ข้อสอบจัดเก็บรายได้ พร้อมเฉลย

สรุปเนื้อหา แนวข้อสอบ เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ปฏิบัติงาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พร้อมเฉลย

รวบรวมและจัดทำโดย : สถาบันวิชาการ ตำราทอง

รูปแบบ : หนังสือ เข้าเล่ม ไสกาว

3.เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ปฏิบัติงาน

2.นักวิชาการจัดเก็บรายได้ปฏิบัติการ

#แจกฟรีทุกท่าน แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 เข้าไปโหลดมาอ่านได้จ้า #ต้องขออภัย แอดมินส่งให้ทางแชท หรืออีเมลไม่ไหวจ้า //www.facebook.com/groups/865259133857107/

Posted by แนวข้อสอบนักวิชาการจัดเก็บรายได้ เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ อปท. กทม. on Wednesday, May 29, 2019

- แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

- ไม่เป็นป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีป้าย

2. ป้ายที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้าย

1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ บริเวณโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณา

2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า

3. ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว

4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์

5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบกิจการค้า

6. ป้ายของราชการ

7. ป้ายขององค์การที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายนั้นๆ และนำรายได้ส่งรัฐ 

8. ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตร

และสหกรณ์การเกษตร และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

9. ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน

10. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน

11.  ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินการกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ

12. ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ

13. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510

1. ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรคเตอร์

2.  ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน

3. ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือ 1 และ 2 โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร

3.  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย

1) เจ้าของป้าย

2) ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นแบบฯ หรือเมื่อ พนง. จนท. ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ

4.  ระยะเวลาการยื่นแบบฯเสียภาษีป้าย

1) เจ้าของป้ายต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

2) ติดตั้งป้ายหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้งป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้ยื่นแบบฯภายใน 15 วัน

5.  คำนวณพื้นที่ อัตราค่าภาษี และคำนวณภาษีป้าย

5.1 การคำนวณพื้นที่ป้าย ให้คำนวณเป็นตารางเซนติเมตร 

5.2 อัตราภาษีป้าย แบ่งเป็น 3 อัตรา ดังนี้

1) ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

2) ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและหรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา 20 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

3) ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 40 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

- ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดหรือไม่

- ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

4) ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีป้ายแล้วอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตราตาม 1) 2) หรือ 3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น

5) ป้ายตาม 1) 2) หรือ 3) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราที่ต้องเสียต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

5.3 การคำนวณค่าภาษี ให้คำนวณโดยนำพื้นที่ป้ายคูณด้วยอัตราภาษีป้าย เช่น ป้ายที่ต้องเสียภาษีมีพื้นที่ 10,000 

ตารางเซนติเมตร เป็นป้ายประเภทที่ 2 ป้ายนี้เสียภาษีดังนี้  10,000/ 500X 20 = 400 บาท

6.  เงินเพิ่ม

   ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะต้องเสียเงินเพิ่มในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้

1) ไม่ยื่นแบบฯ ภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของค่าภาษีป้าย เว้นแต่ได้ยื่นแบบฯก่อนที่ พนง.จนท.แจ้งให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของค่าภาษีป้าย

2) ยื่นแบบฯโดยไม่ถูกต้อง ทำให้เสียภาษีลดลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของค่าภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่กรณีได้มาขอแก้ไขแบบฯให้ถูกต้องก่อน พนง.จนท.แจ้งการประเมิน

3) ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือนของค่าภาษีป้าย เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม 8.1 และ 8.2 มาคำนวณเป็นเงินเพิ่มตามข้อนี้ด้วย

7.  บทกำหนดโทษ

1) ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือนำพยาน หลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2) ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาทถึง 50,000 บาท 

3) ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายหรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท

4) ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติของ พนง.จนท.หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งซึ่งสั่งให้มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งบัญชีหรือเอกสารเกี่ยวกับป้ายมาตรวจสอบภายในกำหนดเวลาอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

8.  การอุทธรณ์การประเมินภาษี

   เมื่อผู้เสียภาษีได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ป.3) แล้วเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้อง มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อผู้บริหารท้องถิ่น โดยยื่นอุทธรณ์ผ่านเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไว้ โดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

   ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้บริหารท้องถิ่นต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์

9.  การขอคืนเงินภาษีป้าย

   ผู้ที่เสียภาษีป้ายโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินกว่าที่ควรจะต้องเสีย ผู้นั้นมีสิทธิขอรับคืนเงินได้โดยยื่นคำร้องขอคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เสียภาษีป้าย

อัตราภาษีป้าย แบ่งเป็น 3 อัตรา ดังนี้

อัตราภาษีป้าย (ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร)

ลักษณะ   บาท

1) อักษรไทยล้วน   3

2) อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ/ภาพ/เครื่องหมายอื่น   20

3)ป้ายดังต่อไปนี้   40

    ก. ไม่มีอักษรไทย   

   ข.   อักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ   

4) ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายได้เสียภาษีป้ายแล้วอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้อัตราตาม 1) 2) หรือ 3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น   

5) ป้ายใดเสียต่ำกว่า 200 บาท ให้เสีย 200 บาท   

การตีราคาปานกลาง

มาตรา 13   ให้นำราคาที่ดินในหน่วยที่ศึกษา ซึ่งซื้อขายกันโดยสุจริต ครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่า 3 ราย,

ไม่เกิน 1 ปี

มาตรา 14   ผู้ว่าราชการจังหวัด ตั้งแต่คณะกรรมการ

มาตรา 16   ตีราคาปานกลางทุกระยะ 4 ปี

มาตรา 18   ให้ดำเนินการภายในเดือนตุลาคมของปีที่จะครบรอบ 4 ปี

มาตรา 20   เจ้าของที่ดินไม่เห็นด้วย อุทธรณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ภายใน 30 วัน

ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่

1. ที่ดินของบุคคลหรือคณะบุคคล มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือสิทธิครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิของเอกชน ได้แก่ พื้นที่ดิน ภูเขาหรือน้ำด้วย (มาตรา 6)

2. ไม่เป็นที่ดินที่ได้รับการยกเว้นภาษีหรืออยู่ในเกณฑ์ลดหย่อน (มาตรา 8 และมาตรา 22)

การแต่งตั้ง เจ้าพนักงานประเมิน และ เจ้าพนักงานสำรวจ (มาตร 9)

1. เขตเทศบาล ให้นายกเทศมนตรี

2. นอกเขตเทศบาล ให้นายอำเภอท้องที่

ที่ดินที่เจ้าของที่ดินไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ (มาตรา 8)

1. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน

2. ที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินของรัฐที่ใช้ใน กิจการของรัฐหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์

3. ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์

4. ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ

5. ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไม่ว่าจะใช้ประกอบ    ศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง  หรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์

6. ที่ดินที่ใช้เป็นสุสานหรือฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน

การลดหย่อนภาษีบำรุงท้องที่ (มาตรา 22)

   บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวกันหรือหลายแปลงที่อยู่ในเขตจังหวัดเดียวกัน และที่ใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตน เป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตน หรือประกอบกสิกรรมของตนให้ลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่กำหนดในข้อบังคับดังนี้

(1)  นอกเขตเทศบาล ลดหย่อนไม่เกิน 5 ไร่ แต่ไม่น้อยกว่า 3 ไร่ ทั้งนี้

(2) ในเขตเทศบาลตำบล ลดหย่อนไม่เกิน 1 ไร่ แต่ไม่น้อยกว่า 200 ตารางวา

(3) ในเขตเมืองพัทยาและเขตเทศบาลอื่นนอกจาก (2) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100 ตารางวา แต่ไม่น้อยกว่า 50 ตารางวา

(4) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ลดหย่อนได้ดังนี้

. ชุมชนหนาแน่นมาก ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100 ตารางวา แต่ไม่น้อยกว่า 50 ตารางวา

. ชุมชนหนาแน่นปานกลาง ลดหย่อนได้ไม่เกิน 1 ไร่ แต่ไม่น้อยกว่า 100 ตารางวา

. ในท้องที่ชนบท ลดหย่อนได้ไม่เกิน 5 ไร่ แต่ไม่น้อยกว่า 3 ไร่

ท้องที่ใดจะเป็นท้องที่ตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างและใช้สิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นสถานการค้าหรือให้เช่าไม่ได้รับการลดหย่อนสำหรับส่วนของที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างที่เป็นสถานการค้าหรือให้เช่านั้น

ในกรณีที่บุคคลธรรมดาหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน ให้ได้รับการลดหย่อนรวมกันตามเกณฑ์ที่กำหนดดังกล่าวข้างต้น

การลดหย่อนตามเกณฑ์ในมาตรานี้ให้ได้รับการลดหย่อนสำหรับที่ดินที่อยู่ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งแต่จังหวัดเดียว

มาตรา 23   การเพาะปลูก ถ้าในปีล่วงมาแล้ว เสียหายมากผิดปกติ/ทำการเพาะปลูกไม่ได้ ด้วยเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไปผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจพิจารณายกเว้น/ลดภาษี ตามระเบียบมหาดไทย

- เสียหายเกิน 2 ใน 3 ของเนื้อที่เพาะปลูก ยกเว้นทั้งหมด

- เสียหายเกิน 2 ใน 3 แต่ไม่เกิน 2 ใน 3 ลดตามส่วนที่เสียหาย

หลักฐานที่ใช้ประกอบในการเสียภาษี

   ปีแรกของการเสียภาษี ควรแนะนำผู้เสียนำหลักบานเท่าที่จำเป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี เช่น 

1. บัตรประตัวประชาชน

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

3. หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนบริษัท

4. หลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเจ้าของที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.3

5.  ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)

6.  หนังสือมอบอำนาจกรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำการแทน

ปีต่อไป ให้นำ ภ.บ.ท.5 ท่อนที่มอบให้เจ้าของที่ดินหรือใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้ายมาด้วย

การยื่นแบบฯ กรณีเป็นเจ้าของที่ดินรายใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลง

1) เจ้าของที่ดินเปลี่ยนแปลงจำนวนเนื้อที่ดินหรือเป็นผู้ได้รับโอนที่ดินขึ้นใหม่ ต้องมายื่นแบบฯ หรือยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงจำนวนเนื้อที่ดิน ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับโอนหรือมีการเปลี่ยนแปลงโดยใช้แบบ      ภ.บ.ท.5 หรือ ภ.บ.ท.8 แล้วแต่กรณี

2) เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแบบแล้ว จะออกใบรับไว้ให้เป็นหลักฐาน

3) เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบว่าจะต้องเสียภาษีในปีต่อไปจำนวนเท่าใด

4) การขอชำระภาษีบำรุงท้องที่ในปีถัดไปจากปีที่มีการประเมินราคาปานกลางของที่ดินให้ผู้รับประเมินนำใบเสร็จรับเงินของปีก่อนพร้อมไปชำระภายในเดือนเมษายนของทุกปี

เงินเพิ่ม

1. ไม่ยื่นแบบฯภายในกำหนด เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษี เว้นแต่ได้ยื่นแบบฯ ก่อนที่ จพง.ประเมินจะแจ้ง เสียงเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของภาษี

2. ยื่นแบบฯไม่ถูกต้องทำให้เสียภาษีลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ที่ประเมินเดิม เว้นแต่ได้มาขอแก้ไขแบบฯให้ถูกต้องก่อน จพง.ประเมินแจ้ง

3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้องต่อ จพง.สำรวจ ทำให้เสียภาษี ลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่าของภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita