อุตสาหกรรมน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยอยู่ในจังหวัดใด

����ǡѺ���
 

�������ӵ����������ͧ ��������鹡��Դ����������ѧʧ�����š���駷�� 2 ��й�鹻�����¡��ѧ���ʺ�ѭ���ԡĵ��ó��ӵ�ŢҴ�Ź �������Ѱ��Ũ��չ�º��ʹѺʹع����͡����͵���ç�ҹ��ӵ����������ԡĵ��ó�ѧ����� ���Ҥ�͡����ǹ�˭��ѧ�����ʺ�ѭ������ͧ�鹷ع�������ͧ�ѡ�����ػ�ó��ҧ� ����ͧ��觫��ͨҡ��ҧ����ȫ�����Ҥ��٧�ҡ  㹢�з�� ��س������ ��ɮҸÔ ���ͷ�����ѡ�ѹ��㹹�� ���������蹔 ���ͷ���ǵ�ҧ�ҵԢ�ҹ������ �Thailand�s King of Sugar� ����դ�������ö��ԧ��ҧ ��������������ӹҭ��ҹ��ҧ��֧���硻�д�ɰ�����ǹ�ػ�ó��ҧ� ������ҡ ������Ҥ�ᾧ����Ѻ��Ե��ӵ�ŷ��¢�������ͧ�繼������ ���Ե�ͧ��觾ҡ����觫�����й��������ͧ�ѡèҡ��ҧ����������ҧ� �����Ѵ��� �����ѷ ��������� �ӡѴ� ��� ������ѹ��� 7 ����Ҥ� 2489 ������dz��¾�������� �����ͧ�ʹ�ʺ ��ا෾��ҹ�� ��觶�����ç�ҹ��ӵ�Ţͧ�͡������á㹻������

�µ�ʹ�������� 70 �� �������ӵ����������ͧ��鹤��� ��д�ɰ� �Ѵ�ŧ ��л�Ѻ��ا����ͧ�ѡ�����ػ�ó�㹡�ü�Ե��ӵ�ŷ��� ��������ջ���Է���Ҿ����٧��觢��  ��йѺ������������͵���ç�ҹ��ӵ��  �Ǻ���ѹ��� �Ѩ�غѹ�������ӵ����������ͧ����繼���Ե������͡��ӵ������˭�ͧ����� ��зӸ�áԨ����ǡѺ�ص��ˡ���������й�ӵ������ǹҹ����ش㹻������ ������¡�ü�Ե�ͧ�ç�ҹ���� 9 ��觷��ǻ���� ��觶������ա��ѧ��ü�Ե��ӵ�ŷ���٧�ش㹻����  �͡�ҡ��� �������ӵ����������ͧ �ѧ����§ҹ��ѧ��áԨ���� �ա�ҡ��� �������֧ ��áԨ��ѧ�ҹ�ҧ���͡ (�ͷҹ��) ��áԨ����ͧ�ѡ� ��и�áԨ������Ф�ѧ�Թ��� �繵�

���¤����ԶվԶѹ㹷ء��鹵͹�ͧ��кǹ��ü�Ե ��ʹ��������¹��� ���������оѲ�ҧҹ���ҧ������ͧ �����Ԩ��âͧ�������ӵ���������ͧ ���������ͧ���¡�ä��

�դ�������˹�����ҧ��蹤� ������Ѻ�������Ѻ���¡��ͧ��駨ҡ���е�ҧ�����

 
��áԨ�ͧ�������ӵ����������ͧ
 
 
��áԨ��ӵ��
�������ӵ����������ͧ���Թ��áԨ���ա��ѧ��ü�Ե�ҡ�ç�ҹ��ӵ�Ũӹǹ 9 ��� �ѧ���仹��
    1.� ����ѷ ��������ͧ�ص��ˡ��� �ӡѴ
    2.� ����ѷ ��ӵ����к��� �ӡѴ
    3.� ����ѷ ��ӵ����к��� �ӡѴ (ž����)
    4.� ����ѷ �ص��ˡ�����ӵ�ź�ҹ��� �ӡѴ
    5.� ����ѷ ��ӵ�ž�ɳ��š �ӡѴ
    6.� ����ѷ ���ص��ˡ�����ӵ�� �ӡѴ
    7.� ����ѷ ���ص��ˡ�����ӵ�� �ӡѴ (ྪú�ó�)
    8. ����ѷ �������ٹ�ص��ˡ��� �ӡѴ
    9. ����ѷ �ˡ�ù�ӵ�Ūź��� �ӡѴ
��áԨ���͡
    1.� ����ѷ ���͡��ӵ������ �ӡѴ
��ѧ�ҹ��᷹
�ͷҹ��
    1.� ����ѷ ��������ͧ��ѧ�ҹ �ӡѴ
Biomass Power
    1.� ����ѷ ���������������� �ӡѴ
    2.� ����ѷ ��ҹ����Ե俿�� �ӡѴ
����ͧ�ѡ�
    1.� ����ѷ ��������ͧ����ῤ����� �ӡѴ
�����
    1.� ����ѷ ��������ͧ����� �ӡѴ
��ѧ�Թ���
����ѷ ������ع��ѧ�Թ��� �ӡѴ
    1.� ������ع��ѧ�Թ��� 1: �ѧ��Ѵ��طû�ҡ��
    2. ������ع��ѧ�Թ��� 2: �ѧ��Ѵ��ҧ�ͧ
    3. ������ع��ѧ�Թ��� 3: �ѧ��Ѵ��й�������ظ��
�Ԩ����оѲ��
����ѷ ��������ͧ�Ԩ����оѲ�� �ӡѴ
    1.� ����ѷ ��������ͧ�Ԩ����оѲ�� �ӡѴ �ҢҺ�ҹ���
    2. ����ѷ ��������ͧ�Ԩ����оѲ�� �ӡѴ �Ң����෾
    3. ����ѷ ��������ͧ�Ԩ����оѲ�� �ӡѴ �Ң�����ŵ�-�١���
    4. ����ѷ ��������ͧ�Ԩ����оѲ�� �ӡѴ �ҢҾ�ɳ��š
����
    1.� ����ѷ 108 ��ʫ�� �ӡѴ

Ваш запрос не может быть обработан
С данным запросом возникла проблема. Мы работаем чтобы устранить ее как можно скорее.

Зарегистрируйтесь или войдите на Facebook, чтобы продолжить.

Присоединиться

или

Вход

แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: อุตสาหกรรมน้ำตาล

03 กุมภาพันธ์ 2564

วิจัยกรุงศรีคาดว่าปี 2564-2566 อุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยจะกระเตื้องขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความต้องการจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่ม ภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยจะทำให้ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลเพิ่มขึ้น ด้านปัจจัยท้าทายของอุตสาหกรรมมาจากสต็อกน้ำตาลส่วนเกินในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นกดดันราคาน้ำตาล การปรับขึ้นภาษีความหวานในหลายประเทศ กระแสรักสุขภาพทั่วโลก และความไม่แน่นอนของกฏระเบียบภาครัฐ โดยเฉพาะการปรับแก้ พรบ.อ้อยและน้ำตาลทรายที่อาจกระทบต่อผลกำไรของอุตสาหกรรม

ข้อมูลพื้นฐาน

“น้ำตาล” เป็นสารให้ความหวานจากพืช[1] ที่มีความต้องการสูงทั่วโลกทั้งเพื่อบริโภคโดยตรงและเป็นสารปรุงแต่งรสในผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์จากนม (เช่น นม เนย โยเกิร์ต) ขนมหวาน และเบเกอรี่  ในปี 2562 ปริมาณการบริโภคน้ำตาล[2] ทั่วโลกมีสัดส่วน 65.7% ของปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์ให้ความหวานทุกประเภท ที่เหลือเป็นสารให้ความหวานอื่นๆ ทดแทนน้ำตาล (Non-Nutritive Sweeteners) อาทิ สารให้ความหวานจากธรรมชาติ (เช่น น้ำผึ้ง หญ้าหวาน และหล่อฮังก้วย) สารให้ความหวานสังเคราะห์ (เช่น สาร Aspartame Cyclamate และ Erythritol) และเส้นใยอาหาร (เช่น Maltrodextrin Fructo-oligosaccharides และ Inulin) (รูปที่ 1)

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลแบ่งออกเป็น

  • น้ำตาลทรายดิบ (Raw sugar): มีสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม มีความชื้นปานกลาง มีกากน้ำตาลมาก เกล็ดน้ำตาลจับตัวกันแน่น มีสิ่งสกปรกเจือปน และมีความบริสุทธิ์ต่ำ ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตน้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ เอทานอล แอลกอฮอล์ และพลาสติก น้ำตาลทรายดิบต้องนำเข้ากระบวนการทำให้บริสุทธิ์จึงสามารถบริโภคได้
  • น้ำตาลทรายขาว (White sugar): ได้จากการสกัดเอาสิ่งเจือปนออกจากน้ำตาลทรายดิบ อยู่ในรูปผลึก มีสีขาวถึงเหลืองอ่อน มีกากน้ำตาลและความชื้นน้อย เกล็ดน้ำตาลจับตัวไม่แน่น มีความร่วนกว่าน้ำตาลทรายดิบ นิยมใช้บริโภคในครัวเรือน และเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
  • น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (Refined sugar): ผ่านกระบวนการผลิตคล้ายน้ำตาลทรายขาว แต่มีความบริสุทธิ์มากกว่า มีลักษณะเป็นเม็ดหรือเกล็ดสีขาวใส มีความสะอาดมาก ไม่มีกากน้ำตาล มีความชื้นน้อยมากหรือไม่มีเลย นิยมใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำตาลที่มีความบริสุทธิ์มาก อาทิ น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง และยา
  • ผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ (By product): นำไปแปรรูปหรือสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อจำหน่ายต่อ อาทิ กากน้ำตาล (Molasses)[3] กากอ้อย (Bagasses)[4] กากหม้อกรอง (Filter cake)[5] กากส่า (Vinasses)[6] และไอน้ำ (Steam)[7]

ช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา (2543-2562) ปริมาณการผลิตและบริโภคน้ำตาลทั่วโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (รูปที่ 2) ผลจาก (1) ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 7.7 พันล้านคนในปี 2562 จาก 6.1 พันล้านคน ปี 2543 และ (2) ความต้องการใช้น้ำตาลจากอุตสาหกรรมอื่นเพิ่มขึ้น (อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม และเอทานอล) โดยปี 2562 ผลผลิตน้ำตาลทั่วโลกอยู่ที่ 179.7 ล้านตัน (ในรูปน้ำตาลทรายดิบ) ผู้ผลิตรายใหญ่สุดของโลก คือ อินเดีย (19.1% ของปริมาณการผลิตทั่วโลก) บราซิล (16.4%) สหภาพยุโรป (10.0%) และไทย (8.1%) (รูปที่ 2) จำแนกเป็น (1) น้ำตาลจากอ้อย (สัดส่วน 77.9% ของผลผลิตน้ำตาลทั้งหมด) แหล่งผลิตหลักมาจากประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร อาทิ บราซิล และประเทศในเอเชียแปซิฟิก อาทิ อินเดีย และไทย โดยอินเดียมีผลผลิตถึง 1 ใน 4 ของผลผลิตน้ำตาลจากอ้อยทั่วโลก รองลงมา ได้แก่ บราซิล (21.1%) ไทย (10.4%) จีน (6.7%) และเม็กซิโก (4.9%) และ (2) น้ำตาลจากหัวบีท (Beet root) (สัดส่วน 22.1%) มีแหล่งผลิตหลักจากสหภาพยุโรปคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของผลผลิตน้ำตาลจากหัวบีททั่วโลก รองลงมา ได้แก่ รัสเซีย (15.3%) สหรัฐฯ (11.3%) ตุรกี (6.8%) และยูเครน (4.4%) (รูปที่ 3)

ปริมาณการค้าน้ำตาลในตลาดโลกมีจำนวน 56.0 ล้านตัน (ในรูปน้ำตาลทรายดิบ) คิดเป็น 31.2% ของผลผลิตน้ำตาลทั่วโลก โดยผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ บราซิล มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 1 ใน 3 ของผลผลิตน้ำตาลทั่วโลก รองลงมา คือ ไทย (19.0%) และอินเดีย (8.4%) (รูปที่ 4) แบ่งออกเป็น (1) น้ำตาลทรายดิบ มีสัดส่วน 60.3% ของปริมาณส่งออกน้ำตาลโลก โดยบราซิลเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก (สัดส่วน 46.4% ของปริมาณส่งออกน้ำตาลดิบโลก) รองลงมา คือ ไทย (18.0%) และออสเตรเลีย (10.7%) และ (2) น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (สัดส่วน 39.7%) ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก (สัดส่วน 20.4% ของปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ในตลาดโลก) รองลงมา คือ บราซิล (17.6%) อินเดีย (16.2%) และสหภาพยุโรป (8.7%) (รูปที่ 4)
 


ด้านผู้นำเข้าน้ำตาลรายใหญ่ของโลก (รูปที่ 5) ได้แก่ อินโดนีเซีย มีสัดส่วน 10.4% ของปริมาณนำเข้าน้ำตาลทั่วโลก รองลงมาคือจีน (8.0%) สหรัฐฯ (5.4%) บังกลาเทศ (4.7%) และอัลจีเรีย (4.5%) หากจำแนกตามประเภทสินค้าพบว่าอินโดนีเซียมีสัดส่วนนำเข้าน้ำตาลทรายดิบสูงสุดที่ 14.4% ของปริมาณนำเข้าน้ำตาลทรายดิบทั่วโลก รองลงมา คือ จีน (10.0%) และบังกลาเทศ (6.7%) ขณะที่ ซูดานเป็นผู้นำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์สูงสุด 6.7% ของปริมาณนำเข้าน้ำตาลทรายขาวในตลาดโลก รองลงมา คือ สหรัฐฯ (4.2%) สหภาพยุโรป (4.0%) และกัมพูชา (3.7%)
 

อุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยจัดเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก เนื่องจากต้นทุนอ้อยอยู่ในระดับต่ำ (970-980 บาทต่อตัน) เป็นอันดับ 2 รองจากบราซิล (890-900 บาทต่อตัน)[8] ทั้งยังได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งอยู่ในเอเชียซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความต้องการบริโภคน้ำตาลสูง (เอเชียนำเข้าน้ำตาลเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.0% ต่อปี โดยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.1% ต่อปี สูงกว่าปริมาณนำเข้าทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.6% ต่อปี) ทำให้ไทยได้เปรียบด้านต้นทุนขนส่งที่ต่ำกว่าผู้ส่งออกรายใหญ่จากภูมิภาคอื่น เช่น บราซิล และออสเตรเลีย (รูปที่ 6)



 

ประเทศไทยมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มจาก 6.3 ล้านไร่ในปี 2553 เป็น 12 ล้านไร่ในปี 2562 (รูปที่ 7) ผลจากราคาอ้อยที่จูงใจและความต้องการบริโภคน้ำตาลที่เติบโตต่อเนื่องจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งผู้บริโภคโดยตรง (End-consumer) และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (End-user industries) อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น
 


ทั้งนี้พื้นที่เพาะปลูกอ้อยส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก โดยจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยมากที่สุด ได้แก่ นครสวรรค์ (สัดส่วน 7.0% ของพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ) กำแพงเพชร (6.9%) กาญจนบุรี (6.4%) และอุดรธานี (6.3%) (รูปที่ 8)
 


 

ด้านผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลมีจำนวนทั้งสิ้น 57 แห่ง[9] (ตารางที่ 1) ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งเพาะปลูกเพื่อ (1) เพิ่มความสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบให้ตรงตามแผนการผลิต (2) ประหยัดต้นทุนขนส่ง และ (3) เพิ่มความสะดวกในการติดต่อ ส่งเสริม หรือให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกร นอกจากนี้ การตั้งโรงงานยังคำนึงถึงการใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ (อาทิ หัวเมืองใหญ่ ท่าเรือ และศูนย์กลางการค้า) โดยกาญจนบุรีมีจำนวนโรงงานน้ำตาลมากที่สุด 8 แห่ง รองลงมาเป็นอุดรธานี (4 โรงงาน) และชลบุรี (4 โรงงาน)
 


 

การส่งออกของไทย มีสัดส่วนคิดเป็น 81% ของปริมาณจำหน่ายน้ำตาลทั้งหมดของไทย โดยไทยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกประมาณ 19.0% (รูปที่ 9) แบ่งเป็น (1) น้ำตาลทรายดิบมีส่วนแบ่งตลาด 18.0% ของปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายดิบทั่วโลก สูงเป็นอันดับ 2 รองจากบราซิล (46.4%) (2) น้ำตาลทรายขาวมีส่วนแบ่งตลาดสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกที่ 20.4% ของปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายขาวทั่วโลก (รูปที่ 4) และ (3) กากน้ำตาล มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 3 ของโลกที่ 8.8% ของปริมาณส่งออกกากน้ำตาลทั่วโลก โดยตลาดส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ อินโดนีเซีย (สัดส่วน 32.9% ของปริมาณส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำตาลทั้งหมด) เกาหลีใต้ (9.8%) จีน (7.6%) มาเลเซีย (7.4%) และกัมพูชา (6.7%) หากพิจารณาแยกรายผลิตภัณฑ์ในปี 2562 สรุปได้ดังนี้
 

  • น้ำตาลทรายดิบ: ปริมาณส่งออก 5.9 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน 56.0% ของปริมาณส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำตาลทั้งหมด โดยตลาดส่งออกหลัก คือ อินโดนีเซีย (สัดส่วน 56.8% ของปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายดิบทั้งหมด) เกาหลีใต้ (11.0%) มาเลเซีย (10.6%) และจีน (8.2%)
  • น้ำตาลทรายขาว: ปริมาณส่งออก 4.0 ล้านตัน (สัดส่วน 38.0%) ตลาดหลัก ได้แก่ กัมพูชา (17.6% ของปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายขาวทั้งหมด) ไต้หวัน (8.6%) และซูดาน (8.6%)
  • กากน้ำตาล: ปริมาณส่งออก 0.6 ล้านตัน (สัดส่วน 6.0%) ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (41.8% ของปริมาณส่งออกโมลาสทั้งหมด) เกาหลีใต้ (30.5%) และญี่ปุ่น (13.5%)

ด้านความต้องการบริโภคน้ำตาลในประเทศอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน 19% ของปริมาณจำหน่ายน้ำตาลไทย[10] แบ่งเป็นความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง 56.9% ที่เหลืออีก 43.1% เป็นความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (ทางอ้อม) อาทิ เครื่องดื่ม (สัดส่วน 48.1% ของปริมาณการใช้น้ำตาลทรายทางอ้อมทั้งหมด) รองลงมาเป็นอาหาร (22.4%) และผลิตภัณฑ์นม (19.4%)

เมื่อพิจารณาด้านรายได้ นอกจากรายได้หลักมาจากการจำหน่ายน้ำตาลผู้ประกอบการยังมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล อาทิ กากน้ำตาล ที่ใช้ผลิตเอทานอลซึ่งอยู่ในทิศทางเติบโตต่อเนื่องตามนโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์จากภาครัฐ[11] อีกทั้งผู้ประกอบการบางรายยังลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยใช้ผลพลอยได้มาเป็นวัตถุดิบ อาทิ พลังงานไฟฟ้าชีวมวล[12] เยื่อกระดาษ ปาร์ติเคิลบอร์ด และปุ๋ย (Box 1)

สถานการณ์ที่ผ่านมา

ราคาน้ำตาลโลกเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 5 ปี ในเดือนตุลาคม 2559 อยู่ที่เฉลี่ย 505.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน โดยราคาเฉลี่ยทั้งปีเพิ่มขึ้นถึง 38.1% จากปี 2558 ผลจากปัญหาภัยแล้งรุนแรงในเอเชียและภาวะฝนตกหนักในบราซิล ทำให้ผลผลิตอ้อยเสียหาย ส่งผลให้อุปทานน้ำตาลโลกปี 2559 หดตัว 7.1% อยู่ที่ 165.0 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้น 0.7% อยู่ที่ 169.3 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ในปี 2560 ราคาน้ำตาลโลกปรับลงแรง หลังสต็อกน้ำตาลปรับสูงขึ้น เนื่องจาก (1) ปัญหาภัยแล้งในเอเชียคลี่คลาย ทำให้ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มขึ้น (2) บราซิลหันมาผลิตน้ำตาลมากขึ้น หลังจากราคาน้ำมันดิบโลกปรับลดลงซึ่งไม่จูงใจให้ผลิตเอทานอล (3) จีนปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าน้ำตาลส่วนเกินโควตา (Over-quota import tariffs) เป็น 95% จากเดิม 50% เนื่องจากสต็อกน้ำตาลในประเทศอยู่ในระดับสูง และ (4) อินเดียผลักดันการส่งออกน้ำตาลปริมาณ 5-6 ล้านตันต่อปี ปัจจัยข้างต้นส่งผลให้สต็อกน้ำตาลโลกปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 54.0 ล้านตัน จาก 44.5 ล้านตันปี 2559 ขณะที่ราคาน้ำตาลดิบโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 272.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ลดลงจาก 400.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปี 2559

 

การที่ไทยประกาศยกเลิกระบบโควตาและการกำหนดราคาจำหน่ายน้ำตาลในประเทศในปี 2561 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ ทำให้ราคาน้ำตาลในประเทศอิงตามราคาตลาดโลก (ลอนดอน No.5) บวกค่าพรีเมี่ยมน้ำตาลที่จำหน่ายในประเทศ โดยปี 2561 และ 2562 ราคาส่งออกน้ำตาลทรายดิบอยู่ที่ 307.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (-28.1%) และ 292.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ (-4.7%) ตามลำดับ (รูปที่ 12) ส่วนราคาอ้อยในประเทศลดลงตามราคาน้ำตาลโลก อยู่ที่ 763.4 บาท/ตัน (-21.5%) และ 668.2 บาท/ตัน (-12.5%) ตามลำดับ
 

ปี 2563 ผลผลิตน้ำตาลทรายในตลาดโลกหดตัว 7.5% เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น บราซิล อินเดีย และไทยเผชิญภาวะภัยแล้งรุนแรง รวมถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนสะดุดลงชั่วคราว และเกิดความไม่แน่นอนของปริมาณส่งออกน้ำตาลทราย ผลักดันให้ราคาน้ำตาลทรายดิบโลกแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ เฉลี่ยอยู่ที่ 332.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน โดยทั้งปี 2563 ราคาน้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาวเฉลี่ยอยู่ที่ 284.1 และ 375.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เพิ่มขึ้น 4.3% และ 12.8% จากปีก่อนหน้า ตามลำดับ

ภาวะอุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยปี 2563 สรุปได้ดังนี้

  • ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลต่ำสุดในรอบ 10 ปีที่ 74.9 ล้านตัน (-41.7%) และ 8.3 ล้านตัน (-43.1%) ตามลำดับ (รูปที่ 13) ผลจากภาวะภัยแล้งและพื้นที่เพาะปลูกลดลงเนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นที่มีราคาดีกว่า ส่งผลให้ราคาอ้อยปรับขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 716.8 บาท/ตัน เพิ่มขึ้น 7.3% แต่ยังต่ำกว่าต้นทุนการเพาะปลูกซึ่งอยู่ที่ 960-980 บาท/ตัน (รูปที่ 14) ขณะที่ราคาขายปลีกน้ำตาลทรายขาวเฉลี่ยที่ 22.1 บาท/กก. เพิ่มขึ้น 3.8%
 

  • ความต้องการบริโภคน้ำตาลทรายอยู่ที่ 2.4 ล้านตัน หดตัว 3.2% ต่อเนื่องจากปี 2562 (-3.9%) โดยช่วงครึ่งแรกของปี การบริโภคน้ำตาลทรายอยู่ที่ 1.1 ล้านตัน หดตัว 11.3% เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 กดดันกำลังซื้อของประชาชนและการดำเนินธุรกิจ ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อาหาร และนม (รูปที่ 15 และ 16) อย่างไรก็ตาม การผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง (Lockdown) ในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยปรับดีขึ้น ช่วยหนุนความต้องการบริโภคน้ำตาลทราย
 

  • ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2563 ปริมาณส่งออกน้ำตาลและกากน้ำตาลต่ำสุดในรอบ 4 ปีที่ 5.6 ล้านตัน (-42.4% YoY) มูลค่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (-40.0% YoY) เป็นการหดตัวในเกือบทุกตลาดหลักอาทิ อินโดนีเซีย (-33.0% YoY) กัมพูชา (-39.3%) และเกาหลีใต้ (-64.5%) ยกเว้นเวียดนาม (+320.6%)[13] ผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกหดตัวรุนแรง (IMF คาด -3.5% ในปี 2563) รวมถึงผลผลิตของไทยขาดแคลนจากภาวะภัยแล้ง ขณะที่ราคาส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้น 4.2% YoY โดยภาวะการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำตาลแต่ละประเภท (รูปที่ 17 และ 18) มีดังนี้
    • น้ำตาลทรายดิบ: ปริมาณส่งออก 3.0 ล้านตัน (-45.2% YoY) มูลค่า 0.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (-45.3% YoY) โดยหดตัวเกือบทุกตลาด อาทิ อินโดนีเซีย (-32.6% YoY) เกาหลีใต้ (-71.8%) ญี่ปุ่น
      (-47.0%) และไต้หวัน (-41.4%) ยกเว้นเวียดนาม (+131.8%) ด้านราคาส่งออกน้ำตาลทรายดิบอยู่ที่ตันละ 290.9 ดอลลาร์สหรัฐ (-0.7% YoY)
    • น้ำตาลทรายขาว: ปริมาณส่งออก 2.2 ล้านตัน (-39.5% YoY) มูลค่า 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (-35.1%) โดยปริมาณส่งออกหดตัวเกือบทุกตลาด ยกเว้นเวียดนาม (สัดส่วน 31.9% ของปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายขาวทั้งหมด) เพิ่มขึ้นก้าวกระโดดถึง 1,257% ด้านราคาส่งออกน้ำตาลทรายขาวอยู่ที่ตันละ 368.5 ดอลลาร์สหรัฐ (+7.1% YoY)
    • กากน้ำตาล: ปริมาณส่งออก 0.4 ล้านตัน (-35.4% YoY) มูลค่า 59.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (-2.3%) โดยปริมาณส่งออกไปตลาดหลักหดตัว อาทิ ฟิลิปปินส์ (-42.0% YoY) และเกาหลีใต้ (-53.0%) (สัดส่วนรวมกันมากกว่า 60% ของปริมาณส่งออกโมลาสทั้งหมด) ด้านราคาส่งออกอยู่ที่ตันละ 180.3 ดอลลาร์สหรัฐ (+53.3% YoY)

แนวโน้มอุตสาหกรรม

 

ปี 2564-2566 อุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกและไทยที่ทยอยฟื้นตัว โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ปี 2564 คาดว่าผลผลิตน้ำตาลโลกจะอยู่ที่ 188 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 13.2% (ประมาณการโดย USDA) ขณะที่ปี 2565-2566 คาดว่าผลผลิตน้ำตาลโลกจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย (CAGR) 10% ต่อปี (คาดการณ์โดยวิจัยกรุงศรี) โดยผลผลิตน้ำตาลจากบราซิลจะเพิ่มขึ้นถึง 32% สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 39.3 ล้านตันในปี 2564 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอีก 2 ปีถัดไป ด้านราคาน้ำตาลทรายดิบโลกจะเฉลี่ยอยู่ที่ 310-340 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (14.0-15.5 เซนต์/ปอนด์) จาก 284.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (12.9 เซนต์/ปอนด์) ในปี 2563 (รูปที่ 19)
 

  • ปี 2564 ผลผลิตน้ำตาลในประเทศจะอยู่ที่ 7.4 ล้านตัน หดตัว 10.2% จากปัญหาภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี ในปี 2563 ส่งผลให้พื้นที่ปลูกอ้อยลดลง และ “อ้อยตอ” (อ้อยที่ตัดแล้วแต่ยังมีตอไว้ให้เติบโต) เสียหายจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ปี 2565-2566 คาดว่าผลผลิตน้ำตาลจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 9-10 ล้านตันต่อปี หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10.0% ต่อปี (รูปที่ 20) ปัจจัยหนุนจากการเข้าสู่ภาวะ La Nina[14] ทำให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนและน้ำเพื่อการเกษตรมากขึ้น ด้านราคาอ้อยคาดว่าจะอยู่ที่ระดับเฉลี่ยตันละ 800-875 บาท เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.0-7.0% ต่อปี จาก +7.3% ในปี 2563

  • ความต้องการบริโภคน้ำตาลในประเทศจะอยู่ที่ 2.5-2.6 ล้านตันต่อปี เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.0-3.0% ต่อปี (รูปที่ 20) โดยมีปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจในประเทศที่ทยอยฟื้นตัว ความต้องการน้ำตาลจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ขณะที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ความต้องการใช้น้ำตาลเพื่อทำแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อเพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการเอทานอลในภาคขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนการนำเอทานอลไปใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันแก๊สโซฮอล์[15] 
  • ปริมาณส่งออกน้ำตาลจะอยู่ที่ 7-8 ล้านตันต่อปี เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10.0-15.0% ต่อปี (รูปที่ 20) จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ปริมาณการผลิตน้ำตาลในประเทศที่กลับมาสูงขึ้น และความคืบหน้าของความตกลงการค้า (FTA)[16] อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกน้ำตาลของไทยจะเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากบราซิลที่หันมาผลิตน้ำตาลแทนเอทานอลเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และอินเดียที่ปริมาณผลผลิตขยายตัวจากสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวยเช่นเดียวกับไทย 
  • ประเด็นท้าทายของอุตสาหกรรมน้ำตาลในระยะข้างหน้า ได้แก่
    • สต็อกน้ำตาลส่วนเกินในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอาจกดดันราคาน้ำตาล
    • ความต้องการบริโภคน้ำตาลมีแนวโน้มเติบโตอย่างจำกัด ผลจาก
      –การปรับขึ้นภาษีความหวานในเครื่องดื่ม[17] ในหลายประเทศรวมถึงไทย ทำให้ความต้องการใช้น้ำตาลในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มลดลง
      –กระแสรักสุขภาพทั่วโลก
    • ความไม่แน่นอนจากกฏระเบียบภาครัฐ อาทิ พรบ. อ้อยและน้ำตาลทรายที่อยู่ระหว่างการแก้ไขปรับปรุง ซึ่งจะเปลี่ยนนิยามคำว่า “อ้อย” “น้ำตาลทราย” โดยจะรวมถึง “น้ำอ้อย” ขณะที่ “ผลพลอยได้” จะรวมถึง “กากอ้อย” “กากตะกอนกรอง” และ ”เอทานอล” ซึ่งอาจกระทบการคำนวณส่วนแบ่งผลประโยชน์และรายได้ของโรงงานน้ำตาล เนื่องจากโรงงานอาจต้องปันรายได้บางส่วนจากการจำหน่ายผลพลอยได้ไปให้เกษตรกรจากเดิมที่เคยรับเต็มจำนวน

กฎหมายหรือกฎระเบียบสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย

  • บราซิลได้แจ้งต่อองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อเดือนเมษายน 2559 ยื่นฟ้องไทยกรณีรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงอุดหนุนการส่งออกน้ำตาล โดยใช้พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย อาทิ (1) การตั้งราคาขายน้ำตาลในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลก ทำให้เมื่อนำรายได้มาถัวเฉลี่ยกับราคาส่งออกจะทำให้ไทยสามารถส่งออกน้ำตาลไปตลาดโลกได้ในราคาที่ต่ำ (2) การอุดหนุนเกษตรกรและโรงงานน้ำตาลด้วยวิธีต่างๆ เช่น อนุมัติเงินเพิ่มให้กับชาวไร่อ้อย กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกู้เงินมาจ่ายเงินให้ชาวไร่อ้อย การปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ การอุดหนุนปัจจัยการผลิตต่างๆ เกินกว่าที่ WTO กำหนด รวมถึงการอุดหนุนเอทานอลซึ่งส่วนใหญ่ผลิตมาจากกากน้ำตาล
  • ภาครัฐประกาศลอยตัวราคาน้ำตาลทรายตั้งแต่ฤดูการผลิต 2560/2561 (มีผล 15 มกราคม 2561) เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทั้งระบบ (ส่วนหนึ่งเพื่อลดแรงกดดันจากการฟ้องร้องของบราซิล) มีผลให้วิธีการกำหนดราคาจำหน่ายน้ำตาลในประเทศเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
    1) ราคาจำหน่ายน้ำตาลในประเทศเปลี่ยนจากราคาคงที่[18] เป็นราคาที่เคลื่อนไหวตามตลาดโลก (อ้างอิงราคาน้ำตาลทรายขาวที่ตลาดลอนดอน No.5) บวกด้วยค่าพรีเมี่ยม[19] แล้วคำนวณกลับมาเป็นสกุลเงินบาท  ซึ่งราคาที่ได้จะเป็นราคาฐาน หรือราคาขั้นต่ำ (Minimum price) ในการจำหน่ายน้ำตาลในประเทศในแต่ละเดือน ส่งผลให้รายได้จากการจำหน่ายน้ำตาลมีความไม่แน่นอน
    2) การยกเลิกระบบโควตาน้ำตาล (Quota system) ที่เดิมมี 3 ส่วน คือ บริโภคในประเทศ (โควตา ก.) ส่งออกโดยบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด[20] (โควตา ข.) และส่งออกโดยโรงงาน (โควตา ค.) มาเป็นการกำหนดให้โรงงานน้ำตาลสำรองน้ำตาลทราย (Buffer security) 250,000 ตัน/เดือน เพื่อป้องกันภาวะขาดแคลนน้ำตาลในประเทศ แม้การกำหนดปริมาณน้ำตาลสำรองจะไม่มีผลต่อการดำเนินงานของโรงงานน้ำตาลมากนัก เนื่องจากเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับระบบโควตาเดิม แต่การยกเลิกโควตา ข. และ ค. จะกระทบผลประกอบการของโรงงานแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ทิศทางราคาน้ำตาลตลาดโลก
    3) การยกเลิกหักเงิน (อัตรา 5 บาท/กิโลกรัม) จากราคาหน้าโรงงานเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (The Cane and Sugar Fund: CSF)[21] และกำหนดวิธีคำนวณเงินส่งเข้ากองทุนฯ รูปแบบใหม่ โดยให้นำส่วนต่างของราคาขายส่งหน้าโรงงาน (ราคาจากการสำรวจตลาด) กับราคาฐาน ส่งเข้ากองทุนฯ แทน ทำให้เงินกองทุนฯ มีความไม่แน่นอน ขึ้นกับภาวะตลาดในประเทศและตลาดโลก (กรณีราคาหน้าโรงงานต่ำกว่าราคาฐานไม่จำเป็นต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ)
  • ปัจจุบัน พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วัตถุประสงค์หลัก คือ (1) เพื่อปรับกฎเกณฑ์ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (WTO) และ (2) เพื่อแก้ปัญหาของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในช่วงราคาตกต่ำ โดยมีการปรับเปลี่ยนประเด็นสำคัญ อาทิ 
    1) การปรับนิยามของ “น้ำตาล” ซึ่งอาจมีผลต่อการคำนวณรายได้ของผู้ประกอบการ (ตามข้อเสนอขององค์กรชาวไร่อ้อย) อาทิ “อ้อย” และ “น้ำตาลทราย” จะนับรวม“น้ำอ้อย” ส่วน “ผลพลอยได้” จะนับรวม “กากอ้อย กากตะกอนกรอง และ เอทานอล” เข้าสู่การคำนวณตามระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30 ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล[22] จึงอาจกระทบรายได้ของโรงงานน้ำตาลที่จะไม่สามารถรับรู้รายได้จากการจำหน่าย “ผลพลอยได้” เต็มจำนวนเช่นที่ผ่านมา
    2) การลดบทบาทของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายที่เกี่ยวข้องกับระบบจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างราคาอ้อยขั้นต้นและขั้นสุดท้าย โดยเฉพาะกรณีที่ราคาอ้อยขั้นต้นสูงกว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้าย[23] (หมายถึง โรงงานน้ำตาลจ่ายเงินค่าอ้อยล่วงหน้าให้กับชาวไร่อ้อยสูงเกินจริง) ซึ่งใน พ.ร.บ.ฉบับปรับปรุงใหม่มีแนวโน้มจะกำหนดให้โรงงานน้ำตาลเรียกเก็บเงินชดเชยส่วนต่างดังกล่าวจากชาวไร่อ้อยโดยตรง โดยจะหักจากค่าอ้อยในฤดูการผลิตถัดไป จากปัจจุบันที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลจะเป็นผู้จ่ายเงินชดเชยนี้ให้แก่โรงงานน้ำตาล[24]
  • มาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ โดยตั้งเป้าหมายภายใน 3 ปี (2563-2565) เป็นมาตรการกำหนดให้โรงงานน้ำตาลลดสัดส่วนการรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบ ไม่เกิน 50% ในฤดูการผลิตปี 2562/2563 และไม่เกิน 20% ในปี 2563/2564 จากนั้นเหลือเพียง 0-5% ในปี 2564/2565 นอกจากนี้ ภาครัฐได้ปรับเงื่อนไขเงินช่วยเหลือเกษตรกร จากเดิมในปี 2562/2563 รัฐมีเงินอุดหนุนเกษตรกร 2 ส่วนคือ (1) เพื่อช่วยต้นทุนการผลิต และ (2) เพิ่มเงินให้กลุ่มเกษตรกรที่ตัดอ้อยสด แต่รอบปี  2563/2564 รัฐจะเพิ่มเงินให้เฉพาะเกษตรกรที่ตัดอ้อยสดเท่านั้น โดยชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดจะได้เงินอุดหนุน 130 บาท/ตัน มีวงเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 7,280 ล้านบาท (คำนวณจากปริมาณอ้อยที่คาดว่าจะเข้าหีบในปี 2563/2564 ประมาณ 70 ล้านตัน โดยประมาณสัดส่วนการตัดอ้อยสดไว้ที่ 80% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด หรือคิดเป็น 56 ล้านตัน)


มุมมองวิจัยกรุงศรี

ปี 2564-2566 คาดว่ารายได้ของธุรกิจจะกระเตื้องขึ้นตามการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายน้ำตาลโดยรวม แต่การพึ่งพาตลาดต่างประเทศในสัดส่วนสูง ทำให้ธุรกิจยังคงเผชิญความผันผวน

  • โรงงานผลิตน้ำตาล: รายได้ทยอยปรับดีขึ้นตามการขยายตัวของความต้องการบริโภค หนุนโดย (1) กำลังซื้อทั้งในและต่างประเทศทยอยฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจ (2) อุตสาหกรรมต่อเนื่องมีแนวโน้มฟื้นตัว หลังวิกฤต COVID-19 คลี่คลาย อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม (3) ความกังวลโรคระบาดกระตุ้นความต้องการใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ และ (4) กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจะสนับสนุนความต้องการใช้เอทานอลในภาคขนส่ง นอกจากนี้ การมีห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง (จากระบบแบ่งปันผลประโยชน์) มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลากหลาย และมีการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (จากการใช้ผลพลอยได้และวัสดุเหลือใช้มาเป็นวัตถุดิบ) จะช่วยให้โรงงานน้ำตาลสามารถทำกำไรได้ต่อเนื่อง
  • ผู้ค้าน้ำตาล: คาดว่าผู้ค้าน้ำตาลในตลาดต่างประเทศยังคงได้ประโยชน์จากแนวโน้มปริมาณส่งออกที่เพิ่มขึ้น แต่อาจมีความเสี่ยงจากการคาดการณ์ทิศทางราคาน้ำตาลที่ผันผวนตามความไม่แน่นอนของอุปทานในตลาดโลก ขณะที่ผู้ค้าน้ำตาลในประเทศเผชิญทิศทางราคาที่เคลื่อนไหวตามตลาดโลก จึงมีต้นทุนในการบริหารจัดการสต็อกเพิ่มสูงขึ้น
  • ชาวไร่อ้อย: คาดว่าผลผลิตอ้อยและค่าความหวานจะปรับดีขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย แต่ยังมีความเสี่ยงด้านราคาอ้อยที่ผันผวนตามราคาน้ำตาลตลาดโลก ซึ่งส่งผลต่อรายได้และการตัดสินใจเพาะปลูกของเกษตรกร อย่างไรก็ตาม ภาครัฐและ/หรือโรงงานน้ำตาลจะมีมาตรการช่วยเหลือด้านรายได้แก่ชาวไร่อ้อยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลนผลผลิตอ้อยเข้าสู่ระบบ
 

[1]   น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช โดยเฉพาะอ้อยและหัวบีทซึ่งมีปริมาณน้ำตาลเข้มข้นเพียงพอที่จะผลิตเป็นน้ำตาลในเชิงพาณิชย์
[2]  พิจารณาเฉพาะน้ำตาลทรายขาว (White sugar) และน้ำตาลทรายแดง (Brown sugar)
[3]  ได้จากกระบวนการเคี่ยวน้ำตาล เป็นของเหลวเหนียวข้นสีน้ำตาลเข้ม ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล (ผสมแก๊สโซฮอล์) หรืออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อาทิ แอลกอฮอล์ ยีสต์ ผงชูรส อาหาร  สัตว์ น้ำส้มสายชู และซอสปรุงรส
[4] ได้จากกระบวนการหีบอ้อย เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล บรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้จากชานอ้อย กระดาษไม้อัด (Fiber board) ผลิตภัณฑ์ปาร์ติเคิลบอร์ด (Particle board) ไม้เคลือบเมลามีน ไม้    เอ็มดีเอฟ (MDF board) ไม้ซิงโครนัส ไม้แลคเกอร์ไฮกรอส และเซลลูโลสบริสุทธิ์
[5]  ได้จากการกรองน้ำอ้อย โดยกากหม้อกรองมีสารอาหาร และแร่ธาตุต่างๆ ที่นิยมใช้ทำปุ๋ย อาหารสัตว์ และก๊าซชีวภาพ
[6]  นิยมใช้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพ และอาหารสัตว์
[7]  ถูกใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องจักร และผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในโรงงาน
[8]  ที่มา: อุตสาหกรรมน้ำตาลทรายและเอทานอลของบราซิล
[9]  ราชกิจจานุเบกษา ณ 17 สิงหาคม 2558 กำหนดให้โรงงานน้ำตาลต้องมีระยะห่างระหว่างกันไม่น้อยกว่า 50 กิโลเมตร จากเดิม 80 กิโลเมตร
[10]  ไม่รวมการนำเข้าน้ำตาลทรายดิบที่นำไปผลิตเป็นน้ำตาลทรายขาว และสต็อกน้ำตาลทรายดิบในประเทศ
[11]  ในปี 2562 การผลิตเอทานอลจากน้ำอ้อยและกากน้ำตาล มีกำลังการผลิตติดตั้ง 3.01 ล้านลิตรต่อวัน (ไม่รวมโรงงานที่ใช้วัตถุดิบได้ทั้งมันเส้นและกากน้ำตาลอีก 0.93 ล้านลิตรต่อวัน) มีความต้องการกากน้ำตาลมากกว่าปีละ 4.6 ล้านตัน (+14.1%) และน้ำอ้อย 1.1 ล้านตัน (+10.2%)
[12]  การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากชานอ้อย ส่วนใหญ่ใช้ภายในโรงงานน้ำตาลและจำหน่ายในพื้นที่ใกล้เคียง
[13] เวียดนามยกเลิกโควตาภาษีนำเข้าน้ำตาลตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ทำให้น้ำตาลทรายของไทยเสียอากรนำเข้าเพียง 5% จากเดิม 30-40%
[15] วิจัยกรุงศรีคาดว่าสัดส่วนปริมาณการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 จะเพิ่มขึ้นจากระดับ 20% ของปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์ทั้งหมดในปี 2563 เป็น 30% ในปี 2564-2566 โดยส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ E20 (มีสัดส่วนเอทานอลผสมอยู่ 20%) ทดแทนแก๊สโซฮอล์ E10 ออกเทน 91 (มีสัดส่วนเอทานอล 10%)[16] กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศมีแผนเจรจาการค้าเสรี อาทิ Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) และ FTA ระหว่างไทย-ตุรกี ไทย-ปากีสถาน และไทย-ศรีลังกา รวมถึงสหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป ซึ่งหลายประเทศเป็นผู้นำเข้าน้ำตาลหลักของโลก
[17] ปัจจุบัน (1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2564) อัตราการเก็บภาษีความหวาน ถูกจัดเก็บอยู่ 6 ระดับ (1) ค่าความหวาน 0-6 กรัมต่อ 100 มล.ไม่ต้องเสียภาษี (2) ค่าความหวาน 6-8 กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 10 สตางค์ต่อลิตร (3) ค่าความหวาน 8-10 กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 30 สตางค์ต่อลิตร (4) ค่าความหวาน 10-14 กรัมต่อ 100 มล.เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร (5) ค่าความหวาน 14-18 กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร และ (6) ค่าความหวาน 18 กรัมต่อ 100 มล.ขึ้นไป เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร หลังจากนั้นรัฐจะพิจารณาทบทวนและปรับขึ้นภาษีความหวานอีก 2 รอบ คือวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2566 และรอบ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป การเก็บภาษีความหวานทำให้ผู้ผลิตเครื่องดื่มปรับสูตรเครื่องดื่มให้มีน้ำตาลน้อยลง อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีที่เรียกเก็บดังกล่าวอยู่ในระดับไม่สูงนัก ประกอบกับการใช้น้ำตาลของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนเพียง 4-6% ของผลผลิตน้ำตาลทั้งหมดของไทย
[18] ทางการกำหนดราคาขายส่งน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายบริสุทธิ์หน้าโรงงาน ที่ 20.3 และ 21.4 บาท/กิโลกรัม (ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2555) ซึ่งรายได้ส่วนนี้โรงงานน้ำตาลจะหักเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย 5 บาท/กิโลกรัม ทำให้โรงงานน้ำตาลมีรายรับประมาณ 15.0-16.5 บาท/กิโลกรัม หรือเท่ากับ 450-515 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน สูงกว่าราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกที่เฉลี่ยประมาณ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ในช่วงปี 2558-2560 ซึ่งทำให้รายได้ของโรงงานน้ำตาลไทยอยู่ในระดับสูงและมีผลกำไรต่อเนื่อง
[19] ส่วนเพิ่มทางการตลาดในการขายน้ำตาลไทยให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยค่าพรีเมี่ยมอาจเป็นบวกหรือลบ ขึ้นอยู่กับ 1) ราคาน้ำตาลในตลาด ณ วันทำการส่งออก 2) ความต้องการของผู้ซื้อ และ 3) คุณภาพน้ำตาล
[20] บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด เป็นบริษัทร่วมของเกษตรกรชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล และหน่วยงานรัฐ ขณะที่มีผู้ส่งออกน้ำตาล 9 ราย ประกอบด้วย บจก.ค้าผลผลิตน้ำตาล, บจก.แปซิฟิก ชูการ์คอร์ปอร์เรชั่น, บจก.ส่งออกน้ำตาลสยาม, บจก.การค้าอุตสาหกรรมน้ำตาล, บจก.ที.ไอ.เอส.เอส., บจก.เค.เอส.แอล.เอ็กซปอร์ต เทรดดิ้ง, บจก. อ้อยและน้ำตาลไทย, บจก.เวิลด์ ชูการ์ เอ็กซ์ปอร์ต, บจก. ร่วมกำลาภเอ็กพอร์ต
[21] กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายทำหน้าที่ศึกษา วิจัย พัฒนา ส่งเสริมการผลิต การใช้ และการจำหน่ายอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อรักษาเสถียรภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และราคาน้ำตาลทรายที่ใช้บริโภคในประเทศ
[22] ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ (Revenue sharing) หรือ “ระบบ 70:30” เป็นการจัดสรรรายได้สุทธิจากการจำหน่ายน้ำตาลทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออกให้แก่ชาวไร่อ้อย (ผลตอบแทนจากราคาอ้อย) สัดส่วน 70% และโรงงานน้ำตาล (ผลตอบแทนการผลิต) สัดส่วน 30% ปัจจุบันอัตราส่วนดังกล่าวยังคงยึดตามคำนิยามใน พรบ. อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527
[23] ราคาอ้อยขั้นต้น (ประมาณการโดยคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ประกาศในช่วงฤดูการผลิต (หีบอ้อย) ประมาณเดือน ธ.ค.) เป็นผลตอบแทนค่าอ้อยเบื้องต้นที่โรงงานน้ำตาลจ่ายล่วงหน้าเพื่อซื้ออ้อยจากชาวไร่อ้อยสำหรับฤดูกาลผลิตนั้นๆ (ราคาอ้อยขั้นต้นจะต้องไม่น้อยกว่า 80% ของประมาณการรายได้ และต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายด้วย) ส่วนราคาอ้อยขั้นสุดท้าย (เงินตาม) เป็นผลตอบแทนค่าอ้อยที่เกิดขึ้นจริงที่เกษตรกรจะได้รับในแต่ละฤดูการผลิต คำนวณจากรายได้จากการจำหน่ายน้ำตาลทั้งในประเทศและส่งออก (ประกาศในช่วงปลายฤดูกาลหีบอ้อย ประมาณเดือน พ.ย.)

[24] ปัจจุบันกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจะนำเงินกองทุนมาชดเชยส่วนต่างให้แก่โรงงานน้ำตาลแทนชาวไร่อ้อยในกรณีที่ราคาอ้อยขั้นต้นสูงกว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้ายที่เกษตรกรได้รับล่วงหน้าจากโรงงานน้ำตาลในช่วงต้นฤดูกาลผลิต
 


 

อุตสาหกรรมน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยอยู่ในจังหวัดใด *

ราคาซื้อขายน้ำตาล ตลาดล่วงหน้า.

อุตสาหกรรมน้ำตาลอยู่ภาคใด

ปัจจุบันโรงงานน้ำตาลที่ได้รับอนุญาตมีจำนวน 61 โรงงาน แต่ดำเนินการผลิตจริง 50 โรงงาน สถานที่ตั้งโรงงาน กระจายอยู่ตามแหล่งเพาะปลูกอ้อยที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีโรงงานน้ำตาลมากที่สุด คือ 19 โรงงาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.0 รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง จำนวน 18 โรงงาน ภาคเหนือ 9 โรงงาน และภาคตะวันออก 4 ...

โรงน้ำตาลมีกี่โรง

ราคาซื้อขายน้ำตาล ตลาดล่วงหน้า ภาคใต้ รวมโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 58 โรงงาน

โรงงาน น้ำตาลพิมาย เป็น ของ ใคร

อนึ่ง “กลุ่มเคไอ” ก่อตั้งโดยตระกูลเสถียรถิระกุล ถือกำเนิดขึ้นในอุตสาหกรรมน้ำตาล เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ โดยก่อตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งแรกของกลุ่มขึ้นที่จังหวัดชลบุรี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๓ จากนั้นย้ายฐานการผลิตจากจังหวัดชลบุรีมาที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และในปี พ.ศ.๒๕๔๖ บริษัท น้ำตาลสุรินทร์ จำกัด โรงงานน้ำตาลแห่งที่สองของกลุ่ม ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita