ผู้จัดการนิติบุคคล เงินเดือน

คนที่อาศัยอยู่ในโครงการจัดสรร ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโด โดยเฉพาะโครงการใหม่ๆ ก็ล้วนแล้วแต่มี ‘นิติบุคคล’ หรือ บริษัทที่ทำหน้าที่ดูแลจัดการความเรียบร้อยของหมู่บ้านหรืออาคาร เป็นของตัวเองทั้งนั้นใช่ไหมครับ เพราะถ้าโครงการไหนไม่มีสิ่งนี้ เราจะขาดคนที่ทำหน้าที่ช่วยจัดการบริหารทรัพย์สินส่วนกลาง สิ่งที่ตามมาก็คือ ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ส่วนกลาง และปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา เพราะไม่มีคนดูแล

วันนี้เราขอโฟกัสไปที่นิติบุคคลของโครงการหมู่บ้านจัดสรรไปเลยนะครับ เพราะในรายละเอียดของ บริษัทที่ดูแลจัดการความเรียบร้อยของอาคารชุดหรือคอนโด จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ถ้ามีโอกาสเราจะมาคุยเรื่องนี้กันอีกที

LivingPop

จำได้ไหมครับ ตอนที่ซื้อบ้าน อาจจะได้ยินเซลบอกประมาณว่า

“โครงการของเราจะมีนิติบุคคลจากทางบริษัทคอยดูแลให้นะคะ จากนั้นเมื่อถึงกำหนดเวลา เราจะส่งมอบให้ลูกบ้านจัดตั้งนิติบุคคลกันเองค่ะ”

ปกติแล้วโครงการหมู่บ้าน จะมีการจ้างบริษัทเข้ามาดูแลเรื่องการจัดการทรัพย์สินส่วนกลางเพื่อดูแลทุกอย่างแทนลูกบ้าน (ส่วนมากก็จะเรียกกันว่า “นิติบุคคล”) ซึ่งเดเวลลอปเปอร์เจ้าใหญ่ ก็จะมีบริษัทมาจัดการเรื่องนิติบุคคลของตัวเอง ส่วนโครงการเล็กๆ ก็จะจ้างบริษัทที่เป็น Outsource มาดูแลก่อนส่งมอบ ระยะเวลาในการดูแล อาจจะอยู่ที่ 1 ปี – 2 ปี

แต่พอหมดสัญญา หรือโครงการขายหมด เมื่อถึงกำหนดต้องเลือกบริษัทบริหารจัดการหมู่บ้าน ลูกบ้านเลือกได้ว่าจะจ้างบริษัทเดิมที่ใช้อยู่ จะเปลี่ยนบริษัทใหม่ไปเลย หรือจัดตั้ง “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร” ของลูกบ้านขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการหมู่บ้านกันเอง

เพราะในตัวกฎหมายที่ผมอ้างอิงจากบางส่วนของ ‘พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543’ ได้มีการกำหนดให้มี ‘ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค’ ที่เป็นส่วนการของโครงการจัดสรร เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตลอด ซึ่งส่วนกลางที่นิติบุคคล จะมาช่วยดูแลก็มีทั้ง ถนนหมู่บ้าน ไฟทาง ทะเลสาบ สนามเด็กเล่น ฟิตเนส และอื่นๆ ที่เป็นทรัพย์สินส่วนกลาง

นิติบุคคลเนี่ยแหละครับจะมาดูแลแทนเรา

เพราะถ้าเราไม่ได้มีเวลาว่างเหลือเฟือ ก็คงไม่มีใครอาสามาดูแลจัดการเรื่องเล็ก ไปจนถึงเรื่องใหญ่ในโครงการ อย่างเช่น

  • ฟิตเนสใช้ได้อยู่ไหม
  • พี่ยามทำงานโอเคหรือเปล่า
  • เช็คจดหมายของลูกบ้านแต่ละคน
  • ดูค่าความเป็นกรด-ด่าง ในสระว่ายน้ำหมู่บ้าน
  • ดูคนสวนกวาดใบไม้
  • เคลียร์ให้เพื่อนบ้านเวลามีการจอดรถขวาง
  • บ้านนี้จะมีทำบุญต้องไปแจ้งลูกบ้านทุกคน

และอีกสารพัดปัญหาที่ถ้าไม่มีนิติบุคคลมาคอยดูแลประสานงาน… ใครจะทำคร้าบบบบ?

เห็นแบบนี้แล้วก็ตอบคำถามได้เลยว่า ‘นิติบุคคล’ ที่เข้ามาดูแลตรงนี้ จึงมีเงินเดือนตอบแทนครับ

ซึ่งเงินเดือนที่จ่ายให้กับพนักงานในบริษัทที่รับจัดการดูแลหมู่บ้าน ที่เราตกลงร่วมกันว่าจะจ้างมาดูแลหมู่บ้าน ก็มาจากส่วนหนึ่งของค่าส่วนกลางที่คุณเสียไปทุกปีนั่นแหละครับ

แล้วเงินเดือนของนิติบุคคล สามารถตรวจสอบได้ไหมว่าจ่ายไปเท่าไหร่?

สั้นๆ เลยคือ ‘ตรวจสอบได้’ ครับ ยิ่งถ้าเราให้นิติบุคคล ที่บริหารงานโดยบริษัทที่มีความมืออาชีพ น่าเชื่อถือมาดูแล ก็ยิ่งโปร่งใส

เพราะบริษัทนิติบุคคลจะเป็นผู้แจกแจงรายรับ-รายจ่ายของหมู่บ้าน ลูกบ้านก็มีหน้าที่ช่วยกันตรวจสอบได้ ส่วนใหญ่นิติบุคคลที่มีการจัดการเป็นระบบจะมีการชี้แจงรายรับ-รายจ่าย ทุกเดือนอยู่แล้ว นี่คือข้อดีของการให้บริษัทที่ดูแลเรื่องนิติบุคคลมืออาชีพมาจัดการ

แล้วถ้าลูกบ้านตกลงคุยกันว่าจะดูแลกันเองล่ะ ทำได้ไหม ต้องจ่ายเงินเดือนไหม?

ทำได้ครับ… ถ้าลูกบ้านลงเสียงส่วนใหญ่ว่าอยากตั้งนิติบุคคลดูแลกันเอง โดยการตั้งนิติบุคลของหมู่บ้าน จะมาในรูปแบบของการเลือก ‘คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร’ ลูกบ้านมาบริหารส่วนกลางของหมู่บ้านเอง

ส่วนใหญ่คณะกรรมการของหมู่บ้าน ‘ไม่ได้มีเงินเดือนให้’ เป็นการเข้ามาช่วยงานโดยสมัครใจ อาจมีเบี้ยประชุมที่สามารถเบิกจ่ายได้ ถ้ามีการประชุมเรื่องสำคัญ แต่หากมีการตกลงกันว่าจะจ่ายเงินเดือนให้ผู้ที่ดูแลสาธารณะสมบัติของหมู่บ้านก็ทำได้

ซึ่งเรื่องเงินเดือนนิติบุคคลหมู่บ้านที่ตั้งกันเองก็มีดราม่านะ…

แอบเล่านิดนึง เคยมีกรณีดราม่าเกี่ยวกับเงินเดือนผู้จัดการนิติบุคคล ที่จัดตั้งกันเองของหมู่บ้านหลายร้อยหลังคาเรือนแห่งหนึ่ง ที่ผ่านมาลูกบ้านไม่ได้ตรวจสอบรายรับ-รายจ่าย มาก่อนโดยเฉพาะเงินเดือนของผู้จัดการนิติบุคคล

วันนึงพอไปดูเอกสารอีกทีพบว่าแต่ละเดือนจ่ายเงินเดือน ผู้จัดการนิติบุคคลหมู่บ้านคนนั้นไปเดือนละ 120,000 บาท

… ย้ำว่า เดือนละ 120,000 บาท …

ลูกบ้านเลยต้องมาสืบสาวราวเรื่องกันว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมเขาถึงได้รับเงินเดือนเยอะขนาดนี้ หรือเป็นตัวแทนรับเงินเดือน แล้วเอาไปจ่ายเงินเดือนนิติบุคคลคนอื่นอีกที รวมถึงเอาไปจ่ายให้ยาม คนสวน และอื่นๆ เป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตมาก ที่ตอนนี้ไม่แน่ใจว่าเคลียร์กันจบหรือยัง

มีข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านกันเอง โดยคุณ ‘อธิป พีชานนท์’ ปัจจุบันคือประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ออกแบบและก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เคยให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และถูกนำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ว่า

“ตั้งแต่เริ่มมีการบังคับใช้กฎหมายให้มีการส่งมอบสาธารณูปโภค และให้ลูกบ้านจัดตั้งนิติบุคคล สัดส่วนที่ไปไม่รอดมีมากกว่าที่ทำแล้วไปรอดหลายเท่า”

โดยคุณอธิป ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าปัญหาหลักที่เจอของการตั้งนิติบุคคลกันเองคือ เมื่อลูกบ้านดูแลกันเอง ก็เก็บค่าส่วนกลางได้ไม่ครบ พอเงินไม่ครบ ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ในหมู่บ้านก็เกิดขึ้นเพราะไม่มีงบดูแล ลูกบ้านพอเห็นว่าส่วนกลางแย่ลงก็พาลไม่จ่ายไปดื้อๆ จนสุดท้ายกลายเป็นหมู่บ้านที่ส่วนกลางเสื่อมโทรมในที่สุด

ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เมื่อวันหนึ่งเราต้องอยู่ร่วมกันในหมู่บ้านที่ลูกบ้านอยากจะดูแลกันเอง เราต้องรับมือกันอย่างไร

เดี๋ยวก่อน! เราไม่ได้บอกว่าลูกบ้านจัดตั้งนิติบุคคลกันเองไม่ดี หรือใช้บริษัทที่ดูแลด้านนี้โดยตรงดีที่สุดนะฮะ สิ่งที่ดีที่สุดคือ เราควรมีคนที่เป็นมืออาชีพมาช่วยดูแลจัดการหมู่บ้านเราในฐานะนิติบุคคลประจำหมู่บ้าน และมีลูกบ้านที่มีจิดสำนึกรับผิดชอบส่วนรวม และช่วยกันตรวจสอบการทำงานและการใช้จ่ายอยู่เสมอ

นิติบุคคลได้เงินเดือนไหม

ใครจะทำคร้าบบบบ? เห็นแบบนี้แล้วก็ตอบคำถามได้เลยว่า 'นิติบุคคล' ที่เข้ามาดูแลตรงนี้ จึงมีเงินเดือนตอบแทนครับ ซึ่งเงินเดือนที่จ่ายให้กับพนักงานในบริษัทที่รับจัดการดูแลหมู่บ้าน ที่เราตกลงร่วมกันว่าจะจ้างมาดูแลหมู่บ้าน ก็มาจากส่วนหนึ่งของค่าส่วนกลางที่คุณเสียไปทุกปีนั่นแหละครับ

ผู้จัดการคอนโด ทําอะไรบ้าง

หน้าที่ของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด.
จัดการเรื่องต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการจัดการ และดูแลทรัพย์ส่วนกลางให้อยู่ในสภาพปกติเรียบร้อยพร้อมใช้งานตลอดเวลา และเพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วม.
จัดซื้อ/จัดหาทรัพย์สินตลอดจนจัดให้มีบริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แก่เจ้าของร่วม ในอาคารชุด ภายใต้ระเบียบที่ออกโดยคณะกรรมการอาคารชุด.

ผู้จัดการอาคาร ทำอะไรบ้าง

ผู้จัดการ อาคาร คือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง.
ตรวจเช็คปัญหาที่เกิดขึ้นในการอยู่อาศัย.
จัดการประชุมตามกฎหมาย เพื่อรับฟังคำร้องของลูกบ้าน.
รับแจ้งเหตุการณ์อยู่อาศัยจากลูกบ้าน.
แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้น้ำ , ใช้ไฟ , สาธารณูปโภค.
คอยดูแลพื้นที่ / ทรัพย์สินส่วนกลาง ทั้ง ความสะอาด , การซ่อม / เปลี่ยน และ การบำรุงสถานที่.

คอนโดไม่มีนิติบุคคลได้ไหม

คำตอบก็คือ 'ไม่ได้' เพราะนิติบุคคลนั้นเป็นภาคบังคับทางกฎหมาย นอกจากนี้ถ้าไม่มีนิติบุคคลนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ แน่นอน ถ้าต่างคนต่างทำอะไรตามใจตัวเอง ไม่ทำตามกฎ ตามระเบียบตามรายละเอียดของนิติบุคคลและสถานที่ การเป็นอยู่นั้นจะล้อมไปด้วยทัศนียภาพที่ไม่น่ามอง เช่น การตกแต่ง – การต่อตาม จากลูกบ้าน 1 คน อาจจะส่งผลเสีย ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita