การแยกของแข็งกับของเหลวในสารเนื้อผสมออกจากกันได้อย่างไร

การแยกสาร หมายถึงการที่แยกสารที่ผสมกันตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไปออกจากกัน เพื่อนำสารที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์ตามต้องการ ซึ่งสามารถจำแนกได้คือ การแยกสารเนื้อผสม และการแยกสารเนื้อเดียว

สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่มีลักษณะให้สารไม่ผสมกลมกลืนกันเป็นเนื้อเดียวกันเกิดจาก สารอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมกันโดยเนื้อสารจะแยกกันเป็นส่วน ๆ การแยกสารเนื้อผสมอาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การกรอง การใช้กรวยแยก การใช้อำนาจแม่เหล็ก การระเหิด การระเหยจนแห้ง ซึ่งเป็นการแยกสารโดยวิธีทางกายภาพทั้งสิ้น สารที่แยกได้จะมีสมบัติเหมือนเดิม

1. การกรอง เป็นวิธีการแยกสารออกจากกันระหว่างของแข็งกับของเหลว หรือใช้แยกสารแขวนลอยออกจากน้ำ ซึ่งใช้กันมากในทางเคมี โดยเฉพาะในห้องปฏิบัติการที่กรองสารในปริมาณน้อย ๆ การกรองนั้นจะต้องเทสารผ่านกระดาษกรอง อนุภาคของแข็งที่ลอดผ่านรูกระดาษกรองไม่ได้จะอยู่บนกระดาษกรอง ส่วนน้ำและสารที่ละลายน้ำได้จะผ่านกระดาษกรองลงสู่ภาชนะ

2. การใช้กรวยแยก เป็นวิธีที่ใช้แยกสารเนื้อผสมที่เป็นของเหลว 2 ชนิดที่ไม่ละลายออกจากกัน โดยของเหลวทั้งสองนั้นแยกเป็นชั้นเห็นได้ชัดเจน เช่น น้ำกับน้ำมัน เป็นต้น การแยกโดยวิธีนี้จะนำของเหลวใส่ในกรวยแยก แล้วไขของเหลวที่อยู่ในชั้นล่างซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นบนออกสู่ภาชนะจนหมด แล้วจึงค่อย ๆ ไขของเหลวที่ที่เหลือใส่ภาชนะใหม่

3. การใช้อำนาจแม่เหล็ก เป็นวิธีที่ใช้แยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมซึ่งองค์ประกอบหนึ่งมีสมบัติในการถูกแม่เหล็กดูดได้ เช่น ของผสมระหว่างผงเหล็กกับผงกำมะถัน โดยใช้แม่เหล็กถูไปมาบนแผ่นกระดาษที่วางทับของผสมทั้งสอง แม่เหล็กจะดูดผงเหล็กแยกออกมา

4. การระเหิด คือ ปรากฏการณ์ที่สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นก๊าซหรือไอโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวก่อน ใช้แยกสารเนื้อผสมที่เป็นของแข็งออกจากกัน โดยของแข็งชนิดหนึ่งมีสมบัติระเหิดได้ เช่น ลูกเหม็น พิมเสน น้ำแข็งแห้ง การบูรกับเกลือแกง เมื่อให้ความร้อนการบูรจะกลายเป็นไอแยกออกจากเกลือแกง ดักไอของการบูรด้วยภาชนะที่เย็นจะได้การบูรเป็นของแข็งแยกออกมา

5. การใช้มือหยิบออกหรือเขี่ยออก ใช้แยกของผสมเนื้อผสม ที่ของผสมมีขนาดโตพอที่จะหยิบออกหรือเขี่ยออกได้ เช่น ข้าวสารที่มีเมล็ดข้าวเปลือกปนอยู่

6. การตกตะกอน ใช้แยกของผสมเนื้อผสมที่เป็นของแข็งแขวนลอยอยู่ในของเหลว ทำได้โดยนำของผสมนั้นวางทิ้งไว้ให้สารแขวนลอยค่อย ๆ ตกตะกอนนอนก้น ในกรณีที่ตะกอนเบามากถ้าต้องการให้ตกตะกอนเร็วขึ้นอาจทำได้โดย ใช้สารตัวกลางให้อนุภาคของตะกอนมาเกาะ เมื่อมีมวลมากขึ้น น้ำหนักจะมากขึ้นจะตกตะกอนได้เร็วขึ้น เช่น ใช้สารส้มแกว่ง อนุภาคของสารส้มจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้โมเลกุลของสารที่ต้องการตกตะกอนมาเกาะ ตะกอนจะตกเร็วขึ้น

ตามปกติสารที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นสารที่ไม่บริสุทธิ์ มีวิธีการต่างๆที่สามารถแยกสารออกจากกันโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 แยกสารเนื้อผสม

  1. การหยิบออก
    ในบางครั้งสารที่ผสมมีขนาดใหญ่และปริมาณไม่มากก็สามารถหยิบออกได้เลย เช่น กรวดปนในข้าวเปลือก
  2. การร่อน (แยกของแข็ง-ของแข็ง)
    ใช้แยกสารเนื้อผสมระหว่างของแข็งและของแข็ง โดยการร่อน อาศัยขนาดของรูตะแกรงแยกสารผสม เช่น ทรายปนในข้าวเปลือก
  3. การใช้แม่เหล็ก (แยกสารที่เป็นสารแม่เหล็ก)

    • ใช้แยกสารที่เป็นสารแม่เหล็กด้วยแม่เหล็ก เช่น ผงตะไบเหล็กในทราย,ผงเหล็กและผงกำมะถัน
    • สารที่มีสารแม่เหล็ก เช่น เหล็ก, โคบอลต์, นิกเกิล
    • สารที่ไม่มีสารแม่เหล็ก เช่น ทองแดง, กำมะถัน

  4. การกรอง (แยกของแข็ง-ของเหลว)

    • กระดาษกรองใช้แยกของแข็งที่อนุภาคมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-4 เซนติเมตร
    • กระดาษเซลโลเฟนใช้แยกของแข็งที่อนุภาคมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-7 เซนติเมตร แต่เล็กกว่า 10-4 เซนติเมตร

  5. การแยกด้วยกรวยแยก (แยกของเหลว-ของเหลวที่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน)

    ใช้แยกสารที่มีความหนาแน่นต่างกัน สารที่มีความหนาแน่นกว่าจะอยู่ด้านล่าง สารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าจะลอยอยู่ด้านบน

  6. การระเหิด (แยกของแข็ง-ของแข็งที่ระเหิดได้)

    • การระเหิด คือ การเปลี่ยนสถานะสารจาก ของแข็ง --> แก๊ส โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว
    • สารที่ระเหิดได้ เช่น แนฟทาลีน, การบูร, เกล็ดไอโอดีน
    • วิธีการ ให้ความร้อนกับสารผสม (ไอโอดีน-ทราย) เมื่อไอโอดีนได้รับความร้อนจะระเหิด และไอจะไปเกาะที่กรวยแก้วเมื่อทิ้งไว้จะเห็นเกล็ดไอโอดีน

  7. การตกตะกอน (แยกของแข็งแขวนลอย-ของเหลว)

    ใช้แยกสารเนื้อผสมระหว่างของแข็งแขวนลอยที่อยู่ในของเหลว เช่นน้ำคลอง เมื่อนำน้ำคลองมาตั้งทิ้งไว้สารแขวนลอยจะค่อยตกตะกอน แต่ถ้าต้องการให้เร็วขึ้น สามารถใช้สารส้ม สารส้มจะทำให้ตะกอนเกิดการเกาะกลุ่มกัน และมีน้ำหนักมากจึงตกไปที่ก้นภาชนะได้เร็วขึ้น

  8. การสกัดด้วยตัวทำละลาย

    เป็นการแยกสารผสมด้วยตัวทำละลาย เช่น การสกัดสมุนไพรด้วยเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์ (ข้อมูลจากสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

    จากรูป หากต้องการแยกสารที่ผสมกันอยู่ด้วยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย เติมตัวทำละลาย -> เขย่าให้เกิดการผสม-> สารที่ต้องการจะแยกจะไปละลายในชั้นของตัวทำละลาย ->ตัวทำละลายและสารเดิมจะแยกชั้นกัน -> นำไปแยกออก ->แยกตัวทำละลายออกจากสารที่ต้องการด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป

    หลักการในการเลือกตัวทำละลาย

    1. สามารถละลายสารที่ต้องการแยกได้ดี แต่ไม่ละลายสารที่ไม่ต้องการแยก
    2. มีความหนาแน่นต่างกับ สารที่ไม่ต้องการแยกมากกว่า 150 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
    3. ไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารที่ต้องการแยกและไม่ต้องการแยก
    4. ไม่เสียสภาพได้ง่ายในความร้อน
    5. สามารถแยกออกจากสารที่ต้องการได้ง่าย

กลุ่มที่ 2 แยกสารเนื้อเดียว

  1. การระเหย (แยกของแข็ง-ของเหลว)

    เป็นการแยกสารผสมที่ประกอบด้วยของแข็งซึ่งละลายอยู่ในของเหลวตัวอย่างเช่น การทำนาเกลือ

  2. การตกผลึก
    คือวิธีการแยกของแข็งจากสารละลาย

    จากรูป เกิดขั้นตอนดังนี้
    A. สารผสมละลายอยู่ในตัวทำละลาย และเมื่อให้ความร้อนสารผสมจะละลายได้มากขึ้นจนใกล้ถึงจุดอิ่มตัว (จุดที่สารไม่สามารถละลายต่อไปได้)
    B. เมื่อทิ้งไว้ให้เย็นลงสารบริสุทธิ์ เช่น ธาตุหรือสารประกอบจะก่อผลึกขึ้น
    C. แยกออกจากสารอื่นด้วยการกรอง

    หลักการการเลือกตัวทำละลาย

    • สามารถละลายสารที่ต้องการตกผลึกได้เมื่อให้ความร้อน และละลายได้น้อยหรือไม่ละลายเลยเมื่ออุณหภูมิต่ำ
    • เมื่อทิ้งไว้ให้เย็นจะเกิดผลึกสารบริสุทธิ์
    • ไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารที่ต้องการตกผลึก
  3. การกลั่น

    เป็นการแยกสารเนื้อเดียวที่เป็นของเหลวโดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือดของสาร เมื่อให้ความร้อน สารที่มีจุดเดือดต่ำกว่าจะระเหยกลายเป็นไอ-> ไอจะกระทบความเย็น->เกิดการควบแน่น
    การกลั่นแบ่งได้เป็น 3 ประเภท

    • การกลั่นแบบธรรมดา
      สารที่จะแยกต้องมีจุดเดือดต่างกันมาก
    • การกลั่นลำดับส่วน
      สารที่จะแยกมีจุดเดือดใกล้กัน เช่น การกลั่นน้ำมันดิบ
    • การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
      ใช้แยกสารที่มีจุดเดือดต่ำกว่าน้ำและไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกับน้ำเมื่อเย็นตัว ตัวอย่างเช่น การ สกัดน้ำมันหอมระเหย

    การกลั่นแบบธรรมดา

    การกลั่นลำดับส่วน

  4. โคมาโตกราฟี

    เป็นการแยกสารเนื้อเดียวที่มีความเป็นขั้วต่างกัน ใช้เพื่อทำให้สารบริสุทธิ์ หรือใช้เพื่อตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสาร
    หลักการทำงานขึ้นกับความแตกต่าง

    • ความสามารถในการดูดซับกับตัวดูดซับที่เป็นเฟสคง
    • ความสามารถในการละลายในตัวทำละลายที่เป็นเฟสเคลื่อนที่
    • จากรูป C ละลายดีที่สุดและดูดซับน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ A และ Bโดย A ละลายได้ไม่ดี และดูดซับได้ดีจึงเคลื่อนที่ไปได้ระยะทางสั้นที่สุด

ในการเข้าใช้งานเวบไซต์ของเรา ท่านได้อ่าน เข้าใจ และยอมรับข้อกำหนดการใช้งาน นโยบายความเป็นส่วนตัว และนโยบายคุกกี้ของเราแล้ว โดยท่านสามารถอ่านนโยบายของเราได้ ที่นี่

แยกของแข็งออกจากของเหลวในสารเนื้อผสมได้อย่างไร

1. การกรอง เป็นวิธีการแยกสารออกจากกันระหว่างของแข็งกับของเหลว หรือใช้แยกสารแขวนลอยออกจากน้ำ ซึ่งใช้กันมากในทางเคมี โดยเฉพาะในห้องปฏิบัติการที่กรองสารในปริมาณน้อย ๆ การกรองนั้นจะต้องเทสารผ่านกระดาษกรอง อนุภาคของแข็งที่ลอดผ่านรูกระดาษกรองไม่ได้จะอยู่บนกระดาษกรอง ส่วนน้ำและสารที่ละลายน้ำได้จะผ่านกระดาษกรองลงสู่ภาชนะ

แยกของแข็งในสารเนื้อผสมออกจากกันอย่างไร

วิธีการแยกสารเนื้อผสม การแยกสารเนื้อผสมอาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การกรอง การใช้กรวยแยก การใช้อำนาจแม่เหล็ก การระเหิด การระเหยจนแห้ง ซึ่งเป็นการแยกสารโดยวิธีทางกายภาพทั้งสิ้น สารที่แยกได้จะมีสมบัติเหมือนเดิม ซึ่งรายละเอียดของวิธีการแยกแบบต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้

การแยกสารเนื้อผสมที่เกิดจากของแข็งผสมกับของเหลวโดยของแข็งละลายในน้ำเราสามารถแยกได้ด้วยวิธีใด

2. การแยกสารเนื้อผสมระหว่างของแข็งและของเหลว ในกรณีที่สารเนื้อผสมเป็นของแข็งและของเหลว เราสามารถใช้การกรองด้วยตะแกรงตาถี่ หรือกระดาษกรองที่มีรูเล็กกว่าขนาดของของแข็ง แต่ปล่อยให้ของเหลวผ่านได้ เช่น การกรองกากชาออกจากน้ำชาด้วยกระชอนตาถี่ หรือกรองกากกาแฟออกจากสารละลายน้ำกาแฟด้วยกระดาษฟิลเตอร์ เป็นต้น

สารผสมเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเป็นของแข็งละลายในของเหลวจะแยกองค์ประกอบออกจากกันได้โดยวิธีใด

2. การตกผลึก เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียว ที่เกิดจากของแข็งผสมกับของเหลว โดยของแข็งจะต้องละลายในของเหลวจนได้สารละลายอิ่มตัว ของแข็งจึงจะตกผลึกลงสู่ก้นภาชนะคล้ายกับการตกตะกอน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita