ระยะห่างระหว่างบรรทัด วิจัย

วิธีการเขียนและการพิมพ์รายงาน และวิทยานิพนธ์ สำหรับครู นักเรียน นักศึกษา

วัตถุประสงค์  

  1. คู่มือฉบับนี้จะช่วยให้การเขียนและพิมพ์เอกสาร  มีระเบียบมีมาตรฐานที่ถูกต้องตรงตามที่สถาบันกำหนด ทั้งในวิธีการเขียนและพิมพ์เอกสาร  การตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบการพิมพ์และคำผิดต่างๆ ที่ตรงกับหลักการของสถาบันการศึกษา
  2. แนวทางปฏิบัติเบื้องต้นในเอกสารเล่มนี้ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องยึดถือไว้เป็นมาตรฐาน โปรดศึกษารายละเอียดจากคู่มือให้เข้าใจ ถ้ามีข้อสงสัยให้สอบถามได้ที่ศูนย์สหกิจศึกษาฯ หรือประธานอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาของคณะวิชา

การจัดพิมพ์รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

เพื่อให้การจัดทำรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน นักศึกษาสหกิจศึกษาต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการจัดพิมพ์รายงาน ดังต่อไปนี้

  1. การพิมพ์
    1. กระดาษ  ให้ใช้กระดาษสีขาว ไม่มีลายเส้นบรรทัด  ขนาดกระดาษ A4 มีความหนา 80 แกรม ยกเว้นตารางหรือภาพประกอบอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้กระดาษขนาดต่างไปจากนี้ และพิมพ์หน้าเดียว
    2. ตัวพิมพ์  ให้ใช้ตัวพิมพ์เป็นตัวอักษรสีดำ โดยทำให้มีลักษณะเดียวกันตลอดทั้งเล่ม
    3. การทำสำเนา  โดยวิธีการถ่ายเอกสารหรือวิธีอื่นใดที่มีคุณภาพเทียบเคียง
       
  2. ตัวอักษร และขนาดตัวอักษร
    รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาให้พิมพ์ได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ใช้รูปแบบตัวอักษร Angsana New ตลอดทั้งเล่ม โดยมีระยะห่างระหว่างบรรทัด (Line spacing) เป็นแบบ Single ขนาด (Font size) และรูปแบบตัวอักษร (Font style) ดังนี้
  • ชื่อบท และคำว่า “บทที่...”  ขนาด 20 points. ตัวพิมพ์หนา (Bold)
  • หัวข้อและหมายเลขประจำหัวข้อ  ขนาด 18 points. ตัวพิมพ์หนา (Bold)
  • หัวข้อย่อยและหมายเลขประจำหัวข้อย่อย  ขนาด 16 points. ตัวพิมพ์หนา (Bold)
  • ส่วนเนื้อเรื่อง และรายละเอียดส่วนต่างๆ  ขนาด 16 points. ตัวพิมพ์ธรรมดา (Normal)
  1. การเว้นระยะในการพิมพ์
    1. การเว้นที่ว่างริมขอบกระดาษ
      1. ขอบด้านบน 1.5  นิ้ว
      2. ขอบด้านล่าง 1 นิ้ว
      3. ขอบด้านซ้าย 1.5  นิ้ว
      4. ขอบด้านขวา 1  นิ้ว
    2. การย่อหน้าให้เว้นระยะไปจากแนวปกติ 8 ตัวอักษรโดยเริ่มพิมพ์ที่ตัวอักษรที่ 9
    3. การเว้นที่ว่างระหว่างบรรทัด  ให้เว้นที่ว่างระหว่างบรรทัดเพียง 1 บรรทัด ตลอดรายงาน  ไม่ว่าจะเว้นช่องว่างระหว่างชื่อบท และหัวข้อที่สำคัญ หรือหัวข้อย่อย
    4. การขึ้นหน้าใหม่
      1. ถ้าจะต้องขึ้นย่อหน้าใหม่ แต่มีเนื้อหาที่เหลือเพียง 1 บรรทัดในหน้าเดิมนั้น ให้ยกข้อความนั้นไปเริ่มต้นพิมพ์ใหม่ในหน้าถัดไป
      2. กรณีที่พิมพ์ถึงบรรทัดสุดท้ายของหน้า แต่มีข้อความเหลืออีกไม่เกิน 1 บรรทัด จนจบย่อหน้าเดิม ให้พิมพ์ต่อไปจนจบข้อความย่อหน้านั้น จึงขึ้นย่อหน้าในหน้าถัดไป
         
  2. การจัดตำแหน่งข้อความในหน้ากระดาษ
    การจัดพิมพ์รายละเอียดในส่วนเนื้อเรื่อง โดยทั่วไปควรจัดตำแหน่งข้อความให้ชิดขอบ (Distributed) เพื่อความสวยงาม ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความถูกต้องของข้อความ และความเหมาะสมด้านภาษา ไม่ควรแยกพิมพ์ข้อความ เช่น คำว่า “สหกิจศึกษา”แยกกัน เช่น “สห”อยู่บรรทัดหนึ่ง และ “กิจศึกษา”อยู่อีกบรรทัดหนึ่ง และไม่ควรเว้นช่องว่างระยะห่างของข้อความให้ห่างกันเกินไป
     
  3. การพิมพ์เลขลำดับหน้า
    1. ส่วนนำเรื่อง ในการลำดับหน้าส่วนนำเรื่อง คือ ตั้งแต่หน้าปกใน ไปจนถึงหน้าสุดท้ายก่อนถึงส่วนเนื้อเรื่อง ให้ใช้ตัวเลขอารบิคในเครื่องหมายวงเล็บกลม เช่น (1) (2).....
    2. ส่วนเนื้อเรื่อง การลำดับหน้าส่วนเนื้อเรื่องเป็นต้นไป ให้ใช้ตัวเลขอารบิค 1,2,3.... ตามลำดับ  โดยในหน้าแรกของเนื้อหาแต่ละบท ไม่ต้องพิมพ์เลขหน้า แต่ให้นับจำนวนหน้าด้วย
    3. การจัดวางเลขหน้าทั้งส่วนนำ และส่วนเนื้อเรื่อง ให้พิมพ์ไว้ที่มุมบนขวาของหน้ากระดาษ   ห่างจากขอบบน 0.5 นิ้ว และขอบกระดาษขวา 1 นิ้ว
       
  4. การแบ่งบท และหัวข้อในบท
    1. การแบ่งบท  เมื่อขึ้นบทใหม่ต้องขึ้นหน้าใหม่เสมอ ให้พิมพ์คำว่า “บทที่...”แล้วให้พิมพ์ชื่อบทในบรรทัดถัดมา และจัดตรงกลางหน้ากระดาษ
    2. หัวข้อในบท ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้ายของกระดาษ กรณีมีหัวข้อย่อยให้พิมพ์เว้นระยะเข้าไปจากหัวข้อจัดตามความสวยงาม
       
  5. การพิมพ์ตัวเลข 
    ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขในเนื้อเรื่องหรือตัวเลขลำดับหน้า  การแบ่งบท   และหัวข้อ ให้ใช้ตัวเลขอารบิคเป็นลักษณะเดียวกันโดยตลอด
     
  6. การพิมพ์ และการนำเสนอภาพประกอบต่างๆ
    1. ภาพประกอบ ได้แก่ แผนผัง แผนภูมิ กราฟ ภาพถ่าย ภาพเขียน ฯลฯ ให้พิมพ์ไว้ใต้ภาพ        โดยพิมพ์คำว่า “ภาพที่...”แล้วระบุลำดับที่ของภาพโดยใช้ตัวเลขอารบิค เช่น ภาพที่ 1.1 และกำหนดรูปแบบ ตัวอักษรแบบตัวหนา จากนั้น เว้น 3 ช่วงตัวอักษรแล้วพิมพ์ชื่อภาพหรือคำอธิบายภาพโดยใช้ตัวพิมพ์ธรรมดา จัดให้อยู่กลางหน้ากระดาษ
    2. หากคำอธิบายภาพยาวกว่า 1 บรรทัด ให้แบ่งเป็น 2-3 บรรทัด ตามความเหมาะสม โดยให้อักษรตัวแรกของข้อความในบรรทัดที่ 2 หรือ 3 ตรงกับอักษรตัวแรกของชื่อภาพ หรือคำอธิบายภาพในบรรทัดแรก
       
  7. การพิมพ์ และการนำเสนอตาราง
    1. ขนาดของตาราง ไม่ควรเกินกรอบของหน้ากระดาษ ตารางที่มีความกว้างจนไม่สามารถบรรจุลงในกระดาษหน้าเดียวได้ ให้พิมพ์ตามขวางโดยมีเลขที่ตารางและคำว่า ต่อ ในเครื่องหมายวงเล็บกลม  เช่น ตาราง 1 (ต่อ)
    2. การพิมพ์ลำดับที่ และชื่อของตาราง ให้พิมพ์คำว่า “ตารางที่...”ชิดริมซ้ายมือให้ตรงกับ         ขอบซ้ายของตัวตาราง แล้วระบุลำดับที่ของตารางโดยใช้ตัวเลขอารบิค เช่น “ตารางที่ 1.1” และกำหนดรูปแบบตัวอักษรเป็นตัวหนา จากนั้นให้เว้น 3 ช่วงตัวอักษร แล้วพิมพ์ชื่อตารางโดยใช้ตัวอักษรแบบธรรมดา กรณีที่ชื่อตารางยาวเกินกว่า 1 บรรทัด ให้แบ่งเป็น 2-3 บรรทัด ตามความเหมาะสม

ส่วนประกอบการเขียนและการพิมพ์  แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้

  1. ส่วนนำ
    เป็นแนวทางการจัดทำส่วนต้นของเล่ม มีส่วนประกอบดังนี้
    1. ปกนอก จะเป็นปกกระดาษแข็งสีตามคณะวิชากำหนด  ขนาด 16-24 ตามความเหมาะสมสันปกจะมี  ชื่อเรื่อง อักษรย่อปริญญา และปี พ.ศ.
    2. ปกในหน้าอนุมัติ ประกอบด้วย หัวข้อชื่อเรื่อง,  ชื่อ-นามสกุล ตามด้วยชื่อย่อปริญญาและระบุสาขาวิชาในวงเล็บ, ลงชื่อตำแหน่งประธานและกรรมการ
    3. บทสรุปเป็นการสรุปผลการค้นคว้า ความยาวไม่ควรเกิน 2 หน้า พร้อมรูปประกอบการปฏิบัติงานตามรูปแบบที่สถาบันกำหนด
    4. กิตติกรรมประกาศเป็นการแสดงความขอบคุณ เขียนไม่เกิน 2 บรรทัด
    5. สารบัญเป็นรายการแสดงส่วนประกอบที่สำคัญทั้งหมดของเล่ม
    6. รายการตาราง เป็นการแจ้งตำแหน่งหน้าตารางทั้งหมดที่มีอยู่ในเล่ม
    7. รายการรูปประกอบ เป็นการแจ้งตำแหน่งหน้าของรูปประกอบทั้งหมดที่มีอยู่ในเล่ม
    8. รายการสัญลักษณ์ เป็นการอธิบายสัญลักษณ์ต่างๆในเล่ม (ถ้ามี)
    9. ประมวลศัพท์และคำย่อ จะใช้อธิบายขยายความในเล่ม (ถ้ามี)
       
  2. เนื้อความ
    ในการเขียนและพิมพ์เนื้อความ  สามารถเลือกใช้ได้ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เนื้อความมีทั้งหมด 5 บท ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้
    1. บทที่ 1  บทนำ
      1. ชื่อและที่ตั้งของสถานประกอบการ
      2. ลักษณะธุรกิจของสถานประกอบการ หรือการให้บริการหลักขององค์กร
      3. รูปแบบการจัดองค์กรและการบริหารองค์กร 
      4. ตำแหน่งและหน้าที่งานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย
      5. พนักงานที่ปรึกษา และ ตำแหน่งของพนักงานที่ปรึกษา
      6. ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
      7. วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงานหรือโครงงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
      8. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการปฏิบัติงานหรือโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
         
    2. บทที่ 2  ทฤษฎีและเทคโนโลยีที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
      โดยการศึกษาจาก แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของโครงงานในการศึกษาเทคโนโลยี  ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน  ซึ่งอาจจะได้มาจากบทความ  ตำราวิชาการ  งานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ ฯลฯ
       
    3. บทที่ 3 แผนงานการปฏิบัติงานและขั้นตอนการดำเนินงาน
      1. แผนงานปฏิบัติงาน
      2. รายละเอียดงานที่นักศึกษาปฏิบัติในงานสหกิจศึกษา หรือรายละเอียดโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
      3. ขั้นตอนการดำเนินงานที่นักศึกษาปฏิบัติงานหรือโครงงาน 
         
    4. บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน  การวิเคราะห์และสรุปผลต่าง ๆ
      1. ขั้นตอนและผลการดำเนินงาน
      2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
      3. วิเคราะห์และวิจารณ์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบผลที่ได้รับกับกับวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติงานหรือการจัดทำโครงการ
         
    5. บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
      1. สรุปผลการดำเนินงาน
      2. แนวทางการแก้ไขปัญหา
      3. ข้อเสนอแนะจากการดำเนินงาน

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

อ้างอิง
การจัดทำรูปเล่มจะต้องมีรายการเอกสารอ้างอิง  ประกอบด้วย ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ รายชื่อบทความ จากวารสาร หรือ รายงานการประชุมทางวิชาการ ชื่อหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ที่ใช้ในการค้นคว้าประกอบทำรูปเล่ม

  1. ภาคผนวก
    เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น  แต่ไม่เหมาะที่จะรวบรวมไว้ในส่วนเนื้อความ เพราะจะทำให้ยืดเยื้อ
     
  2. ประวัติผู้วิจัย
    ให้เขียนประวัติของนักศึกษา  โดยมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ประกอบด้วย
    1. ชื่อ-นามสกุล
    2. วัน เดือน ปีเกิด
    3. ประวัติการศึกษา
    4. ทุนการศึกษา (ถ้ามี)
    5. ประวัติการทำงาน (ถ้ามี)
    6. ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ (ถ้ามี)

ระยะห่างระหว่างบรรทัดที่ถูกต้องคือเท่าใด

มหาวิทยาลัยได้ก าหนดการเว้นบรรทัดในการพิมพ์วิทยานิพนธ์ ดังนี้ 1. การเว้นระยะระหว่างบรรทัดให้เว้น 2 ช่วงบรรทัดพิมพ์เดี่ยว หรือ บรรทัดพิมพ์คู่ (double space) 2. การย่อหน้าให้เว้นระยะเท่ากับ 0.75 นิ้ว (1.8 ซม.) หรือ 8 ช่วงตัวอักษรโดยเริ่มพิมพ์ช่วง อักษรตัวที่ 9 และในการพิมพ์ภาษาอังกฤษนั้นจะพิมพ์เครื่องหมายต่อจากข้อความโดย ...

การตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัดที่เหมาะสมในการพิมพ์งานคือระยะใด

1.4 การเว้นระยะระหว่างบรรทัด (Line Spacing) การเว้นระยะห่างระหว่างบรรทัดในการพิมพ์วิทยานิพนธ์ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่นใด ให้ใช้ระยะบรรทัดปกติเป็น 1 เท่า (Single) อย่างเดียวโดย ตลอดทั่งเล่มวิทยานิพนธ์

ระยะเว้นขอบด้านบนต้องเว้นเท่าใด

ระยะขอบบน ให้ตั้งค่าที่ 1.5 นิ้ว หรือ 3.81ซม. ▪ ระยะขอบซ้าย ให้ตั้งค่าที่ 1.5 นิ้ว หรือ 3.81ซม. ▪ ระยะขอบล่าง ให้ตั้งค่าที่ 1 นิ้ว หรือ 2.54ซม. ▪ ระยะขอบขวา ให้ตั้งค่าที่ 1นิ้ว หรือ 2.54 ซม. ให้ใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ(Single Space) ทั้งเล่ม

ย่อหน้าควรเว้นกี่วรรค

การย่อหน้า การเว้นวรรค ตลอดจนการเว้นช่องไฟ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดข้อความให้มีความ เป็นระเบียบ สวยงาม และสื่อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 5.1 การย่อหน้าข้อความทั่วไป เว้นจากเส้นขอบหน้า 1.50 ซ.ม. หรือเป็นขนาดของการย่อหน้า ปกติทั้งฉบับ 5.2 วิทยานิพนธ์ภาษาไทย ให้เว้นระหว่างประโยค 2 ช่วงตัวอักษร5.3 หลังอักษร ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita