ถ้าไม่ ปฏิบัติตามกฎหมาย

บทลงโทษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ของไทย

            หลายคนคงจะรู้จักหรืออย่างน้อยก็เคยได้ยินคำว่า PDPA ที่ย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาบ้างในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งหากศึกษาข้อมูลจากสื่อต่างๆ ก็คงจะเห็นว่า PDPA เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สำคัญมากสำหรับทุกคน ไม่ใช่เพียงเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงานธุรกิจเท่านั้น และสิ่งที่ทำให้ทุกคนตื่นตัวกันมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องบทลงโทษที่เรียกได้ว่า โหดทีเดียว เพราะมีโทษอาญาและโทษปรับสูงสุดถึง 5 ล้านบาท!

            แต่โทษทั้งหลายที่ว่ามานี้ มันมีรายละเอียดยังไงบ้าง? โทษอาญากับโทษปรับคือโทษเดียวกันหรือเปล่า? หากทำผิดทุกกรณีจะต้องโดนโทษปรับ 5 ล้านบาทเลยหรือไม่? วันนี้ Ruler จะมาเล่าให้คุณฟัง

ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า บทลงโทษของ PDPA นั้น มี 3 ประเภท คือ 1. โทษทางแพ่ง 2. โทษทางอาญา และ 3. โทษทางปกครอง ซึ่งมีความแตกต่างกัน

  1. โทษทางแพ่ง เกิดจากมีการกระทำความผิดทางแพ่ง พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ มีการทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายทางใดทางหนึ่ง เช่น เสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียง หรือสิทธิของบุคคลนั้น ผู้กระทำความผิดจึงจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย (ค่าสินไหมทดแทน) เป็นตัวเงิน
  2. โทษทางอาญา เกิดจากมีการกระทำความผิดต่อส่วนรวมซึ่งส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและประชาชน รัฐจึงกำหนดโทษไว้สำหรับลงโทษผู้กระทำความผิดประเภทนี้ โดยโทษทางอาญามี 5 อย่างคือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
  3. โทษทางปกครอง คือการลงโทษผู้กระทำความผิดที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องกระทำ แต่ยังไม่ร้ายแรงถึงระดับความผิดทางอาญาที่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม

PDPA มีการกำหนดบทลงโทษเอาไว้ทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาทั้งหมด!! โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. โทษทางแพ่ง มีการกำหนดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิด บวกกับ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มเติมสูงสุดเป็น 2 เท่าของค่าเสียหายจริง

         ค่าสินไหมทดแทน + (ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ x 2)

เท่ากับว่า หากศาลตัดสินให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล 1 ล้านบาท ศาลอาจจะกำหนดค่าสินไหมเพื่อการลงโทษเพิ่มอีก 2 ล้านบาท รวมเป็น 3 ล้านบาท!!!

         ค่าสินไหมทดแทน + (ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ x 2)

                     1,000,000 + (1,000,000 x 2) = 3,000,000

  1. โทษทางอาญาของ PDPA มี 2 โทษคือ โทษจำคุก และ โทษปรับ ถึงตรงนี้หลายคนคงจะงงว่า หากผู้กระทำผิดเป็นบริษัท (นิติบุคคล) แล้ว บริษัทจะได้รับโทษจำคุกได้ยังไง คำตอบคือ กรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ นั่นแหละ ที่อาจจะได้รับโทษจำคุก และโทษอาญาที่สูงที่สุดของ PDPA คือ โทษจำคุก 1 ปี หรือปรับ 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษสูงสุดนี้มาจากการใช้หรือเปิดเผยข้อมูล หรือส่งโอนข้อมูลไปต่างประเทศในส่วนที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล sensitive ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของ PDPA เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และโทษปรับนี้เป็นคนละส่วนต่างหากจากการชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งที่กล่าวในข้อ 1 ข้างต้น
  2. โทษทางปกครองของ PDPA คือโทษปรับเป็นตัวเงิน ซึ่งมีตั้งแต่ 1 ล้านบาทไปจนถึง 5 ล้านบาท โดยกรณีที่จะโดนโทษปรับสูงสุด 5 ล้านบาทนี้ คือกรณีที่มีการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูล หรือส่งโอนข้อมูลไปต่างประเทศในส่วนที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล sensitive และแน่นอนว่า โทษปรับนี้เป็นคนละส่วนต่างหากจากการชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งและโทษปรับทางอาญา

            หมายความว่า หากมีการละเมิดข้อกำหนดของ PDPA อาจจะโดนบทลงโทษทั้ง 3 ประเภทนี้พร้อมกันได้

            ดังนั้น องค์กรหรือบริษัทเอกชนทั้งหลายจึงเริ่มตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA กันเพิ่มมากขึ้น โดยอาจจะเริ่มมีการจ้างเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ data protection officer: DPO ซึ่งอาจจะมีทั้งรูปแบบของพนักงานประจำหรือเป็นการใช้บริการ outsourced DPO จากผู้เชี่ยวชาญด้าน PDPA โดยเฉพาะ มาช่วยให้คำแนะนำและตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรหรือบริษัทให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ PDPA เพราะหากโดนโทษทั้งหมดที่ว่ามานี้ละก็ มีสะเทือนแน่นอน 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการประกาศเลื่อนบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ไปอีกหนึ่งปีจากกำหนดการเดิมคือ 1 มิถุนายน 2564 โดยเป็นการประกาศจาก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2565 เพื่อลดผลกระทบต่อธุรกิจภาครัฐและเอกชน ที่ยังไม่พร้อมในการปฏิบัติตามข้อบังคับเนื่องจากสถานการณ์การระบาดร้ายแรงโควิด-19

ที่ผ่านมา หลายธุรกิจตื่นตัวในเรื่องข้อบังคับตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด เนื่องจากมีบทลงโทษทางแพ่ง ทางอาญาและทางปกครองหลายประการสำหรับผู้ที่กระทำความผิดต่อการควบคุมข้อมูลของประชาชน จึงทำให้หลายภาคส่วนยื่นคำขอพิจารณาถึงคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ขยายเวลาการบังคับใช้ เพราะมีหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ทันทีและอาจผิดตามกฏหมายข้อบังคับและถูกลงโทษได้ โดยหน่วยงานหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้แก่

บุคคลทั่วไป ผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject)

บุคคลที่ข้อมูลนั้นระบุไปถึงเจ้าของข้อมูลไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)

บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ “ตัดสินใจ” เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนโดยทั่วไป ที่เก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนหรือลูกค้าที่มาใช้บริการ

ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor)

บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล “ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าว ต้องไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

หากองค์กรที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งภาครัฐและเอกชนก็จะมีบทลงโทษแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ โทษทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษทางปกครอง ดังนี้

1.โทษทางแพ่ง

หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้เจ้าของข้อมูลเสียหายจะต้องชดใช้  “ค่าสินไหมทดแทน” ไม่ว่าการดำเนินการที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นจะเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ  ** โดยมีข้อยกเว้น คือ พิสูจน์ได้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัย เกิดจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติตามอำนาจของกฎหมาย

  • ค่าสินไหมทดแทน  จ่ายสินไหมไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมที่แท้จริง
  • อายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหาย และรู้ตัวผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องรับผิด หรือ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

2.โทษทางอาญา

โทษทางอาญาแบ่งออกเป็น การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลอ่อนไหวโดยปราศจากฐานทางกฎหมาย ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความ อับอาย และการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลอ่อนไหวโดยปราศจากฐานทางกฎหมาย เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ** เว้นแต่จะเป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ การเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือพิจารณาคดี การเปิดเผยแก่หน่วยงานของรัฐ ในประเทศหรือต่างประเทศที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย การเปิดเผยที่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือเฉพาะครั้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องคดีต่างๆ ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ

  •  โทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3.โทษทางปกครอง

โทษทางปกครอง จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ โทษของผู้ควบคุมข้อมูล, โทษของผู้ประมวลผลข้อมูล และโทษทางปกครองอื่นๆ

3.1 โทษของผู้ควบคุมข้อมูล

  • การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากฐานทางกฎหมาย
  • การไม่ขอความยินยอมให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่แจ้งผลกระทบจากการถอน ความยินยอม
  • การเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้โดยไม่ได้แจ้งวัตถุประสงค์ใหม่หรือมีกฎหมายให้ทำได้
  • การเก็บรวบรวมข้อมูลเกินไปกว่าที่จำเป็นภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
  • การเก็บข้อมูลจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของข้อมูลโดยตรงที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
  • การขอความยินยอมที่เป็นการหลอกลวงหรือทำให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใจผิดในวัตถุประสงค์
  • การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย การโอนข้อมูลอ่อนไหวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  • การไม่แจ้งเจ้าของข้อมูลทั้งในกรณีเก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลโดยตรงหรือโดยอ้อม
  • การไม่ให้เจ้าของข้อมูลเข้าถึงข้อมูลตามสิทธิ
  • การไม่ดำเนินการตามสิทธิคัดค้านของเจ้าของข้อมูล
  • การไม่จัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • การไม่จัดให้มีการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วน บุคคลอย่างเพียงพอ
  • การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  • การไม่จัดให้มีมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม การไม่จัดให้ มีระบบตรวจสอบเพื่อลบทำลายข้อมูลหรือไม่ปฏิบัติสิทธิในการลบเมื่อถอนความ ยินยอมหรือตามสิทธิในการขอลบข้อมูล

3.2 โทษของผู้ประมวลผลข้อมูล

  • การไม่จัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือการไม่สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอ
  • การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูล การไม่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม การไม่จัดทำบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผล
  • การโอนข้อมูลไปต่างประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  • การไม่ตั้งตัวแทนในราชอาณาจักรในกรณีที่กฎหมายกำหนด
  • การโอนข้อมูลอ่อนไหวไปต่างประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

3.3 โทษทางปกครองอื่น ๆ

  • ตัวแทนของผู้ควบคุมข้อมูลหรือผู้ประมวลผลข้อมูล ไม่จัดให้มีบันทึกรายการประมวลผลข้อมูล
  • ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมผู้เชี่ยวชาญ หรือไม่มาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือไม่ส่งข้อมูลให้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ
  • โทษทางปกครองปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท

อย่างที่ทราบกันดีว่าข้อมูลประชาชนทุกธุรกิจภาครัฐและภาคเอกชนสามารถจัดเก็บได้ ไม่ว่าจะเป็น  ชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล IP Address ข้อมูลสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม เป็นต้น แต่การจัดเก็บต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลและถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัย ซึ่งหากจะนำมาใช้ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสมอ หากไม่ปฏิบัติตามก็อาจถูกลงโทษตามข้อบังคับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ทั้งนี้ สำหรับประชาชนทั่วไปผู้เป็นเจ้าของข้อมูล ควรระมัดระวังในการให้ข้อมูลรวมถึงระมัดระวังในการใช้งานอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ โซเชียลมีเดียต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาด้านข้อมูลรั่วไหล ลดความเสียหายจากการถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมไม่ว่าจะเป็นทั้งทางตรง หรือ ทางอ้อม

ที่มา: //www.rbpho.moph.go.th/upload-file/doc/files/14012020-094941-9111.pdf และ

//www.law.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/TDPG2.0-C5-20191009.pdf

pdpa Privacy data

ทีมงาน cyfence ผู้ดูแลด้านบริการด้าน Cyber Security พร้อมดูแลระบบให้มีความปลอดภัยห่างไกลภัยคุกคามไซเบอร์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita