ในกรณีที่มีชื่อตัวแปรที่ยาวมาก ๆ ควรเลือกใช้แผนภูมิใดในการนำเสนอข้อมูล

กราฟหรือแผนภูมิที่ดีนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่ายขึ้น แบบว่า คนดูมองเแล้วเห็นภาพ และรู้ได้ทันทีว่าข้อมูลที่เรากำลังแสดงอยู่หมายถึงอะไร ดังคำกล่าวที่ว่า “รูปภาพ 1 รูปแทนคำนับพัน” นั่นเอง

ดังนั้นกราฟหรือแผนภูมิจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการนำเสนองานเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยประหยัดเวลาในการอธิบาย และทำให้การนำเสนอน่าสนใจ และเป็นที่จดจำมากขึ้น นอกจากนี้จากการวิจัย และประสบการณ์ส่วนตัวของหลายๆคน เห็นว่า คนเราจำภาพได้ดีกว่าตัวอักษรแน่นอน จริงมั๊ยครับ

วันนี้ผมจะมาแนะนำการทำกราฟเบื้องต้นก่อน ไล่ตั้งแต่เทคนิคการเลือกกราฟที่เหมาะสมเลย เพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก แต่ในบทความถัดๆ ไปเราจะมาเจาะลึกเทคนิคขั้นสูงขึ้น เช่น การผสมกราฟ การใส่แกน X หรือ Y 2 อัน เป็นต้น

  • Step ของการทำกราฟ มีดังนี้
    • 1. Think : คิดวัตถุประสงค์ของการนำเสนอกราฟ
      • Tips ในการเลือก Chart ที่เหมาะสม
    • 2. Prepare : เตรียมข้อมูล
    • 3. Create : การสร้างกราฟ
    • 4. Customize : ปรับแต่งกราฟ
      • ส่วนประกอบของกราฟ หลักๆ มีดังนี้

Step ของการทำกราฟ มีดังนี้

  1. Think : คิดวัตถุประสงค์ของการนำเสนอกราฟ
  2. Prepare : เตรียมข้อมูล (เช่น สรุปข้อมูลจาก Data ดิบ)
  3. Create : สร้างกราฟ
  4. Customize : ปรับแต่งกราฟ
  5. Summarize : สรุปผลของกราฟ

เรามาดูที่ Step แรกกันก่อนครับ

1. Think : คิดวัตถุประสงค์ของการนำเสนอกราฟ

วัตถุประสงค์ของการทำกราฟนั้นมีอยู่ค่อนข้างหลากหลาย ส่วนตัวของผมเองมองว่าที่สำคัญคือเราต้องรู้ว่าเราอยากจะสื่อสารอะไร และถ้าเป็นไปได้ ควรวาดภาพในใจก่อนว่ากราฟควรจะออกมาหน้าตาแบบไหน (ทำในจิตนาการก่อน ค่อยทำใน Excel)

วัตถุประสงค์ที่เจอบ่อยๆ เช่น

  • การเปรียบเทียบข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น เทียบระหว่างแต่ละกลุ่ม, เทียบกับมาตรฐาน หรือ เป้าหมายบางอย่าง
  • บอกการแจกแจงความถี่ เพื่อให้เห็นการกระจายตัวของข้อมูล 
  • บอกสัดส่วนขององค์ประกอบ : เพื่อบอกองค์ประกอบว่าแต่ละส่วนมีมากน้อยแค่ไหน
  • การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เช่น การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว
  • บอกแนวโน้ม คาดการณ์อนาคต
  • แสดงให้เห็นลำดับเหตุการณ์ หรือ Timeline โครงการ
  • อื่นๆ

Tips ในการเลือก Chart ที่เหมาะสม

  1. กราฟที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์แต่ละแบบ ดูได้ที่นี่ //labs.juiceanalytics.com/chartchooser/index.html
  2. เลือกกราฟ Basic ที่สุดถ้าเป็นไปได้ : ผมไม่แนะนำให้ใช้กราฟในรูปแบบที่ประหลาดๆ โดยเฉพาะพวกกราฟ 3 มิตินะครับ เพราะนอกจากจะดูรกแล้ว ยังหลอกตาสุดๆ อีกด้วย
  3. ถ้าจะใช้เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่ม : ผมแนะนำให้ใช้พวกการฟแท่ง ดีกว่ากราฟวงกลมนะครับ เพราะกรางวงกลมดูยากมากว่ามันมากน้อยแค่ไหน (คนเราเทียบความสูงต่ำ ง่ายกว่าเทียบมุมแคบกว้าง)
  4. ถ้าจะแสดงแนวโน้ม : ผมแนะนำกราฟเส้น หรือ Scatter Plot แล้วใส่ Trend line จะเหมาะที่สุดครับ

2. Prepare : เตรียมข้อมูล

การเตรียมข้อมูลเพื่อการทำกราฟ หลายๆครั้ง เราอาจต้องพึ่งพาความรู้พื้นฐานเหล่านี้ก่อน

  • Function พวกที่ใช้เพื่อการสรุปข้อมูล เช่น SUM, COUNT, AVERAGE, MAX, MIN, SUMIF, COUNTIF
  • การใช้ Sort & Filter หรือ Advanced Filter => อ่านได้ที่นี่ การกรองข้อมูลใน Excel ด้วย Filter & Sort และ Advanced Filter
  • การใช้ Pivot Table (เป็นวิธีที่สะดวกมาก แนะนำเลย) ใครสนใจการสรุปข้อมูลด้วย Pivot Table เชิญอ่านได้ที่  สรุปทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ Pivot Table
  • ปกติแล้ว เรามักจะเตรียมข้อมูลให้เหมือนกับเตรียมฐานข้อมูลตามปกติ คือ

    • ใส่ข้อมูลแต่ละ Record (แต่ละราย แต่ละกลุ่ม) แยกไว้คนละแถวกัน
    • ใส่การวัดข้อมูลในแต่ละมิติ ไว้แยกคอลัมน์กัน (คล้ายๆกับ Field ข้อมูลใน Database)
    • ตรงนี้ไม่ต้องซีเรียส เพราะสามารถปรับแต่งภายหลังได้ง่ายๆ มากๆ ครับ
    • ที่สำคัญควรใส่ Label ของข้อมูลให้ครบถ้วยด้วยถ้าเป็นไปได้

3. Create : การสร้างกราฟ

มาถึงขั้นตอนนี้ก็เข้าหน้าที่หลักของ Excel แล้วล่ะครับ

4. Customize : ปรับแต่งกราฟ

ต่อไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย นั่นคือการปรับแต่งกราฟ ซึ่งการที่เราจะปรับแต่งกราฟได้นั้น เราต้องรู้จักส่วนประกอบของกราฟซะก่อนครับ

ส่วนประกอบของกราฟ หลักๆ มีดังนี้

  • Chart Area : พื้นที่ของกราฟทั้งหมด
  • Plot Area : พื้นที่ที่มีการพลอตข้อมูลลงไปจริงๆ
  • Label ป้ายกำกับ
    • Chart Title : ชื่อกราฟ
    • Axis Title : ชื่อแกน
      • Horizontal : แกนนอน
      • Vertical : แกนตั้ง
    • Legend : เพื่อบอกว่าซีรีส์อะไรคืออะไร
    • Data Label : บอกค่าของ Data
    • Data Table : ตารางข้อมูลต้นฉบับ
  • Axes แกน
    • Axes
      • Vertical Axis : แกนตั้ง
      • Horizontal Axis : แกนนอน
    • Gridlines : เส้นกริด ทั้งทั้งแกนนอนแกนตั้ง และ Major, minor
  • Series คือตัวข้อมูลจริงๆ
    • Series Name : ชื่อของข้อมูล
    • Series Value : ค่าของข้อมูล
  • Category Label : ชื่อประเภทข้อมูล (มักอยู่ที่แกนนอน)

วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะเข้าใจส่วนประกอบของกราฟ ก็คือ ให้ไปที่ Ribbon Layout ที่อยู่ภายใต้ Chart Tools เลยครับ (ต้องเลือกที่กราฟก่อน) ในนั้นจะแบ่งออกเป็นหลายๆ หมวด ดังนี้

  • Current Selection : เอาไว้เลือกส่วนประกอบของกราฟ มีประโยชน์มากเวลามีส่วนประกอบหลายๆ อันบังกันอยู่ ลองคลิ๊กดูแล้วจะรู้ว่าแต่ละส่วนเรียกว่าอะไร
    • พอเลือกแล้วสามารถกด Format Selection เพื่อปรับแต่งแต่ละส่วนได้อีก
  • เราสามาถ เพิ่ม/ลด ส่วนประกอบของกราฟได้ โดยไปที่เมนู Ribbon แต่ละอัน เช่น Chart Title, Axis Title, Legend, Data Label แล้วเลือก option จาก Drop down เป็นต้น

เป็นอย่างไรครับกับพื้นฐานการทำกราฟ การปรับแต่งกราฟไม่ได้จบแค่นี้ เดี๋ยวตอนหน้าเราจะมาเจาะลึกลงรายละเอียดมากกว่านี้ครับ ทั้งการผสมกราฟ การทำกราฟแกน y 2 อัน หรือแกน x 2อัน การประยุกต์สร้างกราฟที่ไม่มีให้เลือก และอื่นๆ อีกมากมาย อย่าลืมติดตามกันต่อไปนะครับ

แชร์ความรู้ให้เพื่อนๆ ของคุณ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita