60 นิวตันจะมีน้ำหนักเท่าไรเมื่ออยู่บนดวงจันทร์

พิจารณาคานสมดุลดังรูป 2 เมื่อนำทุเรียน 1 ผล และแตงโม 1 ผลใส่ลงในตะกร้าที่วางอยู่บนคานคนละด้าน พบว่าคานเอียงไปด้านหนึ่ง

ถ้ามีส้มโอหนักลูกละ 5 นิวตัน และมะพร้าวหนักลูกละ 10 นิวตัน นักเรียนจะเลือกวางส้มโอหรือมะพร้าวลงในตะกร้าใบใดเพื่อให้คานสมดุล

1.วางส้มโอ 1 ลูก ฝั่งเดียวกับทุเรียน

2. วางส้มโอ 2 ลูก ฝั่งเดียวกับแตงโม

3. วางมะพร้าว 1 ลูก ฝั่งเดียวกับทุเรียน

4. วางมะพร้าว 2 ลูก ฝั่งเดียวกับแตงโม

เป็นไงบ้างครับสำหรับโจทย์ข้อนี้ จะว่ายากก็ไม่ใช่ จะว่าง่ายก็ไม่เชิงใช่ไหมครับ?

 

ความรู้ข้อที่ 1 : น้ำหนักกับมวลคือเรื่องเดียวกันที่แตกต่างกัน

ใช่แล้วครับ ที่จั่วหัวไว้นั้นไม่ได้ตั้งใจเขียนให้อ่านแล้วงง แต่ตั้งใจบอกอย่างนี้จริงๆว่าน้ำหนักกับมวลนั้นคือเรื่องเดียวกันแต่แตกต่างกันครับ

ริ่มกันที่มวลก่อนก็แล้วกันนะครับ…

มวลคือเนื้อสารของวัตถุ ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะคงที่อยู่อย่างนั้น (ถ้าไม่มีใครไปเปลี่ยนสภาพของเนื้อสารนั้นซะก่อนนะครับ) เช่นไม่ว่าจะอยู่บนโลก บนดวงจันทร์ บนดาวอังคาร หรือในอวกาศ มวลก็จะคงที่อยู่เสมอ ไม่เพิ่ม ไม่ลดแต่อย่างใด

มวลมีหน่วยนับหลากหลายหน่วย แต่ถ้าจะเอาที่เป็นมาตรฐานที่ใช้กันในวิชาวิทยาศาตร์ก็คือหน่วยที่เป็นกิโลกรัมครับ

เป็นไงครับ เรื่องของมวลเป็นอะไรที่เข้าใจง่ายๆอย่างนี้นั่นแหละครับ

ทีนี้ ก็มาต่อกันที่เรื่องของน้ำหนักครับ…

น้ำหนักคือแรงที่อยู่กับวัตถุที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงครับ ดังนั้นตัวเราเมื่ออยู่บนโลกก็จะมีน้ำหนักขนาดนึง พอไปอยู่บนดวงจันทร์ก็จะมีน้ำหนักอีกขนาดนึง ซึ่งนั่นเป็นเพราะแรงโน้มถ่วงของโลกกับดวงจันทร์นั้น ไม่เท่ากันนั่นเองครับ

หากพูดให้เป็นภาษาวิทยาศาสตร์แบบคณิตศาสตร์ น้ำหนักจะเท่ากับ มวล x แรงโน้มถ่วงครับ หรือเขียนได้เป็นสูตรว่า w = m x g เมื่อ w คือน้ำหนัก , m คือมวล และ g คือแรงโน้มถ่วงครับ

แรงโน้มถ่วงของโลกเราจะมีค่าเท่ากับ 9.81 m/s2 ครับ ซึ่งเพื่อให้ง่ายในการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์เบื้องต้น จึงมักกำหนดให้แรงโน้มถว่งมีค่าเท่ากับ 9.8 หรือไม่งั้นก็เป็น 10 m/s2 ไปเลยครับ

อนึ่ง น้ำหนัก (w) จะมีหน่วยเป็นนิวตัน (N) นะครับ

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว พี่ๆ บางท่านอาจนึกถึงหนังเกี่ยวกับอวกาศชื่อดังหลายๆเรื่องที่พระเอกมักจะมีเหตุให้ต้องออกไปลอยเท้งเต้งอยู่นอกยานอวกาศเสมอๆ ซึ่งก็ไม่ใช่อื่นใดหรอกครับ เมื่อในอวกาศไม่มีแรงโน้มถ่วงใดๆ (หรือพูดได้ว่าแรงโน้มถ่วงเท่ากับ 0 ) ดังนั้น อาจอธิบายโดยการคำนวณว่าในอวกาศจะมีน้ำหนักเท่าใด โดย…

เมื่อ w = mg  และเมื่อแรงโน้มถ่วงไม่มี ก็คือ  g = 0

ดังนั้น w = m x 0 = 0 ซึ่งก็คือการไม่น้ำหนักนั่นเอง

นั่นแหละครับ ที่ทำให้พระเอกสุดหล่อของเราลอยเท้งเต้งอยู่ในอวกาศได้โดยไม่ได้ตกหล่นไปไหน ก็เพราะเค้าอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักนั่นเองครับ

เมื่อเราทราบค่าของแรงโน้มถ่วงของโลก(ที่มีค่าเท่ากับ 9.81 m/s2 หรือ 10) แล้ว ทีนี้เมื่อเราทราบค่าของมวล เราก็สามารถคำนวณน้ำหนักของตัวเราและพ่อแม่พี่น้องรวมทั้งเพื่อนๆ ได้เลยใช่ไหมครับ

เช่นหากตัวเรามีมวล 50 กิโลกรัม เราก็จะมีน้ำหนักเท่ากับ 50 x 10 = 500 นิวตันครับ (เมื่อชั่งอยู่บนโลก)

 

ความรู็ข้อที่ 2 : เครื่องชั่งสปริง คือเครื่องชั่งน้ำหนักหรือเครื่องชั่งมวล

ว่ากันตามหลักการแล้ว เมื่อเราขึ้นไปยืนอยู่บนเครื่องชั่งแบบสปริง แรงโน้มถ่วงของโลกจะออกแรงดูดตัวเรา ทำให้น้ำหนักของเรากดลงบนเครื่องชั่ง ดังนั้นว่ากันตามจริงแล้ว เครื่องชั่งแบบสปริงต้องถือว่าเป็นเครื่องน้ำหนักครับพี่น้อง

“อ้าว… แล้วทำไมเครื่องชั่งอ่านได้เป็นหน่วยกิโลกรัม ไม่เห็นจะเป็นหน่วยนิวตันซักกาหน่อย” บางท่านคงนึกกังขาเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง

คือแบบนี้ครับ เนื่องจากเครื่องชั่งที่เราใช้ๆกันอยู่นี่ ออกแบบมาให้เราใช้เฉพาะอยู่บนโลกเท่านั้น ดังนั้นในตอนที่สร้างเครื่องชั่งจึงมีการคำนวณให้สปริงมีความแข็งเพื่อหักแรงโน้มถ่วงของโลกไว้แล้ว เครื่องชั่งน้ำหนักจึงแสดงหน่วยเป็นกิโลกรัมซึ่งเป็นหน่วยของมวล ไม่ใช่หน่วยเป็นนิวตันครับ

ดังนั้น หากจะพูดว่าเครื่องชั่งที่เราใช้ๆกันอยู่เป็นเครื่องชั่งมวลก็อาจจะถูกสำหรับการชั่งบนโลกใบนี้ แต่ถ้าเอาเครื่องชั่งอันนี้ไปชั่งน้ำหนักตัวเราที่ดวงจันทร์ จะอ่านได้น้ำหนักที่เป็นกิโลกรัมได้น้อยมากๆ ทั้งนี้เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์มีค่าน้อยมากๆนั่นเองครับ

ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนะครับ เพราะมวลของเรานั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนๆ ก็ตาม ก็จะต้องมีค่าเท่าเดิมเสมอ ดังนั้นมวลที่เป็นมีหน่วยเป็นกิโลกรัมของเราที่โลกกับที่ดวงจันทร์ก็จะต้องเท่ากันเสมอ

แต่ที่อ่านผลจากเครื่องชั่งได้ไม่เท่ากัน ก็เป็นเพราะเครื่องชั่งนั้นออกแบบมาเพื่อหักแรงดึงดูดของโลกที่มีค่ามาก พอเราเอาไปชั่งบนดวงจันทร์ สปริงอันที่ออกแบบมาสำหรับโลกจึงแข็งกว่าที่ควรจะเป็น จึงมีผลทำให้น้ำหนักเป็นกิโลกรัมที่อ่านได้จึงน้อยกว่าการชั่งบนโลกครับ

ทีนี้ก็กลับมาที่โลกใบนี้กันดีกว่านะครับ

เมื่อเราชั่งน้ำหนักที่เครื่องชั่งสปริงได้ เราก็สามารถคำนวณหาน้ำหนักที่เป็นนิวตันได้ โดยอาศัยสูตรคำนวณที่ว่า

     w = m x g

ดังนั้น หากเราชั่งได้ 50 กิโลกรัม แสดงว่าเรามีน้ำหนักเท่ากับ 50 x 10 ซึ่งก็คือ 500 นิวตัน นั่นเองครับ

ในทางกลับกัน หากเพื่อนของเราบอกว่าเค้ามีน้ำหนักเท่ากับ  600 นิวตัน เราก็สามารถคำนวณหามวลของเพื่อนคนนี้ได้ทันทีเลยว่า…

     เมื่อ w = m x g

     ดังนั้น m = w ÷ g

ซึ่งก็เท่ากับ 600/10 = 60 กิโลกรัม

เป็นไงครับ ทีนี้เราก็สามารถคำนวณกลับไปกลับมาได้แล้วนะครับ

 

ความรู้ข้อที่ 3 : คานสมดุล

การจะอธิบายเรื่องของคานสมดุลให้น้องหนูๆระดับประถมต้นเข้าใจอย่างถ่องแท้นั้น น่าจะเป็นเรื่องที่ยากถึงยากที่สุดเลยล่ะครับ เพราะเรื่องของคานสมดุลนั้น ต้องใช้ความรู้หลายส่วนอยู่พอสมควรครับ

ดังนั้น เอาเป็นว่าเรามาทำความเข้าใจกันแบบพอสังเขปก็พอนะครับ

มาเริ่มกันที่ เครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นที่เด็กๆทุกคนน่าจะเคยเล่นกันมาแล้ว ซึ่งก็คือ “กระดานกระดก” หรือ “กระดานหก” หรือ “ไม้กระดก” นั่นแหละครับ

กระดานกระดกนี้ เป็นเครื่องเล่นที่ใช้หลักการของคานสมดุลนะครับ โดยถ้าไม่มีใครนั่งอยู่ที่ปลายทั้งสอง กระดานความวางอยู่นิ่งๆขนานกับพื้นโลกไม่เอียงเทไปข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าอยู่ในภาวะสมดุลนั่นเองครับ

แต่เดี๋ยวก่อน พี่ๆบางท่านอาจนึกแย้งในใจว่า เครื่องเล่นที่ว่านั่น ไม่เห็นจะวางขนานกับพื้นโลกซักหน่อย มีแต่วางเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเสมอเลย

ใช่แล้วครับ เครื่องเล่นดังที่ว่านี่คือชีวิตจริงครับ เพราะแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างและติดตั้งเครื่องเล่นนี้ ให้มีความสมดุลแบบ 100 % ครับ ดังนั้นถ้าตอนวางอยู่เฉยๆ จะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งเสมอก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนะครับ 

แต่เอาเป็นว่าเรามาใส่จินตนาการกันนิดนึงนะครับว่า ในจินตนาการของเราแล้ว กระดานกระดกนี้ในตอนที่ไม่มีใครมานั่งเล่น จะวางขนานกับพื้นโลก ไม่เอียงเทไปข้างใดข้างหนึ่งนะครับ

พอมีใครคนใดคนหนึ่งมานั่งที่ปลายข้างหนึ่ง ตัวกระดานกระดกก็จะเอียงเทมาข้างที่มีคนนั่งนั้น และถ้ามีเพื่อนอีกคนหนึ่งที่มีน้ำหนักเท่ากันเป๊ะๆมานั่งที่ปลายอีกข้างหนึ่ง ตัวกระดานกระดกจะกลับมาวางตัวอยู่ที่แนวสมดุลอีกครั้งหนึ่ง

ทีนี้ ถ้ามีคนมานั่งเพิ่ม เราก็ต้องหาคนที่มีน้ำหนักพอๆกันมานั่งเพิ่มที่ปลายอีกด้านหนึ่ง กระดานกระดกก็จะมีความสมดุลอยู่ได้ครับ

นี่แหละครับ คือภาพในจินตนาการครับพี่น้อง

 

เอาล่ะครับ

ตอนนี้เราก็น่าจะมีความรู้เบื้องต้นเพียงพอที่จะทำข้อสอบข้อนี้กันแล้วนะครับ โดยมาเริ่มกันที่โจทย์ที่นำตาชั่งสปริง มาชั่งทุเรียนและแตงโมแล้วได้ผลว่า ทุเรียนหนัก 25 กิโลกรัม และแตงโมหนัก 15 กิโลกรัม

หมายเหตุ : ทำไมแตงโมกับทุเรียนถึงหนักกันปานนี้น้อออ…

เหมือนจะหนักกว่าความเป็นจริงไปเยอะเลยนะครับ ดังนั้นเครื่องชั่งแบบแขวนตามที่โจทย์วาดรูปมา น่าจะเป็นแบบช่องละ 100 กรัมมากกว่า (ภาษาชาวบ้านเรียกว่าช่องละ 1 ขีด) ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ จะอ่านได้ว่าทุเรียนหนัก 2.5 กิโลกรัม และแตงโมหนัก 1.5 กิโลกรัม  ซึ่งน้ำหนักต่างกันเท่ากับ 2.5-1.5 = 1.0 กิโลกรัม ครับ

ทีนี้โจทย์ก็ถามว่า ถ้ามีส้มโอหนักลูกละ 5 นิวตัน และมะพร้าวหนักลูกละ 10 นิวตัน นักเรียนจะเลือกวางส้มโอหรือมะพร้าวลงในตะกร้าใบใดเพื่อให้คานสมดุล

อืม ม ม…

เราก็มีวิธีทำอยู่ 2 วิธีนะครับ คือแปลงหน่วยมวล(กิโลกรัม)ของทุเรียนกับแตงโมให้เป็นหน่วยน้ำหนัก(นิวตัน) หรือไม่งั้นก็แปลงหน่วยน้ำหนัก(นิวตัน)ของส้มโอกับมะพร้าวให้เป็นหน่วยของมวลคือกิโลกรัม

มาลองทำแต่ละวิธีกันนะครับ

วิธีที่ 1.

    ทุเรียน 2.5 กิโลกรัม จะมีค่าเท่ากับ 2.5 x 10 = 25 นิวตัน

     และแตงโม 1.5 กิโลกรัม จะมีค่าเท่ากับ 1.5 x 10 = 15 นิวตัน

วิธีที่ 2.

    ส้มโอหนัก 5 นิวตัน จะมีค่าเท่ากับ 5/10 = 0.5 กิโลกรัม

     และมะพร้าวหนัก 10 นิวตัน จะมีค่าเท่ากับ 10/10 = 1.0 กิโลกรัม

คราวนี้ เราก็มาดูคำตอบในแต่ละตัวเลือกกันนะครับ โดยในเบื้องต้นเมื่อทุเรียนหนักกว่าแตงโม เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเพิ่มน้ำหนักในฝั่งแตงโมเพื่อให้นำหนักมีความสมดุลกันนะครับ…

60 นิวตันมีน้ำหนักเท่าไรเมื่ออยู่บนดวงจันทร์

แล้วมวลของคุณล่ะ บนโลกคุณมีมวลหนัก 60 กิโลกรัม แล้วถ้าบนดวงจันทร์จะหนักเท่าไหร่ ก็หนัก 60 กิโลกรัมเท่ากันครับ แน่นอนว่าเท่ากันเป๊ะเลย คุณไม่ได้ตัวเล็กลงเมื่ออยู่บนดวงจันทร์ “ตัวคุณ” ไม่ได้เปลี่ยน มีแค่แรงดึงดูดเท่านั้นที่เปลี่ยน ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักของคุณเปลี่ยนไปด้วย

บนดวงจันทร์มีน้ำหนักกี่นิวตัน

หาก @min ถูกหัวหน้าอัปเปหิไปอยู่บนดวงจันทร์ @min ก็จะมีมวลเท่าเดิมคือ 68 กิโลกรัม แต่จะมีน้ำหนักเหลือเพียง ประมาณ 110 นิวตัน (68 kg. x 1.62 m/s^2) น้อยกว่าน้ำหนักบนโลกประมาณ 6 เท่าครับ นี่คือความแตกต่างระหว่างมวลและน้ำหนักในทางวิทยาศาสตร์ครับ ซึ่งจะแตกต่างจากการพูดโดยทั่วไปที่เรามักจะให้หน่วยของน้ำหนักเป็นกิโลกกรัมครับ

โลกของเราหนักกี่ตัน

รัศมีของโลกอยู่ที่ 6,400,000 เมตร เมื่อเราแทนค่าตัวเลขทั้งหมดลง ก็จะได้ตัวเลขสำหรับค่า M1 หรือมวลของโลกที่ 6,000,000,000, 000,000,000,000,000 กิโลกรัม (6 x 10^24 กิโลกรัม) ซึ่งเป็นค่าความหนักของแผ่นดินนั่นเอง แท็กที่เกี่ยวข้อง วิทยาศาสตร์

วัตถุที่อยู่บนโลกและบนดวงจันทร์จะมีน้ำหนักเท่ากันหรือไม่เพราะเหตุใด

ถ้าชั่งน้ำหนักสิ่งของบนโลก และนำสิ่งของนั้นไปชั่งน้ำหนักอีกครั้งบนดวงจันทร์ จะพบว่าเมื่ออยู่บนดวงจันทร์สิ่งของนั้นจะเบากว่าบนโลก นั่นเป็นเพราะที่ผิวของดวงจันทร์มีความโน้มถ่วงที่พื้นผิวน้อยกว่าบนโลก อย่างไรก็ตามนักดาราศาสตร์จำเป็นต้องระบุค่าที่แน่นอนของสิ่งต่าง ๆ ดังนั้นจึงใช้มวลซึ่งเป็นค่าที่ไม่เปลี่ยนแปลงตาม ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita