การเรียกดูและฟังซ้ำ ภาพยนตร์/ เพลง ผ่านหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ ผิดไหม

กันยายน 7, 2020 In บทความ

กฎหมายลิขสิทธิ์-พึงรู้-ควรทำ

กฎหมายลิขสิทธิ์-พึงรู้-ควรทำ - บทความกฎหมายจากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ - เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการนำข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยีมาใช้ในการคุ้มครอง งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง สมควรกำหนดให้มีการคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทาง เทคโนโลยี รวมทั้งกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดงเพิ่มขึ้น อีกทั้งสมควร กำหนดให้ ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ซึ่งทำให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือ สิทธิของนักแสดงเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย ต้องจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้น และสมควรกำหนดให้ศาล มีอำนาจสั่งริบหรือสั่งทำลายสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดและสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอัน เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงได้ด้วย จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ขึ้น โดยนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน “Digital Economy” ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่จะอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศหรืออินเทอร์เน็ตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของประเทศ โดยหวังว่าผลจากกฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้นโยบาย Digital Economy เติบโตได้อย่างยั่งยืน กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดถึง “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” ซึ่งเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้าง สรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลข หรือรหัสแทนข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการ แสดง เช่น ในรูปภาพมีชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์หรือมีลายน้ำปรากฏอยู่ หากมีการลบหรือเปลี่ยนแปลง ก็จะถือว่าเป็น การละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้ยังได้กำหนดถึง “มาตรการทางเทคโนโลยี” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบ มาเพื่อป้องกันการทำซ้ำหรือควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นว่านี้ ได้นำมาใช้กับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เจ้าของลิขสิทธิ์มีการตั้งรหัส ในการเข้าฟังเพลงต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ผู้ใดอยากฟังเพลงหรือดาวน์โหลดเพลงนั้น จะต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้ รหัสในการเข้าฟังเพลงหรือดาวน์โหลดเพลง แต่หากผู้ใดไม่อยากเสียเงินและใช้วิธีการ Hack เข้าไปฟังเพลงหรือ ดาวน์โหลดเพลงนั้นฟรีๆ ก็จะถือว่าเป็นการละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท แต่หากเป็นการกระทำเพื่อ การค้า ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 400,000 บาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ และให้ริบสิ่งของละเมิดลิขสิทธิ์ หรือศาลอาจสั่งให้ทำลาย โดยผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในการทำลายเอง กฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญโดยสรุปได้ 8 ประเด็น ดังนี้ 1. คุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์และคุ้มครองสิทธิ ในข้อมูล ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้บริหารจัดการสิทธิของตนไม่ให้ผู้อื่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ เช่น การลบข้อมูล เกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ชื่อผู้สร้างสรรค์ ชื่อนักแสดง โดยหากผู้ใดลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว ถือว่ามี ความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ 2. คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์ของตน เพื่อ ป้องกันการทำซ้ำหรือการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น รหัสผ่าน (Password) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ ในการ ควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต โดยหากผู้ใดทำลายมาตรการทางเทคโนโลยี ดังกล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอม ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี 3. กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction) เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียกดูงาน อันมีลิขสิทธิ์ ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำ เป็นต้องมีการทำซ้ำงานเพลงหรือภาพยนตร์ดังกล่าวไว้ในหน่วยความจำ (RAM) ทุกครั้ง ด้วยความจำเป็นทาง เทคนิคดังกล่าว ทำให้ทุกครั้งที่มีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจะต้องทำซ้ำงานด้วยเสมอ การทำซ้ำลักษณะนี้เป็นการทำซ้ำชั่วคราวที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 4. เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Liability Limitation of ISP) เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น เจ้าของเว็บไซต์ Youtube ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องแสดงหลักฐานต่างๆ ต่อศาลอย่างเพียงพอ และเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เอาไฟล์ละเมิดออก จากเว็บไซต์แล้ว และเจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการตามคำสั่งศาล เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับ การกระทำที่ อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว 5. เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนำหลัก การระงับไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exhaustion of Rights) มากำหนดให้ชัดเจนว่า การขายงานอันมี ลิขสิทธิ์มือสองสามารถทำได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขายภาพเขียน หนังสือ ซีดีเพลง ซีดี ภาพยนตร์ อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายซีดีภาพยนตร์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ด้วย มิฉะนั้น แม้ไม่ผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ได้ 6. เพิ่มเติมเรื่องสิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง (Moral Right) เพื่อเพิ่มสิทธิให้นักแสดงมีสิทธิทาง ศีลธรรมเท่าเทียมกับสิทธิทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนักแสดงมีสิทธิระบุชื่อตนในการ แสดง ที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้ผู้ใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือ เกียรติคุณ 7. เพิ่มบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive Damages) โดยกำหนดให้ ศาลมีอำนาจสั่งให้ ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ในกรณีที่ปรากฏหลัก ฐานชัดแจ้งว่ามีการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนาให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดย สาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย 8. กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด และสิ่งที่ได้ทำขึ้น หรือนำ เข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ในปัจจุบันจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการบังคับใช้พระราช บัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558 และเพื่อไม่ให้เป็นการขัดต่อข้อกำหนดตาม กฎหมายฉบับนี้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการนำภาพหรือข้อมูลต่างๆ มาใช้ เช่น เมื่อ ผู้ใช้โซเซียลมีเดียนำภาพหรือข้อมูลต่างๆ มาแชร์หรือโพสต์ จะต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มา และชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นอย่างชัดเจน เช่นนี้ก็จะถือว่าไม่มีความผิด ส่วนผู้ประกอบธุรกิจ e-Commerce เมื่อมีการนำภาพหรือข้อมูลต่างๆ ของผู้อื่นมาใช้ จะต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาและขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นเสียก่อน มิฉะนั้น อาจเข้า ข่ายกระทำความผิด เนื่องจากมีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะทราบแล้วว่า จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่จะเป็นการดีกว่าหรือไม่ หากผู้ ใช้อินเทอร์เน็ตพึงเคารพสิทธิ์ในเจ้าของผลงาน ไม่ทำการลบแก้ไขหรือดัดแปลงผลงาน รวมทั้งนำภาพหรือข้อมูล ต่างๆ ไปแชร์หรือโพสต์ด้วยจิตสำนึกที่ดี ข้อมูลอ้างอิง : 1) ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : //www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/006/7.PDF. (วันที่ค้นข้อมูล : 28 กันยายน 2558). 2) กรมทรัพย์สินทางปัญญา. กฎหมายลิขสิทธิ์ช่วยขับเคลื่อน “Digital Economy” คุ้มครองผู้สร้างสรรค์ งาน บนอินเตอร์เน็ต กำหนดโทษการละเมิด 10,000 – 400,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ. [ออนไลน์]. (วันที่ค้นข้อมูล : 28 กันยายน 2558) - Source: //www.etcommission.go.th/article-other-topic-license.html

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita