วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research approach) ตามขั้นตอนการมองปัญหา (Look) การคิดพิจารณา (Think) และการลงมือปฏิบัติ (Act)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 2,000 คน และกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 1,000 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.46-0.78 และโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  Paired t-test และ Percentage difference กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 2,000 คน พบว่า ปัจจัยเสี่ยงก่อนการพัฒนาได้แก่ ดัชนีมวลกายเกิน (22.3%) อ้วนระดับที่ 1-2(36%) รอบเอวชายเกิน (24.2%) รอบเอวหญิงเกิน(89.4%) ความดันโลหิตตัวบนเป็นกลุ่มเสี่ยง(18.3) และกลุ่มสงสัยป่วย(13.9%) ความดันโลหิตตัวล่างเป็นกลุ่มเสี่ยง(21.8%) และกลุ่มสงสัยป่วย(16.5%) ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นกลุ่มเสี่ยง(33.0%) และกลุ่มสงสัยป่วย(13.2%) และพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับต่ำและปานกลาง (48.6%) หลังจากนั้นจึงนำมาจัดลำดับความสำคัญและให้ความหมายของปัญหา โดยการสนทนากลุ่ม พบว่า ได้ร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาโดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ การงดสูบบุหรี่ และการงดดื่มสุรา เป็นระยะเวลา 3 เดือน และผลการพัฒนาพบว่าระดับความดันโลหิตอยู่ในกลุ่มปกติเพิ่มขึ้น(21.20%) กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีดัชนีมวลกายลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนา (p<.001)โดยมีดัชนีมวลกายลดลงเท่ากับ 0.32 kg/m2 (95%CI; 0.26, 0.39)  รอบเอวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนา(p<.001)โดยมีรอบเอวลดลงเท่ากับ 0.81 เซนติเมตร (95%CI; 0.54, 1.07) และระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนา (p<.001) โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเท่ากับ 7.51 mg/dl (95%CI;6.20, 8.82)

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้กับกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. คู่มือการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยยึดชุมชนเป็นฐาน:ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (CBI NCDs) : นนทบุรี. สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข; 2561.

กระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561 (Public Health Statistics A.D.2018). นนทบุรี:กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2561.

เกษฏาภรณ์ นาขะมิน, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์, เพชรไสว ลิ้มตระกูล. วิธีการป้องกันโรคเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.2556;31(1):43-51.

ณิชาพัฒน์ เรืองสิริวัฒก์, ปาหนัน พิชยภิญโญ, สุนีย์ ละกำปั่น.ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2556;27(1):74-87.

อรุณี ผุยปุ้ย, วันเพ็ญ ปัณราช. การพัฒนาแนวทางการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดพิจิตร. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2556;31(4):80-88.

วัฒนา สว่างศรี, ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่.การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก 2558;16(1):116-122.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองสุขศึกษา.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน. นนทบุรี: กองสุขศึกษา; 2556.

Stringer ET. Action research(Third Edition).3rd ed. Los Angeles: Sage; 2007.

Stringer ET., Christensen LM., Baldwin SC. Integrating Teaching, Learning, and Action Research: Enhancing Instruction in the K-12 classroom. Los Angeles: Sage; 2009.

World Health Organization. Innovative care for chronic conditions: building blocks for action: global report. Geneva: WHO; 2002.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563. นนทบุรี;2563.

Best JW. Research in education : 3rd ed. New Jersey: Prentice-Hall; 1977.

สมศรี คำภีระ, สมชัย วงษ์นายะ, ปาจรีย์ ผลประเสริฐ. การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในจังหวัดตาก. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.).2559;22(1):119-32.

นวลนิตย์ ไชยเพชร, อุดมศิลป์ แก้วกล่ำ, สิทธิพงษ์ สอนรัตน์, ยุวดี วิทยพันธ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชุมชนโพหวาย ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4(2):45-62.

จันทกานต์ วลัยเสถียร, เมยุรี ประสงค์, มาลัย นาคประกอบ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. วารสารวิชาการ สคร.9. 2564;27(1):46-55.

How to Cite

License

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita