วิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัวในโทรศัพท์

วันนี้( 13 มี.ค.65) ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร) ได้โพสต์ข้อความเตือนภัยเกี่ยวกับแก๊งคอลเซนเตอร์ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก PCT Police

โดยระบุว่า "การใช้อินเทอร์เน็ตของคนเราทุกวันนี้ มีอิทธิพลในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น สังเกตได้จากการอัปเดตชีวิตส่วนตัวผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซื้อสินค้าหรือบริการผ่านเว็บไซต์ จองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรมผ่านแอปพลิเคชัน ทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ฯลฯ

ซึ่งการใช้งานบริการหลายๆอย่างในอินเทอร์เน็ตนั้น จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง เช่น ชื่อ-นามสกุล เพศ อายุ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์ เลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขบัตรเครดิต บัญชีธนาคาร ฯลฯ หรือในบางครั้งต้องยืนยันข้อมูลส่วนตัวเพื่อความปลอดภัยในการเข้าใช้งานซึ่งนอกจากการให้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อเป็นการยืนยันข้อมูล หรือฐานข้อมูลเพื่อการบริการแล้ว ยังเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ดังนั้นการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของเราก็ถือว่าสำคัญเลยทีเดียว ซึ่งมี 6 วิธีดังนี้

1.ไม่โพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ที่สำคัญ ในอินเทอร์เน็ต รวมถึงรูปภาพหรือคลิปวิดีโอส่วนตัว

2.ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ในบัญชีออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อจำกัดวงผู้อ่านหรือนำข้อมูลไปใช้

3.ตั้งค่าและดูแลพาสเวิร์ดหรือรหัสผ่าน ให้มั่นคงปลอดภัย เช่น ตั้งให้ไม่ซ้ำในทุกบริการ ไม่บอกให้ทุกคนรู้ และไม่ง่าย นอกจากนั้นอาจใช้บริการ Password Manager และ เปิดใช้งานการล็อกอินแบบหลายชั้น เช่น การใช้ร่วมกับ OTP หรือการยืนยันตัวตนหลายปัจจัย

4.ระมัดระวังอีเมลหรือลิงก์หลอกลวงให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ หากไม่แน่ใจให้ติดต่อสอบถามกลับไปยังสถาบันการเงินหรือเว็บไซต์ที่ส่งมาหาโดยตรง

5.ไม่ทำธุรกรรมกับเว็บไซต์หรือบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือ

6.ไม่ผูกบัตรเครดิตหรือบัญชีออนไลน์เป็นการถาวร ควรให้กรอกข้อมูลใหม่หรือยืนยันตัวตนทุกครั้ง และควรขอให้มีบริการแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินหรือใช้บัญชี"

เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานสมาร์ทโฟนในยุคนี้สมัยนี้ ขอแนะนำ 20 วิธีป้องกัน จากการโจมตีทางมือถือในยุค 2021 เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ถูกแฮก ขโมยข้อมูล ด้วยวิธีที่ไม่ยาก มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย !

Wi-Fi

1. อย่าเปิด auto-join สำหรับ Wi-Fi สาธารณะต่างๆ หรือเน็ตเวิร์คที่ไม่คุ้นเคย เช่น True Wi-Fi , Dtac Wi-Fi หรือ AIS Wi-Fi เป็นต้น ถ้าหากเปิด auto-join เอาไว้ มือถือของเราจะพยายามค้นหาพวก Wi-Fi ชื่อที่เราเคยเชื่อมต่อแล้วพยายามเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติ ดังนั้น ถ้าพวกแฮกเกอร์มีการปล่อย Wi-Fi ปลอมออกมาล่อ มือถือเราจะเชื่อมต่อแล้วถูกขโมยข้อมูลผ่านระบบ Man in the Middle โดยอัตโนมัติ

2. พยายามปิด Wi-Fi เมื่อไม่ใช่งาน หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้

3. ไม่ควรส่งข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญ / sensitive ผ่านการเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่นข้อมูล user + password หรือ เลขบัตรเครดิตรวมถึงตัวเลขหลังบัตร เป็นต้น

แอปพลิเคชัน

4. ดาวน์โหลดและใช้งานแอปจากสโตร์ทางการเท่านั้น เช่น App Store หรือ Google Play Store เป็นต้น ถ้าไม่มีความจำเป็น อย่าติดตั้งแอพจากไฟล์ .apk หรือ .ipa ที่ได้มาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

5. ก่อนดาวน์โหลด/ติดตั้งแอป อ่านคำอธิบาย อ่านรีวิวของแอปนั้นๆ ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอปที่หน้าตาไม่คุ้น รวมถึงผู้พัฒนาที่ไม่รู้จักมาก่อน อ่านให้ดีก่อนว่ามันมีข้อจำกัดตรงไหนบ้าง มีรีวิวในเชิงลบมาก-น้อยแค่ไหน และรีวิวเขาพูดถึงแอปว่าอย่างไร

6. อัปเดตแอปให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเราได้อัพเดตตัว security patch ล่าสุดของแอปนั้นๆ ด้วย

7. หากแอปนั้นๆ ไม่ได้รับการซัพพอร์ตจากสโตร์อย่างเป็นทางการแล้ว ให้ลบออกจากเครื่องซะ

8. อย่าให้สิทธิ์ administrator หรือสิทธิพิเศษที่เข้าถึงข้อมูลต่างๆ กับแอปง่ายๆ เรื่องนี้อยากให้คิดในแง่ร้ายเอาไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัย

เบราเซอร์

9. ระวังพวกโฆษณา แบนเนอร์ การแจกของรางวัล และการประกวด/การแข่งขันต่างๆ ที่ดูแล้วดีเกินจริง เพราะ มันมักจะนำไปสู่ phishing site ที่ดูเผินๆ เหมือนจะถูกกฎหมาย

10. อยากให้ใส่ใจ และสังเกต URL ให้ดี ว่า URL ที่กำลังจะเข้านั้น ถูกต้องอย่างที่มันควรจะเป็นหรือไม่ อาจเป็นเรื่องที่เสียเวลาหน่อย แต่เชื่อเถอะว่าคุ้มค่าเสียเวลาและเพิ่มความมั่นใจว่าจะเข้าเว็บไซต์ต่างๆ ได้อย่างปลอดภัยขึ้นแน่ๆ

11. อย่าพยายามบันทึกข้อมูลการล็อคอิน เช่น user และ password เมื่อต้องใช้งานเบราเซอร์ เพราะ มีสิทธิ์ถูกแฮก ขโมย หรืออาจโดน hijack ด้วยการแอบมาใช้งานเครื่องแทนได้

Bluetooth

12. ปิดระบบ auto pairing เพื่อป้องกันการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ หรือเครื่องอื่นๆ ที่ไม่พึงประสงค์

13. ปิดบลูทูธเมื่อไม่ใช้งาน

Phishing ผ่าน SMS

14. อย่าไว้ใจข้อความที่พยายามจะให้คุณเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น

15. ให้ระวังกลยุทธ์ล่อลวงแบบเดียวกับที่ใช้งานในแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook , Messenger , Instagram เป็นต้น

16. ปฏิบัติแบบเดียวกับที่คุณควรทำกับการใช้งานอีเมล นั่นคือ คิดให้มากๆ ก่อนจะคลิ๊กเข้าลิงก์ใดๆ เสมอ

Voice + Email Phishing

17. อย่าพยายามตอบกลับคำขอข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคล ทั้งทางโทรศัพท์และอีเมล ถ้าเกิดคุณสงสัยจริงๆ ให้โทรติดต่อตรงกลับไปยังธนาคาร หรือสถาบันการเงินนั้นๆ แทน โดยใช้หมายเลขที่ปรากฏอยู่หลังบัตร ATM , บัตรเครดิต หรือเอกสารแจ้งค่าใช้จ่ายรายเดือน

18. อย่าคลิ๊กลิงก์ในอีเมลเชิงพาณิชย์ที่ไม่ได้มีการร้องขอให้ทำการคลิ๊ก/จำเป็นต้องคลิ๊ก

19. จะพูดเกี่ยวกับข้อมูลทางบัญชีก็ต้องเมื่อคุณเป็นคนเริ่มต้นโทรไปก่อน และที่สำคัญ ให้คุยเฉพาะกับผู้รับสายที่เป็นคน หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับระบบ (ถ้าเป็นไปได้)

20. ติดตั้งซอฟ์ทแวร์ที่สามารถบอกคุณได้ว่าคุณอยู่ในเว็บไซต์ที่ปลอดภัย หรือเว็บปลอม

เพียงปฏิบัติตาม วิธีป้องกัน ทั้ง 20 ข้อนี้ เชื่อว่าคุณจะสามารถใช้งานสมาร์ทโฟนได้อย่างปลอดภัย และสามารถป้องกันการโจมตีทางมือถือได้ ไม่ถูก ขโมยข้อมูล สำคัญ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายในระดับที่คาดไม่ถึง และจงมีสติทุกครั้งเมื่อได้รับการติดต่อ ที่ดูไม่น่าไว้วางใจ

จะมีวิธีป้องกันความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไรก่อนโทรศัพท์จะหาย

เคล็ดลับการเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวภายในมือถือ.
ไม่บันทึก User name หรือ Password ใส่ไว้ใน Web Browser..
ตั้งรหัสผ่านที่ยาก เพื่อกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าระบบ หรือเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้.
สำรองข้อมูลบนคลาวด์ (Cloud Syncing) อยู่เสมอ.
Log out แอปพลิเคชันต่างๆ ทุกครั้งหลังใช้งาน.

เราจะสามารถ ปกป้องข้อมูลส่วนตัว ได้ อย่างไร บ้าง

แนะ 10 วิธีปกปิดข้อมูลส่วนตัวไม่ทิ้งไว้บนโลกดิจิทัล.
1. ยกเลิก หรือ ปิดบัญชีออนไลน์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ใช้แล้ว ... .
2. ลบข้อมูลออกจากเว็บไซต์ที่ทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ... .
3. ใช้ Stealth Mode หรือ Incognito Mode หรือแม้กระทั่งใช้ Tor ไปเลย ... .
4. ปิดการใช้งานในบัญชีอีเมลเก่า ... .
5. ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของ Account ต่าง ๆ.

ใช้สมาร์ตโฟนอย่างไรให้ปลอดภัย

1. ตั้ง Password, สแกนลายนิ้วมือ,หรือสร้าง Pattern ในการปลดล็อค เพื่อรักษาความปลอดภัยของมือถือ 2. ไม่ได้เชื่อมต่อมือถือกับอุปกรณ์ Bluetooth ให้ปิดการใช้งาน เพื่อประหยัดแบตเตอรี่และป้องกันการแฮกข้อมูล 3. หมั่นอัปเดระบบปฎิบัติการ และแอปพลิเคชันอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

วิธีการในการใช้สมาร์ทโฟนอย่างไรให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

พิจารณาเก็บเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นในโทรศัพท์มือถือ การเก็บข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือ ควรพิจารณาถึงความสำคัญและความเหมาะสมของข้อมูลที่จะจัดเก็บ ไม่ควรเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญมากๆ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต หรือข้อมูลรหัสผ่านสำหรับล็อกอินเข้าใช้งานระบบ เนื่องจากหากโทรศัพท์เกิดสูญหาย หรือโดนผู้ประสงค์ร้ายลักลอบขโมยไปได้ อาจทำให้เกิด ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita