my teacher

Enter your full name:

Group/level:

School subject:

Enter your teacher's email or key code:

Cancel

Please allow access to the microphone
Look at the top of your web browser. If you see a message asking for permission to access the microphone, please allow.

Close

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ทำให้การเรียนการสอนในปัจจุบันจึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่เป็นรูปแบบออนไลน์ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจกรรมการทดลองของนักเรียน เนื่องจากไม่สามารถมาทำการทดลองได้ที่ห้องปฏิบัติการที่โรงเรียนอีกทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองยังมีราคาแพงและค่อนข้างที่จะหาซื้อได้ยาก

ครูจิ๋วจึงมีแนวคิดและไอเดียที่ว่า “ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเรียนในรูปแบบใดนักเรียนของครูจิ๋วก็จะสามารถทำการทดลองและเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองได้โดยมีครูจิ๋วเป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำต่างๆแก่นักเรียน” โดยครูจิ๋วจะทำการทดลองร่วมกับนักเรียนในลักษณะการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การทดลองให้นักเรียนสามารถทดลองได้ง่ายๆที่บ้านของตนเองจากวัสดุที่หาง่ายและมีราคาถูก ซึ่งในวันนี้ครูจิ๋วจะมานำเสนอไอเดียการสอนนักเรียนทำการทดลองเรื่องแบบจำลองการทำงานของปอดให้กับคุณครูหลายท่านที่กำลังสอนนักเรียนออนไลน์ในปัจจุบันนี้ว่าเราจะทำอย่างไรให้นักเรียนเข้าใจและสนุกกับการทดลองวิทยาศาสตร์

STEP 1: แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ครูและนักเรียนร่วมกันออกความคิดเห็นและหาวัสดุที่สามารถนำมาดัดแปลงแทนอุปกรณ์การทดลองที่อาจจะหาได้อยากและมีราคาแพง โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองเรื่องแบบจำลองปอดจะประกอบไปด้วย 1.ยางวงแหวน 2.หลอดแก้วรูปตัว Y 3.ลูกโป่งเล็ก 4.ครอบพลาสติก และ5.แผ่นยาง ดังรูปที่1

รูปที่1 แบบจำลองการทำงานของปอด

เมื่อรู้จักอุปกรณ์การทดลองแล้วครูและนักเรียนก็จะร่วมกันออกความคิดเห็นว่าเราจะสามารถใช้วัสดุอะไรได้บ้างที่เราหาเองได้จากในบ้านและมีราคา

ไม่แพง จากการออกความคิดเห็นร่วมกันของนักเรียน ครูจึงได้ข้อสรุปว่าเราจะเลือกใช้วัสดุที่หาได้ในบ้าน ได้แก่ 1. หลอดแบบงอแทนหลอดรูปตัว Y 2. ลูกโป่งจำนวน 3 ลูก ซึ่งอาจจะมีขนาดใหญ่เท่ากันทั้ง 3 ลูกหรืออาจจะมีลูกเล็กจำนวน 2 ลูกและลูกใหญ่อีก 1 ลูก ก็ได้ตามสะดวกว่าบ้านของใครมีวัสดุอย่างไร โดยจะนำลูกโป่งจำนวน 1 ลูกมาใช้แทนแผ่นยาง 3. แก้วหรือขวดพลาสติกแทนครอบพลาสติก 4. ดินน้ำมันแทนยางวงแหวน ดังรูปที่2

รูปที่2 อุปกรณ์ที่หาได้ในบ้านสำหรับทำการทดลอง

STEP2 : ลงมือปฏิบัติ

ครูและนักเรียนร่วมกันประดิษฐ์แบบจำลองการทำงานของปอด โดยครูจะให้นักเรียนส่งรูปแบบจำลองการทำงานของปอดที่นักเรียนได้ประดิษฐ์ขึ้นเองมาเพื่อตรวจแก้ไขและให้คำแนะนำแก่นักเรียนว่าทำสอดคล้องกับการทำงานของปอดหรือไม่ ดังรูปที่3

รูปที่3 ตัวอย่างแบบจำลองการทำงานของปอดที่นักเรียนประดิษฐ์ขึ้นเอง

STEP3 : สังเกต

เมื่อประดิษฐ์อุปกรณ์การทดลองเสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันทดลองและสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังรูปที่4

รูปที่4 ทดลองและสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

STEP4 : อธิบายได้

ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทดลอง โดยให้ใช้เกมหมุนวงล้อสุ่มชื่อของนักเรียนเพื่อมานำเสนอการทดลองจำนวน 2 คนว่าการทดลองเป็นอย่างไรบ้างและส่วนต่างๆของอุปกรณ์เหล่านั้นเปรียบเสมือนอวัยวะใดบ้างดังรูปที่5 โดยนักเรียนจะสามารถอธิบายแบบจำลองการทำงานของปอดได้ดังนี้

เมื่อทำการทดลองโดยการดึงหรือดันลูกโป่งที่ครอบแก้วหรือขวดพลาสติกจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศภายในแก้วหรือขวดพลาสติก

และมีผลทำให้ความดันอากาศในลูกโป่งเล็กสองลูกเกิดการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เมื่อเราใช้นิ้วดันลูกโป่งใบใหญ่ที่ครอบแก้วหรือขวดพลาสติกอยู่ขึ้น

จะทำให้ความดันอากาศภายในแก้วเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ลูกโป่งใบเล็กแฟบ เนื่องจากอากาศภายในจะเคลื่อนที่ออกจากลูกโป่ง และเมื่อเราใช้นิ้วดึงลูกโป่งใบใหญ่ที่ครอบแก้วหรือขวดพลาสติกอยู่ลง ส่งผลทำให้ลูกโป่งใบเล็กพองออก เนื่องจากความดันอากาศภายในแก้วลดลง อากาศภายนอกจึงเคลื่อนที่เข้าสู่ลูกโป่ง

จากการทดลองดังกล่าว ทำให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบวัสดุที่นำมาใช้กับอวัยวะของระบบหายใจได้ดังนี้

  • ลูกโป่งใหญ่ เปรียบเสมือนกับ กะบังลม
  • ลูกโป่งลูกเล็กจำนวน 2 ลูก เปรียบเสมือนกับ ปอดทั้ง 2 ข้าง

จากการทดลองดังกล่าว ครูจิ๋วจึงได้เชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่าปอดเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อระบบหายใจ ดังนั้นการป้องกันตนเองต่อการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่จะทำลายปอด จึงถือเป็นเรื่องสำคัญต่อสุขภาพของนักเรียนทุกคน

รูปที่5 สรุปและอภิปรายการทดลอง

STEP5 : โชว์ผลงาน

ครูจิ๋วให้นักเรียนส่งรูปภาพหรือคลิปวิดีโอการแบบจำลองการทำงานปอดที่นักเรียนประดิษฐ์ขึ้นเองเพื่อใช้ในการประเมินผลการทำกิจกรรมแบบจำลองการทำงานปอดของนักเรียน ดังรูปตัวอย่าง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita