วัดเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือไม่

เขียนให้คิด : โดย ซีศูนย์

เงินทอนวัด กับหน้าที่ของ ป.ป.ช.และ ป.ป.ท.

              สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่เคารพ ตอนก่อนๆ เราว่ากันถึงเรื่องของ ป.ป.ช.เกี่ยวการแสวงหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นกันก่อนที่จะรับไปพิจารณาดำเนินการไต่สวนกัน และยังได้เล่าถึงเรื่องข้อขัดกันในข้อวินิจฉัยทางคดีอาญาและคดีปกครองที่เป็นคดีเดียวกัน มีอีกเรื่องที่น่าสนใจและจะเล่าสู่กันฟังก่อนจะไปถึงกระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริง

ท่านผู้อ่านคงจำได้ในเรื่องที่เป็นคดีดังเกี่ยวกับทางศาสนา นั่นคือเรื่องเงินทอนวัดที่มีพระสงฆ์องคเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันด้วย และหลายเรื่องที่วันนี้ยังมีการร้องเรียนเจ้าอาวาสวัดโกงเงินกฐินผ้าป่าหรือเงินทอนไปยัง ป.ป.ช.หรือ ป.ป.ท.ซึ่งหน่วยตรวจสอบก็ต้องมาดูก่อนว่า แล้วเจ้าอาวาสเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามคำนิยามในกฎหมายประกอบ ป.ป.ช.หรือไม่

เรื่องนี้คณะอนุกรรมการกฎหมายของ ป.ป.ช.เคยพิจารณาเมื่อปี 2544 โดยตอนแรกอนุกรรมการมีความเห็นเป็น 2 แนวทาง ฝ่ายแรกเห็นว่า ตามกฎมหาเถรสมาคมว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 กำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ เจ้าอาวาสมีหน้าที่ตาม ม .37 และมีอำนาจตาม ม.38 ซึ่งเป็นเรื่องอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในวัดและผู้อยู่ในวัดเท่านั้น ส่วนเรื่องการจัดการทรัพย์สินของวัด  แม้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล สามารถจัดกิจการของตนเองได้ โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนก็ตาม แต่การดูแลต้องเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2511) ออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 คือมีกรมการศาสนา เป็นผู้ควบคุมดูแลจัดการ

สำหรับประเด็นที่ว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่และอำนาจตามที่กฎหมายกำหนด จะถือเป็นบุคคลซึ่งได้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมายคือ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายประกอบ ป.ป.ช.หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาที่มาและเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์จะให้ตรวจสอบด้วยกระบวนการพิเศษ และต้องเป็นผู้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐโดยตรงและเป็นการทั่วไป

กรณีเจ้าอาวาสนั้น การดำเนินการใดๆ ที่เป็นเรื่องนอกวัดและผูกนิติสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เช่น การจัดการศาสนสมบัติ ไม่ได้ดำเนินการเองโดยตรง นอกจากนี้แล้ว ยังต้องพิจารณาตลอดไปถึงผลการตีความกฎหมายด้วย หากเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว การตรวจสอบตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดจะทำได้เพียงใด ทั้งไม่อาจใช้กระบวนการทางวินัยตามที่กฎหมายบัญญัติได้ จึงเห็นว่า กฎหมาย ป.ป.ช.ไม่ประสงค์จะดำเนินการแก่เจ้าอาวาส เพราะในพระธรรมวินัยมีมหาเถรสมาคมควบคุมกำกับดูแล และทางอาญาเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา ซึ่งอาจถูกดำเนินคดีในกระบวนการทางอาญาตามปกติอยู่แล้ว จึงเห็นว่า เจ้าอาวาสไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามคำนิยามของกฎหมาย ป.ป.ช.

ส่วนฝ่ายหลังเห็นว่า ตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองคณะสงฆ์ วางกฎเกณฑ์เป็นพิเศษให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสมีอำนาจปกครองบังคับบัญชา รัฐมีความประสงค์ให้ระบบการปกครองคณะสงฆ์เข้ามาอยู่ในฐานะเป็นการใช้อำนาจรัฐ ที่ไม่หมายความเฉพาะถึงการใช้อำนาจทางปกครองที่มีผลเป็นการทั่วไปเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการใช้อำนาจรัฐที่มีผลเป็นการเฉพาะด้วย เช่น การที่สภาทนายความมีอำนาจถอนใบอนุญาตให้เป็นทนายความ เป็นการใช้อำนาจปกครอง ถือเป็นการใช้อำนาจรัฐหรือการใช้อำนาจทางองค์กรอื่น เช่น คณะกรรมการข้าราชการตุลาการ (กต.)คณะกรรมการข้าราชการอัยการ (กอ.) ซึ่งเป็นการใช้อำนาจในภารกิจเฉพาะของแต่ละองค์กร ก็เป็นการใช้อำนาจทางปกครองของรัฐเช่นเดียวกัน ดังนั้น การใช้อำนาจของภิกษุสงฆ์ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ จึงเป็นการใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐด้วย

สำหรับกรณีที่ พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 4 (9) บัญญัติเป็นข้อยกเว้นว่า พ.ร.บ.นี้มิให้ใช้บังคับแก่การดำเนินกิจการขององค์การทางศาสนานั้น เนื่องจากกิจการทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องการใช้อำนาจทางปกครองของรัฐอย่างหนึ่ง แต่กิจการทางพระพุทธศาสนา ซึ่งรวมถึงการใช้อำนาจทางการปกครองของคณะสงฆ์ เป็นเรื่องความศรัทธา ความเชื่อและความเคารพนับถือตามอาวุโส ซึ่งกระบวนการทางกฎหมายวิธีปฏิบัติทางปกครองอาจไม่สอดคล้องหรือไม่เหมาะสมกับวิธีดำเนินการของคณะสงฆ์ดังกล่าว พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง จึงบัญญัติเป็นข้อเว้น

แต่กฎหมาย ป.ป.ช.ไม่มีบทบัญญัติลักษณะดังกล่าว เมื่อพิจารณาอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสแล้วเห็นได้ว่า ไม่จำกัดเฉพาะกิจการภายในวัดหรือต่อผู้อยู่ในวัดเท่านั้น แต่เจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการทรัพย์สินวัด ซึ่งมีผลผูกพันบุคคลภายนอก เช่น การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ตลอดจนการดูแลรักษา จัดการศาสนสมบัติอื่นๆ โดยกระทรวงศึกษาธิการ กรมการศาสนา ควบคุมดูแล

ส่วนประเด็นที่ว่า หากพิจารณาว่าตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้วไม่อาจใช้กระบวนทางวินัยแก่เจ้าอาวาสได้ เห็นว่ากระบวนการตรวจสอบกับกระบวนการหลังการตรวจสอบเป็นละตอนกัน กฎหมายไม่ได้มีกระบวนการดำเนินการเฉพาะเรื่องการถอดถอนหรือเรื่องทางวินัยเท่านั้น อาจดำเนินการด้านอื่นได้ เมื่อพิจารณาเจตนารมณ์ของกฎหมาย ป.ป.ช.แล้ว กฎหมายมีความประสงค์จะให้มีการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งระดับสูงและทั่วไปด้วย ซึ่งไม่อาจตรวจสอบตามกลไกปกติได้ และเมื่อพิจารณาฐานะเจ้าอาวาสรวมทั้งรองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาสเป็นพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ เช่นเดียวกับเจ้าคณะและเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญาได้

จึงเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐ สอดคล้องกับคำนิยามเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงเห็นว่าตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.เห็นว่า ตำแหน่งเจ้าอาวาสมิได้จัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ เจ้าอาวาสจึงมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามความเห็นอนุกรรมการฝ่ายแรก ภายหลังคำพิพากษาฎีกาที่ 7540/2554 วินิจฉัยว่า พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ ไม่ว่าตำแหน่งเจ้าอาวาสหรือในตำแหน่งอื่นใด ก็จึงไม่อยู่ในความหมายเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ท่านผู้อ่านถ้าจะร้องเรียนเจ้าอาวาสแล้ว ก็คงต้องให้ตำรวจดำเนินคดีจะเร็วกว่า เพราะทั้ง ป.ป.ช.และ ป.ป.ท. เขาคงไม่รับพิจารณาตามเหตุผลข้างต้นละครับ แต่ถ้าตัวการที่ทุจริตเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น แล้วมีพระสงฆ์ไปร่วมทำผิดด้วย ก็ยังคงเป็นหน้าที่และอำนาจ ป.ป.ช.หรือ ป.ป.ท.อยู่นะครับ พบกันตอนหน้าครับ

วัดเป็นหน่วยงานอะไร

วัดเป็นองค์กรทางศาสนาที่เป็นพื้นฐานของสังคมและเป็นนิติบุคคลตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นส่วนเน้นที่มีความสำคัญมากทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง สำหรับสังคมชาวพุทธถือกันว่า วัดเป็นจุดศูนย์กลางแห่งการรวมน้ำใจของบรรดา พุทธศาสนิกชน สำหรับทำหน้าที่ในการวางรากฐานความเจริญให้แก่สังคม ส่งเสริมความเป็น ปึกแผ่นมั่งคงให้ ...

วัดเป็นนิติบุคคลประเภทใด

วัดในพระพุทธศาสนาเป็นนิติบุคคลในกฎหมายมหาชนอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งต้องมีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ประกาศจัดตั้งเป็นวัดและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ส่วนวัดในศาสนาอื่น อาจเป็นนิติบุคคลในกฎหมายมหาชนเมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นนิติบุคคล เช่น มัสยิดในศาสนาอิสลาม เป็นต้น

วัดเป็นสถานที่ราชการไหม

วัดเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย เจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้นท่านย่อมมีสิทธิในการ หาประโยชน์จากที่ดินของวัดได้ แต่มิใช่ว่าพระคุณท่านจะสามารถจัดผลประโยชน์ในที่ดินวัดได้อย่างอิสระเสรี ทั้งนี้เพราะคณะสงฆ์โดยมหาเถรสมาคมมีมาตรการป้องกันผลเสียหายอันจักเกิดขึ้นแก่พระศาสนาตามมาภายหลัง เจ้าอาวาสจึงต้องดำเนินการ ...

วัดเป็นสมบัติของใคร

ศาสนสมบัติของวัด คือ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง และเนื่องจากวัดเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ การดูแลรักษาและจัดการก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคล คือ วัด แต่แม้ว่าการดูแลรักษาและจัดการทรัพย์สินของวัดใดๆ จะเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ ก็ตามการดูแลรักษาและ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita