คลอด36สัปดาห์ถือว่าคลอดก่อนกำหนดไหม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้แม่ท้องต้องคลอดก่อนกำหนด

●     การสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มาก ๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอายุครรภ์อ่อน ๆ สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่จากคนใกล้ชิดในครอบครัวเป็นประจำ

●     การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกฮอล์

●     การทานยาบางชนิดในขณะที่ยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ อาจมีผลต่อทารกในครรภ์

●     น้ำหนักตัวของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์น้อยเกินไป

●     การได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะธาตุสังกะสี ซึ่งรายงานระบุว่า สาเหตุของแม่ตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนดเนื่องจากการได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ

●     ทำงานหนักมากเกินไประหว่างตั้งครรภ์หรือทำอาชีพที่ต้องยืนตลอดเวลา

●     การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์

●     การเสียสมดุลฮอร์โมน

●     การติดเชื้อในช่วงตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด ทางเดินปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน หรือการติดเชื้อในช่องคลอดและน้ำคร่ำ เป็นต้น

●     ภาวะปากมดลูกปิดไม่สนิท

●     การหดรัดตัวของมดลูกที่ไวต่อการกระตุ้นและรุนแรงจนทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

●     ภาวะรกเกาะต่ำ ใกล้ปากมดลูก

1. งดให้ญาติและเพื่อน ๆ เข้ามาเยี่ยม เพราะทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีภูมิคุ้มกันที่ยังดีนัก ทำให้สามารถรับเชื้อโรคที่มากับผู้ใหญ่ได้

2. ให้ทารกกินนมแม่ เพิ่มน้ำหนักตัว เพราะในนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูก

3. อาบน้ำให้ลูกน้อยวันละ 1 ครั้งเท่านั้น โดยพยายามรักษาอุณหภูมิร่างกายลูกให้คงที่ จนกว่าลูกจะสามารถดูดนมได้มากกว่า 100 ซีซี และมีน้ำหนักตัว 3 กิโลกรัมขึ้นไป

4. ระบบการหายใจของทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจทำงานไม่ดี หากพบว่าลูกมีเสมหะ น้ำมูกอุดตัน เสียงดังครืดคราด หายใจอกบุ๋ม ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที

5. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ตัวร้อน เกิดการติดเชื้อ มีน้ำมูกเขียวข้น หายใจเร็วหอบ ไอ หน้าซีดขาว ร้องเบาผิดปกติ ท้องอืด ท้องแข็งกะทันหัน ชัก ดูดนมน้อยลง น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น ตาเหลือง ตัวเหลือง ทั้งหมดนี้ ต้องรีบพาไปหาคุณหมอทันที

6. ตรวจสุขภาพทารกตามที่คุณหมอนัดอย่างสม่ำเสมอ

7. หมั่นรักษาความสะอาดภายในบ้าน จัดบ้านให้ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก

8. เลือกผ้าอ้อมที่สะอาด ปลอดภัย อ่อนโยน ไม่ระคายเคือง อย่าง มามี่โพโค ซุปเปอร์ พรีเมี่ยม ออร์แกนิค ที่มอบสัมผัสความอ่อนนุ่มและอ่อนโยนแบบพิเศษสำหรับทารกแรกเกิด เพราะมีส่วนผสมของปุยฝ้ายธรรมชาติ “ออร์แกนิค คอตตอน” ทั้งยังมีนวัตกรรม “ออร์แกนิค สปีด ชีท” แผ่นซึมซับที่บางเบาเพียง 0.4 เซนติเมตร ทำให้ลูกน้อยยิ่งสบายตัว ไม่รู้สึกว่าผ้าอ้อมหนาจนเกินไป ทั้งยังมีนวัตกรรม “ออร์แกนิค สปีด เวฟ” แผ่นซึมซับลอนคลื่น ที่ช่วยซึมซับปัสสาวะได้ทันที จึงไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ไม่เป็นอันตรายสำหรับทารกแรกเกิดที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย

ทั้งนี้หากแม่ตั้งครรภ์ที่รู้ตัวว่ามีปัญหาสุขภาพหรืออยู่ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ควรงดหรือเลิกทำกิจกรรมที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด การฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จะช่วยลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนดได้ รวมถึงการดูแลสุขภาพ นอนหลับพักผ่อน กินอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ ไม่เครียด และมาตรวจตามที่หมอนัดทุกเดือนนะคะ

9 เดือนแล้วเหรอเนี่ย! เวลาผ่านไปเร็วเหลือเกิน! เนื่องจากในตอนนี้ลูกสามารถเลือกที่จะออกมาเมื่อไหร่ก็ได้ คุณแม่จึงควรเตรียมการทุกอย่างให้พร้อมเอาไว้เสมอนะคะ เช่น ถ้าได้เข้าเรียนคลาสดูแลทารกเมื่อสัก 2 - 3 เดือนก่อน ให้ลองเอาเอกสารมาอ่านทบทวนดูและฝึกเทคนิคการหายใจที่ได้เรียนมาพร้อมกับคุณพ่อ ทบทวนแผนในการเดินทางไปโรงพยาบาลและเงื่อนไขที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทางต่าง ๆ แจ้งหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานว่าตอนนี้งานที่คุณแม่ดูแลอยู่ถึงไหนแล้ว พวกเขาจะได้รู้ว่าต้องรับไม้ต่อจากตรงไหนถ้าอยู่ ๆ คุณแม่ก็จะต้องขาดงานไป สัปดาห์ที่ 36 นี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ดีในการออกไปเดทกับคุณพ่อด้วยนะคะ เราคิดว่าคุณแม่อาจจะเต้นไม่ค่อยไหวเท่าไหร่ แต่ถ้าได้รับประทานมื้อเย็นอร่อย ๆ ก็น่าจะดีทีเดียว จริงไหม

ทารกในครรภ์อายุ 36 สัปดาห์มีขนาดตัวเท่าใด

ในสัปดาห์ที่ 36 นี้ ลูกมีขนาดตัวเท่ามะละกอแล้วค่ะ ยาวประมาณ 18.7 นิ้วตั้งแต่หัวถึงเท้า และมีน้ำหนักประมาณ 5.8 ปอนด์

ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์เท่ากับกี่เดือน

เมื่อตั้งครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ แปลว่าคุณแม่ท้องได้ 9 เดือนแล้วนะคะ! เหลืออีกเพียง 4 สัปดาห์เท่านั้นก่อนจะถึงวันคลอด เดินหน้าต่อไปอีกนิดเดียวเท่านั้นค่ะ อย่าลืมว่าการตั้งครรภ์กินระยะเวลา 40 สัปดาห์ ซึ่งแปลว่านานกว่า 9 เดือนตามที่คนทั่วไปเข้าใจกันเล็กน้อย

 

อาการเมื่อตั้งครรภ์ได้ 36 สัปดาห์

เมื่อเหลือเวลาอีกแค่ 4 สัปดาห์ อาการต่าง ๆ ที่คุณแม่ต้องเจอก็มาจากการที่ลูกใกล้จะคลอดนี่ละค่ะ ซึ่งอาจมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • หายใจได้ดีขึ้น เมื่อลูกเคลื่อนตัวลงมาอยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน ปอดของคุณแม่ก็จะมีพื้นที่มากขึ้น และคุณแม่จะหายใจได้สะดวกขึ้นกว่าเดิมค่ะ
  • รู้สึกอึดอัดบริเวณอุ้งเชิงกราน ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุเดียวกับอาการก่อนหน้านั่นเองค่ะ! นั่นคือลูกเคลื่อนตัวลงมาต่ำแล้ว และสร้างแรงกดในบริเวณอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ คอยสังเกตดูนะคะว่ามีสัญญาณของการคลอดหรือเปล่า รวมถึงการบีบตัวอย่างสม่ำเสมอที่ไม่หายไปด้วยนะคะ
  • มีปัญหาด้านการนอน ตื่นขึ้นมาตอนตีสามเพื่อเขียนโน้ตขอบคุณและจัดตู้เสื้อผ้าอีกแล้วหรือเปล่าคะ? เราเข้าใจค่ะ อยากให้คุณแม่หาวิธีการผ่อนคลายดูนะคะ แม้ว่าจะไม่ค่อยได้หลับก็ตาม
  • แสบร้อนกลางอก ลูกที่กำลังโตของคุณแม่รบกวนระบบการย่อยของคุณแม่อย่างมาก ทำให้มันไม่สามารถทำงานอย่างปกติเหมือนตอนก่อนท้อง ยาลดกรดสามารถช่วยได้ค่ะ (แต่ต้องให้คุณหมออนุญาตก่อนนะคะ) พยายามป้องกันอาการนี้ให้มากที่สุดโดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเปรี้ยว เผ็ด อาหารหมักดอง หรืออาหารที่มีความมันนะคะ (ไม่สนุกเลยใช่ไหม เรารู้ค่ะ แต่ว่ายังไงก็ดีกว่ามีอาการขึ้นมาใช่ไหมล่ะ)
  • ข้อเท้าและเท้าบวม การบวมเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นเรื่องปกติในสัปดาห์ที่ 36 นี้ และคุณแม่มีโอกาสที่จะเกิดอาการนี้มากขึ้นหากท้องลูกแฝด คุณแม่อาจพบว่าทันทีที่คลอดลูก อาการบวมจะหายไปจนหมด แต่ต้องระวังนะคะ! ถ้ามีอาการบวมขึ้นมาแบบเฉียบพลันหรือรุนแรง เพราะนั่นคือสัญญาณของปัญหาที่น่ากังวล แจ้งคุณหมอให้ทราบโดยด่วนค่ะ
  • ตกขาวเปลี่ยนไป ในสัปดาห์นี้คุณแม่อาจมีตกขาวเพิ่มขึ้นเนื่องจากร่างกายกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด แต่ให้เฝ้าระวังหากมีน้ำใส ๆ ไหลออกมา (นั่นอาจจะเป็นน้ำคร่ำได้ค่ะ รีบโทร.หาคุณหมอด่วนเลยนะคะ) มีเลือดออก (สัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด) และของเหลวที่มีลักษณะคล้ายมูกหรือตกขาวที่มีเลือดปน ซึ่งอาจจะเป็นมูกบริเวณปากมดลูก การที่มูกเหล่านั้นถูกขับออกมาเป็นสัญญาณว่าคุณแม่ใกล้คลอดมาก ๆ แล้ว แต่ใกล้แค่ไหน อันนี้เราก็ไม่สามารถบอกได้นะคะ!
  • เจ็บเตือนหรือเจ็บหลอก คุณแม่อาจจะยังรู้สึกว่าในท้องมีอาการบีบเกร็งอยู่ในระยะนี้ และอาจจะรุนแรงขึ้น ที่จริงแล้วมีคุณแม่บางคนที่มาโรงพยาบาลเพราะคิดว่าตัวเองใกล้คลอด แต่แล้วก็ต้องกลับบ้านไป ในสัปดาห์นี้ หากมีอาการปวดท้องในลักษณะเดียวกับปวดประจำเดือนเป็นอย่างน้อย นั่นไม่ใช่การเจ็บเตือนหรือเจ็บหลอกค่ะ และหากคุณแม่มีอาการเจ็บที่รุนแรงมาก รีบแจ้งคุณหมอโดยด่วนนะคะ

เพราะในสัปดาห์นี้สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณแม่กำลังใกล้คลอดนั้นอาจแยกจากอาการไม่สบายตัวระหว่างตั้งครรภ์ตามปกติได้ยาก คุณแม่จึงอาจจะอยากแจ้งให้คุณหมอทราบถ้าหากมีอะไรที่ผิดปกติ โทร.ไปก็ไม่เสียหายนะคะ และใช่แล้ว ต่อให้ไปโรงพยาบาลแต่ยังไม่ได้คลอดก็ไม่เสียหายเช่นกัน อย่างแย่ที่สุดก็คือคุณแม่แค่กลับบ้านไปพักเท่านั้นเองค่ะ

ท้องของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์

ในสัปดาห์ที่ 36 นี้ ท้องของคุณแม่อาจจะไม่ได้เปลี่ยนไปมากนักจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยรวมแล้วตอนนี้คุณแม่น่าจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาราว 25 - 35 ปอนด์ค่ะ ซึ่งเป็นน้ำหนักที่แนะนำสำหรับผู้หญิงที่มีดัชนีมวลกายปกติ ซึ่งนั่นอาจทำให้คุณแม่เคลื่อนไหวลำบากมากขึ้น (หรืออาจจะต้องเดินอุ้ยอ้าย) น้ำหนักของคุณแม่อาจจะขึ้นอีกไม่มากนักหลังจากนี้ อาจประมาณครึ่งปอนด์ต่อสัปดาห์จนกว่าลูกจะคลอดค่ะ

ถ้าคุณแม่อุ้มท้องแฝดได้ 36 สัปดาห์ คุณแม่อาจน้ำหนักขึ้นมา 35 - 45 ปอนด์ การจะพูดว่าท้องแน่นไปหมดนั้นก็ยังถือว่าห่างไกลกับความเป็นจริงมากทีเดียวค่ะ ขณะที่ส่วนใหญ่แม่ลูกแฝดจะคลอดที่สัปดาห์ที่ 36 แต่ก็มีโอกาสที่คุณแม่จะต้องรอต่อไปอีกสัก 2 หรือ 3 สัปดาห์นะคะ อย่าลืมว่ายิ่งอุ้มท้องไปนานเท่าไร โอกาสที่ลูกจะต้องเข้าไปอยู่ในห้อง NICU หลังคลอดก็น้อยลงมากเท่านั้น ดังนั้นถึงแม้คุณแม่จะรู้สึกไม่สบายตัวอย่างมาก ให้อดทนเอาไว้และท่องไว้ว่ายิ่งนานยิ่งดีกับลูกนะคะ!

การอัลตราซาวนด์เมื่อตั้งครรภ์ได้ 36 สัปดาห์

ในสัปดาห์ที่ 36 นี้ ตับและไตของลูกทำงานสอดประสานกันเป็นอย่างดี การไหลเวียนและระบบภูมิคุ้มกันพร้อมแล้วเช่นกัน ตอนนี้ลูกเกือบจะสามารถหายใจเองได้แล้วนะคะ นอกจากนี้ ตัวอ่อนวัย 36 สัปดาห์ยังมีผิวที่เรียบลื่นและนุ่มขึ้นอีกด้วย ส่วนเหงือกก็เริ่มแข็งขึ้นแล้วค่ะ

ในการนัดฝากครรภ์สัปดาห์ที่ 36 คุณหมออาจจะตรวจดูตำแหน่งของลูกค่ะ ตอนนี้ลูกควรจะเอาหัวลงแล้ว แต่ถ้ายังไม่เอาหัวลง แปลว่า “ลูกไม่กลับหัว” ค่ะ อย่าตกใจไปนะคะถ้าลูกยังอยู่ในท่านั้นระหว่างสัปดาห์นี้ เพราะยังมีโอกาสที่ลูกจะกลับหัวเองได้ตามธรรมชาติอยู่ค่ะ

คุณหมออาจจะอยากช่วยหมุนเปลี่ยนท่าของทารกที่ไม่กลับหัวนะคะ การหมุนเปลี่ยนท่าคือความพยายามในการหมุนตัวทารกโดยการใช้มือดันผ่านหน้าท้องของคุณแม่ ฟังดูน่ากลัวใช่ไหมคะ (และอาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายใจเท่าไร) แต่ไม่ต้องกังวลค่ะ นี่เป็นกระบวนการที่มีความเสี่ยงต่ำและประสบความสำเร็จมากกว่า 50% โดยก่อนหน้านั้นคุณแม่จะได้รับยาที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก จะมีการอัลตราซาวนด์เพื่อที่คุณหมอจะได้เห็นว่าลูกอยู่ในท่าไหนและรกอยู่ที่ตำแหน่งใด ระหว่างกระบวนการจะมีการอัลตราซาวนด์ไปด้วยเพื่อให้คุณหมอรู้ว่าต้องเคลื่อนไปทางไหน และจะมีการติดตามอัตราการเต้นของหัวใจลูกทั้งก่อน หลัง หรือแม้กระทั่งระหว่างทำด้วยค่ะ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างเป็นไปอย่างปกติดีที่สุด ขอให้ทุกอย่างออกมาราบรื่นนะคะ

คุณแม่จะได้รับการตรวจหาเชื้อ GBS ในช่วงสัปดาห์นี้ด้วยนะคะ เป็นการทดสอบว่าคุณแม่มีแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Group B Streptococcus อยู่ในร่างกายหรือไม่ ถ้ามี คุณแม่อาจไม่รู้ตัวเลย และอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะได้ สำหรับลูก แบคทีเรียนี้อาจทำให้เกิดปัญหาที่น่ากังวลกว่านั้นและอาจมีผลต่อชีวิตเลยทีเดียว คุณแม่ประมาณ 10 - 30% มีผลการตรวจเป็นบวกค่ะ ส่วนวิธีการรักษานั้นง่ายมาก นั่นคือคุณแม่จะได้รับยาปฏิชีวนะในระหว่างการคลอดเพื่อลดโอกาสแพร่เชื้อให้แก่ลูก

แต่ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์น้องแฝด หรือมีภาวะที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไต หรือโรคหัวใจ คุณแม่อาจต้องได้รับการตรวจ Biophysical profile ที่เป็นการตรวจอัลตราซาวนด์ ร่วมกับการตรวจ Non-stress test เพื่อให้คุณหมอสามารถประเมินได้ว่าทารกนั้นเป็นอย่างไรบ้าง อีกทั้งยังสามารถเตรียมการได้หากต้องคลอดก่อนกำหนดด้วยค่ะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita