ความเชื่อเกี่ยวกับดนตรีสากล

  ดนตรีเป็นศาสตร์และศิลปะที่เกิดเคียงคู่มนุษย์มาอย่างยาวนานนับตั้งแต่อดีตและมีบทบาทเกี่ยวข้องกับมนุษย์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหากเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต ดนตรีก็จะเป็นเสมือนมิตรที่อยู่เคียงคู่กับเรา  ไม่ว่าในยามทุกข์ หรือยามสุข ด้วยเหตุนี้เราจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจศาสตร์ของดนตรีและนำดนตรีไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆให้เหมาะสม ทั้งนี้ ในแต่ละยุคสมัยของดนตรีสากล มีศิลปิน หรือสังคีตกวีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมากมาย  ดังนี้ การที่จะเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับลักษระของดนตรีสากลได้นั้นจึงเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคุณค่าของดนตรีในชีวิตประจำวัน  ประเภทของเพลงสากลศัพท์สังคีต และสังคีตกวีสากลที่สำคัย เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป


 ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักนำดนตรีมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลังจากที่มนุษย์รู้จักการจดบันทึกข้อมูล จึงทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบประวัติความเป็นมาของดนตรี การศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรี ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และเข้าใจการสืบทอดทางวัฒนธรรมดนตรี

             การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มีร ูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติ ต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่น ำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติ กรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

             การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบรา ณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค Middle age คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6 และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง และจังหวะ ( Pitch and time ) ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ ในโพรงไม้ แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่าปาก เป่าเขา และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขค วามสบาย

              โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย ์ เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั ้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา และเพลงร้องโดยทั่วๆไป

             ในระยะแรก ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ&am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am ; เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา

              การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตั วเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันน ี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อ นหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพส ังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสม ัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตาม แนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกัน จนถึง ปัจจุบันนี้

               การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจากเป็นไปเพื่อความสุขใจในกา รได้ศึกษา เรียนรู้ และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดยตรงแล้ว ยังเป็นการศึกษาเป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นแล ะการเปลี่ยนแปลงในแง่ของดนตรีในปัจจุบัน และเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีในอนาคต ด้วย
            ดนตรีเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ และถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักการสร้างเสียงดนตรีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร เช่น การตีเกราะ เคาะไม้ การเป่าเขาสัตว์ การเป่าใบไม้ เพื่อส่งสัญญาณต่างๆ มนุษย์รู้จักการร้องรำทำเพลง เพื่อให้หายเครียด เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการประกอบพิธีกรรมต่างๆ กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของเสียงดนตรี มนุษย์ได้ทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติของมนุษย์มาโดยตลอด ต่อมาเมื่อมนุษย์ได้สนใจดนตรีในด้านศิลปะ ดนตรีจึงได้วิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ

                     นับตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันดนตรีจะมีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์อย่างมากตั้งแต่เริ่มแรกของการกำเนิดชีวิตจนกระทั่งถึงตาย จะเห็นว่าในตลอดชีวิตของคนจะต้องมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ทั้งนี้จะเป็นไปตามความเชื่อ วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของมนุษย์แต่ละชนชาติ ดนตรีมีส่วนเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความสุขความสนุกสนาน เพื่อให้มนุษย์คลายจากความกลัว ความกังวล ความเหน็ดเหนื่อย หรือความทุกข์ทั้งปวง ดนตรีนับว่ามีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์มากมาย
แต่ก่อนที่นักเรียนจะใช้ประโยชน์จากดนตรีได้อย่างแท้จริง นักเรียนต้องรู้จักรู้วิธีการสร้างสรรค์ผลงานจากดนตรีเสียก่อน แล้วจึงนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

                 1. การสร้างสรรค์ทางดนตรี

ให้นักเรียนได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีที่ผ่านมาแล้วเรียบเรียงสาระความรู้แลประสบการณ์ที่นักเรียนได้รับ จะเห็นว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีประสบการณ์เกี่ยวกับดนตรีเพิ่มขึ้นมาก ทั้งดนตรีพื้นเมือง ดนตรีไทยและดนตรีสากลการฟังเพลงหรือการฟังดนตรี ตลอดจนการวิเคราะห์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานดนตรี ถ้านักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์เหล่านี้ มาคิดสร้างสรรค์เป็นผลงานทางดนตรีจะได้กิจกรรมดนตรีเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้นักเรียนที่มีความสนใจทางด้านดนตรี สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ มีความสามารถในเชิงดนตรีต่อไปในภายหน้าได้ หรืออาจนำไปปรับ
และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

               ผลงานทางดนตรีที่นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ขึ้นได้ด้วยตนเองมีมากมาย ได้แก่

1.1 การจัดทำสมุดภาพรวบรวมเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล

1.2 การรวบรวมบทเพลงทั้งเพลงไทยและเพลงสากล

1.3 การรวบรวมความรู้ทางด้านดนตรีและการขับร้อง

1.4 การร้องเพลงไทยและเพลงแนวสากล

1.5 การร้องเพลงประกอบการแสดง

1.6 การเล่นเครื่องดนตรีที่ตนเองถนัดหรือสนใจ

1.7 การร่วมเล่นดนตรีกับเพื่อน ๆ เป็นวงดนตรีประเภทต่าง ๆ

1.8 การแสดงท่าทางประกอบเพลง

1.9 การแสดงชุดร้องรำทำเพลงหรือชุดแสดงต่าง ๆ

1.10 การแต่งเพลงง่าย ๆ

                  2. การนำความรู้ทางดนตรีไปใช้ในการเรียนรู้
การเรียนรู้ในยุคนี้คงไม่เรียนเฉพาะวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น คงจะต้องเรียนรู้อย่างกว้างขวางและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นความรู้และประสบการณ์ที่นักเรียนได้รับ สามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนี้

2.1 ดนตรีกับศิลปะด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องทฤษฎี รูปแบบ เทคนิค กระบวนการ หลักการวิธีการสร้างสรรค์และสุนทรียภาพมาเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน

2.2 ดนตรีกับภาษา เกี่ยวกับเรื่องการใช้ภาษา การประพันธ์ การพูด การเขียน การสื่อความหมาย และการสื่อสาร

2.3 ดนตรีกับคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องการคิดคำนวณ การวิเคราะห์ จินตนาการ และการสร้างสรรค์

2.4 ดนตรีกับวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องดนตรี หลักกลไก การเกิดเสียงและระบบไฟฟ้า

2.5 ดนตรีกับสุขศึกษา-พลศึกษา เกี่ยวกับเรื่องการรักษาสุขอนามัย การเคลื่อนไหว การพัฒนาบุคลิกภาพ และการออกกำลังกาย

2.6 ดนตรีกับงานอาชีพ สามารถเชื่อมโยงในเรื่องการเลือกประกอบอาชีพการพัฒนางานโดยใชนวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ และการสร้างสรรค์ผลงานด้านอื่น ๆ

จะเห็นว่าความรู้ทางดนตรีสามารถที่จะนำไปเชื่อมโยงกับความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ถ้านักเรียนสามารถเรียนรู้ในลักษณะการเชื่อมโยงกันอย่างนี้ จะทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้สอดคล้องกับชีวิตจริงและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

                 3. การนำความรู้ทางดนตรีไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจหรือมีประสบการณ์ทางดนตรีและสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ เราสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปปรับและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้

3.1 การแสดงความสามารถพิเศษในการร้องเพลงและเล่นดนตรีที่ตนเองถนัดและสนใจ

3.2 การแสดงออกในโอกาสต่าง ๆ เมื่อได้รับเชิญหรือถูกกำหนดให้แสดงความสามารถ

3.3 การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเมื่อมีเวลาว่าง เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

3.4 การฟังเพลงร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อผ่อนคลายความเห็นเหน็ดเหนื่อยหรือความเครียด

3.5 การฟังเพลง ร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อพัฒนาความคิดหรือความสามารถในการเรียนรู้

3.6 การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อพัฒนาความสามารถทางดนตรี

3.7 การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อเป็นการฝึกสมาธิและส่งเสริมสุขภาพจิต

3.8 การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพและค่านิยม

3.9 การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อส่งเสริมการสร้างมนุษยสัมพันธ์

3.10 ประกอบอาชีพสุจริต

การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค Middle age คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6 และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง และจังหวะ ( Pitch and time ) ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ ในโพรงไม้ แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่าปาก เป่าเขา และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย

                โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา และเพลงร้องโดยทั่วๆไป

                   ในระยะแรก ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา

                              ยุคต่างๆของดนตรีสากล

                  นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีสากลออกเป็นยุคต่างๆดังนี้

                       1. Polyphonic Perio (ค.ศ. 1200-1650) ยุคนี้เป็นยุคแรก วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี
                       2. Baroque Period (ค.ศ. 1650-1750) ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์ มีมากขึ้น มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร (โอเปร่า) เกิดขึ้น มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ J.S. Bach และ G.H. Handen
                      3.Classical Period ( ค.ศ. 1750-1820 ) ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ มีความรุ่งเรืองมากขึ้น มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ HaydnGluck และMozart
                       4. Romantic Period ( ค.ศ. 1820-1900 ) ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด เรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beetoven และคนอื่นอีกมากมาย
                       5.Modern Period ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ) เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน


                     ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติ ศาสนา โดยเฉพาะทางดนตรีตะวันตก นับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนามาก บทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเรียกว่าเพลงวัดนั้น ได้แต่งขึ้นอย่างถูกหลักเกณฑ์ ตามหลักวิชาการดนตรี ผู้แต่งเพลงวัดต้องมีความรู้ความสามารถสูง เพราะต้องแต่งขึ้นให้สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้นิยมเลื่อมใสในศาสนามากขึ้น ดังนั้นบทเพลงสวดในศาสนาคริสต์จึงมีเสียงดนตรีประโคมประกอบการสวดมนต์ เมื่อมีบทเพลงเกี่ยวกับศาสนามากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการลืมจึงได้มีผู้ประดิษฐ์สัญลักษณ์ต่างๆแทนทำนอง เมื่อประมาณ ค.ศ. 1000 สัญลักษณ์ดังกล่าวคือ ตัวโน้ต ( Note ) นั่นเอง โน้ตเพลงที่ใช้ในหลักวิชาดนตรีเบื้องต้นเป็นเสียงโด เร มี นั้น เป็นคำสวดในภาษาละติน จึงกล่าวได้ว่าวิชาดนตรีมีจุดกำเนิดมาจากวัดหรือศาสนา ซึ่งในยุโรปนั้นถือว่าเพลงเกี่ยวกับศาสนานั้นเป็นเพลงชั้นสูงสุด
วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน หรือจำนวนของผู้บรรเลงที่ต่างกันก็จะมีชื่อเรียกวงดนตรีต่างกัน
ประเภทของเพลงดนตรี


                                            เพลงประเภทต่างๆ แบ่งตามลักษณะของวงดนตรีได้ 6 ประเภท ดังนี้
                      1. เพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า ( Orchestra ) มีดังนี้
- ซิมโฟนี่ (Symphony) หมายถึงการบรรเลงเพลงโซนาตา ( Sonata) ทั้งวง คำว่าSonata หมายถึง เพลงเดี่ยวของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เช่นเพลงของไวโอลิน เรียกว่า Violin Sonata เครื่องดนตรีชนิดอื่นๆก็เช่นเดียวกัน การนำเอาเพลง
โซนาตาของเครื่องดนตรีหลายๆชนิดมาบรรเลงพร้อมกันเรียกว่า ซิมโฟนี่
- คอนเซอร์โต ( Concerto) คือเพลงผสมระหว่างโซนาตากับซิมโฟนี่ แทนที่จะมีเพลงเดี่ยวแต่อย่างเดียว หรือบรรเลงพร้อมๆกันไปในขณะเดียวกัน เครื่องดนตรีที่แสดงการเดี่ยวนั้น ส่วนมากใช้ไวโอลินหรือเปียโน
- เพลงเบ็ดเตล็ด เป็นเพลงที่แต่งขึ้นบรรเลงเบ็ดเตล็ดไม่มีเนื้อร้อง
                      2. เพลงที่บรรเลงโดยวงแชมเบอร์มิวสิค ( Chamber Music ) เป็นเพลงสั้นๆ ต้องการแสดงลวดลายของการบรรเลงและการประสานเสียง ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย คือไวโอลิน วิโอลา และเชลโล
                      3. สำหรับเดี่ยว เพลงประเภทนี้แต่งขึ้นสำหรับเครื่องดนตรีชิ้นเดียวเรียกว่า เพลง โซนาตา
                       4. โอราทอริโอ ( Oratorio ) และแคนตาตา ( Cantata) เป็นเพลงสำหรับศาสนาใช้ร้องในโบสถ์ จัดเป็นโอเปรา แบบหนึ่ง แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา
                       5. โอเปรา (Opera ) หมายถึงเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงละครที่มีการร้องโต้ตอบกันตลอดเรื่อง เพลงประเภทนี้ใช้ในวงดนตรีวงใหญ่บรรเลงประกอบ

                         6. เพลงที่ขับร้องโดยทั่วไปได้แก่ เพลงที่ร้องเดี่ยว ร้องหมู่ หรือร้องประสานเสียงในวงออร์เคสตรา คามวงคอมโบ ( Combo) หรือชาโดว์ (Shadow ) ซึ่งนิยมฟังกันทั้งจากแผ่นเสียงและจากวงดนตรีที่บรรเลงกันอยู่โดยทั่วไป




อ้างอิง //sites.google.com/site/nuengruethaimusic/hnwy-thi-3-kar-ptibati-dntri-thiy/kenth-ni-kar-pramein-khunphaph-phl-ngan-dntri-thiy

ดนตรีสากลมีความสำคัญกับสังคมไทยอย่างไร

การใช้ดนตรีสากลประกอบใน พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์อันเคร่งครัด เผยแพร่เข้ามาในสังคมไทย คนไทยยอมรับในความเชื่อ ความ- ศักดิ์สิทธิ์และความเกรียงไกรนั้น • นักดนตรีไทยมีความเคารพครู ดนตรีและเครื่องดนตรีไทยเป็นของ สูง ซึ่งหากมีความศรัทธาและ ประพฤติตามหลักคุณธรรมก็จะ ประสบความสาเร็จในอาชีพดนตรี

ดนตรีมีส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่ออย่างไร

5. ดนตรีมีส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่ออย่างไร ตอบ เป็นสิ่งที่เชื่อถือว่าสามารถสื่อถึงเทพเจ้าหรือสิ่งที่มองไม่เห็นได้)

ดนตรีสากลมีประโยชน์ในการพัฒนาสมองมนุษย์อย่างไร

ช่วยพัฒนาสมอง การฟังเพลงจะทำให้สมองซีกซ้ายและซีกขวาได้ทำงานอย่างเต็มที่ เพราะเสียงเพลงจะทำให้ผู้ฟังปลดปล่อยจินตนาการ และความคิดออกมา แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อสมองซีกขวา และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้สมองซีกซ้ายอีกด้วย

ดนตรีสากลมีลักษณะเด่นชัดอย่างไร

ดนตรีสากลยังมีลักษณะเด่น คือ มีรากฐานมาจากเพลงศาสนา ในเวลาต่อมาเริ่มประดิษฐ์ให้มีระดับเสียงต่างๆ เพิ่มขึ้นจนกลายเป็น ทานองในที่สุด ลักษณะเด่นที่ทาให้ดนตรีสากลเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก เช่น เช่น วงออร์เคสตรา เป็นวงดนตรีที่ได้รับ การยอมรับและได้รับการพัฒนามาหลายศตวรรษ จนถึงปัจจุบัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita